เหรียญไตรมาส หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี 2512-wison - webpra
VIP
สมัครเล่นครับ เรียนรู้จากของแท้เท่านั้น

หมวด หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง – หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน

เหรียญไตรมาส หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี 2512

เหรียญไตรมาส หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี 2512 - 1เหรียญไตรมาส หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี 2512 - 2เหรียญไตรมาส หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี 2512 - 3เหรียญไตรมาส หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี 2512 - 4เหรียญไตรมาส หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี 2512 - 5
ชื่อร้านค้า wison - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญไตรมาส หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี 2512
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง – หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน
ราคาเช่า 6,500 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0819460502
อีเมล์ติดต่อ wison41505@gmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ส. - 18 พ.ค. 2556 - 18:13.16
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 19 มิ.ย. 2564 - 18:47.50
รายละเอียด
เหรียญไตรมาส หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี 2512
เหรียญหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง เหรียญนี้เป็นเหรียญชุดไตรมาส ปี 12 เนื้อทองแดง ปัจจุบันหาสภาพสวยๆไม่ง่ายเลย เหรียญรุ่นนี้เช่าหาต้องระวังให้ดี เพราะของเก๋มากกว่าของจริงแต่ถ้ายึดของแท้เป็นแบบอย่าง และมีตอกโค๊ดถูกต้องกลับดูได้ไม่ยากครับ
เหรียญไตรมาตรหลวงพ่อแพ พิมพ์ใหญ่ ปี12 ด้านหลังต้องมีโค๊ต เหรียญรุ่นนี้มี 3 พิมพ์ด้วยกันคือ พิมพ์เกรียวเชือก พิมพ์แจกกรรมการ พิมพ์ใหญ่ ทั้ง 3 พิมพ์ต้องมีโค๊ตด้านหลังใต้ยันต์พุทซ้อน
สำหรับหลวงพ่อแพ เขมังกโร คนรุ่นหลังที่ศึกษาสะสมพระเครื่องต้องเคยได้ยินชื่อท่านมาไม่มากก็น้อย หลายๆคนจะรู้สึกว่าพระเครื่องของท่านทำไมมากมายหลายรุ่นหลายยุคจนมิอาจศึกษาจดจำได้หมด ก็เลยไม่ค่อยจะให้ความสนใจกันซักเท่าไร
ถ้าเราได้ฟังคนเก่าๆพูดถึงท่าน หลายคนอาจจะเปลี่ยนใจ เพราะสิ่งแรกที่ใครๆจะพูดถึงท่านก็คือ ความเมตตาของท่าน ในช่วงชีวิตของท่านท่านเป็นยอดปรมาจารย์ที่เปี่ยมไปด้วยบุญญาบารมี มิว่าท่านจะก่อการเรื่องใดเรื่องเหล่านั้นก็จะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ลองอ่านต่อไปข้างล่างจะเห็นว่าทุกสิ่งที่ท่านสร้างมิใช่เรื่องที่ใครๆก็ทำได้
พระเครื่องของท่านจึงต้องสร้างออกมามากมายมหาศาล แต่ทุกคนก็ยินดีที่จะสละทรัพย์ร่วมกิจร่วมการกุศลกับท่าน แม้แต่ใครที่เช่าบูชาพระเครื่องของท่าน ในภายหลังต่อๆกันมา ก็ย่อมได้ชื่อว่าร่วมบุญร่วมกุศลกับท่านด้วยเช่นกัน
ในด้านพุทธคุณในพระของท่าน ใครๆก็มิอาจปฎิเสทไม่ได้ในชื่อเสียงของพระเครื่องของท่าน ตั้งแต่พระยุคแรกคือพระสมเด็จหล่อ ๒๔๙๔ ที่ได้วิชาหล่อสร้างและปลุกเสกจากสำนักวัดสุทัศน์ จำถึงพระที่ท่านสร้างเองล้วนๆ เช่นพระสมเด็จแพพัน เป็นต้น
เวลานี้พระเครื่องของท่านค่อยๆมีความนิยมเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เป็นบางรุ่น บางพิมพ์ ก่อนหลัง ต้องแล้วแต่ความขยันติดตามข้อมูลของแต่ละคนแล้วหละคร๊าบ....
