เหรียญ หลวงพ่อจรัส (ห้วย) วัดประชารังสรรค์ จังหวัดศรีสะเกษ - webpra

ประมูล หมวด:พระเกจิภาคอีสานใต้

เหรียญ หลวงพ่อจรัส (ห้วย) วัดประชารังสรรค์ จังหวัดศรีสะเกษ

เหรียญ หลวงพ่อจรัส (ห้วย) วัดประชารังสรรค์ จังหวัดศรีสะเกษ เหรียญ หลวงพ่อจรัส (ห้วย) วัดประชารังสรรค์ จังหวัดศรีสะเกษ เหรียญ หลวงพ่อจรัส (ห้วย) วัดประชารังสรรค์ จังหวัดศรีสะเกษ เหรียญ หลวงพ่อจรัส (ห้วย) วัดประชารังสรรค์ จังหวัดศรีสะเกษ
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญ หลวงพ่อจรัส (ห้วย) วัดประชารังสรรค์ จังหวัดศรีสะเกษ
รายละเอียดเหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อจรัส (ห้วย) วัดประชารังสรรค์ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ เนื้อทองแดง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2524 (องค์จริงสวยกว่าในภาพ) พุทธคุณไม่ต้องโม้ให้เสียเวลาจ้า สำหรับท่านที่กำลังมองหาวัตถุมงคลดีราคาย่อมเยา เรามีวัตถุมงคลหลายรายการไว้บริการท่าน ตามลิงค์นี้เลยจ้า http://www.web-pra.com/Shop/silaladหวัดศรีสะเกษ สภาพสวยครับผม

เจ้าคุณจรัส เขมจารี
หลวงปู่ห้วยแห่งลุ่มน้ำห้วยทับทัน

ชาติกาล
เจ้าคุณจรัส เขมจารี ชาติกำเนิดเดิมชื่อ จรัส ศรีสุข เกิดวันจันทร์ที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ร.ศ.๑๔๖ จ.ศ.๑๒๘๙ ค.ศ.๑๙๒๗ (ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๙ ปีเถาะ) ที่บ้านเมืองจันทร์ ตำบลเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ โยมบิดาชื่อ นายมา ศรีสุข โยมมารดาชื่อ นางผุย ศรีสุข ท่านเป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง ๗ คน วัยเด็กเจ้าคุณฯได้เข้าเรียนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดบ้านเมืองจันทร์ จบชั้น ป.๓ เพราะมีสอนเท่านั้น จึงออกจากโรงเรียนมาช่วยงานโยมบิดามารดาช่วยดูแลน้อง ๆ ในฐานะพี่คนโต
พ.ศ.๒๔๘๗ อายุได้ ๑๗ ปี จึงได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดหลวงสุมังคลาราม เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย จนกระทั่งสอบได้นักธรรมชั้นตรี
พ.ศ.๒๔๙๑ เมื่ออายุครบ ๒๑ ปี จึงได้รับการอุปสมบทขึ้นเป็นพระภิกษุในนามฉายาว่า “เขมจารี” โดยมีพระครูสิริสารคุณ (ศรี ฐิตธมฺโม) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาธวัช วิมโล เป็นพระกรรมวาจารย์ พระมหาหน่วย ขันติโก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ณ พัทธสีมาวัดหลวงสุมังคลาราม ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
เมื่อได้รับอุปสมบทแล้ว ท่านได้ฝักไผ่ในการศึกษามาก ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม สอบได้นักธรรมชั้นเอก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘ สำนักเรียนวัดหลวงสุมังคลาราม ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ และศึกษาแผนกบาลีด้วย ต่อมาท่านก็สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๕ สังกัดสำนักศาสนศึกษาวัดประชารังสรรค์ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
พ.ศ.๒๔๘๓-๒๔๙๒ เดิมทีวัดประชารังสรรค์แห่งนี้ยังเป็นสำนักสงฆ์ ที่มีการพัฒนาไม่ต่อเนื่องเท่าที่ควร มีเจ้าอาวาสมาแล้ว ๒ รูป สภาพยังเป็นป่า มีเนื้อที่ประมาณ ๓๓ ไร่เศษ และมีการประกาศตั้งวัดเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๓ (ก่อนกฎกระทรวง)
