เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปี13 " บ.ขาด " บล็อกนิยม ลองเข้ามาชมกันได้จ้า-jorawis - webpra
VIP
  • มีพระกรุยอดนิยมหลากหลายสภาพ ให้เลือกชม
    เน้นพระแท้ ดูง่าย รับประกันความแท้ตามสากลนิยม มีให้เลือกชมทั้งพระเนื้อดิน ชิน ผง
    แทบทุกองค์ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชียวชาญ โดยมีรางวัลจากการผ่านงานประกวดมาตรฐาน
    หรือ

    ผ่านการออกใบรับรองพระแท้ จากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย
    ที่สามารถยืนยันถึงความแท้และความถูกต้องของข้อมูล
    ที่เกี่ยวกับองค์พระได้เป็นอย่างดี
  • ส่วนใหญ่เป็นพระกรุพระเก่ายอดนิยม
    หลายองค์เป็นพระในตำนาน หาชมได้ยากในปัจจุบัน
    บางองค์ไม่มีแม้แต่รูปให้ผ่านสายตา

    ส่วนบางองค์มีให้เห็นแค่เฉพาะภาพในหนังสือพระเครื่องมาตรฐานสูงบางเล่มเท่านั้น

    สนใจเชิญติดต่อกันเข้ามาได้
    ยินดีต้อนรับด้วยความเป็นกันเองทุกท่านทุกสายเลยจ้า
  • Page 1
  • Page 2
มีพระยอดนิยมมากมายให้เลือกชม เน้นพระแท้ดูง่ายโดยเฉพาะพระกรุ พระเก่า ประกันความแท้ตามมาตรฐานสากลนิยม

หมวด เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปี13 " บ.ขาด " บล็อกนิยม ลองเข้ามาชมกันได้จ้า

เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปี13  " บ.ขาด " บล็อกนิยม ลองเข้ามาชมกันได้จ้า - 1เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปี13  " บ.ขาด " บล็อกนิยม ลองเข้ามาชมกันได้จ้า - 2เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปี13  " บ.ขาด " บล็อกนิยม ลองเข้ามาชมกันได้จ้า - 3เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปี13  " บ.ขาด " บล็อกนิยม ลองเข้ามาชมกันได้จ้า - 4เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปี13  " บ.ขาด " บล็อกนิยม ลองเข้ามาชมกันได้จ้า - 5
ชื่อร้านค้า jorawis - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปี13 " บ.ขาด " บล็อกนิยม ลองเข้ามาชมกันได้จ้า
อายุพระเครื่อง 49 ปี
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ Jorawis@gmail.com
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 20 มี.ค. 2556 - 23:21.30
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 09 ธ.ค. 2566 - 15:55.46
รายละเอียด
เหรียญนี้นับได้ว่าเป็นเหรียญยอดนิยมอันดับต้น ของจังหวัดอุตรดิตถ์และในพื้นที่ใกล้เคียงแถบภาดเหนือตอนล่างเลยทีเดียว ด้วยเจตนาเพื่อ รำลึกถึงเกียรติคุณและวีรกรรมที่กล้าหาญของพระยาพิชัยดาบหัก บรรดาข้าราชการและพ่อค้าตลอดจนประชาชนชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ จึงได้พร้อมใจกัน สร้างอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหักขึ้น เป็นอนุสรณ์ โดยมีกรมศิลปากรเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการออกแบบและหล่อปั้นอนุสาวรีย์ จนเสร็จสมบูรณ์ จึงนำมาประดิษฐานไว้ที่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ และได้ทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2512

หลังจากนั้นทางจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัด นายเวทย์ นิจถาวร ได้ดำริให้มีการจัดสร้าง “เหรียญที่ระลึกพระยาพิชัยดาบหัก”ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้การเทิดทูนเกียรติประวัติและวีรกรรม ของพระยาพิชัยดาบหักให้เผยแผ่ไปกว้างาขวาง และแพร่หลายยิ่งขึ้น และ เพื่อเปิดโอกาสให้ข้าราชการและพ่อค้าประชาชนทั่วไปได้มีเหรียญพระยาพิชัยดาบหักไว้ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว สักการะบูชา และยึดถือเป็นแบบอย่างที่ดีสืบต่อไป

เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก เป็นเหรียญรูปไข่ ออกแบบและจัดทำโดยกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ ด้านหน้าเป็นรูปพระยาพิชัยดาบหัก จำลองจากอนุสาวรีย์ ส่วนด้านหลัง ลงยันต์และอักขระคาถาของ หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม และหลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย เรียกว่า “ไตรสรณะ”

