พระกริ่งพระเจ้าเก้าตื้อ หลัง ว.ช.ร. วัดชิโนรส ปี 2512 สภาพสวย หลวงพ่อกวย หลวงพ่อพรหม หลวงปู่โต๊ะฯลฯ-ศิลป์เจริญพร - webpra
VIP
"ร้านนี้พระเครื่องยุคเก่า สร้างโดยพระสุปฏิปันโน เจตนาการสร้างบริสุทธิ์ ที่นับถือบูชาได้อย่างสนิทใจ"

หมวด พระกริ่ง พระชัยวัฒน์

พระกริ่งพระเจ้าเก้าตื้อ หลัง ว.ช.ร. วัดชิโนรส ปี 2512 สภาพสวย หลวงพ่อกวย หลวงพ่อพรหม หลวงปู่โต๊ะฯลฯ

พระกริ่งพระเจ้าเก้าตื้อ หลัง ว.ช.ร.  วัดชิโนรส ปี 2512 สภาพสวย หลวงพ่อกวย หลวงพ่อพรหม หลวงปู่โต๊ะฯลฯ - 1พระกริ่งพระเจ้าเก้าตื้อ หลัง ว.ช.ร.  วัดชิโนรส ปี 2512 สภาพสวย หลวงพ่อกวย หลวงพ่อพรหม หลวงปู่โต๊ะฯลฯ - 2พระกริ่งพระเจ้าเก้าตื้อ หลัง ว.ช.ร.  วัดชิโนรส ปี 2512 สภาพสวย หลวงพ่อกวย หลวงพ่อพรหม หลวงปู่โต๊ะฯลฯ - 3พระกริ่งพระเจ้าเก้าตื้อ หลัง ว.ช.ร.  วัดชิโนรส ปี 2512 สภาพสวย หลวงพ่อกวย หลวงพ่อพรหม หลวงปู่โต๊ะฯลฯ - 4พระกริ่งพระเจ้าเก้าตื้อ หลัง ว.ช.ร.  วัดชิโนรส ปี 2512 สภาพสวย หลวงพ่อกวย หลวงพ่อพรหม หลวงปู่โต๊ะฯลฯ - 5
ชื่อร้านค้า ศิลป์เจริญพร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระกริ่งพระเจ้าเก้าตื้อ หลัง ว.ช.ร. วัดชิโนรส ปี 2512 สภาพสวย หลวงพ่อกวย หลวงพ่อพรหม หลวงปู่โต๊ะฯลฯ
อายุพระเครื่อง 51 ปี
หมวดพระ พระกริ่ง พระชัยวัฒน์
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ เนื่องจากมีลูกค้าติดต่อขอเช่าพระมาจำนวนมากต่อวัน ดังนั้นเช่าผ่านLINE จะติดต่อง่ายและสะดวกสุดครับ
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 16 พ.ย. 2557 - 20:06.30
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พ. - 14 เม.ย. 2564 - 14:43.10
รายละเอียด
**รหัส ศ.ร.๓๒๑๔
พระกริ่งพระเจ้าเก้าตื้อ หลัง ว.ช.ร. วัดชิโนรส ปี 2512 สภาพสวย หลวงพ่อกวย หลวงพ่อพรหม หลวงปู่โต๊ะฯลฯ ผิวพรรณวรรณะองค์นี้จัดว่าเก่าแท้ดูง่ายครับ (พระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์ ที่อัญเชิญมาสร้าง ในพิธีนี้พบอีกพิมพ์คือพิมพ์พระประจำปีนักษัติริย์ แต่พิมพ์กริ่งนี้จัดว่าหายากมากครับ)
*** พระชุดนี้เป็นพระพิธีดีที่สุดพิธีหนึ่งของวงการพระเครื่องเมืองไทย มาตรฐานนิยมทั่วไป ตอนนี้หลายร้านเริ่มไล่ปรับราคาขึ้นมาสูงๆ เนื่องจากหาของกันไม่เจอแล้วครับ ถ้าชอบ เก็บก่อนแพงนะครับ

ประวัติ พระชุดนี้ จัดสร้างโดย พระปลัดมานพ วัดชิโนรสาราม กรุงเทพฯ ได้จัดสร้างเมื่อปี 2512 พิธีพุทธาภิเษก 22 - 31 ส.ค.2512 จัดเป็นชุดพระเครื่องที่มีรูปแบบสวยงาม พิธีใหญ่ มีพระเกจิดังๆ ร่วมงานเพียบ อาทิ
หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง
อาจารย์นำ วัดดอนศาลา
หลวงพ่อมิ่ง วัดกก ธนบุรี
หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
หลวงพ่อดี วัดพระรูป
เป็นต้น

พระชุดนี้ เกจิอาจารย์ที่ร่วมงานถึงกับออกปากว่าเป็นของดี ที่น่าใช้
และทำให้ศิษย์สายหลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง สะสมกัน เนื่องจาก
หลวงปู่สุข ธมมโชโต ได้นำกลับมาทำการปลุกเสกเดี่ยวให้อีกครั้งใน
วันที่ 1 ก.ย.2512 (บางส่วน)