พ.ศ.๒๔๙๕ ท่านเจ้าคุณพระราชคณาภรณ์ (ดาว ญาณธโร) เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ (ธรรมยุต) ในสมัยนั้น ได้รับเรื่องราวเกี่ยวกับวัดป่าศรีสำราญและวัดป่าประชารังสรรค์ บ้านห้วยทับทัน ว่าไม่มีพระอธิการเจ้าวัดปกครองแลดู ท่านเจ้าคุณจึงได้พิจารณาคัดเลือกพระภิกษุในวัดผู้มีความรู้ความสามารถและจริยวัตรพอไว้วางใจได้ ให้ไปเป็นเจ้าอธิการปกครองดูแลแทน จึงคัดเลือก พระบุญเลื่อน ปภากโร เพื่อสหธรรมมิกรูปหนึ่งของหลวงพ่อไปจำพรรษาที่วัดป่าศรีสำราญ เมืองศรีสะเกษ และได้คัดเลือก พระจรัส เขมจารี คือท่านหลวงพ่อให้มาประจำที่วัดป่าประชารังสรรค์ บ้านห้วยทับทัน หมู่ ๑ ท่านหลวงพ่อได้เดินทางเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๔๙๕ ในพรรษาแรกแรกนั้นเข้าจำพรรษาในกุฎิกระท่อมมุงหญ้า ฝาไม้ไผ่ขัดแตะแถบตอง มีพระภิกษุ ๔ รูป สามเณร ๒ รูป สภาพค่อนข้างลำบากอยู่มาก แต่ก็สงบร่มรื่นด้วยราวป่าที่มีสภาพยังเป็นป่าอยู่บ้าง
พ.ศ.๒๔๙๖ ชาวบ้านห้วยทับทันได้พากันสร้างกุฎิเรือนไม้หลังแรกขึ้นถวาย และหลวงพ่อก็ได้อาศัยเป็นที่บำเพ็ญสมณกิจมาโดยตลอด ท่านใช้สอยสนองศรัทธาอย่างคุ้มค่าเป็นเวลาเนิ่นนาน จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๓๘ กุฎิมีสภาพทรุดโทรมมาก ถูกปลวกกัดแทะเนื้อไม้ผุพังไปเกือบทั้งหลัง จึงได้รื้อออก แล้วได้รับทุนจากคณะศิษยานุศิษย์ร่วมกันสร้างกุฎิทรงไทยขึ้นถวายแทน เป็นเรือนไม้ทั้งหลัง พื้นล่างปูหินอ่อน สร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐
พ.ศ.๒๔๙๘ หลวงพ่อได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดประชารังสรรค์ บ้านห้วยทับทัน หมู่ ๑ ตำบลห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ตราตั้งที่ ๒/๒๔๙๘ ลงวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๘
พ.ศ.๒๔๙๙ หลวงพ่อได้นำพาชาวบ้านห้วยทับทันสร้างศาลาเรือนไม้ขึ้น ๑ หลัง ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระประธานประจำวัด เป็นที่กระทำกิจวัตรสวดมนต์เช้า-เย็นของพระภิกษุสามเณร และยังใช้เป็นที่บำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ ของชาวบ้านด้วย
พ.ศ.๒๕๑๓ วัดแห่งนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาขึ้นเป็นวัดอย่างสมบูรณ์ในนามว่า “วัดประชารังสรรค์” เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓ เนื่องจากอยู่ในเขตป่าเสื่อมโทรม ชาวบ้านจึงนิยมเรียกเป็น “วัดป่าประชารังสรรค์” ณ ปัจจุบันวัดแห่งนี้มีเนื้อที่ ประมาณ ๘๖ ไร่
ท่านหลวงพ่อได้ปฏิบัติศาสนกิจอบรมสั่งสอนประชาชน และพระภิกษุสามเณรในปกครองด้วยความเมตตาเป็นที่ตั้ง ท่านจึงมีสัทธิวิหาริก และอันเตวาสิกมากมาย ประกอบกับท่านวางตนเรียบง่ายสมถะ ชอบความสันโดษตามแบบศากยบุตร จึงเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของเหล่าประชาชนที่ได้พบเห็น จากปฏิปทาและจริยวัตรอันเรียบสมถะของท่าน ได้ชักนำคณะศรัทธาธรรมต่าง ๆ มาทำบุญได้บริจาคทรัพย์สินส่วนตัวสร้างเสนาสนะเป็นกุฎิเรือนไม้บ้าง กุฎิอิฐโบกปูนบ้าง กุฎิทรงไทยโบกปูนบ้าง กุฎิเรือนไม้สักทั้งหลังบ้าง รวมทั้งหมด ๑๕ หลัง และยังมีห้องน้ำขนาด ๑๒ ห้อง ระดับมาตรฐานอีกด้วย ๒ หลัง
พ.ศ.๒๕๒๐ ท่านได้นำคณะศรัทธาธรรม และชาวห้วยทับทันก่อสร้างอุโบสถลักษณะศิลปกรรมทรงไทยขึ้น ๑ หลัง กว้าง ๗.๒๐ เมตา ยาว ๒๐ เมตร เพื่อใช้เป็นที่ทำสังฆกรรมของสงฆ์แล้วเสร็จ รวมค่าก่อสร้างประมาณ ๔,๕๐๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ.๒๕๓๐ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๐ ตราตั้งที่ ๕/๒๕๓๐
