สมเด็จวัดระฆัง - webpra

หัวข้อ: สมเด็จวัดระฆัง

กระทู้ และ ความคิดเห็นต่างๆ

สมเด็จวัดระฆัง
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 2
ศรีลานนา
ตั้ง: 37 ตอบ: 171
คะแนน: 46
รายละเอียด

เอาข้อมูลมาฝากครับ สำหรับแฟนๆพระสมเด็จ เป็นข้อมูลเบื้องต้นส่วนเรื่องราวของพระสมเด็จก็คงเป็นอะไรที่ต้องศึกษากันด้วยเหตุและผลกันต่อไปนะครับ

สมเด็จวัดระฆัง
โพสต์เมื่อ จ. - 06 ธ.ค. 2553 - 20:28.40
ความคิดเห็นที่ 1:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 2
ศรีลานนา
ตั้ง: 37 ตอบ: 171
คะแนน: 46
รายละเอียด

สำหรับพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์พระประธาน องค์นี้เป็นพระพิมพ์ B ที่มีเนื้อหาจัดจ้านเนื่อง จากการใช้หือสัมผัส รายละเอียดพิมพ์ทรงมีความลึกชัดพิจารณาได้ดังนี้
  1. เส้นซุ้มครอบแก้ว มีลักษณะคล้ายหวายผ่าซีกหนาใหญ่ดูนูนเด่นเป็นทรงชะลูด โดยเฉพาะเส้นโค้งด้านบนจะดูนูนชัดมาก แนวซุ้มค่อนข้างชะลูดโย้ไปทางด้านขวาทำให้ส่วนโค้งด้านขวาองค์พระจะยกสูงดูชันกว่าด้านซ้ายเล็กน้อย
  2. พระเกศ เรียวยาวขึ้นไปจรดยอดซุ้มแต่ปลายเกศจะเอียงไปด้านซ้ายองค์พระห่างจากศูนย์กลางของยอดซุ้มเล็กน้อย
  3. พระพักตร์ เป็นทรงรูปไข่หน้าผากแคบลาดเอียงจากล่างขึ้นไปรับเกศ ส่วนคางจะลาดลงไปรับกับช่วงลำคอที่เรียวบาง ปรากฏปลายหูขวาเป็นติ่งเล็กๆ ยื่นออกจากใบหน้า
  4. ลำพระองค์ แนวไหล่ตรงกว้าง ช่วงลำตัวยาวชะลูดเอวเว้าผายออก ซอกแขนลึกเว้ากินสีข้างซ้ายเข้าไปมากทำให้หน้าอกสอบเป็นทรงตัววี
  5. วงพระกร วงแขนเป็นลำกลมกลึงลึกชัดทอดลงเป็นทรงตัว U จะสังเกตเห็นได้ว่า วงแขนจะกางกว้างออกไปมากกว่าพิมพ์ A แขนซ้ายด้านในจะเป็นสันตรง ฝ่ามือที่ประสานค่อนข้างเรียวบางสวย
  6. พระเพลา เป็นลำยาวกางกว้าง ปรากฏแนวลำแข้งซ้ายเป็นสันนูนยาวแนวระนาบเห็นปลายพระบาทซ้ายชัดเจน
  7. ฐาน ลักษณะของฐานทั้ง 3 ชั้น ฐานชั้นบนจะยาวกว่าพิมพ์อื่นสังเกตได้จากหัวฐานยื่นเลยออกไปมากกว่าแนวหัวเข่าทั้งสองด้าน ฐานชั้นกลางจะเป็นแบบฐานขาสิงห์ มีสันของฐานลักษณะคล้ายคมขวานคมชัดหัวฐานแหลมเห็นขาสิงห์แผ่วๆ ผนังใต้ฐานนี้จะดูเว้าลาดเฉียงเข้าไปด้านในองค์พระดูคล้ายแอ่ง ส่วนฐานชั้นล่างสุดจะหนาใหญ่ หัวฐานชั้นล่างจะตัดเฉียงค่อนข้างชัน
  8. ขอบ เป็นสันนูนคมชัดทั้งด้านซ้ายและขวา ให้สังเกตว่าขอบพิมพ์ด้านซ้ายขององค์พระจะตัดชิดเส้นซุ้มมากและวิ่งไปจรดกับเส้นซุ้มครอบแก้วตรงแนวข้อศอกพอดี
  9. พื้นผิว เนื่องจากเป็นพระที่แก่มวลสารประกอบกับผ่านการใช้หรือสัมผัส เนื้อพระจึงดูจัดจ้านหนึกนุ่มนวลตา ปรากฏธรรมชาติความเก่าและอายุของพระที่เห็นได้คือ ร่องรอยหดตัวยุบตัวเหมือนคลื่นสูงๆ ต่ำๆ ไม่เรียบตึงมีรอยยุบรอยแยกบริเวณด้านนอกของเส้นซุ้มทั้งสองด้านและมีรูพรุนปลายเข็มกระจายตามผนังด้านในของเส้นซุ้ม
  10. เม็ดมวลสาร เป็นก้อนสีขาวขุ่นกระจายฝังอยู่ตามพื้นผิวองค์พระโดยเฉพาะองค์นี้จะเป็นเม็ดขนาดใหญ่เห็นได้ชัดบริเวณพื้นผนังทั้งสองด้านขององค์พระและบริเวณหัวฐานชั้นบนและชั้นกลาง

