เหรียญไตรบารมีหลวงพ่อผองเงินหน้ากากทองคำลงยา 1 ใน 79 เหรียญ - webpra

ประมูล หมวด:หลวงพ่อทบ วัดชนแดน - หลวงพ่อพวง วัดน้ำพุสามัคคี - หลวงพ่อผอง วัดพรหมยาม

เหรียญไตรบารมีหลวงพ่อผองเงินหน้ากากทองคำลงยา 1 ใน 79 เหรียญ

เหรียญไตรบารมีหลวงพ่อผองเงินหน้ากากทองคำลงยา 1 ใน 79 เหรียญ เหรียญไตรบารมีหลวงพ่อผองเงินหน้ากากทองคำลงยา 1 ใน 79 เหรียญ เหรียญไตรบารมีหลวงพ่อผองเงินหน้ากากทองคำลงยา 1 ใน 79 เหรียญ เหรียญไตรบารมีหลวงพ่อผองเงินหน้ากากทองคำลงยา 1 ใน 79 เหรียญ เหรียญไตรบารมีหลวงพ่อผองเงินหน้ากากทองคำลงยา 1 ใน 79 เหรียญ
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญไตรบารมีหลวงพ่อผองเงินหน้ากากทองคำลงยา 1 ใน 79 เหรียญ
รายละเอียดเหรียญไตรบารมีหลวงพ่อผองเงินหน้ากากทองคำลงยา 1 ใน 79 เหรียญNo.45
หลวงพ่อพระครูธีรพัชโรภาส ( ผอง ธมฺมธีโร ) นามเดิมชื่อ ผอง นามสกุล อินทรผล เกิดที่บ้านหันน้อย ต. หนองมะเขือ อ. พล จ. ขอนแก่น เมื่อวันอังคารที่ 24 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2467 บิดาชื่อ นายหลอด อินทรผล มารดาชื่อ นางบุญโฮม ผลโพธิ์ มีพี่น้องร่วมท้องมารดาเดียวกันทั้งหมด 7 คน ท่านเป็นพี่คนโต การศึกษาในวัยเยาว์ท่านเรียนจบชั้น ม.ศ. 3 จากโรงเรียนบำรุงไทย 2 อ. พล จ. ขอนแก่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้เข้ารับการฝึกเป็นกองทหารอาสาในช่วงปี 2488 พอถึงช่วงปลายปีนั้นสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงท่านจึงไม่ได้ไปร่วมรบแต่อย่างใด ท่านอุปสมบทเมื่อ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2489 ที่วัดศรีชมชื่น ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 15 ต. บ้านเรือ อ. ภูเวียง จ. ขอนแก่น โดยมีพระครูปฏิพัทธ์ธรรมคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลัง จากที่ได้บวชที่วัดศรีชมชื่นแล้ว ท่านได้จำพรรษาที่ วัดโพธิ์ชัย และวัดสระแก้ว วัดละ 1 พรรษา ท่านสอบได้นักธรรมชั้นตรีที่วัดโพธิ์ชัยและนักธรรมชั้นโทที่วัดสระแก้ว หลังจากนั้นท่านได้เดินธุดงค์ผ่านมาทางเทือกเขาจังหวัดชัยภูมิ มาจำพรรษาที่วัด มะกอกหวาน อ. ชัยบาดาล จ. ลพบุรี อีก 2 พรรษา หลังจากจำพรรษาที่นี่แล้ว พอออกพรรษานั้นท่านได้เดินธุดงค์ไปตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วภาคกลาง เช่นพระนครศรีอยุธยา ชัยนาถ นครสวรรค์ พิจิตร ฯลฯ และได้มาพักที่ อ. ตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ก่อนจะเดินธุดงค์ขึ้นไปทางภาคเหนือ เหมือนท่านได้เคยบำเพ็ญบารมีเป็นศิษย์กับอาจารย์ ร่วมกันมากับหลวงพ่อทบ ท่านได้รับการชักชวนจากเจ้าอาวาสวัดสว่างเนตร ต. ดงขุย อ. ชนแดน ให้มาจำพรรษาและพัฒนาวัดร่วมกัน ท่านจึงได้ตัดสินใจจำพรรษาที่วัดนี้ เป็นเวลาถึง 7 พรรษา ช่วง พ.