พ.ศ.๒๕๓๖ เนื่องจากในแต่ละปีมีประชาชนมาร่วมทำบุญบำเพ็ญกุศลในวันสำคัญแต่ละครั้งมากมาย ศาลาเรือนไทยเดิมไม่สามารถรองรับได้หมด หลวงพ่อจึงให้ก่อสร้างศาลาขึ้นอีกหลังหนึ่ง เป็นวิหารขนาดกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๕๔ เมตร ตรงพื้นที่ด้านทิศใต้อุโบสถ เพื่อใช้เป็นที่ทำบุญบำเพ็ญกุศล รองรับคนหมู่มาก วิหารหลังนี้ใช้งบประมาณก่อสร้างประมาณ ๒๐ ล้านขึ้นไป จึงได้เสร็จสมบูรณ์
พ.ศ.๒๕๓๔ เจ้าคุณฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญทางการศึกษา ซึ่งเป็นการสืบอายุศาสนาอีกส่วนหนึ่ง จึงได้นำพาคณะศิษยานุศิษย์ตั้งมูลนิธิเพื่อการพัฒนาส่งเสริมพระพุทธศาสนาขึ้นในนาม ”“มูลนิธิวัดประชารังสรรค์จรัสเขมจารีนุสรณ์” ซึ่งในวาระทำบุญคล้ายวันเกิดทุกปี ท่านได้นำดอกผลมาเป็นทุนการศึกษาของพระภิกษุสามเณรที่สอบนักธรรมและเปรียญธรรมได้ และยังแบ่งส่วนหนึ่งเป็นทุนสนับสนุนนักเรียนเยาวชนที่ศึกษาธรรมะสอบธรรมศึกษาได้อีกด้วย แต่ละปีเฉลี่ย ๑๐๐,๐๐๐ บาท และรับภาระเป็นประธานมูลนิธิการศึกษาอำเภอห้วยทับทันอีกด้วย
นอกจากจะตั้งมูลนิธิฯและมอบทุนการศึกษาแก่พระภิกษุ-สามเณร-เด็กและเยาวชนแล้ว ยังรับภาระเป็นองค์อุปถัมภ์ในการเปิดขยายห้องเรียนสาขาพุทธศาสตร์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ห้องเรียนศรีสะเกษ เปิดสอนทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ณ วัดหลวงสุมังคลาราม อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
จากผลงานที่เป็นรูปธรรมแล้ว ด้านการบริหารพระภิกษุสามเณรในปกครอง ด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม งานช่วยเหลือสาธารณกุศลอื่น ๆ หลวงพ่อได้ปฏิบัติ ให้การอุปถัมภ์และการสนับสนุนมาโดยตลอด คิดเป็นมูลค่าเป็นจำนวนเงินประมาณ ๑๐ ล้าน ถึง ๑๓ ล้านของแต่ละปี จนได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอฝ่ายธรรมยุตปกครองพระภิกษุสามเณร ในพื้นที่เขตอำเภอห้วยทับทัน อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอปรางค์กู่ อำเภอราษีไศล อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ และอำเภอศิลาลาด เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙
อันเนื่องด้วยปฏิปทาที่สมถะและผลงานทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมอันหลากหลาย หลวงพ่อได้รับการยกย่องเชิดชูจากคณะสงฆ์และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สูงขึ้น โดยลำดับ
๕ ธันวาคม ๒๕๔๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชทินนามโปรดเกล้าให้เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ สายวิปัสสนาที่ พระญาณวิเศษ (สป.วิ.)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ (ธรรมยุต) และตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหลวงสุมัง-คลารามว่างลง หลวงพ่อจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ (ธรรมยุต) ตามมติมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๗ ตราตั้งที่ ๘/๒๕๔๗ แต่งตั้ง ณ วันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๗ และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงสุมังคลาราม ตามมติมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ตราตั้งที่ ๒/๒๕๔๘ แต่งตั้ง ณ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๘
