ความสำคัญของการอารธนาพระเครื่อง - webpra

ความสำคัญของการอารธนาพระเครื่อง

บทความพระเครื่อง เขียนโดย bardang

bardang
ผู้เขียน
บทความ : ความสำคัญของการอารธนาพระเครื่อง
จำนวนชม : 2929
เขียนเมื่อวันที่ : จ. - 21 มี.ค. 2554 - 13:19.57
แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ : พฤ. - 01 ก.ย. 2554 - 09:20.44
(คลิ๊กที่ชื่อผู้เขียนผู้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียน)

ในการนำพระเครื่องพกพาติดตัวนั้น โบราณท่านมีเคล็ดพิธีที่แตกต่างกันไป พระเครื่องนั้นเปรียบได้กับพลังบวกเพราะฉะนั้นการจะใช้พระเครื่องให้ได้ผล ผู้ใช้ต้องประกอบแต่กรรมดี เป็นการส่งเสริมพลังพระเครื่องที่เราใช้อยู่ให้มีอานุภาพ ยิ่งขึ้น เปรียบได้กับเราอัดพลังไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่   ถ้าเราประกอบแต่กรรมไม่ดีเปรียบได้กับพลังลบ พลังลบเมื่อเจอพลังบวกและพลังลบมีกำลังมากกว่า พลังบวกก็หมดไป อานุภาพของพระเครื่องที่เราใช้อยู่ก็จะเสื่อมถอยไปด้วย ปัจจุบันนักนิยมพระเครื่องมองข้ามจุดนี้ไป ห้อยพระเครื่องดีๆราคาแพงๆ เลี่ยมทองอย่างสวยก็แค่เอาไว้โชว์อวดกันเท่านั้น หรือแค่เอาไว้ค้าขายกันเท่านั้น บทความนี้เหมาะสมสำหรับท่านที่มีความเลื่อมใสในพระเครื่องและหวังพึ่งพาพุทธคุณ   บาแดงบอกกล่าวเคล็ดลับในการใช้พระเครื่องในเบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบกรรมดีและชั่วที่มีผลต่อพระเครื่องที่นำมาติดตัว การประกอบกรรมดีของผู้ใช้พระเครื่องถือว่าเป็นเคล็ดที่สำคัญและควรนำไปปฎิบัตินี่ก็เป็นเคล็ดลับประการที่๑  

                        

                                    นอกจากนี้แล้ว พระเครื่องที่นำมาบูชาไม่ว่าพระกรุ หรือพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่า พระเกจิอาจารย์รุ่นใหม่ พระเครื่องรุ่นนั้นควรมีพิธีกรรมตั้งแต่การสร้าง การปลุกเสกที่เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ทุกขั้นตอน ท่านนักนิยมพระเครื่องต้องเสาะหาสืบประวัติการสร้างเอาเองนี่ก็เป็นเคล็ดลับประการที่๒

   

                                     ประการต่อไปคือการ อารธนาพระเครื่องโบราณถือว่ามีความสำคัญมากสำหรับผู้ปรารถนาพึ่งพาพุทธคุณ นักนิยมพระเครื่อวรุ่นใหม่ไม่ให้ความสำคัญหยิบสร้อยพระได้ก็สวมคอออกจากบ้านเลย บาแดงขอนำเสนอการอารธนาพระเครื่องที่ตนเองใช้มาตลอด ถือว่าเป็นเคล็ดลับประการที่๓

 

                                                                                            หยิบสร้อยพระเครื่องของเราไว้ในฝ่ามือ จะห้อยพระเครื่ององค์เดียวหรือหลายองค์ไม่สำคัญ  สำรวมจิตอยู่ที่พระเครื่องของเรานึกเห็นรูปพระเครื่องในสายสร้อยถ้าเราหลับตา การหลับตานึกให้เห็นจะทำให้การอารธนาเกิดพลังมาก หรือจะลืมตาเพ่งมองอยู่ที่พระเครื่องเพียงจุดเดียวก็ได้

 

                                        สูดหายใจเข้าออกลึกๆทำลมหายใจเข้าออกให้ช้าลงและสม่ำเสมอให้เท่ากัน(เคล็ดทำให้ใจสงบ)

 

                                         แล้วว่าในใจหรือออกเสียงก็ได้  นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ(๓ ครั้ง)

 

                                         เอวังภะคะวา สุนาจิตตัง สะตะอุเอ นะสะมิเห (๓ ครั้ง)

 

                                         วันทิตะวา บิดา มารดา อาจาริยัง ครูปาทัง สัพพะอันตรายัง วินาสสันติ สัพพะการิยะ ประสิทธิเม (๓ ครั้ง)

 

                                 พุทธังอารธนานัง ธัมมังอารธนานัง สังฆังอารธนานัง  คุณบิดา มารดา อาธนานัง คุณเทพยดาอันมีชื่อมีฤทธิ์สถิตอยู่ใน ดิน น้ำ ลม ไฟ อารธนานัง

 