สำหรับท่านที่ชื่นชอบสะสมวัตถุมงคล หลวงพ่อกวย พระผงรุ่นนี้น่าใช้มากเพราะ หลวงพ่อท่านนั่งปรกปลุกเสกให้ตลอดทั้งคืนในงานพิธีจนถึงเช้า (ว่ากันว่าท่านลุกจากพิธีเป็นรูปสุดท้าย) ถือว่าอัดพลังใส่เต็มกำลังเลยครับ สายตรงไม่ควรพลาด

พระเจ้าเก้าตื้อ

พระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญและเป็นที่เคารพสักการะ ของชาวเชียงใหม่ สร้างด้วยโลหะหนัก 9 โกฏิตำลึง พระญาเมืองแก้ว (เรียกในตำนานว่า พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช หรือพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช กษัตริย์แห่งเมือง เชียงใหม่ ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2038 – 2068 ) กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2047

"พระเจ้าเก้าตื้อ" เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย หน้าตักกว้าง 8 ศอก หรือ 3 เมตร สูง 4.70 เมตร เพื่อเป็นพระองค์ประธานใน วัดพระสิงห์ แต่เนื่องมีน้ำหนักมากไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ จึงได้ถวายเรือนหลวงของพระองค์เป็นพระวิหาร พระราชทานชื่อว่า "วัดเก้าตื้อ" แทน ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัย ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ในปี พ.ศ. 2475 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478

คำว่าเก้าตื้อนี้มีความหมาย : เก้าตื้อ หมายถึงทองหนัก 9 ตื้อ คำว่า "ตื้อ" เป็นหน่วยน้ำหนักทองที่เรียกในสมัยโบราณ … ตื้อเป็นภาษาพื้นเมืองเหนือ 1 ตื้อ เท่ากับ พันชั่ง หรือ ทองคำ 1,000 กิโลกรัม ดังนั้น 9 ตื้อก็เป็นนำหนักทอง 9,000 กิโลกรัม หรือ 9 ตัน …

ดังนั้น "พระเจ้าเก้าตื้อ" จึงเป็นพระพุทธรูปที่สร้างด้วยทองคำหนักมากมายทีเดียว และเป็นพระพุทธรูปหล่อ ที่ใหญ่โตและงดงามที่สุด พระเจ้าเก้าตื้อชาวล้านนาร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์รวมจิตใจ ศูนย์รวมศรัทธาที่แสดงถึงความ เป็นปึกแผ่นของบ้านเมืองในสมัยนั้น



ประวัติของ "พระเจ้าเก้าตื้อ" ในเวอร์ชั่นที่น่าสนใจ ขอคัดลอกมาให้อ่านจาก http://www.photoontour.com/gall_slideshow_html/watsuandok/watsuandok.htm ดังนี้ค่ะ

หลวงปู่บุญมา อนิญชโต อายุ 81 ปี เป็นพระที่บวชอยู่วัดนี้มานานถึง 27 พรรษา และเป็นพระอาวุโสที่รู้เรื่องราวของวัดนี้เป็นอย่างดี … ท่านเล่าว่า

ท่านบอกว่าพระเจ้าเก้าตื้อที่เห็นนี้ หนัก 9 ตื้อ คือ 1 ตื้อนั้นจะเท่ากับ 1,200 กิโลกรัม(ตัวเลขต่างกับข้างต้น) ถ้า 9 ตื้อก็เท่ากับ หนัก 108,000 กิโลกรัม และความหมายอีกอย่างเกี่ยวกับพระเจ้าเก้าตื้อก็คือ เป็นการหล่อด้วยทองสำริดแบ่งเป็นท่อนๆ ได้ 9 ท่อน แล้วนำมาประกอบกัน โดยหล่อจากที่อื่นแต่นำมาต่อเชื่อมเป็นองค์พระที่วัดนี้ เหตุที่ไม่สามารถหล่อได้ครั้งเดียวก็เนื่อง จากเป็นพระโลหะที่ใหญ่มาก จึงต้องหล่อทีละส่วนแล้วนำมาต่อกัน ลักษณะเดียวกับการสร้างพระประธานปางลีลากลางแจ้งที่พุทธมณฑล

ในวันขึ้น 8 ค่ำ ของทุกเดือน จะมีการเฉลิมฉลองพระเจ้าเก้าตื้อ ซึ่งวันนั้นจะมีพิธีทำบุญตักบาตร และมีชาวบ้านมาร่วม ทำบุญเป็นจำนวนมาก