พิธี ปลุกเสกกระทำอย่างถูกต้องและสมบูรณ์แบบ จัดขึ้นในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2513 ณ บริเวณที่ตั้งอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยประธานดำเนินงานในขณะนั้น ได้แก่ พลโทสำราญ แพทยกุล แม่ทัพกองทัพภาคที่ 3 ได้กราบทูลสมเด็จพระสังฆราช(จวน) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย และนิมนต์พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงเวทวิทยาคุณที่มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพ นับถือของประชาชนจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย ร่วมพิธีปลุกเสกเพื่อให้เกิดความขลัง ศักดิ์สิทธิ์ และสิริมงคลแก่ผู้บูชา

เหรียญพระยาพิชัยดาบหักที่จัดสร้างในครั้งนั้น แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ “เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง” เฉพาะเหรียญทองคำ ด้วยทองคำบริสุทธิ์ 80 % มี น้ำหนักประมาณ 17 กรัม (กว่าหนึ่งบาท) จัดทำเพียง 189 เหรียญ เท่าจำนวนปีที่พระยาพิชัยดาบหักสิ้นชีวิตมาจนถึงปีที่จัดสร้าง ส่วนเหรียญเงิน จัดสร้าง 999 เหรียญ

เหรียญที่ชมกันอยู่นี้ เป็นเหรียญทองแดง บล็อกนิยมที่เรียกกันว่า "บ. ขาด " เนื่องจากมีจุดสังเกตเป็นเอกลักษณ์ คือ ตัว บ. ของคำว่า "ดาบ" ขาด ไม่ต่อเนื่องเป็นเส้นเดียวกัน แม้ปัจจุบันค่านิยมยังไม่สูงมากนัก แต่หาชมเหรียญแท้ สภาพสวยสมบูรณ์ ผิวเดิม ได้ยากไม่แพ้เหรียญยอดนิยมเหรียญอื่นเลยทีเดียว สนใจลองติดต่อสอบถามกันเข้ามาได้จ้า

อาจมีพระรายการอื่น ๆ ที่ทำนกำลังค้นหาอยู่เชิญที่นี่เลยจ้า

http://www.web-pra.com/Shop/jorawis



ชีวประวัติพระยาพิชัยดาบหักพระยาพิชัยดาบหัก


พระยาพิชัยดาบหักเป็นเจ้าเมืองพิชัย ในสมัยกรุงธนบุรีได้สร้างวีรกรรมที่ลือเลื่องในปี พ.ศ. ๒๓๑๖ เมื่อพม่ายกกองทัพมาตีเมืองพิชัย ซึ่งปรากฏข้อความในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถาเลขาตอนหนึ่งว่า


ครั้งถึง ณ เดือนอ้ายข้างขึ้น โปสุพลายกกองทัพมาตีเมืองพิชัยอีก พระยาพิชัยก็ยกพลทหารออกไปรบแต่กลางทางยังไม่ถึงเมืองเจ้าพระยาสุรสีห์ก็ยกกองทัพเมืองพระพิษณุโลกขึ้นไปช่วยได้รบกับพม่าเป็นสามารถและพระยาพิชัยถือดาบสองมือคุมทหารออกไล่ฟันพม่าจนดาบหักจึงลือชื่อปรากฏเรียกว่า พระยาพิชัยดาบหัก แต่นั้นมา……..



สำหรับประวัติพระยาพิชัยดาบหักนี้ พระยาศรีสัชนาลัยบดี ( เลี้ยง ศิริปาละกะ ) ซึ่งเป็นชาวพิชัยโดยกำหนดได้รวบรวมเรียบเรียงขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ แลได้นำเผยแพร่ในหนังสือเสนาศึกษา เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๗ นำมาเรียบเรียงใหม่ดังนี้