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ เนื่องจากหลวงพ่อได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ (ธรรมยุต) จนมีอายุครบ ๘๐ ปีบริบูรณ์ แต่ยังมีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ (ธรรมยุต) ต่อไปอีก เพราะยังมีสุขภาพแข็งแรง สามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดได้อีกทั้งยังเป็นที่เคารพศรัทธาของคณะสงฆ์และประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษ จึงได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งเดิมต่อไปอีก๓ ปีเฉพาะกรณี ตามมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๐ ตราตั้งที่ ๖/๒๕๕๐ แต่งตั้ง ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๐
ต่อมา พ.ศ.๒๕๕๓ ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๘/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๓ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า สมเด็จพระวันรัต ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ได้มีลิขิต ที่ ๔๗/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๓ แจ้งตามรายงานของ พระธรรมฐิติญาณ เจ้าคณะภาค ๑๐ (ธรรมยุต) ผู้บังคับบัญชาใกล้ชิด ซึ่งเสนอแต่งตั้ง พระญาณวิเศษ (จรัส เขมจารี) อายุ ๘๓ พรรษา ๖๒ ป.ธ.๓ น.ธ.เอก วัดหลวงสุมังคลาราม ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ (ธรรมยุต) ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่มาโดยเรียบร้อย จนมีอายุครบ ๘๓ ปี บริบูรณ์ และไม่ทุพพลภาพหรือพิการให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ (ธรรมยุต)ที่ประชุมพิจารณาแล้วลงมติอนุมัติแต่งตั้ง พระญาณวิเศษ วัดหลวงสุมังคลาราม ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ (ธรรมยุต) ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ (ธรรมยุต) ตามมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๘/๒๕๕๓ มติที่ ๑๘๘/๒๕
เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ พระญาณวิเศษ เจ้าอาวาสวัดหลวงสุมังคลาราม /ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ (ธรรมยุต) ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ “พระราชญาณโสภณ วิ ”
เจ้าคุณจรัส เขมจารี ในฐานะที่เป็นเจ้าสำนักวัดประชารังสรรค์ได้สร้างศรัทธาให้แก่หมู่ญาติโยม นำญาติโยมสร้างวัดประชารังสรรค์จากวัดเดิมที่เป็นเพียงสำนักสงฆ์มีกุฏิไม่ กี่หลังให้เป็นวัดที่มีความสมบูรณ์ด้วยศาสนสมบัติที่สามารถใช้กิจทางพระพุทธ ศาสนาได้อย่างเต็มที่ จึงนับได้ว่าเจ้าคุณจรัส เขมจารีเป็นพระเถระผู้สร้างประโยชน์ทั้งแก่ส่วนตนและสังคม ยังความเลื่อมใสศรัทธาให้แก่พุทธศาสนิกชนในเขตอำเภอห้วยทับทันเป็นอย่างมาก จนได้เรียกนามของเจ้าคุณว่า “หลวงพ่อห้วย” เพราะความที่เคารพรักศรัทธาท่านเจ้าคุณเปรียบเสมือนพ่อที่สร้างอำเภอห้วยทับทันมา ดังนั้นพุทธศาสนิกชนทั้งในจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียงที่มากราบไหว้ สักการะ จึงนิยมเรียกนามเจ้าคุณติดปากว่า “หลวงพ่อห้วย” จนบัดนี้
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน200 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลพฤ. - 31 ก.ค. 2557 - 21:47.35
วันปิดประมูล พ. - 20 ส.ค. 2557 - 21:47.35 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 200 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
200 บาท ศ. - 01 ส.ค. 2557 - 10:14.06
กำลังโหลด...
Top