ความจริงของพระเจ้าเก้าตื้อที่ไม่ได้ปรากฏในที่สาธารณะ

ท่านเล่าว่าพระเจ้าเก้าตื้อที่เห็นนี้ได้มีการบูรณะขึ้นมาใหม่แทนของเก่า โดยมีคณะศรัทธาญาติโยมซึ่งมีหัวเรือใหญ่เป็นอาจารย์ จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ มีตำแหน่งเป็นรองศาสตราจารย์ ร่วมกับผู้มีฐานะร่ำรวยมั่งคั่ง ได้ไปปรึกษาหารือกับท่านเจ้าอาวาส เพื่อจะทำการลอกทองคำที่หุ้มพระเจ้าเก้าตื้อออก และปิดใหม่ให้ดูสวยงามขึ้นซึ่งในขณะนั้นเห็นว่าทองเก่าได้หลุดลอกออกบางส่วน และการปิดทองใหม่ก็ได้ให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการ โดยใช้ทองชนิดพิเศษเรียกว่าทองวิทยาศาสตร์ ์ซึ่งจะทำให้องค์พระมีสีทองสุกใสแวววาว

การบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ ชาวบ้านที่ศรัทธาวัด ต่างไม่เห็นด้วยที่ต้องลอกทองเก่าซึ่งเป็นทองบริสุทธิ์ออก และปิดทองใหม่ ซึ่งเป็นทองผสม ไม่ได้เป็นทองคำบริสุทธิ์เหมือนแต่แรก แต่ชาวบ้านใกล้เคียง คนเฒ่าคนแก่ และพระในวัดที่เป็นคนท้องถิ่นไม่สามารถทัดทานความตั้งใจนั้นได้ จึงต้องปล่อยให้บูรณะจนแล้วเสร็จ ท่ามกลางความเสียดายของชาวบ้าน ซึ่งการบูรณะ ครั้งนี้กระทำเมื่อปลายปี 2539 และมาเสร็จเมื่อต้นปี 2540

แต่หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดเหตุกับอาจารย์มหาวิทยาลัยผู้นี้หลายเรื่อง เช่นมีญาติเสียชีวิตอย่างกะทันหัน และเจ้าตัวประสบเคราะห์กรรมต่างๆนานา ต้องลาออกจากหน่วยงานและได้มาบวชชีที่วัดนี้เพื่อเป็นการขอขมา (ปัจจุบันได้สึกแล้ว)

จะเป็นอาถรรพ์ด้วยเหตุจากการลอกทองพระเจ้าเก้าตื้อหรือไม่คงเป็นเรื่องที่พิสูจน์ยาก แต่จากคำร่ำลือของชาวบ้านวัดสวนดอก และชาวเชียงใหม่ที่ทราบเรื่องนี้ ต่างกล่าวว่าเป็นเพราะการลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำและเป็นการฝืนมติของชุมชน

จากคำบอกเล่าของหลวงพ่อพอจะจับประเด็นได้ว่า วัดสำคัญๆของเชียงใหม่เมื่อจะมีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ก็จะมีการพิจารณาตามขั้นตอนของคณะสงฆ์ ที่ไม่ต่างจากการแต่งตั้งในทางโลก ดูยศ ดูตำแหน่ง แล้วก็แต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส ทำให้ขาดความรู้สึกผูกพันกับวัดนั้นมาก่อน เหมือนเป็นพระจากที่อื่นที่มาอยู่ใหม่ เมื่อมาเป็นเจ้าอาวาสก็พยายามสร้างผลงาน ให้เป็นที่ปรากฏ การสร้างถาวรวัตถุ การระดมทุนรับบริจาค ก็ถือเป็นผลงานที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นเป็นรูปธรรมได้

การที่ลอกทองคำเก่าดั่งเดิมของพระเจ้าเก้าตื้อออกและปิดทองใหม่นี้ เป็นการฝืนความรู้สึกของชาวบ้านที่มีความผูกพัน และหวงแหนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเองนับถือ และสิ่งนี้ยังเป็นเรื่องที่ค้างคาใจชาวบ้านและชาวเชียงใหม่มาจนถึงทุกวันนี้

จากการที่ได้สนทนากับหลวงพ่อ ทำให้สิ่งที่ผมสงสัยในใจนั้นกระจ่างขึ้น เพราะก่อนหน้าที่จะมาพูดคุยกับหลวงพ่อ มีคนบอก ว่าพระเจ้าเก้าตื้อนั้นเป็นพระเก่าแก่มาก แต่เมื่อมาเห็นแล้วก็รู้สึกว่าเป็นพระใหม่เหมือนวัดทั่วๆไป เพียงแต่มีการจัดฉากและเปิด ไฟให้ดูสวยงาม ปิดบังร่องรอยของอดีตจนหมดสิ้น

การที่หลวงพ่อปู่กวักมือเรียกอยู่หลายครั้งในตอนแรกนั้น ก็พอจะเข้าใจว่าท่านคงต้องการเล่าความจริงให้ฟัง เล่าแทนชาวบ้าน ที่รักและหวงแหนพระพุทธรูปที่ตนเคารพนับถือมาหลายชั่วอายุคน

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

Top