พระปิดตา กรุวัดท้ายตลาด-ชัยนคร99 - webpra
โลกใบนี้เต็มไปด้วยความมหัศจรรย์ ถ้าไม่ออกเดินทางก็ไม่มีวัน..พบ....โดย สงวนชัย สาทัน

หมวด พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

พระปิดตา กรุวัดท้ายตลาด

พระปิดตา กรุวัดท้ายตลาด - 1พระปิดตา กรุวัดท้ายตลาด - 2พระปิดตา กรุวัดท้ายตลาด - 3พระปิดตา กรุวัดท้ายตลาด - 4
ชื่อร้านค้า ชัยนคร99 - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระปิดตา กรุวัดท้ายตลาด
อายุพระเครื่อง 206 ปี
หมวดพระ พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 0915535539 0617155565
อีเมล์ติดต่อ Chainakorn999@gmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ศ. - 01 พ.ค. 2558 - 20:22.19
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อ. - 03 พ.ค. 2565 - 18:59.31
รายละเอียด
พระปิดตา กรุวัดท้ายตลาด กรุงเทพฯ สภาพสวยเดิมๆไม่ผ่านการใช้ มีหน้ามีตา มาพร้อมรางวัลการันตรี ที่2 องค์นี้สวยจริงหาตัวจับยากครับ..............ประวัติ วัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) วัดท้ายตลาด เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร มีชื่อเป็นทางการว่า "วัดโมลีโลกยารามราชวรมหาวิหาร " หรือ "วัดโมลีโลกยาราม " ซึ่งชาวบ้านเรียกกันง่ายๆว่า " วัดท้ายตลาด " วัดท้ายตลาด ตั้งอยู่บริเวณหลังพระราชวังเดิมกรุงธนบุรี (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการ กองทัพเรือ มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 12 ไร่ 3 งาน ซึ่งวัดนี้เป็นวัดโบราณ สร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง มูลเหตุที่เรียกชื่อว่าวัดท้ายตลาด เนื่องมาจากว่าวัดแห่งนี้มีที่ตั้งอยู่ท้ายตลาดธนบุรีนั่นเอง ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี และบริเวณพระราชวังเดิม(ปัจจุบันเป็นกองบัญชาการกองทัพเรือ) อยู่ระหว่างวัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีฯ) ถึงรวมอุปจาร (บริเวณอาณาบริเวณ) วัดอรุณฯ และวัดโมลีฯ เข้าไปในเขตพระราชวังมีฐานะเทียบเท่ากับวัดพระศรีสรรเพชญ์ฯ เมื่อครั้งสมัยกรุงศรีฯ และวัดพระศรีรัตนศาสดารามในปัจจุบัน วัดทั้งสองขึ้นเป็นพระอารามที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่เลยตลอดสมัยกรุงธนบุรี จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นิมนต์พระสงฆ์มาจำพรรษาในวัดทั้งสอง ในสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงถวายพระนามวัดท้ายตลาด (วัดโมลีฯ) ว่า " วัดพุทไธสวรรค์ " ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงปฏิสังขรณ์ ได้ถวายนามวัดท้ายตลาดใหม่ว่า " วัดโมลีโลกสุธาราม " ซึ่งสันนิษฐานว่าเหตุที่ทรงถวายพระนามพระอารามแห่งนี้ น่าจะมีที่มาจากชื่อว่า " โมลีโลกยาราม " นั่นเอง และคงจะเรียกสั้นๆว่า" โมลีโลกฯ " ภายหลังเมื่อต้องการจะให้มีคำว่า " อาราม " ต่อท้ายจึงกลายเป็น " โมลีโลกยาราม" ลำดับเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) เท่าที่มีการบันทึกไว้ ตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงปัจจุบัน ลำดับที่ 1 พระพุทธโฆษาจารย์ (ศรี) ลำดับที่ 2 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) ลำดับที่ 3 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม) ลำดับที่ 4 พระธรรมไตรโลก (รอด) ลำดับที่ 5 พระธรรมเจดีย์ (อยู่) ลำดับที่ 6 พระราชานุพันธมุนี (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) ต่อมาย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ลำดับที่ 7 พระวิเชียรธรรมคุณาธาร (โสตถิ์ เปรียญ) ลำดับที่ 8 พระสนิมสมณคุณ (เงิน) ผู้สร้างพระนาคปรกใบมะขามอันลือชื่อ ลำดับที่ 9 พระประสิทธิศีลคุณ (จ้อย) ภายหลังย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดโมลีฯ ลำดับที่ 10 พระครูสังวรโมลี (ชาลี อุตตโร) ลำดับที่ 11 พระรัตนมุนี (โสม ปญญาวุฑโฒ) พระกรุ วัดท้ายตลาด วัดโมลีโลกยาราม หรือ วัดท้ายตลาด เป็นแหล่งกำเนิดของพระกรุเนื้อผงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีกกรุหนึ่ง ในช่วงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ความมากมายหลากหลายของพิมพ์พระ ตลอดทั้งความงดงามอลังการทางกายวิภาคของพิมพ์ทรงล้วนเป็นงานศิลป์ระดับช่างหลวง ยากที่บุคคลธรรมดาทั่วไปจะทำได้ จากหลักฐานที่ปรากฏชัดเจน ในปางพระพิมพ์ต่างๆของพระกรุวัดท้ายตลาด ทำให้เชื่อได้ว่าพระพิมพ์ต่างๆเหล่านั้น สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตรงกับ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) เป็นเจ้าอาวาส และคาดว่าพระพิมพ์ต่างๆเหล่านั้นน่าจะมีจำนวนถึง 84,000 องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ ในการที่จะสร้างพระให้ได้จำนวนถึง 84,000 องค์นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย คนธรรมดายากที่จะสร้างได้ เพราะต้องใช้ทั้งกำลังคนและกำลังทรัพย์เป็นจำนวนมาก เฉพาะอย่างยิ่ง พระพิมพ์วัดท้ายตลาดแต่ละพิมพ์นั้น เป็นการออกแบบที่ละเอียดอ่อนประณีตงดงามที่สุด ซึ่งน่าจะเป็นฝีมือช่างหลวง ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยไม่ต้องสงสัย พระกรุวัดท้ายตลาด แตกกรุครั้งแรกเมื่อประมาณปี 2480 เป็นพระเนื้อผงทั้งหมด มีส่วนผสมของว่านและเกษรดอกไม้ร้อยแปดผสมกับปูนขาว รวมทั้งเนื้อผงใบลาน เนื้อพระจึงมีสีค่อนข้างเขียวอมดำหรือเทาแก่ ครั้งปี พ.