เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อกลิ้ง วัดเกรียงไกรเหนือ นครสวรรค์-ชัมภลพระเครื่อง - webpra
ขอพรเทพเจ้าแห่งโชคลาภ มหาเศรษฐีชัมภล "โอม ชัมภาลา จาเลน ไนเยน สวาหะ" ร่ำรวยรับทรัพย์ทุกวัน

หมวด พระเกจิภาคกลางตอนบน

เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อกลิ้ง วัดเกรียงไกรเหนือ นครสวรรค์

เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อกลิ้ง วัดเกรียงไกรเหนือ นครสวรรค์ - 1เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อกลิ้ง วัดเกรียงไกรเหนือ นครสวรรค์ - 2
ชื่อร้านค้า ชัมภลพระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อกลิ้ง วัดเกรียงไกรเหนือ นครสวรรค์
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระเกจิภาคกลางตอนบน
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ apol2025@yahoo.com
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ จ. - 16 ก.พ. 2558 - 15:29.04
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ศ. - 13 พ.ย. 2558 - 22:07.51
รายละเอียด
บล็อคนิยม สภาพสวย พบน้อยครับ

แชมป์ที่๑ งานนครสวรรค์ ปี๒๕๕๗

ประวัติ
พระครูนิวาตธรรมโกศล
(กลิ้ง สนฺติภูโต)
เจ้าอาวาสวัดเกรียงไกรเหนือ เ จ้าคณะตำบลเกรียงไกร
อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
ชาติกำเนิด



พระครูนิวาสธรรมโกศล เดิมชื่อกลิ้ง นามสกุล เพชรสอาด เกิดเมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๕ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะโรง จุลศักราช๑๒๕๔ ณ ที่บ้านทับกฤช หมู่ที่ ๗ ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ บิดาชื่อนาย อ่ำ เพชรสอาด มารดาชื่อ นางแหน เพชรสอาด มีพี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกันรวม ๕ คน ดังนี้
๑. นางแผ้ว
๒. ไม่ทราบชื่อแต่เป็นชาย ( เสียชีวิตแต่ยังเยาว์)
๓. นายโอ้ด (เสียชีวิตไปแล้ว)
๔. พระครูนิวาสธรรมโกศล (กลิ้ง เพชรสอาด)
๕. นายแป้น (เสียชีวิตไปแล้ว)