โพสต์เมื่อ จ. - 06 ธ.ค. 2553 - 20:29.08
ความคิดเห็นที่ 2:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 1
ศรีลานนา
ตั้ง: 37 ตอบ: 171
คะแนน: 46
รายละเอียด

สำหรับพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์องค์นี้ เป็นพระพิมพ์ D ที่มีรายละเอียดพิมพ์และเนื้อหาดูเป็นธรรมชาติมากที่สุดองค์หนึ่ง พิจารณาได้จากลักษณะดังนี้
  1. เส้นซุ้มครอบแก้ว มีลักษณะคล้ายหวายผ่าซีกมีความหนาและลึกชัด ลักษณะของแนวซุ้มโค้งด้านบนจะเห็นได้ว่า ทางมุมด้านขวาองค์พระจะค่อนข้างชันกว่าด้านซ้าย
  2. พระเกศ กดติดได้ชัดดูเรียวยาวขึ้นไปเห็นปลายเกศทะลุซุ้ม
  3. พระพักตร์ มีลักษณะรูปไข่นูนเด่นมีแนวลำคอ ใบหูเห็นจางๆ เป็นเส้นยาวลงมาเรียกว่า หูบายศรี
  4. ลำพระองค์ แนวไหล่ลาดเฉียงลงทั้งสองด้าน พระอุระเล็กแบบอกวี ลำพระองค์ค่อนข้างชะลูด เอวบาง เส้นสังฆาฏิคู่ติดพิมพ์บางๆ
  5. วงพระกร เป็นเส้นลำกลมกลึง วงแขนขวากางออกหักศอกเป็นมุมโค้ง ส่วนลำแขนซ้ายจะสอบเข้าหาองค์พระมากกว่าพิมพ์อื่น ซอกรักแร้ด้านซ้ายจะเป็นร่องลึกกว่าด้านขวาเห็นได้ชัด
  6. พระเพลา เป็นลำยาวกางกว้าง ปรากฏรายละเอียดลำขาขวาซ้อนลำขาซ้ายแบบสมาธิราบเห็นฝ่าเท้าทั้งสองข้าง
  7. ฐาน มีด้วยกัน 3 ชั้น ไม่ปรากฏเส้นแซมจางๆ เหนือฐานชั้นบน ฐานชั้นกลางเป็นแบบฐานสิงห์ สันของฐานเรียวแบบคมขวาน ลักษณะของหัวฐานชั้นบนและชั้นกลางจะดูแหลมเรียวกว่าทุกพิมพ์ ส่วนฐานชั้นล่างสุดจะหนาใหญ่ หัวฐานชั้นล่างจะห่างจากเส้นซุ้มมากกว่าพิมพ์อื่น
  8. ขอบ เส้นขอบจะเป็นสันนูนแผ่วๆ และจะเห็นว่าขอบพิมพ์ด้านซ้ายและขวาระหว่างเส้นขอบกับเส้นซุ้มจะมาบรรจบกันบริเวณมุมเส้นซุ้มครอบแก้วล่างสุดทั้งสองด้าน
  9. พื้นผิว พระองค์นี้ผิวจึงดูมีความหนึกนุ่มนวลตา ธรรมชาติความเก่าและอายุของพระที่เห็นได้คือร่องรอยหดตัวยุบตัวเหมือนคลื่นสูงๆ ต่ำๆ ไม่เรียบตึง มีรอยยับรอยย่นรอยแยกและรูพรุนปลายเข็มเห็นได้ชัดบริเวณพื้นผนังด้านขวาของพระพักตร์และบริเวณพื้นผิวด้านหลังองค์พระทั้งสองด้าน
  10. เม็ดมวลสาร เป็นก้อนสีขาวขุ่นกระจายฝังอยู่ตามพื้นผิวองค์พระโดยเฉพาะองค์นี้จะเห็นได้ชัดบริเวณเหนือเกศ ข้างเส้นซุ้มด้านซ้ายองค์พระ เหนือไหล่ซ้าย และที่เหนือหัวเข่าซ้าย

