เหรียญสมเด็จพระสังฆราช (ปลด) วัดเบญจมบพิตร ปี 2505..เริ่ม20บาท(17/08/57-67) - webpra

ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

เหรียญสมเด็จพระสังฆราช (ปลด) วัดเบญจมบพิตร ปี 2505..เริ่ม20บาท(17/08/57-67)

เหรียญสมเด็จพระสังฆราช (ปลด) วัดเบญจมบพิตร ปี 2505..เริ่ม20บาท(17/08/57-67) เหรียญสมเด็จพระสังฆราช (ปลด) วัดเบญจมบพิตร ปี 2505..เริ่ม20บาท(17/08/57-67) เหรียญสมเด็จพระสังฆราช (ปลด) วัดเบญจมบพิตร ปี 2505..เริ่ม20บาท(17/08/57-67) เหรียญสมเด็จพระสังฆราช (ปลด) วัดเบญจมบพิตร ปี 2505..เริ่ม20บาท(17/08/57-67) เหรียญสมเด็จพระสังฆราช (ปลด) วัดเบญจมบพิตร ปี 2505..เริ่ม20บาท(17/08/57-67)
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญสมเด็จพระสังฆราช (ปลด) วัดเบญจมบพิตร ปี 2505..เริ่ม20บาท(17/08/57-67)
รายละเอียดยังคงยืนหยัด ราคาเดิมใหม่เปลี่ยนแปลงครับ
**********เริ่ม20บาท ทุกรายการ *******
รอบนี้..15/08/2557-19/08/2557 ครับ 21.00 น.ของทุกวันครับ
รอบนี้ลงไม่ต่ำกว่า 150 รายการเท่านั้นครับ 5 วันๆละประมาณ 30 รายการ ขอบคุณทุกท่านที่เข้าร่วมประมูลครับผม

..............รายละเอียด......

************************
พระประวัติ
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (ปลด กิตติโสภโณ)
วัดเบญจมบพิตร
พระองค์ที่ ๑๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ประสูติ
สมเด็จพระสังฆราช (กิตติโสภณมหาเถระ) พระนามเดิม “ปลด” นามบิดา ขุนพิษณุโลกประชานาถ (ล้ำ) นามมารดา ท่านปลั่ง ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ ตรงกับวันแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลูเอกศก จุลศักราช ๑๒๕๑ เวลา ๑๐ ทุ่ม (๐๔.๐๐ น.) เศษ ที่บ้านในตรอกหลังตลาดพาหุรัด ติดกับวัดราชบุรณะ ในพระนคร

ท่านขุนพิษณุโลกประชานาถ (ล้ำ) เป็นมหาดเล็กใกล้ชิดในพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เป็นเจ้ากรมคนแรกในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

สมเด็จพระสังฆราชเคยรับสั่งว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้รับสั่งชี้แจงให้ทราบว่า มีสายตระกูลสัมพันธ์กันโดยฐานพระญาติ ในสายตระกูลเกตุทัต, หงสกุล, สกุณะสิงห์, และคชาชีวะ, โดยท่านเจ้ากรมล้ำ เป็นบุตรท่านสั้น และหลวงรักษ์ราชหิรัญ (หนูพิณ) และสมเด็จพระสังฆราชทรงใช้นามสกุลว่า “เกตุทัต” เสมอ เพราะทรงถือว่าเป็นสายใหญ่ ส่วนท่านปลั่งนั้น โดยสายตระกูลเพียงแต่แจ้งว่าเป็นญาติกับหม่อมสว่าง ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์ โดยสมเด็จพระสังฆราช ทรงทั้งอยู่ในฐานะเป็นน้าของพระโอรสธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นั้น ที่กำเนิดแต่หม่อมสว่าง

สมัยทรงพระเยาว์และเริ่มการศึกษา
ท่านปลั่งได้พาสมเด็จพระสังฆราช แต่ยังทรงพระเยาว์ ไปอยู่กับท่านตาหรั่งและท่านยายน้อย (ท่านตาและท่านยายของสมเด็จพระสังฆราช) ที่บ้านเดิมในตรอกหลังพระราชวังเดิมธนบุรี ทรงเจริญวัย ณ บ้านนี้ จนถึงเวลาไปบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดพระเชตุพน เมื่อพระชนม์ ได้ ๑๒ ปี