การศึกษา บรรพชา อุปสมบท

...........เมื่ออายุประมาณ ๑๒ ขวบ บิดาได้นำมาฝากให้เรียนหนังสือไทยอยู่ที่สำนักวัดสว่างอารมณ์ (ทับกฤชใต้) อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ โดยเรียนอยู่กับพระภิกษุน้อยซึ่งมีฐานะเป็นน้า พอเริ่มเรียนหนังสือไทยได้พออ่านออกเขียนได้พระภิกษุน้อยผู้เป็นครู จึงได้ให้เรียนภาษาขอมควบคู่กันไปด้วย (เพราะในสมัยก่อนนั้นขอมมามีอำนาจอยู่ในเมืองไทยคนไทยจึงนิยมให้บุตรหลานเรียนหนังสือขอมกันว่าได้บุญได้กุศล) เรียนอยู่ประมาณ ๒ ปีเศษ การเรียนหนังสือทั้งภาษาไทยและขอม นับอยู่ในเกณฑ์พอใช้ได้ อ่านออกเขียนได้คล่องแคล่ว แล้วจึงเริ่มตั้งต้นเรียนมูลกระจายที่สำนักเรียนเดิม แต่มีท่านอุปัชฌาย์ภู่เป็นครูผู้สอน พอเรียนมาได้ประมาณ ๑ ปีเศษ ท่านพระอุปํฌาย์ภู่ ได้ถึงแก่มรณภาพเสียก่อนที่การเรียนมูลกระจายจะสำเร็จ เมื่อเหตุการณ์เป็นดังนี้ นายเผือกซึ่งมีฐานะเป็นอาของท่านเห็นว่าเคว้งคว้างในเรื่องการเล่าเรียน จึงได้นำท่านไปเรียนต่ออีกโดยนำไปฝากไว้กับพระครูสวรรค์วิถีสุทธิอุตตมคณาจารย์สังฆปาโมกข์ (ครุฑ) ณ สำนักวัดเขาจอมคีรีนาคพรตเป็นเวลา ๑ ปี แต่ยังไม่สำเร็จประจวบกับเวลานั้น พระครูสวรรค์วิถีสุทธิอุตตมคณาจารย์สังฆปาโมกข์ (ครุฑ) ทราบว่าที่วัดตะแบก ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ ได้จัดสอนโรงเรียนมูลกระจายขึ้น โดยจ้างครูมาทำการสอนท่านจึงได้นำมาฝากให้เข้าเรียนมูลกระจายต่อ ณ วัดตะแบกนี้ และให้บรรพชาเป็นสามเณร โดยมีมหาโตเป็นครูผู้ทำการสอน เรียนอยู่ได้ ๑ ปี มหาโตได้ออกไป ทางโรงเรียนจึงหาครูมาทำการสอนอีกไม่ได้ ความนี้ทราบถึง พระครูสวรรค์วิถีสุทธิอุตตมคณาจารย์สังฆปาโมกข์ (ครุฑ) ท่านจึงได้เอามาฝากให้เข้าเรียนยังสำนักเรียนวัดศีรษะเมือง (วัดนครสวรรค์ ปัจจุบัน) มีมหาพุฒ (คฤหัสถ์) เป็นครูผู้สอน ในสำนักเรียนนี้คงเรียนมูลกระจายต่ออีกเช่นเดิม ในระหว่างเรียนมูลกระจายอยู่ ณ สำนักเรียนนี้ได้เริ่มเรียนธรรมบทขุทกนิกายควบคู่กันไปด้วย ประมาณ ๒ ปี
เมื่อเริ่มอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ บิดา มารดา ของท่านพระครูนิวาสธรรมโกศลจึงได้นำตัวมาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดเกรียงไกรใต้ โดยมีพระครูสวรรค์วิถีสุทธิอุตตมคณาจารย์สังฆปาโมกข์ (ครุฑ) เป็นพระอุปชายะ พระอาจารย์ทองอยู่ เจ้าอาวาสวัดนครสวรรค์ เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์นิ่มอินทโชโต วัดนครสวรรค์ เป็นอนุสาวนาจารย์