ศ. 2492 – 2498 และสอบได้นักธรรมชั้นเอกที่วัดสว่างเนตร หลังจากนั้นท่านได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดสิริรัตนาราม บ้านท่านข้าม อ. ชนแดนอีก 7 พรรษา ในช่วง 14 พรรษา ที่อยู่ที่ อ. ชนแดนนี้ ท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นพระสังฆาธิการทำหน้าที่เลขานุการเจ้าคณะตำบล และเคยรักษาการเจ้าคณะตำบลดงขุย ชนแดน อยู่หลายปี และท่านได้เดินทางไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อทบ วัดเขาน้อย ( วัดพระพุทธบาทเขาน้อยในปัจจุบัน ) เทพเจ้าของชาวเพชรบูรณ์ ท่านได้เรียนวิชาอาคมต่าง ๆ คู่กับพระอาจารย์เพ็ง ( พระที่จารตะกรุดให้หลวงพ่อทบ ) ศิษย์เอกของหลวงพ่อทบอีกรูปหนึ่งจากหลวงพ่อทบจนหมดสิ้นวิชาความรู้ของหลวงพ่อทบ และ ยังได้ช่วยเป็นธุระในการสอนหนังสือนักธรรมให้แก่พระภิกษุและสามเณรที่วัด หลวงพ่อทบตลอดระยะเวลาที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่ อ. ชนแดน อีกด้วย นอกจากนี้ท่านยัง เป็นพระคู่สวด คู่กับพระอาจารย์เพ็ง คอยสวดญัตติจตุถกรรมวาจาให้แก่ผู้ที่จะบวช โดยมีหลวงพ่อทบ นั่งเป็นพระอุปัชฌาย์ โดยท่านได้ร่วมเดินทางไปบวชพระกับหลวงพ่อทบในถิ่นทุรกันดารเกือบจะทุกที่ เช่น วังโป่ง ดงขุย ท่าข้าม สามแยกวังชมภู ยางหัวลม นาเฉลียง ฯลฯ หลังจากที่อยู่ฝากตัวเป็นศิษย์และช่วยหลวงพ่อทบสอนหนังสือและบูรณะก่อสร้างถาวรวัตถุที่วัดเขาน้อย และวัดที่ท่านจำพรรษาแล้ว จนมีความเจริญก้าวหน้าโดยลำดับแล้ว พอถึง ปี 2506 ท่านเบื่อหน่ายในตำแหน่งทางการปกครอง มุ่งแสวงหาความสงบทางด้านจิตใจ ท่านจึงได้ตัดสินใจกราบลาหลวงพ่อทบ ออกเดินจาริกธุดงค์จาก อ. ชนแดน ข้ามเทือกเขารังสามแยกวังชมภู ผ่านมาทางบ้านนาเฉลียง หนองไผ่ บึงสามพัน และได้เดินธุดงค์มาทางบ้านถ้ำท่าเกย ต. สามแยก มาพักที่วัดถ้ำท่าเกยได้ระยะหนึ่ง ก็มีชาวบ้านจากบ้านพรหมยามและบ้านโค้งสุพรรณ ได้พากันเดินทางมานิมนต์ท่านให้ไปช่วยสร้างวัดที่บ้านพรหมยาม ท่านจึงรับนิมนต์และเดินทางมายังบ้านพรหมยามเมื่อวันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม 2506 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 8 ซึ่งเป็นวันโกนก่อนวันพระเข้าพรรษาเพียง 1 วัน ชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างกุฏิที่พักชั่วคราวเป็นเรือนไม้ไผ่หลังคามุงหญ้าคา ให้ท่านได้พักจำพรรษาหลังจากนั้นพอออกพรรษาแล้ว ท่านได้ชักชวนชาวบ้านในละแวกหมู่บ้านใกล้เคียงให้ช่วยกันสร้างวัดพรหมยามขึ้นมา วัดพรหมยามได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน ประกอบกับปฏิปทาที่น่าเลื่อมใสน่าเคารพของหลวงพ่อผอง