โพสต์เมื่อ จ. - 06 ธ.ค. 2553 - 20:31.02
ความคิดเห็นที่ 3:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 1
ศรีลานนา
ตั้ง: 37 ตอบ: 171
คะแนน: 46
รายละเอียด

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม องค์นี้เป็นพระที่เคยถูกทารักดำปิดบังผิว ภายหลังจึงถูกล้างผิวรักออกไป ทำให้เห็นรายละเอียดพิมพ์ทรงค่อนข้างคมชัด สามารถพิจารณาได้ดังนี้
  1. เส้นซุ้มครอบแก้ว มีลักษณะคล้ายหวายผ่าซีกหนาใหญ่นูนสูง แนวซุ้ม ค่อนข้างตั้งตรง ทำให้พื้นที่นอกซุ้มทั้งสองข้างมีขนาดค่อนข้างเท่ากัน
  2. พระเกศ จะเป็นรูปดอกบัวตูมสวยงาม โคนเกศจะมีรอยหยักคล้ายพวงมาลัยครอบโคนเกศ ปรากฏให้เห็นเป็นสันนูนติดชัดเจนเป็นพิเศษ
  3. พระพักตร์ ทรงรูปไข่นูนสวย บริเวณหน้าผากจะค่อยๆ เอียงลาดจากหัวคิ้วขึ้นไปรองรับโคนเกศสังเกตได้ชัด ใบหูเป็นสันนูนโค้งคล้ายใบหูพระพุทธรูปแต่เห็นเป็นเนื้อนูนหนาคมลึก ติ่งหูลากยาวลงไปจรดแนวไหล่
  4. ลำพระองค์ อกกว้างผึ่งผายล่ำสันเอวเป็นลำหนาปรากฏเส้นจีวรและสังฆาฏิคู่เป็นเส้นเรียวบางคมชัด
  5. วงพระกร เป็นเส้นลำหนากลมกลึง ทิ้งแขนและวาดวงแขนได้สัดส่วนสมดุลทั้งสองข้าง ซอกรักแร้จะลึกชัดเป็นพิเศษ
  6. พระเพลา เป็นลำหนาใหญ่ ลำขาซ้อนกันแบบสมาธิราบ ปรากฏฝ่าพระบาทซ้ายนูนเด่นเป็นทรงออกมาเห็นได้ชัด
  7. ฐาน ปรากฏเส้นแซม ม้วนติดกับหัวฐานและปรากฏรอยฐานเล็กๆ จากพื้นมารองรับเส้นแซมเห็นได้อย่างชัดเจน
  8. ขอบ เป็นสันนูนขึ้นเห็นแผ่วๆ พอสังเกตได้
  9. พื้นผิว ดูจัดจ้านหนึกนุ่มนวลตาปรากฏธรรมชาติความเก่าเห็นได้ชัดคือ การหดตัวยุบตัวเหมือนคลื่นสูงๆ ต่ำๆ ไม่เรียบตึง ปรากฏรอยยับรอยย่นรอยยุบรอยแยกและรูพรุนปลายเข็มอย่างชัดเจน
  10. เม็ดมวลสาร เป็นก้อนสีขาวขุ่นกระจายอยู่ตามพื้นผิวองค์พระเห็นได้ชัดบริเวณข้างศอกซ้าย ไหล่ซ้ายและด้านนอกซุ้มมุมโค้งขวา