                                                            ข้าพเจ้าขออารธนา คุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า คุณบิดา มารดา  คุณเทพยดา ดิน น้ำ ลม ไฟ ตลอดจนอานุภาพแห่งคุณพระเครื่อง (พูดชื่อพระเครื่องที่อยู่ในมือจะองค์เดียวหรือหลายองค์ ก็ต้องพูดให้หมด) อีกทั้งครูบาอาจารย์ผู้สร้างและปลุกเสกไว้ ขอจงมาสถิตอยู่ในกายของข้าพเจ้า ปกปักรักษาคุ้มครองข้าพเจ้า จะเดินทางไปในทิศทางใด ขอให้แคล้วคลาดปลอดภัยในทุกที่ทุกสถาน มีอายุยืนนาน มีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน ประสพแต่โชคลาภและสิ่งดีงาม

 

                                                              อิติปิโส ภะคะวา ยาตรายามดี ได้ยามพระศรี สวัสดีลาโภ นะโมพุทธายะ  สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สัพพะลาโภ ไชโยนิจจัง อะสังวิสุโลปุสะพุภะ นะโมพุทธายะ  อุทธังหะเรจะ นะมะพะธะ พระพุทธังมารักษา พระธัมมังมารักษา พระสังฆังมารักษา คุณบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ มารักษา ศัตรูมาบีฑา จงเมตตาข้าพเจ้า  (แล้วเป่าลมไปที่สร้อยพระเครื่อง) 

                                                              ตั้งแต่่อิติปิโส- จนถึงเมตตาข้าพเจ้า ถ้าท่องจนคล่องขึ้นใจแล้ว ถ้าสามารถหายใจเข้ารวดเดียวแล้วท่องในใจจนจบเต็มอึดหายใจ แล้วเป่าลมไปที่พระเครื่องของเราสุดยอดครับ เขาเรียกว่าคาบลม (ปราณ) (บทตรงนี้เป็นเคล็ดสำคัญของการอารธนาพระเครื่อง) 

 

 

  หยิบสายสร้อยคลี่ออกเตรียมคล้องคอแล้วภาวนา ว่า เอหิพุทธัง เอหิธัมมัง เอหิสังฆัง พุทธังมาเโส ธัมมังมาเรโส สังฆังมาเรโส นะโมพุทธายะ ยะธาพุทโมนะ พระพุทธังประสิทธิเม พระธัมมังประสิทธิเม พระสังฆังประสิทธิเม นะโมพุทธายะ โสทายะประสิทธิเม โอมส่งมหาส่ง อะเกียดอะกงสวาหะ (ตั้งแต่เอหิพุทธัง-อะเกียดอะกงสวาหะ)  ถ้าภาวนาจนคล่องแล้วขณะที่ภาวนาบทนี้ให้สูดลมหายใจเข้าภาวนาจนจบบทนี้ลมหายใจเข้าไปเต็มท้อง เช่นเดียวกับคาบลม ทำได้สุดยอด แล้วว่า อะหังปริสุทโธ ชะนะปริสุทโธ (หายใจออก คล้องสร้อยพระเครื่องที่คอได้เลย)  แล้วใช้ฝ่ามือข้างใหนก็ได้แตะที่พระเครื่องที่คล้องคอแล้วกลั้นลมหายใจ คือหายใจเข้าแล้วอึดเอาไว้ (ไม่เหมือนคามลมนะครับที่สูดหายใจเข้าแล้วภาวนาไปด้วย) ภาวนาให้จบบทว่าดังนี้      อิมังองคะพันธะนัง อฐิษฐามิ  ทุติยัมปิ อิมัง องคะพันธะนัง อฐิษฐามิ ตติยัมปิ อิมัง องคะพันธะนัง อฐิษฐามิ พุทธัง วิกรึงคะเรมิ ธัมมังวิกรึงคะเรมิ สังฆัง วิกรึงคะเรมิ นะโมพุทธายะ โสทายะ วิกรึงคะเรมิ    

 

                  เป็นอันเสร็จพิธีออกเดินทางได้เลย และทุกครั้งของการอารธนาพระเครื่องควรหันหน้าขึ้นไปทางทิศเหนือ เป็นความเชื่อส่วนบุคคลผู้อ่านโปรดพิจารณา ถ้าท่านสนใจใส่ใจ มีความเพียรเชื่อมั่นก็นำไปใช้เถิด เคล็ดคาบลม กับการหายใจแล้วอึดไว้ท่านต้องศึกษาแยกแยะให้ดี  ใช้ได้ทั้งพระเครื่อง และเครื่องราง  ถ้าทำได้ทุกครั้งที่สวมพระเครื่องของท่าน แล้วท่านจะรู้ด้วยตัวเองว่าพระเครื่องหรือเครื่องรางของท่านมีดีอย่างไร 

 

                  พระเครื่องที่ดีจริงๆมีประสบการณ์สูง ราคาไม่แพง วงการเซียนไม่ปั่นยังมีอีกแยะ ประสบการณ์เหนือชั้นกว่าที่ปั่นลงทุนทำหนังสือประวัติโฆษณา ถ้าท่านรู้จักเลือกเสาะหา อย่าไปตามกระแสมากจนตัวเองและครอบครัวลำบาก พระเกจิที่ดีและเก่งอาจจะอยู่ในตำบล อำเภอ และจังหวัดของท่านเอง โปรดอย่ามองข้าม ลองสำรวจดูบ้าง สุดท้ายอย่าลืมความสำคัญของการอารธนาพระเครื่องนะครับ

 

                                                                                                                                          จากใจจริงบาแดง

 

                                                                                  

 

                                                                     

 

 

 

Top