ทำให้ท่านเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านอย่างที่สุด ประกอบกับวัตถุมงคลของท่าน ที่ท่านปลุกเศกและได้ทำตามตำราวิชาที่เรียนมาจากหลวงพ่อทบ มีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่สายตาของชาวบ้านโดยทั่วไป และยังเป็นประสบการณ์ที่หนัก ๆ อีกด้วย เช่น โดนถล่มยิงด้วย M 16 ถึง 40 นัด รถพรุนทั้งคัน คนขับลูกปืนถาก ๆ แขนขาบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย คนนั่งไปด้วยเสื้อขาดหนังท้องถลอก อีกรายฟ้าผ่าลงมาเต็ม ๆ ที่ร่างไฟลุกเต็มหลังควันพวยพุ่งออกจากหัวแต่ไม่เป็นอะไรเลย อีกรายโดนยิงด้วยลูกซองยาวระยะ 7 เมตร ลูกตะกั่วเข้าเต็มหน้าอกทุกเม็ดกระเด็นหงายท้อง ไปหาหมอเอาคีบหนีบลูกตะกั่วแบน ๆ ที่ติดตามหน้าอกออกแล้วกลับบ้านได้ ทางด้านเมตตามหานิยมท่านก็เป็นเยี่ยมมาก โดยเฉพาะสีผึ้งมหาเสน่ห์มหานิยม แต่ท่านจะนาน ๆ ทำครั้งนึง ปัจจุบันเลิกทำแล้ว ฯลฯ และอีกอย่างหนึ่งวัตถุมงคลประเภทพระเครื่องของท่านก็สร้างน้อยมาก ทำให้ชาวบ้านหวงแหนและแสวงหาวัตถุมงคลของท่านเป็นอันมาก ปฏิปทาที่น่าเลี่ยมใสของท่านอีกอย่างคือท่านไม่ยึดติดในลาภสักการะแต่อย่างใด ไม่สะสมวัตถุข้าวของเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรม บางครั้งท่านอาพาธเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาท คณะศิษย์ยังต้องช่วยกันออกค่ารักษาพยาบาทให้ เพราะท่านไม่สะสมจตุปัจจัยไทยธรรมญาติโยมถวายมาเท่าไหร่ ท่านก็เอามาก่อสร้างถาวรวัตถุและบำเพ็ญทานบารมีจนหมดสิ้น กุฏิที่ท่านอยู่ก็เป็นเพียงกุฏิหลังเล็ก ๆ พอได้อาศัยจำวัดและปฏิบัติธรรมเท่านั้น ปัจจุบันนี้ท่านอายุ 83 ปี พรรษาที่ 62 แต่ท่านก็ยังมีสุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บป่วยแต่อย่างใด หลวงพ่อผองท่านนับว่าเป็นศิษย์สายตรงที่เหลือน้อยมาก ๆ ของ หลวงพ่อทบอีกรูปหนึ่ง ที่มีระยะเวลาของช่วงชีวิตเกี่ยวพันกับหลวงพ่อทบนานถึง 14 ปี 2492 – 2506 ท่านนับว่าเป็นพระสุปฏิปันโนที่น่าเลื่อมใสและกราบไว้ได้อย่างสนิทใจอีกรูปหนึ่งของเมืองเพชรบูรณ์
ราคาเปิดประมูล500 บาท
ราคาปัจจุบัน8,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลศ. - 25 ก.ค. 2557 - 07:59.06
วันปิดประมูล พฤ. - 14 ส.ค. 2557 - 07:59.06 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 8,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
3,000 บาท พ. - 30 ก.ค. 2557 - 21:07.27
4,000 บาท พ. - 30 ก.ค. 2557 - 21:07.37
5,000 บาท พ. - 30 ก.ค. 2557 - 21:07.46
6,100 บาท พ. - 30 ก.ค. 2557 - 21:07.53
7,100 บาท พ. - 30 ก.ค. 2557 - 21:08.07
8,000 บาท พ. - 30 ก.ค. 2557 - 21:08.21
กำลังโหลด...
Top