โพสต์เมื่อ จ. - 06 ธ.ค. 2553 - 20:32.17
ความคิดเห็นที่ 4:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 1
ศรีลานนา
ตั้ง: 37 ตอบ: 171
คะแนน: 46
รายละเอียด
หลักการพิจารณาพระสมเด็จ
หลายคนคงเคยเห็นนักเลงพระหรือเซียนพระเขาส่องกล้องอันเล็กๆ ดูพระเครื่องพระสมเด็จกัน หลายคนที่ดูไม่เป็นก็คงอยากจะรู้ว่าเขาดูอะไรกันในพระ เขาดูอย่างไร เขาจะรู้ได้อย่างไรว่าพระนั้นเป็นพระอะไร แท้หรือไม่แท้ โดยเฉพาะพระสมเด็จ คนที่มีอายุอยู่ปัจจุบันไม่มีใครเกิดทันได้ดู ได้เห็นสมเด็จโตท่านทำพระสมเด็จเลยแม้แต่คนเดียว แล้วเขาจะรู้ได้อย่างไรพระสมเด็จองค์นี้รุ่นไหน ยุคไหน แท้หรือไม่แท้ พระสมเด็จจริงหรือปลอม
1. ก่อนอื่นต้องศึกษาเรียนรู้โบราณคดีของพระก่อน ศึกษาประวัติการทำพระของสมเด็จโตให้เข้าใจก่อน
2. หัดดูความเก่าของพระให้ออกก่อน พระสมเด็จอายุไม่ต่ำกว่า 130 ปี ของเก่าอายุเป็นร้อยปี ผิวพรรณจะต้องคร่ำตามธรรมชาติ มีรอยยุบย่นหดตัว ดูผิวพระดูคราบตังอิ๊ว คราบรัก รงค์ ชาด เทือก และคราบกรุที่ผิวพระ ต้องเก่าผิวพรรณพระจะเหมือนผิวคนแก่ 80-90 ปี
3. หัดดูมวลสารที่สำคัญที่พระสมเด็จต้องมี คือผงกฤติยาคมหรือผงสมเด็จ จะเป็นเม็ดเล็กๆขาวขุ่น แข็งแกร่ง สัณฐานกลม ( ดูในเรื่องการทำผงกฤติยาคมหรือผงสมเด็จ) ถ้าพระองค์ใดมีก็ให้ถือว่าใช่ไว้ก่อน เม็ดผงสมเด็จที่แท้จะเป็นเม็ดเล็กๆ กลมๆ สีขาวขุ่น ดูแข็งแกร่ง และจะดูเก่ากว่าผงพื้นองค์พระนั้น ผงสมเด็จจะดูเก่าพอๆกับเนื้อพระสมเด็จหักที่เขานำมาตำบดไส่เป็นมวลสารที่ชิ้นโตสีขาวขุ่นแบบสีฟันของคน ถ้าผงกับเศษพระดูเก่าพอๆกันก็ให้คิดว่าใช่ไว้ก่อน ผงเก๊หรือผงปลอมจะขาวซีดๆ จืด สันฐานไม่กลม และดูจะไม่เก่ากว่าเนื้อพระจะถือว่าของปลอม
4. ดูมวลสารที่เอามาผสมในพระสมเด็จ คือ พระสมเด็จที่หักชำรุดท่านเอามาบดเป็นผงใส่ไว้ เนื้อเป็นสีขาวขุ่นแกร่งออกมันเวลาส่องกล้อง ดูชิ้นเนื้อพระซุ้มกอที่ท่านใส่ไว้เป็นเนื้อดินสีน้ำตาลเก่ากว่าเนื้อชิ้นพระสมเด็จ หากดูเก่ากว่าพระสมเด็จจึงจะใช่ ถ้าก้อนอิฐในพระดูไม่เก่าไม่ใช่เนื้อพระซุ้มกอ สีจืดกว่าแสดงว่าไม่ใช่ ดูมวลสารที่เป็นพระธาตุจะเป็นก้อนกลมๆมีขุยที่ผิว ก้อนดูใสมีสีขาวอมเหลือง สีนำตาล สีเทา เหมือนเม็ดพลาสติก ผิดจากนี้ไม่ใช่พระธาตุพิจารณาดูมวลสารอื่นๆ ที่สำคัญ พวกแร่สะเก็ดดาวตกเม็ดสีเหมือนครั่งหรือยางสน ดูเม็ดอัญมณีหินพลอยสีต่างเป็นเม็ดสีคล้ายแร่สะเก็ดดาวตก และดูมวลสารอื่นๆที่อาจมีเช่น หมุดเงิน -ทอง ทรายเงิน - ทอง หยกตุ๊กตากวนอูและอื่ๆ ตามลักษณะมวลสารที่กล่าวไว้ข้างต้น ถ้ามีให้คิดว่าใช่ไว้ก่อนจะได้ไม่เสียโอกาศ
