หลวงปู่มา ญาณวโร (พระอริยสงฆ์ศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต) วัดสันติวิเวก จ.ร้อยเอ็ด - webpra

หลวงปู่มา ญาณวโร (พระอริยสงฆ์ศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต) วัดสันติวิเวก จ.ร้อยเอ็ด

บทความพระเครื่อง เขียนโดย noi-and-tating

noi-and-tating
ผู้เขียน
บทความ : หลวงปู่มา ญาณวโร (พระอริยสงฆ์ศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต) วัดสันติวิเวก จ.ร้อยเอ็ด
จำนวนชม : 888
เขียนเมื่อวันที่ : พฤ. - 11 พ.ย. 2553 - 14:36.52
(คลิ๊กที่ชื่อผู้เขียนผู้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียน)

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านสั่งสอนอบรมลูกศิษย์ท่านอยู่เสมอถึงกรรมฐานและธุดงควัตร 13 เพราะท่านถือว่ามีความสำคัญมาก จะเรียกว่าเป็นเส้นทางของพระธุดงค์ พระป่าสายกรรมฐานก็ไม่ผิด ท่านมักสั่งให้ลูกศิษย์ท่านไปภาวนาในป่าเขาเพื่อบำเพ็ญเพียรปฏิบัติธรรม ให้เป็นผู้มีความอดทน กล้าหาญ ไม่ให้คลุกคลีกับหมู่คณะ มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย   หลวงปู่มา ญาณวโร เกิดเมื่อวันอังคารที่ 14 พ.ค.2455 ตรงกับแรม 14 ค่ำ เดือน 6 ปีชวด ณ หมู่บ้านโนนคำ อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด บิดาชื่อ คูณ มารดาชื่อ ตั้ว วรรณภักดี มีพี่น้อง 5 คน เป็นชาย 3 หญิง 2 คน ในวัยเด็กท่านมีความเฉลียวฉลาดมาก พูดจาฉะฉานดูอาจหาญมีแววตั้งแต่เด็กๆ อุปนิสัยนั้นเมื่อเห็นพระเณรก็มีความชอบใจ อยากจะบวช เรียกว่ามีนิสัยน้อมมาทางธรรม และพออายุได้ 7 ขวบก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร  ท่านกล่าวว่าการที่ได้บวชเป็นสามเณรตั้งแต่เล็กนี้มีประโยชน์ที่ทำให้จิตใจที่ชอบสนุกสนานกลับเปลี่ยนไปในทางราบเรียบเนื่องจากต้องอยู่ในกฏระเบียบวินัย โดยท่านได้รับเมตตาจากหลวงปู่สอน อุตตโม เล่าเรียนอักษรไทย ปริยัติธรรม และเรียนรู้วิธีนั่งสมาธิภาวนาจากหลวงปู่สอน ผู้เป็นอาจารย์  ความเป็นผู้ที่มีวาสนาในทางธรรมหลังจากบวชแล้วก็ได้เล่าเรียนมูลกัจจายณ์ ภาษาขอม ภาษาไทยจนสำเร็จได้นักธรรมเอกด้วยอายุแค่ 10 ขวบ ครั้นอายุได้ 14 ปี ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นครูสอนปริยัติธรรม ต่อมาในปี 2475 อายุครบ 20 ปี จึงได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี หลวงปู่สอน อุตตโม เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านอาจารย์สมุห์ฉิม ฉันโน เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอาจารย์ใบฎีกาสะอาด โมษโกเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ญาณวโร ภิกขุ และในช่วงออกพรรษาท่านได้ติดตามหลวงปู่สอน อุตตโม ออกวิเวกหาความสงบและได้เดินทางไปกราบท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตจนกระทั่งหลวงปู่มั่นธุดงค์ไปทางภาคเหนือ หลวงปู่มาได้เรียนวิชาแพทย์แผนโบราณคือวิชาต่อกระดูกจาก ท่านพระครูอุตตรานุรักษ์ และวิชาอาคมจากหลวงปู่โส วัดบ้านฟ้าเลื่อม หลวงปู่เสือและหลวงปู่พรหม ครั้งหนึ่งหลวงปู่ท่านได้ให้คติว่า " เมื่อคิดว่าสิ่งที่ท่านให้เป็นของดี มันก็เป็นของดี แต่ท้ายที่สุดก็อยู่ที่ตัวของญาติโยมเองนั้นแหละที่เป็นผู้ทำ วัตถุมงคลถือว่าเป็นกำลังใจเท่านั้น จะรวยจะจนจะดีจะชั่วก็อยู่ที่ตัวเราเอง "

Top