พระยาพิชัยดาบหักเดิมชื่อ จ้อย เกิดที่บ้านห้วยคา หลังเมืองพิชัยไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๑๐๐ เส้นเศษบิดามารดาตั้งบ้านเรือนไถนาหาเลี้ยงชีพมีบุตรด้วยกัน ๔ คน แต่เป็นไข้ทรพิษตายความเดียวกัน ๓ คน เหลือจ้อยคนเดียวเมื่อจ้อยอายุได้ ๘ ขวบ บิดาให้เลี้ยงควายและชอบชกมวยมาก บิดาจึงนำตัวไปฝากท่านพระครูวัดมหาธาตุเมืองพิชัยเพื่อเรียนหนังสือจนอายุย่างเข้า ๑๔ ขวบ ก็อ่านออกเขียนได้ ในขณะที่อยู่ที่วัดมหาธาตุนั้นจ้อยชอบดูการชกมวยมากและเมื่อมีเรื่องชกต่อยกับเด็กวัดด้วยกัน จ้อยก็สามารถเอาชนะได้ทุกคน ต่อมาเจ้าเมืองพิชัยได้นำบุตรชายชื่อ เจิด กับเด็กคนใช้อีก ๓ คนมาฝากท่านพระครูเรียนหนังสือต่อมาเกิดวิวาทชกต่อยกันจ้อยเกรงว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะเจิดเป็นบุตรชายเจ้าเมืองพิชัยจึงหนีไปบ้านท่าเสาเพื่อไปหัดมวยที่นั่น ระหว่างที่เดินทางมาถึงวัดบ้านแก่งเห็นครูเที่ยงกำลังสอนมวยอยู่จึงสมัครเป็นศิษย์ เนื่องจากเกรงจะมีคนจำชื่อได้จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า ทองดี เมื่อหัดมวยจนฝีมือเป็นเลิศกว่าคนอื่นแล้ว ครูเที่ยงจึงตั้งชื่อให้ใหม่ว่า ทองดี ฟันขาว ต่อมาจึงขอลาครูเที่ยงเดินทางติดตามพระภิกษุรูปหนึ่ง ไปนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์โดยไปพักอยู่ที่วัดบางเตาหม้อกับพระภิกษุรูปนั้น เมื่อพระภิกษุรูปนั้นกลับจึงฝากนายทองดีอยู่กับพระภิกษุไปหาครูที่ท่าเสาชื่อ ครูเมฆ เพื่อขอเป็นศิษย์ฝึกหัดมวยจนสำเร็จการมวยในระหว่างนี้ นายทองดีอายุได้ ๑๘ ปี ได้แสดงความสามารถติดตามผู้ร้ายที่เข้ามาลักควายครูเมฆโดยฆ่าคนร้ายตาย ๑ คนและจับคนร้ายที่ยังไม่ตายได้อีก ๑ คน โดยนำมามอบให้กรมการตำบล บางโพท่าอิฐ นายทองดีได้รับการชมเชยและได้บำเหน็จรางวัลจากกรมตำบลท่าอิฐถึง ๕ ตำลึง


นายทองดีได้มีโอกาสแสดงฝีมืออีกครั้งหนึ่งด้วยการชกมวยในงานมหรสพฉลองพระแท่นศิลาอาสน์โดยชกชนะนายถึก (ศิษย์ครูนิล) และยังชนะครูนิลอีกด้วย ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีนักมวยคนใดแขวงเมืองพิชัย เมืองทุ่งยั้ง เมืองลับแล และเมืองฝางมาขันสู้กับนายทองดีเลย ต่อมาอีก ๓ เดือน พระสงฆ์เมืองสวรรคโลก ชวนนายทองดีไปเมืองสวรรคโลกและได้ฝากนายทองดีกับครูฟันดาบผู้ฝึกบุตรเจ้าเมืองสวรรคโลก ได้ฝึกหัดอยู่ประมาณ ๓ เดือน ก็ทำได้คล่องแคล่วทุกท่าทุกทางจนจบหลักสูตร ทั้งยังได้ซ้อมฟันดาบกับบุตรชายเจ้าเมืองสวรรคโลก ด้วยนายทองดีได้ลาครูฟันดาบเดินทางไปยังสุโขทัย ขอสมัครเป็นศิษย์กับครูจีนแต้จิ๋วคนหนึ่งเพื่อฝึกมวยจีนและฝึกอยู่จนสำเร็จ ทั้งยังมีลูกศิษย์ คนหนึ่งชื่อบุญเกิดด้วย ตอนนี้นายทองดีและบุญเกิดอาศัยอยู่ที่วัดธานี อยู่วัดนี้ได้ประมาณ ๖ เดือน ก็มีชาวจีนคนหนึ่งมาจากเมืองตาก เห็นฝีมือของนายทองดีจึงชวนไปเมืองตาก โดยเล่าว่าพระยาตาก เจ้าเมืองมีความสนใจและชอบคนมีฝีมือ แต่ความจริงต้องการชวนนายทองดีไปเป็นเพื่อน เพราะกลางทางมีเสือดุ นายทองดีตกลงไปเมืองตาก โดยชวนบุญเกิดไปด้วยระหว่างทางตอนกลางคืนเสือได้เข้ามาคาบบุญเกิดไป นายทองดีเข้าช่วยโดยต่อสู้กับเสือจนบาดเจ็บหนีไปและได้บุญเกิดคืนมาแต่บาดเจ็บมาก ต้องไปรักษาที่วัดใหญ่เมืองตาก อยู่ถึง ๒ เดือนจึงหาย