5. พิจารณาเนื้อพระว่าเป็นเนื้อพื้นอะไรในพระ 12เนื้อพื้น และเป็นพระยุคไหน ตอนไหน ฝีมือใครแกะพิมพ์ ให้พิจารณาองค์ที่เป็นหินเปลือกหอยดิบหรือเปลือกหอยสุกไว้ก่อน เนื้ออื่นๆอเว้ทีหลัง ควรหาโอกาศดูเนื้อพระแท้จากคนที่เขามีเอาไว้เป็นองค์ครู เพราะเนื้อสมเด็จหินเปลือกหอยไม่ว่ารุ่นไหน ยุคไหน วัดไหน พิมพ์อาจจะต่างกันแต่เนื้อพระจะเหมือนๆกันเกือบทุกองค์ ถ้ามีของแท้ดูเป็นครูก็จะดูเนื้อพระแท้ได้ไม่ยาก พระเนื้อหินเปลือกหอยให้ดูเนื้อหินลับมีดโบราณไว้เป็นแบบอย่างได้ เนื้อสมเด็จจะคล้ายๆแบบนั้นต่างกันตรงที่เนื้อพระสมเด็จจะดูมีมันในตัว ดูแข็งแกร่งแล้วดูนุ่มนวลตาที่เรียกว่าหนึกนุ่มนั่นเอง ถ้าลองเอาพระมาวางบนแผ่นกระเบื้องหรือแผ่นกระจกจะมีเสียงดังกริ้งแบบเสียงหินกังสะดาร ก็ให้คิดว่าใช่ไว้ก่อน เนื้อพระจะมีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด เนื้อละเอียดจะแกร่งกว่าถ้าพิจารณาได้อย่างนี้ก็มีโอกาศได้พระสมเด็จแท้
6. พิจารณาดูพิมพ์ทรง พระสมเด็จมีทั้งหมด 249 พิมพ์ทรง เราคงจะรู้ไม่หมดแน่ๆ และคงไม่มีใครจะรู้ได้มากอย่างนี้ ให้เราพิจารณาเฉพาะพิมพ์ทรงที่นิยมและเป็นสากลจะดี แต่อย่าทิ้งพิมพ์นอกนิยม ซึ่งปัจจุบันพิมพ์นิยมมี 17 พิมพ์ เนื้อนิยมแค่ 2 เนื้อ เป็นวัดระฆัง 5 พิมพ์ วัดบางขุนพรหม 9พิมพ์ และวัดเกศไชโย 3 พิมพ์ ดังที่กล่าวมาแล้วหัดจำพิมพ์ทรงนิยมให้ได้จะได้เงินมหาศาล
เนื้อได้ - พิมพ์ได้ - อายุได้ก็น่าจะเพียงพอแล้วในนักเล่นพระหัดใหม่
ดูความเก่า - ดูเนื้อ - ดูมวลสาร - ดูความเก่า มันกลับกัน พระถ้าถูกพิมพ์เนื้อดีมวลสารดีและเก่าจะตามมา
ความเก่าของผิวพระต้องดูให้ดี พระที่ใช้สมบุกสมบัน เนื้อพระจะช้ำดูเก่ามากเหมือนคนชนบทดูแก่ ส่วนพระเก็บอย่างดีไม่ได้เอาออกมาใช้เนื้อจะเอี่ยมดูไม่เก่า เหมือนคนในเมืองผู้ดีดูไม่แก่
พระสมเด็จถ้าเก็บไม่ถูกมือ ไม่ถูกแดด ไม่ถูกลม ผิวพระจะออกมาขาวอมเหลือง เนื้อจะหนึกแกร่งดูไม่หนึกนุ่มเหมือนของใหม่ของปลอม แต่ให้รู้ไว้เถอะนั่นแหละของสวย
พระสมเด็จที่เอามาใช้ถูกมือจับห้อย ถูกเหงื่อ หรือบางคนเอามาทาที่แก้มจะทำให้พระดูเก่าหนึกนุ่มกว่าพระเก็บไม่ได้ใช้ สีจะคล้ำออกสีน้ำตาลแก่เซียนบางคนว่าเนื้อจัด
สูตรผสมเนื้อพระสมเด็จของสมเด็จโต และอาคมอันแก่กล้า เขาว่าจะทำให้พระแกร่งหนึกไม่เหมือนพระอื่นๆ
โพสต์เมื่อ จ. - 06 ธ.ค. 2553 - 20:39.08
ความคิดเห็นที่ 5:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 1
ศรีลานนา
ตั้ง: 37 ตอบ: 171
คะแนน: 46
รายละเอียด
 ธรรมชาติด้านหลัง พระสมเด็จวัดระฆัง

