เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง เนื้อสำริดโบราณ รุ่นสร้างสะพาน ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม จัดสร้างในปี ๒๕๔๕ - webpra

ประมูล หมวด:พระเกจิสายนครปฐม

เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง เนื้อสำริดโบราณ รุ่นสร้างสะพาน ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม จัดสร้างในปี ๒๕๔๕

เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง เนื้อสำริดโบราณ รุ่นสร้างสะพาน ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม จัดสร้างในปี ๒๕๔๕ เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง เนื้อสำริดโบราณ รุ่นสร้างสะพาน ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม จัดสร้างในปี ๒๕๔๕ เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง เนื้อสำริดโบราณ รุ่นสร้างสะพาน ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม จัดสร้างในปี ๒๕๔๕
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง เนื้อสำริดโบราณ รุ่นสร้างสะพาน ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม จัดสร้างในปี ๒๕๔๕
รายละเอียด**รหัส ศ.ร.๓๒๒๖
เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง เนื้อสำริดโบราณ รุ่นสร้างสะพาน ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม จัดสร้างในปี ๒๕๔๕ พระหนาสวยสีออกนวะ

พระคาถาหลวงพ่อวัดไร่ขิง
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา มะเหสักขายะ เทวะตายะ อะภิปาลิตัง อิทธิปาฏิหาริกัง มังคะละจินตารามะ
พุทธะปะฏิมากะรัง ปูชามิหัง ยาวะชีวัญจะ สุกัมมิโก สุขะปัตติตถายะ

ประวัติ วัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม
วัดไร่ขิง ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จ.นครปฐม สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย สร้างโดย "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก)" มีหลวงพ่อวัดไร่ขิงซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นพระประธาน ที่ชาวนครปฐม
เคารพนับถือ ระหว่างวันขึ้น ๑๓ ค่ำ ถึงแรม ๓ ค่ำ เดือน ๕ และช่วงเทศกาลตรุษจีนทุกปี จะมีงานเทศกาลนมัสการปิดทองหลวงพ่อวัดไร่ขิงประจำปี ซึ่งเป็นงานใหญ่ของชาวนครปฐม วัดไร่ขิงเดิมเป็นวัดราษฎร์ ต่อมาจึงยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๓
คนรุ่นเก่าได้เล่าสืบต่อกันมาว่า วัดไร่ขิงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๔ โดยพระธรรมราชานุวัตร (พุก) ชาวเมืองนครชัยศรี มณฑลนครชัยศรี (ต่อมา ท่านได้รับสถาปนาสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) ซึ่งในขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาปูวรวิหาร ท่านได้กลับมาสร้างวัดไร่ขิงและวัดดอนหวาย ซึ่งเป็นบ้านโยมบิดาและมารดาของท่าน แต่ยังไม่แล้วเสร็จสมเด็จพุฒาจารย์ (พุก) มาณภาพเมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๔๒๗ สิริอายุได้ ๙๑ ปี ดังนั้น งานทุกอย่างจึงตกเป็นภาระของพระธรรมราชานุวัตร (อาจ จนฺทโชโต) เจ้าอาวาสวัดศาลาปูนรูปที่ ๖ ซึ่งเป็นหลานชายของท่าน แต่ไม่ทราบว่าท่านกลับมาปฏิสังขรณ์วัดเมื่อใดหรือท่านอาจจะมาในปี พ.ศ.๒๔๕๓ ตอนที่ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระธรรมราชานุวัตรก็อาจเป็นไปได้ ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุ ๗๕ ปี และเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาปูนรูปที่ ๖ ต่อจากสมเด็จพุฒาจารย์ (พุก)
การปฏิสังขรณ์วัดไร่ขิงในสมัยท่านอยู่ประมาณปี พ.ศ.๒๔๒๗ หรือ ๒๔๕๓ เป็นต้นมาสำหรับชื่อวัดนั้น มีเรื่องเล่าว่า พื้นที่วัดในอดีตมีชาวจีนปลูกบ้านอาศัยอยู่กันเป็นจำนวนมากและนิยมปลูกขิงกันอย่างแพร่หลาย จนเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านหรือชุมชนในแถบนั้นว่า "วัดไร่ขิง" ต่อมา เมื่อมีชุมชนหนาแน่นมากยิ่งขึ้นจึงได้มีการสร้างวัดเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านดังนั้น วัดจึงได้ชื่อตามชื่อของหมู่บ้านหรือชุมชนว่า "วัดไร่ขิง"
ในราวปี พ.ศ. ๒๔๔๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ เสด็จตรวจเยื่ยมวัดในเขตอำเภอสามพราน สมเด็จฯ ได้เสด็จมาที่วัดไร่ขิงและทรงตั้งชื่อวัดใหม่ว่า "วัดมงคลจินดาราม" ทั้งทรงใส่วงเล็บชื่อเดิมต่อท้ายจึงกลายเป็น"วัดมงคลจินดาราม (ไร่ขิง) เมื่อเวลาผ่านพ้นมานานและคงเป็นเพราะความกร่อนของภาษาจีนทำให้วงเล็บหายไป คงเหลือเพียงคำว่า "ไร่ขิง" ต่อท้ายคำว่า "มงคลจินดาราม" จึงต้องเขียนว่า "วัดมงคลจินดารามไร่ขิง" แต่ในทางราชการยังคงใช้ชื่อเดิมเพียงว่า "วัดไร่ขิง"สืบมาจนทุกวันนี้
องค์หลวงพ่อวัดไร่ขิงเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๔ ศอก ๒ นิ้วเศษ สูง ๔ ศอก ๑๖ นิ้วเศษ
ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี ๕ ชั้น เบื้องหน้าผ้าทิพย์ปูทอดลงมา องค์หลวงพ่อวัดไร่ขิงประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ภายในอุโบสถ หันพระพักต์ไปทางทิศอุดร (ทิศเหนือ) ซึ่งหน้าวัดมีแม่น้ำนครชัยศรีหรือแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน
จากหนังสือประวัติของวัดไร่ขิงได้กล่าวไว้ว่า สมเด็จพุฒาจารย์ (พุก) ได้อัญเชิญมาจากวัดศาลาปูน โดยนำล่องมาทางน้ำด้วยการทำแพไม้ไผ่หรือที่เรียกกันว่าแพลูกบวบรองรับองค์พระปฏิมากร เมื่อถึงหน้าวัดไร่ขิงจิงได้อัญเชิญขึ้รประดิษฐานไว้ภายในอุโบสถ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ซึ่งเป็นวันมหาสงกรานต์พอดี จึงมีประชาชนจำนวนมากมาชุมนุมกัน ในขณะที่อัญเชิญองค์หลวงพ่อขึ้นจากแพสู่ปะรำพิธีได้เกิดอัศจรรย์แสงแดดที่แผดจ้ากลับพลันหายไปความร้อนระอุในวันสงกรานต์ก็ยังเกิดมีเมฆดำมืดทะมึน ลมปั่นป่วน ฟ้าคะนอง และบันดาลให้มีฝนโปรยลงมาทำให้เกิดความเย็นฉ่ำและเกิดความปิติยินดีกันโดยทั่วหน้า ประชาชนที่มาต่างพากันตั้งจิตอธิษฐานเป็นหนึ่งเดียวกันว่า
"หลวงพ่อจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขดับความร้อนคลายความทุกข์ให้หมดไป ดุจสายฝนที่เมทนีดลให้ชุ่มฉ่ำ เจริญงอกงามดว้ยธัญญาหารฉะนั้น " ดังนั้น วันดังกล่าวที่ตรงกับวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของคนไทย ทางวัดจึงได้ถือเป็นวันสำคัญ และได้จัดให้มีงานเทศกาลนมัสการปิดทอง หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นประจำทุกปี สืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้....


นับตั้งแต่หลวงพ่อขอม สละเพศฆาราวาสมาสู่พระพุทธศาสนา ท่านมีความตั้งใจมั่น ดังที่เรียกว่ามโนปณิธานเรื่องนี้ท่านกล่าวกับผู้ใกล้ชิดว่า..อาตมาได้ฟังพระท่านเทศน์ว่า บุคคลผู้ใดเลื่อมใส ได้สร้างพระพุทธรูป จะเล็กเท่าต้นคาก็ดี โตกว่าต้นคาก็ดี ผู้นั้นจะได้เป็นพรหม เป็นอินทร์ หมื่นชาติแสนชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ หมื่นชาติแสนชาติ ผู้นั้นจะไม่เป็นผู้ตกต่ำเลยจนตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน ถ้าผู้ใดสร้างพระพุทธรูปด้วยทองคำ ผู้นั้นจะได้เกิดเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า..ด้วยมโนปณิธานนี้เองทำให้ท่านขอมคิดเริ่มสร้างพระพุทธโคดมด้วยทองสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก พ.ศ. 2500 ท่านขอมก็เริ่มบอกบุญแก่ญาติโยมใช้เวลา 2 ปีกว่าจะเริ่มสร้างได้ เนื่องจากเป็นงานใหญ่นั่นเอง ถึงต้องใช้เวลาสร้างทั้งหมด 12 ปีด้วยกัน จนแล้วเสร็จ พ.ศ. 2512 หลังจากนั้นท่านขอมก็เริ่มสร้างสิ่งก่อสร้างอีกหลายอย่างอาทิเช่น สังเวชนียสถาน 4 ตำบล แดนสวรรค์ นรกภูมิ เมืองกบิลพัสดุ์และอีกหลายๆ อย่างด้วยกันดังที่เห็นกันอยู่กันเท่าทุกวันนี้

วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๓๓ เวลา ๑๖.๕๕ หลวงพ่อขอมก็มรณภาพลงด้วยโรคหัวใจล้มเหลว รวมสิริอายุ ๘๘ ปี พรรษา ๖๘ ทำให้นึกถึงคำปฏิญาณของหลวงพ่อขอม ที่ท่านได้กล่าวไว้ ๕ ข้อ คือ

๑. ชีวิตของเราที่เหลือ ขอช่วยพระพุทธองค์ไปจนตาย ๒.เมื่อมีชีวิตอยู่ ถ้าเรามีเงินส่วนตัวสัก ๑ บาท เราจะอายพุทธบริษัทเป็นอย่างยิ่ง ๓.เราจะให้รูปพระองค์เกลื่อนไปในพื้นธรณี ๔.โอ...โลกนี้ไม่ใช่ของฉัน และ ๕.เราต้องตาย ตายใต้ผ้าเหลืองของเรา

ผลงานของท่านปรากฏอยู่หลายเรื่องเฉพาะ ที่จัดพิมพ์แจกเป็นธรรมทานไปแล้วก็มีเรื่อง ธรรมฑูตเถื่อน พุทธไกรฤกษ์ สมถะและวิปัสสนา ทางด้านวัตถุมงคลที่ท่านอฐิตฐานจิตปลุกเสกนั้น พุทธคุณสูงและโดดเด่นทางด้าน คงกระพันชาตรี แคล้วคลาดกันภัย โชคลาภค้าขาย เมตตามหานิยม
ราคาเปิดประมูล300 บาท
ราคาปัจจุบัน300 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลอา. - 20 ก.ย. 2558 - 20:15.54
วันปิดประมูล ส. - 10 ต.ค. 2558 - 20:15.54 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 300 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top