วันหนึ่งพระเจ้าตากมาถือน้ำพิพัฒน์สัตยาที่วัดใหญ่ และมีมวยฉลองด้วย นายทองดีได้ชกกับครูมวย ชื่อห้าว และสามารถเอาชนะได้ พระเจ้าตากอยากดูฝีมือนายทองดีอีกจะให้ชกกับครูมวยชื่อหมึก นายทองดีก็สามารถชนะได้อีก พระเจ้าตากชอบใจฝีมือนายทองดีมาก ได้มอบรางวัลให้ ๕ ตำลึง และรับตัวเข้าทำงานด้วย พระเจ้าตากโปรดปรานนายทองดีมาก

พอนายทองดีอายุ ๒๑ ปี พระเจ้าตากก็จัดการบวชให้เป็นพระภิกษุสงฆ์บวชอยู่ ๑ พรรษาก็สึกออกมาอยู่กับพระเจ้าตากต่อไป พระเจ้าตากตั้งใจให้เป็น หลวงพิชัยอาสา และยังได้นางสาวรำยงสาวใช้ของคุณหญิงเป็นภริยาด้วย เมื่อพระเจ้าตากจะไปไหนก็ให้หลวงพิชัยอาสาติดตามไปด้วยทุกครั้ง ต่อมาพระเจ้าตากได้รับท้องตรากระแสร์พระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้พระเจ้าตากไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงศรีอยุธยาจะโปรดเกล้าให้เป็นพระยาวชิรปราการครองเมืองกำแพงเพชร หลวงพิชัยอาสาตามพระเจ้าตากไปด้วยก็มีพม่าข้าศึกยกกองทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา พระยาวชิรปราการและหลวงพิชัยอาสาเข้าช่วยรบพม่าภายในกรุงศรีอยุธยา แต่เนื่องด้วยมิได้รับความยุติธรรมและขาดความอิสระในการรบพุ่งพระยาวชิรปราการพร้อมด้วยหลวงพิชัยอาสาและพรรคพวก ซึ่งมีพระเชียงเงินหลวงพรมหมเสนา หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี หมื่นราชเสน่หา และพลทหารตีฝ่ายพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาเดินทางผ่านเมืองปราจีนบุรี ระยอง จนถึงเมืองจันทบุรีรวบรวมผู้คนเสบียงอาหารและอาวุธยุทธภัณฑ์ไว้พร้อมแล้ว จึงยกทัพเรือลงมาตีเมืองธนบุรี ได้รบกับนายทองอิน ซึ่งพม่าตั้งให้รักษาเมือง จับนายทองอินประหารชีวิตเสีย สุกี้พระนายกองพม่าผู้รักษากรุงศรีอยุธยา ซึ่งตั้งค่าอยู่ที่โพธิ์สามต้นได้ทราบข่าวจึงให้มองหย่าเป็นนายทัพคุมทหารมอญและทหารไทยมาตั้งรับอยู่ที่บ้านเพนียด พระเจ้าตากจึงสั่งให้หลวงพิชัยอาสาเป็นนายทัพหน้ายกเข้ามาตีมองหย่ามีความเกรงกลัวฝีมือหลวงพิชัยอาสาจึงถอยทัพหนีไปมิได้ต่อสู้พระเจ้าตากจึงสั่งให้หลวงพิชัยอาสาบุกเลยเข้าตีค่ายโพธิ์สามต้นล้อมค่ายสุกี้ พระนายกองและรบกันอยู่ถึง ๒ วันก็ตีค่ายโพธิ์สามต้นแตกตัวสุกี้พระนายกองตายในที่รบ เมื่อพระเจ้าตากได้ชัยชนะแล้วได้เข้าไปตั้งพลับพลาประทับอยู่ในพระนครและได้เห็นปราสาทรวมทั้งตำหนักถูกเพลิงไหม้เสียมาก ต่อมากจะซ่อมแซมใหม่ก็ยากจึงชวนกันไปสร้างเมืองธนบุรีเป็นราชธานีและทำพิธีปราบดาพิเษก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๑ ทรงพระนามว่า พระรมราชาธิราชที่ ๔ แต่มักเรียกกันว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี บ้าง พระเจ้าตากสิน บ้างและโปรด ฯ ให้หลวงพิชัยอาสาเป็นเจ้าหมื่นไวยวรนาถมีตำแหน่งเป็นนายทหารเอกวงษ์ในพระองค์


เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีสร้างเมืองธนบุรีเป็นราชธานีแล้วจึงทรงดำเนินการปราบก๊กต่าง ๆ ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่ทางภาคตะวันออกปราบได้ก๊กของกรมหมื่นเทพพิพิธซึ่งตั้งตัวใหญ่ที่เมืองพิมายและโปรด ฯ แต่งตั้งให้เจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นพระยาสีหราชเดโชแล้วจึงเสด็จยกทัพไปปราบปรามก๊กฝ่ายเหนือปราบได้ก๊กเจ้าพระฝางเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๓ แล้วโปรด ฯ แต่งตั้งให้พระยาสีหราชเดโชเป็นพระยาพิชัยให้ครองเมืองพิชัยต่างพระเนตรพระกรรณให้มีไพร่พล ๙,๐๐๐ คน ทั้งทรงพระกรุณาโปรด ฯ พระราชทานเครื่องยศให้เสมอด้วยเจ้าพระยาสุรสีห์และทรงแต่งตั้งนายบุญเกิดคนสนิทของพระยาพิชัยเป็นหมื่นหาญณรงค์เป็นนายทหารคนสนิทของพระพิชัยอีกด้วย เมื่อพระยาพิชัยครองเมืองนั้นได้ทราบว่าบิดาถึงแก่กรรมเสียแล้วยังอยู่แต่มารดาจึงใช้ให้ทหารไปตามตัวมาหา พอมารดามาถึงก็หมอบกราบไม่เงยหน้าดูเพราะความกลัวด้วยยังไม่ทราบว่าเป็นบุตรของตัวพระยาพิชัยรีบลุกไปจับมือมารดาไว้ห้ามไม่ให้กราบไหว้ พลางกราบลงกับเท้ามารดาแล้วเล่าเหตุการณ์ให้มารดาฟังแต่ต้นจนได้มาครองเมืองพิชัย แต่ก่อนชาวบ้านเรียก มารดาท่านว่านางนั่นยายนี่ต้องกลับบ้านเรียกว่าคุณแม่ใหญ่ในจวนไปตามกัน ส่วนครูเที่ยงที่บ้านแก่งและครูเมฆที่บ้านท่าเสา พระยาพิชัยก็ตั้งให้เป็นกำนันทั้งสองคนเพื่อสนองคุณคนทั้งสองนั่นเอง

ในปลายปี พ.ศ. ๒๓๑๓ นี้เองโปมะยุง่วน ซึ่งพม่าตั้งให้รักษาเมืองเชียงใหม่ได้ยกทัพชาวพม่าและชาวลานนาลงมาตีเมืองสวรรคโลกพระยาพิชัยก็ยกทัพเมืองพิชัยไปช่วยรบร่วมกับกองทัพเมืองพิษณุโลกตีทัพพม่าพ่ายหนีไปต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๑๕ โปสุพลาซึ่งมาอยู่ช่วยราชการรักษาเมืองเชียงใหม่นั้นยกกองทัพตีเมืองลับแล ณ วัดเอกา พระยาพิชัยก็จัดแจงการป้องกันเมืองเป็นสามารถเจ้าพระยาสุรสีห์ก็ยกกองทัพเมืองพิษณุโลกขึ้นไปช่วยเมืองพิชัยและเจ้าพระยาสุรสีห์กับพระยาพิชัยยกพลทหารเข้าตีค่ายพม่า พม่าออกต่อรบ ๆ กันถึงอาวุธสั้นพลทัพไทยไล่ตะลุมบอลฟันแทงพลทหารพม่าล้มตายเป็นอันมากพม่าต้านทานมิได้ก็แตกพ่ายหนีเลิกทัพกลับไปเมืองเชียงใหม่ รุ่งขึ้นอีกปีหนึ่งโปสุพลายกกองทัพมาตีพิชัยอีกพระยาพิชัยก็ยกพลทหารออกไปรบแต่กลางทางยังไม่มาถึงเมืองเจ้าพระยาสุรสีห์ก็ยกกองทัพเมืองพระพิษณุโลกขึ้นไปช่วยได้รบกับพม่าเป็นสามารถและพระยาพิชัยถือดาบสองมือคุมทหารออกไล่ฟันพม่าจนดาบหักจึงลือชื่อ ปรากฏเรียกว่า พระยาพิชัยดาบหัก แต่นั้นมา

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top