การศึกษาพระสมเด็จวัดระฆัง นอกจากจะมุ่งเน้นศึกษาพุทธลักษณะด้านหน้าหรือที่เรียกกันว่า พิมพ์ทรง แล้ว ด้านหลังของพระสมเด็จวัดระฆัง ก็ถือเป็นจุดสำคัญในการพิจารณาไม่ได้ด้อยไปกว่าด้านหน้า ในอดีต บรรดาเซียนพระมักจะพูดอวดตัวเสมอว่า พระสมเด็จวัดระฆังนั้นให้คว่ำหน้า เปิดดูเฉพาะหลังก็จะพิจารณาได้ว่าเป็นพระแท้หรือเก๊ได้ทันที

 
 

 

 

 

 
       พิมพ์ใหญ่                พิมพ์ทรงเจดีย์

 



การศึกษาลักษณะเนื้อหามวลสารและธรรมชาติความเก่าในพระสมเด็จวัดระฆัง หากเราศึกษาจากด้านหลังขององค์พระจะให้ความกระจ่างกว่าด้านหน้าเนื่องจากเป็นพื้นผิวที่เรียบเสมอกัน และไม่มีส่วนนูนของพิมพ์ทรงมาเป็นข้อขัดขวางทำให้สะดวกในการพิจารณา จึงขอนำด้านหลังมาเป็นแนวทางในการศึกษาพระสมเด็จวัดระฆังอีกทางหนึ่ง

 

 

 

      พิมพ์ฐานแซม                พิมพ์เกศบัวตูม

 


ตามประวัติการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง เป็นการสร้างที่เรียกว่า ทำไปแจกไป ดังนั้นจึงทำให้มวลสารของพระสมเด็จวัดระฆังมีความแตกต่างกัน อันสืบเนื่องมากจากปริมาณในการใส่ส่วนผสมที่แตกต่างกันในแต่ละครั้ง ถึงกระนั้น มวลสารหลักในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังก็มิอาจบิดเบือนไปจากสูตรหลัก มวลสารหลักในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังประกอบไปด้วย ปูนเปลือกหอย มีส่วนผสมของผงวิเศษอันเกิดจากการเขียนและลบพระสูตรเลขยันต์ ตลอดจนพระคาถาต่างๆ สำเร็จเป็นผงวิเศษ เกสรดอกไม้ ผงธูป เป็นต้น

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้รวบรวมมวลสารทั้งหมดมาผสมกันแล้วผสมกับน้ำอ้อย นำเนื้อทั้งหมดลงในครก ตำให้เนื้อละเอียดแล้วผสมกันจนเนื้อเหนียวหนึก เสร็จแล้วนำเนื้อแต่ละครกขึ้นมาปั้นเป็นแท่งสี่เหลี่ยมยาวๆ เมื่อได้เนื้อเป็นแท่งสี่เหลี่ยมยาวๆมีขนาดเพียงพอดีกับการสร้างพระแต่ละองค์ เอาตอกตัดเนื้อเป็นชิ้นๆ ขนาดหนาพอควร เราเรียกเนื้อแต่ละชิ้นว่า ชิ้นฟัก แม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังนั้น สันนิษฐานว่าแกะจากหินชนวนโดยแกะแม่พิมพ์เป็นตัวเมีย คือลึกลงไปในเนื้อหินชนวนเป็นรูปพระประธานมีซุ้มเรือนแก้วเป็นเส้นคล้ายหวายผ่าซีก โดยมีขอบสี่เหลี่ยมขององค์พระรอบซุ้มเรือนแก้วทั้ง 4 ด้านที่เรียกว่า เส้นบังคับ ซึ่งสันนิษฐานได้ว่ามีการบากที่ขอบขององค์พระทั้ง 4 มุม ไว้เพื่อเป็นจุดที่จะนำตอกมาตัดขอบพระสมเด็จทั้ง 4 ด้าน กรรมวิธีในการพิมพ์นั้นค่อยๆ กดเนื้อพระสมเด็จให้แน่น เสร็จแล้วจึงนำไม้กระดานมาวางลงบนเนื้อพระสมเด็จ สันนิษฐานได้ว่าน่าจะมีไม้กระดาน 4 แผ่น ในคราวพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง ไม้กระดานทั้ง 4 แผ่นคงจะมีผิวไม่เหมือนกัน จึงเกิดพิมพ์ด้านหลังองค์พระตามลายไม้กระดานทั้ง 4 แผ่น

ลักษณะด้านหลังของพระสมเด็จวัดระฆังอันสืบเนื่องมาจากลายไม้กระดานทั้ง 4 แบบ ได้ข้อสรุปแบบพิมพ์ด้านหลังไว้ดังนี้

 

 

 


หลังกาบหมาก         หลังสังขยา            หลังกระดาน              หลังเรียบ

 

1.พิมพ์หลังกาบหมาก ลักษณะด้านหลังพิมพ์นี้จะดูเป็นลายไม้กระดานซึ่งเมื่อพระหดตัวตามอายุความเก่าของพระ ลายไม้กระดานจะดูละเอียดและลึกยิ่งขึ้นเหมือนลายกาบหมากที่แห้งและหดตัว ธรรมชาติของด้านหลังอันเกิดจากอายุความเก่าที่เห็นได้ชัดมากคือ รอยปริแตกของเนื้อพระที่ลู่ไปในทางเดียวกัน เมื่อพระแห้งและหดตัวลง รอยปริแยกนี้จะแยกให้เห็นชัดขึ้นเรียกกันว่า รอยปูไต่ มีลักษณะเป็นเส้นๆ เหมือนขาปูไต่ถูกเนื้อ

สำหรับพระสมเด็จวัดระฆังที่ผ่านการใช้หรือสัมผัส สมัยก่อนก็มักจะเปิดหลังให้ถูกร่างกายผู้ใช้ บางองค์ถูกกัดกร่อนด้วยเหงื่อไคลดูคล้ายลักษณะที่เรียกกันว่า หลังเน่า รอยกาบหมากก็จะเลอะเลือนไม่ชัดเจน แต่รอยปูไต่และรอยปริแตกกระเทาะของขอบข้างองค์พระยังคงปรากฏให้เห็นชัดเจนทุกองค์

