เหรียญหลวงปู่ขำ วัดทินกรนิมิต นนทบุรี ๒๕๒๓ - webpra

ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

เหรียญหลวงปู่ขำ วัดทินกรนิมิต นนทบุรี ๒๕๒๓

เหรียญหลวงปู่ขำ วัดทินกรนิมิต นนทบุรี ๒๕๒๓ เหรียญหลวงปู่ขำ วัดทินกรนิมิต นนทบุรี ๒๕๒๓
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญหลวงปู่ขำ วัดทินกรนิมิต นนทบุรี ๒๕๒๓
รายละเอียดวัดทินกรนิมิต เดิมชื่อว่า “วัดบางด้วน” เพราะเหตุที่คลองซึ่งแยกออกจากแม่น้้าเจ้าพระยาตรงที่ตั้งสถานีต้ารวจภูธรจังหวัดนนทบุรีปัจจุบัน แล้วขึ้นมาทางทิศตะวันออกตามแนวทางหน้าวัด และวกเข้ามาสุดที่บริเวณวัด เป็นคลองด้วน แต่ชาวบ้านในสมัยนั้นนิยมเรียกสถานที่ย่านหนึ่ง ๆ ว่า “บาง” เช่น บางแพรก บางตะนาวศรี บางขวาง ที่ตรงวัดตั้งอยู่นี้เรียกว่า บางด้วน เมื่อบวกเข้ากับคลองก็เรียกว่า คลองบางด้วน จึงตั้งชื่อว่า “วัดบางด้วน” ต่อมา พระครูนนทสมาจาร ในสมัยที่เป็น พระมหาขัน อยู่วัดเฉลิมพระเกียรติ อ้าเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ได้เล่าให้ฟังว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ได้เสด็จมาตรวจเยี่ยมวัดต่าง ๆ ในเขตจังหวัดนนทบุรี เมื่อทอดพระเนตรสถานที่ตั้ง วัดบางด้วนแล้ว ได้ทรงปรารภกับเจ้าคณะพระสังฆาธิการจังหวัดนนทบุรีในสมัยนั้นว่า ชื่อวัดบางด้วนนี้ไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง ที่ถูกควรจะชื่อว่า วัดคลองด้วน เพราะคลองมาสุดตรงที่วัดนี้ ไม่ใช่บางด้วน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทางวัดจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “วัดคลองด้วน”
ต่อมา พระเทพเมธี(บุนนาค ชินว้โส ป.ธ.๙) เมื่อครั้งด้ารงสมณศักดิ์ที่พระศรีวิสุทธิเมธี เป็นเจ้าอาวาสวัดคลองด้วนในขณะนั้น ได้ด้าริที่จะเปลี่ยนนามวัดเสียใหม่ จึงน้าความไปกราบเรียนปรึกษาพระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นผู้ที่คุ้นเคยเกี่ยวข้องกับวัดนี้มาก่อน คือเจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี(ธีร์ ปุณฺณโก ป.ธ.๙) เมื่อครั้งด้ารงสมณศักดิ์ที่ พระเทพเมธี และเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ให้ความเห็นตามที่ได้รับบอกเล่ามาจากคนรุ่นเก่า ๆ ที่เคยใกล้ชิดกับวัดมา มี พระอธิการข้า อดีตเจ้าอาวาสวัดคลองด้วน เป็นต้น ว่า วัดนี้พระองค์เจ้าทินกรเป็นผู้ทรงสร้าง และการที่ได้มา ทรงสร้างวัดนี้นั้น ก็โดยเหตุที่ได้ตามเสด็จมาวัดเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงสร้างขึ้น และได้เสด็จมาทรงเยี่ยม พระญาติตลอดจนเจ้านายเชื้อสายที่มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในตัวเมืองนนทบุรี เพราะเหตุดังกล่าวมานี้เจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี จึงเห็นสมควรให้เปลี่ยนนามวัดตามพระนามของผู้ทรงสร้างว่า “ทินกรนิมิต” ซึ่งมีความหมายดังนี้ ทินกร มาจากพระนามของพระองค์เจ้าทินกร นิมิต หรือ เนรมิต ซึ่งแปลว่า สร้าง เมื่อบวกกันเข้าก็แปลว่า วัดที่พระองค์เจ้าทินกรทรงสร้าง จึงเป็นอันตกลงกันว่าจะเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดทินกรนิมิต” ตามค้าแนะน้าของเจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี ทางวัดจึงได้ท้าหนังสือขอเสนอเปลี่ยนนามวัดใหม่ และได้รับอนุมัติตามที่ขอเปลี่ยนไป ปรากฏหลักฐานการอนุมัติแจ้งมาโดยล้าดับ
-๒-
จนถึงที่ว่าการอ้าเภอเมืองนนทบุรี ดังความในหนังสือที่ ๑๒๖๖/๒๔๙๔ ลงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๙๔ ของแผนกศึกษาธิการอ้าเภอเมืองนนทบุรี ตอนหนึ่งว่า
ด้วยได้รับหนังสือคณะกรมการจังหวัดนนทบุรี ที่ ๒๔๖๒/๒๔๙๔ ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๙๔ ว่า เจ้าคณะตรวจการภาค ๑ ได้อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อวัดในท้องที่อ้าเภอ เมืองนนทบุรี คือ
๑) วัดคลองด้วน อ้าเภอเมืองนนทบุรี เปลี่ยนชื่อเป็น วัดทินกรนิมิต
๒) วัดลานวัว อ้าเภอเมืองนนทบุรี เปลี่ยนชื่อเป็น วัดลานนาบุญ
ฉะนั้น ให้ท่านแจ้งแก่คณะกรรมการสงฆ์อ้าเภอ และเจ้าอาวาสวัดดังกล่าวให้ทราบด้วย วัดทินกรนิมิต จึงเป็นนามที่เรียกกันต่อมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
พระประวัติผู้ทรงสร้างวัด