ศ. 2498 วัดนางชีกรุแตกขึ้นมา ก็พบพระเครื่องพิมพ์เดียวกันกับที่วัดท้ายตลาดอีกเป็นจำนวนมาก แต่เนื้อพระจะออกเป็นสีเขียวอ่อนปนขาวเหลือง และมีคราบกรุจับหนาด้วยฝ้าขาวนวลแน่นเช่นเดียวกับพระกรุวัดท้ายตลาด อันเป็นกรุต้นกำเนิด คล้อยหลังจากพระกรุวัดนางชีแตกอีก 10 ปี ก็มีการพบพระพิมพ์ของวัดท้ายตลาดอีกที่กรุวัดตะล่อม ซึ่งลักษณะของพระที่ได้จากกรุวัดตะล่อมนี้ มีลักษณะเช้นเดียวกันกับของกรุวัดนางชี จากวัดท้ายตลาดถึงวัดตะล่อม สามกรุสามวัด ที่มีพระพิมพ์ของวัดท้ายตลาดขึ้นมา ล้วนต่างเป็นวัดที่อยู่ฝั่งธนบุรีทั้งสิ้น จึงไม่ใช่เรื่องผิดแปลกประการใด พระกรุวัดท้ายตลาด อันเป็นกรุต้นกำเนิดพระพิมพ์เนื้อผงที่งดงามอ่อนช้อยทางพุทธศิลป์และกายวิภาค ยากที่จะหาใดเสมอเหมือนได้ ลักษณะทั่วไปของพระกรุนี้ เนื้อพระโทนสีจะออกเทา จากเทาบางๆ จนถึงเข้มจนเกือบจะออกเป็นสีดำ เพราะมีส่วนผสมของผงใบลานเผารวมอยู่ด้วย ลักษณะคราบกรุ จะมีลักษณะคราบบางๆ คล้ายฝ้าสีขาวตามผิวองค์พระ เมื่อสัมผัสผ่านการใช้ คราบฝ้าเหล่านี้จะหายไป เนื้อจัดมันส์ตามธรรมชาติ ส่วนของวัดตะล่อมนั้น เป็นกรุที่บรรจุเอาไว้ใต้ฐานชุกชีพระประธาน ซึ่งเป็นปูน พระที่ได้จากกรุนี้ ตามผิวพระจะถูกปูนขาวจับเป็นคราบเนื้อพระออกโทนอมเขียวเล็กน้อย ดังกล่าวเบื้องต้นว่า พระกรุวัดท้ายตลาด เป็นพระที่มีพิมพ์มากที่สุด สันนิษฐานว่า น่าจะมีมากกว่า 50 พิมพ์ขึ้นไป สำหรับที่นำมาลงให้ชมนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่ง และพบเห็นแพร่หลายเท่านั้น ด้านหลังพระกรุวัดท้ายตลาด ด้านหลังของพระกรุวัดท้ายตลาด ไม่ว่าจะขนาดใหญ่ เล็ก หรือ จิ๋ว ก็ตาม พระทุกองค์ด้านหลังต้องมีตราอักขระ เลขยันต์ ปั๊มไว้ทุกองค์ อาธิเช่น 1.พระวัดท้ายตลาด พิมพ์พระปิดตาขัดสมาธิเพชร 2.พระพิมพ์แม่พระธรณีเป็นมวยผม สี่เหลี่ยมใหญ่ 3.พระพิมพ์แม่พระธรณีเป็นมวยผม ห้าเหลี่ยม 4.พระพิมพ์นางกวัก สี่เหลี่ยม 5.พระพิมพ์พุทธนางกวัก 6.พระพิมพ์ป่าเลไลยก์ใหญ่ 7.พระพิมพ์ป่าเลไลยก์เล็ก 8.พระพิมพ์นาคปรกเต็มองค์ 9.พระพิมพ์ครึ่งองค์ 10.พระพิมพ์สังกัจจายน์ 11.พระพิมพ์ซุ้มปราสาท 12.พระพิมพ์สมาธิแหวกม่าน 13.พระพิมพ์เล็บมือ 14.พระพิมพ์ยืนอุ้มบาตร 15.พระพิมพ์ยืนห้ามสมุทร 16.พระพิมพ์ยืนถวายเนตร 17.พระพิมพ์ยืนรำพึง 18.พระพิมพ์โมคคัลลาน์-สารีบุตร 19.พระพิมพ์พระเจดีย์ 20.พระพิมพ์มารวิชัย ข้างเส้น 21.พระพิมพ์มารวิชัย ข้างเม็ด 22.พระพิมพ์สมาธิเล็ก 23.พระพิมพ์สมาธิข้างกนก 24.พระพิมพ์หยดแป้ง 25.พระพิมพ์สมาธิบัวสองชั้น 26.พระกรุวัดท้ายตลาด พระพิมพ์ปางไสยาสน์ และอีกหลายๆพิมพ์เป็นต้น.....................* พระองค์นี้ผมลงโชว์ใว้เพื่อการศึกษาเท่านั้นครับ *

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top