2. พิมพ์หลังกระดาน ลักษณะจะเป็นลายไม้กระดานที่เห็นคลองเลื่อยขวางกับองค์พระ บางองค์คลองเลื่อยจะเห็นชัดเจนมาก บางองค์ก็จะไม่ชัดนัก และจะปรากฏธรรมชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จวัดระฆังคือ รอยปูไต่ และรอยขอบกระเทาะอย่างชัดเจน

3. พิมพ์หลังสังขยา มีลักษณะเหมือนหน้าสังขยา คือไม่เรียบแต่ก็ไม่มีลายละเอียดเหมือนพิมพ์หลังกาบหมาก จะเห็นได้ชัดว่าพื้นผิวด้านหลังจะมีความขรุขระ ปรากฏรอยปูไต่ลู่ตามทางเดียวกัน ตลอดจนรอยกระเทาะของขอบพระ

4. พิมพ์หลังแผ่นเรียบ ลักษณะของด้านหลังพิมพ์นี้จะดูเรียบไม่มีรอยกาบหมาก รอยกระดานหรือรอยสังขยา ดูมีความเรียบร้อยสวยงาม ปรากฏธรรมชาติความเก่าอันได้แก่ รอยปูไต่ ชัดบ้างไม่ชัดบ้าง (บางองค์จะไม่มีรอยปูไต่) และรอยกระเทาะของขอบพระชัดเจน

รอยปูไต่ เป็นคุณลักษณะประการหนึ่งบนพื้นผิวพระสมเด็จวัดระฆัง เป็นปฏิกิริยาของผิวที่ได้รับความร้อนแล้วแห้งจากส่วนบนไปในเนื้อพระ มีลักษณะเป็นรอยย้ำจากภายนอกเข้าไปในเนื้อ มีลัณฐานเขื่องและเป็นรอยคู่ คือ 2 รูเคียงกันและเดินเกาะคู่เป็นแนว ส่วนมากจะพบบริเวณชายกรอบด้านข้างด้านใดด้านหนึ่งและเดินไปด้านตรงข้ามในแนวเฉียง มีทั้งเฉียงลงและเฉียงขึ้นทีละน้อยจนกระทั่งหายไปทางด้านตรงข้าม

รอยปูไต่นี้ ถ้าปรากฏในพระสมเด็จองค์ใด สามารถช่วยพิจารณาตัดสินยืนยันความแท้ของพระสมเด็จองค์นั้นๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะปัจจุบันยังไม่ปรากฏว่าพระปลอมสามารถทำให้ใกล้เคียงกับพระแท้ที่มีความหนักเบาของเส้นรอยปูไต่อย่างธรรมชาต

โพสต์เมื่อ จ. - 06 ธ.ค. 2553 - 20:48.14
ความคิดเห็นที่ 6:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
ศรีลานนา
ตั้ง: 37 ตอบ: 171
คะแนน: 46
รายละเอียด

ที่มา..หนังสือคเณศ์พร

โพสต์เมื่อ จ. - 06 ธ.ค. 2553 - 20:50.30
ความคิดเห็นที่ 7:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
ELADINO
ตั้ง: 11 ตอบ: 51
คะแนน: 3
รายละเอียด

ถ้าใครตั้งใจศึกษาพระสมเด็จวัดระฆัง  ข้อมูลเหล่ามีประโยชน์มากครับ  ขอบคุณครับ

โพสต์เมื่อ พฤ. - 09 ธ.ค. 2553 - 09:48.59
ความคิดเห็นที่ 8:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
jackrin
jackrin (8) (-1) 171.96.111.33
ตั้ง: 4 ตอบ: 9
คะแนน: -6
รายละเอียด

ขอบพระคุณครับผม

โพสต์เมื่อ จ. - 24 มี.ค. 2557 - 17:05.54
Top