วัดทินกรนิมิต เป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่า จะมีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา และช้ารุดทรุดโทรมลงไปตามกาลเวลา คงเหลือสภาพเป็นวัดร้างอยู่ ต่อมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์เจ้าทินกร(พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์) ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์เป็น ครั้งใหญ่ เปรียบเหมือนได้สร้างขึ้นมาใหม่ ฉะนั้น จึงเห็นสมควรที่จะน้าพระประวัติมากล่าวไว้ ณ ที่นี้
พระองค์เจ้าทินกร ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓๕ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้า-นภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๔ ในเจ้าจอมมารดาศิลา(ธิดาท่านขรัวยายฟักทอง) ประสูติในขณะเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย ยังเสด็จด้ารงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๒ ค่้า เดือน ๗ ตรงกับวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ปีระกา พุทธศักราช ๒๓๔๔ มี พระพี่นางเธอ พระเจ้าพี่ยาเธอและพระเจ้าน้องยาเธอ ร่วมพระมารดาเดียวกัน ๕ พระองค์ คือ
๑) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวงษ์
๒) พระองค์เจ้าชายพนมวัน ต่อมาภายหลังได้รับสถาปนาเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ ต้นราชสกุล พนมวัน
๓) พระองค์เจ้าชายกุญชร ต่อมาภายหลังได้รับสถาปนาเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษ์เทเวศร ต้นราชสกุล กุญชร
๔) พระองค์เจ้าชายทินกร ต่อมาภายหลังได้รับสถาปนาเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ต้นราชสกุล ทินกร
๕) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอินทนิล
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงสถาปนาเป็น พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทร์ฤทธิ์ เมื่อปีกุน พ.ศ.๒๓๙๔ ปรากฏ
-๓-
หลักฐานในหนังสือเรื่อง เฉลิมพระยศเจ้านาย เล่ม ๑ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดล-อดุลยเดช กรมหลวงสงขรานครินทร์(สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๔๗๒ หน้า ๕๓-๕๔ มีข้อความตอนหนึ่งว่า ศุภมัสดุ พระพุทธศักราชอดีตกาล ชไมสหัสสังวัจฉระ ไตรสตาธฤกะ จตุนวุติสังวัจฉระ ปัตยุบันกาล สุกรสังวัจฉระภัททบทมาสชุณหปักษ์ ทุติยดฤถีครุวาร ปริเฉทกาลกาหนด พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฏฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงทศพิธราชธรรม์ อนันตคุณวิบุลยปรีชา อันมหาประเสริฐ ทรงพระราชดาริว่า กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์
พระเจ้าพี่ยาเธอ พระองค์เจ้าทินกร ทรงพระปรีชารอบรู้ในราชกิจต่าง ๆ ควรที่จะเป็นเจ้าต่างกรมผู้ใหญ่ ให้ตั้งพระนามขึ้นจารึกไว้ในพระสุพรรณบัฎ(ว่า) กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ครุฑนาม จงเจริญพระชนมายุ วรรณะ สุขะ พละ สิริสวัสดิ์ เทอญ
เจ้ากรม เป็น หลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์
ให้ทรงตั้งปลัดกรม เป็น ขุนพินิตบริบาล
สุมห์บาญชี เป็น หมื่นช้านาญลิขิต
ตั้งแต่ ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๒ ค่้า เดือน ๑๐ ปีกุน ตรีศก ศักราช ๑๒๑๓(พ.ศ.๒๓๙๔)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ได้ว่ากรมพระนครบาลอยู่หน่อยหนึ่ง พระองค์ทรงมีความช้านาญในการกวีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเพลงยาว นับว่ามีฝีพระโอษฐ์ยอดเยี่ยมเป็นที่ประจักษ์ในหมู่กวีในสมัยนั้น มีพระนิพนธ์อยู่แพร่หลายแล้ว เช่น เพลงยาวกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ และประชุมเพลงยาวคารมเก่า เป็นต้น นับว่า พระองค์ทรงเป็นกวีศรีรัตนโกสินทร์ที่มีพระปรีชาสามารถในด้านกวีนิพนธ์ยอดเยี่ยมพระองค์หนึ่ง
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้นค่้า ๑ ปีมะโรง พ.ศ.๒๓๙๙ สิริพระชันษา ๕๖ ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล “ทินกร”
http://www.facebook.com/pages/ร้านภาคินมหาเวทย์-Small-Buddha-image-used-as-amulet /165678773565565
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน100 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลศ. - 15 พ.ย. 2556 - 11:08.03
วันปิดประมูล พฤ. - 05 ธ.ค. 2556 - 11:08.03 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 100 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top