ได้ทรงศึกษาอักขรสมัยพออ่านออกเขียนได้แล้ว เริ่มเรียนภาษาบาลีแต่เมื่อพระชนม์ได้ ๘ ปี โดยท่านตาเป็นผู้พาไปเรียนกับอาจารย์และรับกลับบ้าน ได้เรียนมูลกัจจายน์กับอาจารย์ฟัก วัดประยูรวงศาวาส จนจบการก และเรียน ธมฺมปทฏฺฐกถากับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (เปีย) แต่ยังเป็นพระเทพมุนี วัดกัลยาณมิตร วัดพระเชตุพน และพระยาธรรมปรีชา (บุญ) แต่ยังเป็นพระวิจิตรธรรมปริวัตร ซึ่งเป็นอาจารย์หลวงสอนพระปริยัติธรรม ณ วัด สุทัศนเทพวราราม

การเรียนภาษาบาลีของพระองค์ในระยะนี้ คล้ายกับนักเรียนไปโรงเรียนอย่างในปัจจุบันกล่าวคือ ยังคงอยู่ที่บ้าน แล้วมาเรียนหนังสือตามสถานที่ดังกล่าว แบบนักเรียนไปกลับ จนถึง พ.ศ. ๒๔๔๓ พระชนม์ได้

๑๒ ปี จึงทรงบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ ณ วัดพระเชตุพน

บรรพชา
ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ในสำนักพระสาธุศีลสังวร (บัว) วัดพระเชตุพน เมื่อพระชนม์ได้ ๑๒ ปี ในปีชวด พ.ศ. ๒๔๔๓ ต่อมาอีก ๓ เดือนก็ได้เข้าสอบพระปริยัติธรรมในปลายปีนั้น ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณนิภาคุณากร วัดราชบพิธ ทรงเป็นอธิบดีการสอบไล่

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นสามเณรปลดเข้าแปลได้ประโยค ๑ ก็รับสั่งว่า “เณรเล็ก ๆ ก็แปลได้” และรับสั่งถามถึงอาจารย์ ท่านเจ้าคุณพระสาธุศีลสังวร (บัว) จึงนำถวายตัว ครั้นทรงสอบถามได้ความว่าเป็นบุตรเจ้ากรมล้ำก็ยิ่งทรงพระกรุณา จึงโปรดให้อยู่วัดเบญจมบพิตร ดุสิตวนาราม ตั้งแต่วันนั้น ต่อมาได้เข้าแปลประโยค ๒ และประโยค ๓ ได้ ในการสอบไล่คราวนั้น

เมื่อได้มาอยู่วัดเบญจมบพิตรแล้ว ก็ได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมสูงขึ้นโดยลำดับ ประโยค ป.ธ. ๔ - ๕ - ๖ ได้ศึกษากับท่านอาจารย์ คือ สมเด็จพระวันรัต ปุณณทัตตมหาเถระ (จ่าย) เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรองค์ประถม และสมเด็จพระวันรัต อุทยมหาเถระ (ฑิต) เจ้าอาวาส วัดมหาธาตุ ผู้กำกับการวัดเบญจมบพิตร และอาจารย์อื่น ๆ อีกหลายท่าน ผลของการศึกษา ปรากฏว่าทรงสอบไล่พระปริยัติธรรมประโยค ๙ ได้เมื่อพระชนม์ย่างเข้าปีที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๔๕๑)

อุปสมบท
ทรงได้อุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๔ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๕๒
ราคาเปิดประมูล10 บาท
ราคาปัจจุบัน40 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลอา. - 17 ส.ค. 2557 - 21:02.17
วันปิดประมูล จ. - 18 ส.ค. 2557 - 21:13.03 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 40 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
20 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) อา. - 17 ส.ค. 2557 - 21:13.03
30 บาท อา. - 17 ส.ค. 2557 - 23:33.24
40 บาท จ. - 18 ส.ค. 2557 - 05:35.14
กำลังโหลด...
Top