หลวงพ่อโม วัดสามจีน ปี 246..กว่า เนื้อชินตะกั่ว-เว็บพระแท้2 - webpra
VIP
***ไม่มีสิ่งใดๆในโลกที่ดีหรือเลว มีแต่ความคิดของเราเท่านั้น ที่ทำให้เกิดความดีและความเลว***

หมวด พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520

หลวงพ่อโม วัดสามจีน ปี 246..กว่า เนื้อชินตะกั่ว

หลวงพ่อโม วัดสามจีน ปี 246..กว่า เนื้อชินตะกั่ว - 1หลวงพ่อโม วัดสามจีน ปี 246..กว่า เนื้อชินตะกั่ว - 2
ชื่อร้านค้า เว็บพระแท้2 - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง หลวงพ่อโม วัดสามจีน ปี 246..กว่า เนื้อชินตะกั่ว
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ gt540@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 18 พ.ค. 2551 - 03:19.01
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พฤ. - 18 ส.ค. 2554 - 06:01.26
รายละเอียด
เหรียญชินราช หลวงพ่อโม เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์หน้าใหญ่ จัดว่าหายากมากเป็นบล็อคที่สร้างในยุคแรกหรือรุ่นแรกเลยก็ไม่ผิด ครั้นต่อมาก็จะมีออกมาอีกเป็นยุคหลังพิมพ์หน้าเล็ก

และยังมีพระที่เลียนแบบออกมาอีกเรียกว่าเหรียญเก๊เลยดีกว่าพิมพ์คล้ายๆกันนี้ หลังจะไม่ค่อยเห็นรอยตะเข็บหรือมีก็เส้นจางๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเหรียญรุ่นนี้จะต้องมีทุกเหรียญ เหรียญแท้หายากจริงๆครับ ราคาเหรียญแท้ๆยุคแรกสายตรงเล่นหากันก็เป็นหมื่นแล้ว เหรียญนี้ได้มาเกือบ 30 ปีเมื่อช่วงที่เริ่มสะสมใหม่ๆ เช่าหามาในขณะนั้น 200 บาท

พระพุทธชินราชหลวงพ่อโมวัดสามจีน ที่คนรุ่นเก่ารู้จักดีโดยเฉพาะผู้ที่ยกตัวเองว่าเป็น “นักเลงอันธพาล” ที่ชอบก่อเหตุยกพวกตีกันเพราะในยุค “ก่อนปี พ.ศ. 2500” นั้นกรุงเทพฯ มีนักเลงหลายก๊กหลายพวกอย่างเช่น “นักเลงเก้ายอด” หรือพวก “ลั่กก๊ก” นักเลงพวกนี้นอกจากใจถึงไม่กลัวใครแล้ว ว่ากันว่าแต่ละคนยังหนังเหนียวฟันแทงไม่เข้า รวมทั้ง “นักเลงย่านวัดสามจีน” ก็เป็นอีกพวกที่ไม่มีใครอยากข้องแวะเพราะร่ำลือกันว่ามี “หนังเหนียว” ทั้งนี้ก็เพราะในคอนักเลงพวกนี้แขวน “พระพุทธชินราช” ของ “หลวงพ่อโม วัดสามจีน” ทุกคน

ดังนั้น “พระพุทธชินราชหลวงพ่อโมวัดสามจีน” จึงเป็นที่รู้จักด้วยเหตุนี้ ประกอบกับวัดนี้มี “พระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่” ที่ประดิษฐานอยู่ภายในวัดซึ่งแต่เดิมเป็นพระพุทธรูปที่ถูกโบกปูนปิดทับเอาไว้โดยสันนิษฐานกันว่าเพื่อไม่ให้ผู้ใดทราบว่าภายในเป็น “พระทองคำ” กระทั่งปูนที่โบกทับไว้กะเทาะออกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2490 นี่เองจึงได้ทราบว่าเป็น “พระทองคำ” ขนาดใหญ่อยู่ภายใน “หลวงพ่อโม” นับเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าท่านหนึ่งที่ บรรลุธรรมขั้นสูง และเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดในวิปัสสนากรรมฐานมากอีกรูปในยุคนั้น ชนิดผู้คนร่ำลือกันว่าท่านสามารถล่วงรู้กาลมรณภาพล่วงหน้าได้ ดังนั้นเมื่อท่านเป็นผู้ให้กำเนิด “พระพุทธชินราชหลวงพ่อโมวัดสามจีน” จึงเชื่อมั่นได้ว่าพุทธคุณต้องครบเครื่องทุกด้านแม้จะสร้างเป็นแบบ “องค์แบนครึ่งซีก” ด้วยเนื้อตะกั่วก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะวัสดุในการสร้างพระสมัยนั้นค่อนข้างหายาก

อีกทั้งสมัยนั้นก็นิยมสร้างวัตถุมงคลด้วยเนื้อตะกั่วเพราะสร้างได้ง่ายไม่มีอะไรยุ่งยาก ส่วนพุทธคุณจะดีแบบใดก็อยู่ที่ผู้สร้างมีความเก่งทางด้านใดเท่านั้น ส่วนมูลเหตุที่ “หลวงพ่อโม” สร้างพระในรูปแบบของ “พระพุทธชินราช” นั้นก็เนื่องเพราะเมื่อครั้งที่ “พระปรมากรมุณี” ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านไปรับตำแหน่งเป็น “เจ้าคณะ” แห่งเมืองพิษณุโลก “หลวงพ่อโม” ผู้เป็นศิษย์จึงเดินทางไปปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์ในกาลครั้งนั้นด้วย จึงได้มีโอกาสไปสัมผัสและกราบนมัสการ “พระพุทธชินราชองค์ใหญ่” ที่ประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อย่างสม่ำเสมอ “หลวงพ่อโม” จึงมีความศรัทธา “พระพุทธชินราช” เป็นอย่างยิ่ง

ดังนั้นเมื่อเดินทางกลับมาจำพรรษาที่ “วัดสามจีน” เมื่อปี พ.ศ. 2460 จึงได้สร้างพระเครื่องเป็นพิมพ์ “พระพุทธชินราช” ด้วยเนื้อตะกั่วแล้วทำการลงอักขระด้วยเหล็กจาร

ได้คัดลอกจากหนังสือนิตสารพระเครื่อง

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top