..........เมื่ออุปสมบทเรียบร้อยแล้วได้กลับไปศึกษาเล่าเรียนต่ออยู่ วัดนครสวรรค์เดิม ได้เริ่มเรียนสมถกรรมฐานกับพระปริยัติธรรมควบคู่กันไปด้วย ขณะที่เรียนสมถกรรมฐานกับหลวงพ่อทองวัดเขากบ (วัดวรนาถบรรพต) ที่วัดนครสวรรค์ ได้เล่าเรียนอยู่ ๕ พรรษา จนไม่มีครูจะทำการสอนต่อไป จึงย้ายจากวัดนครสวรรค์ไปจำพรรษาและทำสมถกรรมฐานอยู่กับหลวงพ่อทอง วัดเขากบ อีก ๑ พรรษา เพื่อให้เชี่ยวชาญในการทำสมถกรรมฐานยิ่งขึ้น ครั้นทำสมถกรรมฐานได้แล้ว จึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดคงคาราม (เกรียงไกลกลาง) เมื่ออยู่วัดคงคารามนี้ได้เรียนแปลพระปาฏิโมกข์กับมรรวิภังค์ และสติปัฏฐาน อยู่กลับพระอาจารย์พลับ เรียนอยู่ได้ ๑ พรรษา ต่อมาพระอาจารย์นิ่ม อินทโชโต ซึ่งเป็นอนุสาวนาจารย์ ได้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดตลิ่งชัน (วัดพรหมจริยาวาส) จึงได้รับไปอยู่วัดตลิ่งชันด้วย เพื่อให้ช่วยสวดปาฏิโมกข์และจำพรรษาที่วัดตลิ่งชันนี้ ๒ พรรษา
..........ต่อจากนั้นได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดทับกฤชใต้ ตามคำขอร้องของญาติโยมต่อไป ขณะที่อยู่วัดทับกฤชใต้นี้ มีพระปลัดวาสเป็นเจ้าอาวาสที่วัดทับกฤชใต้ นี้ยังไม่มีโรงเรียนที่จะทำการสอนเด็กไทย ท่านจึงได้เริ่มทำการสอนหนังสือไทยแก่ศิษย์วัด อยู่เป็นเวลา ๔ ปี ปรากฏว่าศิษย์ของท่านได้รับความรู้ไปหลายคน จนได้เป็นปลัดอำเภอ เสมียนตราอำเภอ และครูประชาบาล (ปัจจุบันไม่ทราบว่าดำรงตำแหน่งอยู่หรือเปล่า) ต่อมาท่านเจ้าคุณญาณกิติ วัดเขาแก้ว เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ ทราบว่าเจ้าอาวาสวัดหัวกระทุ่มไม่อยู่จึงสั่งให้ท่านไปรักษาการแทน วัดนี้อยู่ตำบลพิกุล อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ในระหว่างที่ท่านรักษาการแทนนี้ได้เริ่มจัดการผูกพัทธสีมาขึ้น เพื่อให้เป็นที่ประกอบศาสนกิจในบวรพระพุทธศาสนาเป็นที่เสร็จเรียบร้อย ต่อเจ้าอาวาสวัดหัวกระทุ่มกลับมา ท่านจึงได้มอบศาสนสมบัติของวัดคืนให้ดังเดิม และกลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดทับกฤชใต้นี้ ได้ช่วยเหลือปลัดวาสทำการซ่อมแซมโยกย้ายสร้างกุฏิเพื่อให้พระภิกษุสามเณรอาศัยอีกหลายหลัง และมื่อว่างจากศาสนกิจก็ได้ทำการสอนหนังสือไทยให้แก่ศิษย์วัดอีกเป็นเวลา ๒ ปีเศษ
..........กาลต่อมาญาติโยมทางบ้านท่าดินแดง ได้มีนายโห้ บุญกลิ่นขจร นายปลื้ม นกเพ็ง เป็นหัวหน้าได้ไปขอร้องต่อท่านพระครูนิภากรโศภณ (นิ่ม อินทโชโต) เจ้าคณะอำเภอชุมแสงให้จัดการสร้างวัดขึ้นใหม่ที่บ้านท่าดินแดง แต่ยังขาดพระผู้เป็นเจ้าที่จะไปเป็นเจ้าอาวาส จึงขออาราธนาพระกลิ้ง สนฺติภูโต ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้ เมื่อท่านพระครูนิภากรโศภณทราบความดีแล้วจึงให้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าดินแดง (เกรียงไกรเหนือ) ประชาชนและชาวบ้านท่าดินแดง ได้จัดขบวนแห่ไปรับท่านมาจากวัดทับกฤชใต้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้ วัดท่าดินแดงนี้ปัจจุบันทางกรมศาสนาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดเกรียงไกรเหนือตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๙





ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

..........ด้วยคุณงามความดีของท่าน พระพิมลธรรม สังฆมลตรีว่าการองค์การปกครอง ได้มีตราตั้งให้เจ้าอธิการกลิ้ง สนฺติภูโต อายุ ๖๐ ปี ๓๙ พรรษา ตำแหน่งเจ้าคณะตำบล วัดเกรียงไกรเหนือ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นพระอุปัฌายะในเขตตำบลเกรียงไกร มีหน้าที่เป็นประธานในการบรรพชาอุปสมบท ตามบทบัญญัติแห่งสังฆาณัติระเบียบ ตั้งแต่วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๕ เป็นต้นมา

ได้รับ สมณะศักดิ์เป็นพระครู

.........ด้วยเกียรติคุณของท่านที่ได้ประกอบมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ปร.ได้มีพระบรมรานุญาตตราตั้งให้เจ้าอธิการกลิ้ง สนฺภูโต วัดเกรียงไกรเหนือ เป็นพระครูนิวาตธรรมโกศล ตั้งแต่วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๖ เป็นต้นมา
ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งเป็น พระครูนิวาตธรรมโกศลนี้ ได้กระทำภารกิจที่สำคัญ ๆ คือ
๑. เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๑ ได้เกิดวาตภัยอย่างร้ายแรง ทำให้ตัวพระอุโบสถปรักหักพังไม่สามารถที่จะประกอบพิธีสงฆ์ สังฆกรรมได้ ตลอดทั้งกุฏิชำรุด ๔ หลัง กอประชุมเสียหายเป็นอันมาก เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ท่านจึงได้ขอความความช่วยเหลือจากทางคณะสงฆ์และรัฐบาลเพื่อทำการบูรณะสิ่งที่ชำรุดทรุดโทรมจากวาตภัยครั้งนั้น ทางราชการจึงได้อนุมัติเงินช่วยเหลือ เฉพาะเงินก่อสร้างพระอุโบสถมาจำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท ท่านจึงได้จ้างช่างมาทำการรื้อซ่อมแซมใหม่ให้ขนาดกว้างถึงระเบียงพระอุโบสถคือ กว้าง ๖ วา ๒ ศอก ยาว ๑๐ วา สิ้นค่าใช้จ่ายประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาทเศษ (สองแสนบาทเศษ) จำนวนเงินที่นอกเหนือจากทางราชการช่วยเหลือนี้ท่านได้เป็นผู้ดำเนินการจัดหามาสร้าง จนเป็นผลสำเร็จเรียบร้อยดังที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ สร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๖ ในการสร้างพระอุโบสถครั้งนี้มี นายณรงค์ สุริยฉันท์ สรเลขจังหวัดนครสวรรค์ได้เป็นกำลังสำคัญโดยชักชวนบรรดาข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน นำองค์กฐิน มาทอดที่วัดนี้ถึง ๒ ปี ติด ๆ กัน เพื่อนำจตุปัจจัย สิ่งก่อสร้างมาร่วมสมทบ
๒. กุฏิชำรุดเสียหายใช้การไม่ได้ ดังนั้นในปีพ.ศ. ๒๕๐๗ ได้จัดการหาเงินและวัสดุมาก่อสร้างกุฏิขึ้น ๑ หลัง กว้าง ๓ วา ๒ ศอก ยาว ๔ วา ๑ ศอก ทรงมลิลา เสาคอนกรีต ค่าก่อสร้างประมาณ ๑๙,๐๐๐ บาทเศษ
๓. เมื่อพ.ศ.๒๕๐๗ ได้จัดการหาเงินและวัสดุมาก่อสร้างกุฏิขึ้น ๑ หลัง กว้าง ๓ วา ๒ ศอก ยาว ๔ วา ๑ ศอก ทรงมลิลา เสาคอนกรีต มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ค่าก่อสร้างประมาณ ๑๙,๐๐๐ บาทเศษ
๔. เมื่อพ.ศ.๒๕๐๙ ได้จัดการหาเงินและวัสดุเพื่อสร้างกุฏิขึ้น ๑ หลัง กว้าง ๓ วา ๒ ศอก ยาว ๔ วา ๑ ศอก ทรงมลิลา เสาคอนกรีต มุงด้วยกระเบื้องดินเผา สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๒๗,๐๐๐ บาทเศษ
๕. ได้จัดการหาเงินและวัสดุเพื่อสร้างชานกุฏิสามหลังให้ติดต่อกัน กว้าง ๖ ศอก ยาว ๑๒ วา สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๓,๐๐๐ บาทเศษ
อุปนิสัยและความเป็นอยู่
.........เมื่อสรุปประวัติของท่านแล้วจะเห็นได้ว่า ท่านเป็นผู้มีนิสัยรักการเล่าเรียนมาตั้งแต่ยังเยาว์ มีความมานะบากบั่นไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งปวง พูดน้อยแต่ทำจริง มีใจเมตตา กรุณา ไม่เลือกมนุษย์และสัตว์ สิ่งที่ชอบที่สุดคือการปลูกต้นไม้ยืนต้นทุกชนิด ใจคอมั่นคง สุขุมเยือกเย็น ทำอะไรไม่ผิดพลาดและถ้าลงรับปากใครว่าจะทำอะไรให้แล้ว ถึงแม้จะเหนื่อยยากลำบากตรากตรำธุระกันการอย่างไรท่านจะต้องทำให้จนได้ ชอบเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือเครื่องไม้ต่าง ๆ ขึ้นไว้ใช้เองด้วยความประหยัด ละเอียด ถี่ถ้วน ไม่ถือยศศักดิ์ ชอบการก่อสร้างทุกอย่าง ไม่ชอบพูดซ้ำซาก ประการที่สำคัญประจำตัวท่านคือด่าใครไม่เป็นเป็น มีญาติผู้ใหญ่ของท่านเล่าให้ฟังว่าตั้งแต่อุปสมบทมาเคยได้ยินด่าใครเลย แม้แต่จะโมโหถึงที่สุด เพราะถ้าท่านด่าใครแช่งใครแล้ว ผู้นั้นจะต้องเป็นไปตามปากของท่านทุกคน
ท่านมีความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ ไม่มีพิธีรีตองอะไร จะไปไหนอึกอักไปได้เลย อากาศจะร้อนฝนจะตกท่านก็ไม่เคยย่อท้อ คงปฏิบัติกิจวัตรของท่านได้เสมอตราบจนกระทั่งถึงกาลมรณภาพลง ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ หลวงปู่ได้อาพาธอยู่ที่โรงพยาบาลสงฆ์และมรณภาพเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ รวมอายุ ๘๐ปี ๖ เดือน พรรษา ๖๐
ด้วยคุณานุภาพแห่งศีล สมาธิ ปัญญา และจริยวัตรอันเรียบร้อยและดีงามของหลวงปู่นั้น นับได้ว่าเป็นผู้มีพระคุณแก่บรรดาสานุศิษย์เป็นอย่างมาก บรรดาข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนที่พบเห็นในตัวท่าน จึงพากันเลื่อมใสศรัทธา เคารพนับถือ ในพระคุณของท่านเป็นอย่างมาก ยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือน


เพื่อเป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวทิตาคุณ ที่พระคุณท่านมีต่อเรามา ณ โอกาสนี้
ขอน้อมมาด้วยความเคารพอย่างสูง
นายณรงค์ ฟูแย้ม
ครูใหญ่วัดเกรียงไกรเหนือ ผู้รวบรวมประวัติ (เดิม)
๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๙
และ
ขอนอบน้อมมาด้วยความเคาพอย่างสูง
(สงฺโฆ เม นาโถ. พระสงฆ์เป็นที่พึ่งของเรา)
พระโกวิทย์ จนฺทโก
(พร้อมกับคณะครู - นักเรียนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดเกรียงไกรเหนือ)
ผู้รวบรวมร้อยเรียงประวัติ (ใหม่)
๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๐

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top