หลวงพ่อแพ เขมังกโร เป็นชาวจังหวัดสิงห์บุรี ท่านมีนามเดิมว่า "แพ ใจมั่นคง" เกิดเมื่อวันจันทร์ ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ตรงกับ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง ณ บ้านสวนกล้วย เลขที่ ๙๓/๓ หมู่ที่ ๓ ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี บิดาชื่อ นายเทียน ใจมั่นคง มารดาชื่อ นางหน่าย ใจมั่นคง
เมื่ออายุได้ ๘ เดือน มารดาผู้ให้กำเนิดได้ถึงแก่กรรม ดังนั้น นายบุญ และนางเพียร ขำวิบูลย์ สามี ภรรยา ซึ่งมีศักดิ์เป็นอา ได้ขอเด็กชายน้อยๆ ที่มีอายุเพียง ๘ เดือน จากนายเทียน ใจมั่นคง บิดาผู้บังเกิดเกล้าโดยรับอุปการะเป็นบุตรบุญธรรม
เมื่ออายุได้ ๑๑ ปี บิดามารดาบุญธรรม ได้นำเด็กชายแพไปฝากอยู่วัด กับสำนักอาจารย์ป้อม เพื่อที่จะศึกษาเล่าเรียนตามแบบโบราณนิยม คือ การเรียนภาษาไทยภาษาขอม
นอกจากนั้น ยังได้เรียนหนังสือ มูลบทบรรพกิจ ทางธรรมก็มีพระมาลัยสูตร และยังได้หัดอ่านพระธรรมเจ็ดคัมภีร์ เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี บิดามารดาบุญธรรมได้ส่งไปศึกษาต่อที่สำนักวัดอาจารย์ อาจารย์ สม ภิกษุชาวเขมร วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ การศึกษาในกรุงเทพฯขั้นแรกได้เริ่มเรียนหนังสือโบราณท่องสนธิ เรียนมูลกัจจายนสูตร เป็นเวลา ๑ ปี ต่อมา ก็ไปเป็นนักเรียนบาลีไวยากรณ์ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ
เมื่อศึกษาหาความรู้จนอายุได้ ๑๖ ปี ก็กลับบ้านเกิด เพื่อบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๓ ณ วัดพิกุลทอง ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี โดยมีพระอธิการพันจันทสโร เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ครั้นเมื่อบวชเป็นสามเณรแล้วก็ได้เดินทางกลับไปอยู่วัดชนะสงครามตามเดิม และได้ศึกษาบาลีไวยากรณ์ต่อไปอีก จนสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร
ในปีพ.ศ.๒๔๖๘ นายเทียน ใจมั่นคง บิดาผู้บังเกิดเกล้าก็ได้ถึงแก่กรรม
โดยความมุมานะพยายาม โดยอาศัยแสงสว่างจากเทียนไขหรือตะเกียง โดยส่วนมากเพราะสาเหตุนี้ นัยน์ตา อันเป็นส่วนสำคัญของสังขาร ก็เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง ทุกครั้งที่ตรากตรำอ่านหนังสือมากเกินไปในที่สุด นายแพทย์โรงพยาบาลจุฬาฯ ได้แนะนำ ไม่ให้อ่านหนังสืออีกต่อไป มิฉะนั้น นัยน์ตาอาจพิการได้ ดังนั้นภายหลังจากสอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยคแล้ว การศึกษาด้านพระปริยัติธรรมก็ต้องยุติลง แต่ด้วยความที่เป็นผู้มีใจใฝ่การศึกษา พระภิกษุแพ เขมังกะโร จึงได้ศึกษา และปฏิบัติสมถกัมมัฎฐาน วิปัสสนากัมมัฎฐานในสำนักของพระครูภาวนา วัดเชตุพน จนชำนาญ และดำเนินการสั่งสอนให้แก่ประชาชนทั่วไป
สามเณรเปรียญแพ ขำวิบูลย์ได้ทำการอุปสมบทเมื่ออายุครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ในวันขึ้น ๖ ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันพุธที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๙ ณ พระอุโบสถวัดพิกุลทอง โดยมีพระมงคลทิพย์มุนี เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ์ราชาวาส กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านเจ้าอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาว่า "เขมังกะโร" (แปลว่า ผู้ทำความเกษม) ภายหลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์แพ เขมังกะโร หรือมหาแพ ก็ได้เดินทางกลับสู่วัดชนะสงคราม เพื่อตั้งใจศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม ให้ได้ในระดับสูงที่สุด เพื่อที่จะได้นำความรู้ ความสามารถที่ได้ฝักใฝ่ศึกษาเล่าเรียนนั้น นำไปสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่า และประโยชน์ต่อชุมชนและพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ พระภิกษุแพ เขมังกะโร พยายามที่จะศึกษาเล่าเรียนหาความรู้ อ่านหนังสือตำราเรียนอยู่เสมอ

นับตั้งแต่พระภิกษุแพ ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดพิกุลทอง ได้บำเพ็ญประโยชน์ภายในวัด และสาธารณประโยชน์ทั่วไป พอสรุปได้ดังนี้ ดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ หอประชุมกุฎิสงฆ์ หอไตร หอฉัน ศาลาวิปัสสนา โรงฟังธรรม ฌาปนสถาน ศาลาเอนกประสงค์ เขื่อนหน้าวัด ฯลฯ ดำเนินการก่อสร้างสารธรณประโยชน์ เพื่อเป็นการอนุเคราะห์แก่ประชาชนทั่วไป พอสรุปได้ดังนี้
๑. เป็นประธานในการก่อสร้างโรงพยาบาลอำเภอท่าช้าง
๒. เป็นประธานในการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอท่าช้าง
๓. เป็นประธานในการก่อสร้างสถานีตำรวจอำเภอท่าช้าง
๔. เป็นประธานในการก่อสร้างสถานีอนามัยตำบลพิกุลทอง
๕. เป็นประธานในการก่อสร้างโรงเรียนประชาบาลวัดพิกุลทอง
๖. เป็นประธานในการหาทุนสมทบในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อำเภอ อินทร์บุรีและสะพานข้ามแม่น้ำน้อย อำเภอท่าช้าง
๗. ดำเนินการก่อสร้างสาธารณประโยชน์ ให้กับโรงพยาบาลสิงห์บุรี
พ.ศ. ๒๕๒๘ ก่อสร้างอาคารหลวงพ่อแพ ๘๐ ปี เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง ๔ ชั้น มูลค่า ๑๑,๑๐๐,๐๐๐ บาท (สิบเอ็ดล้านหนึ่งแสนบาทถ้วน) สามารถให้บริการผู้ป่วยได้ ๘๙ เตียง พร้อมทั้งจัดตั้งกองทุนเพื่อใช้เป็นค่ายาและเวชภัณฑ์ สำหรับพระภิกษุสามเณรที่อาพาธในโรงพยาบาลสิงห์บุรี เป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๓๒ ก่อสร้างอาคารเอ็กซเรย์ (อาคารหลวงพ่อแพ ๘๖ ปี) เป็นอาคารคอนกรีต เสริมเหล็ก สูง ๒ ชั้น มูลค่า ๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดล้านบาทถ้วน) ก่อสร้างแล้วเสร็จ และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๓ พ.ศ. ๒๕๓๕
พ.ศ.๒๕๓๔ ก่อสร้างอาคารหลวงพ่อแพ ๙๐ ปี เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง ๖ ชั้น มูลค่า ๓๕,๐๙๕,๕๕๕ บาท (สามสิบห้าล้านเก้าหมื่นห้าพันห้าร้อยห้าสิบห้าบาทถ้วน) อาคารหลังนี้ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๔ เวลา ๐๙.๐๙ น. และเปิดให้บริการ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๗ โดยชั้นที่ ๑ ถึงชั้นที่ ๕ เป็นหอผู้ป่วยสามัญ ชั้นที่ ๖ เป็นหอผู้ป่วยพิเศษ จำนวน๑๕ ห้อง และทางโรงพยาบาลสิงห์บุรีได้กราบทูลเชิญ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารหลวงพ่อแพ ๙๐ ปี เมื่อวันจันทร์ที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ พ.ศ. ๒๕๓๘
พ.ศ. ๒๕๓๘ ก่อสร้างอาคารหลวงพ่อแพ เขมังกโร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง ๙ ชั้น มูลค่า ๑๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งร้อยยี่สิบล้านบาทถ้วน) ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ อาคารหลังนี้มีพื้นที่ใช้สอย ๑๑,๔๓๐ ตารางเมตร โดย ชั้นที่ ๑ - ๒ เป็นแผนกบริการผู้ป่วยนอก ชั้นที่ ๓ - ๔ เป็นฝ่ายอำนวยการ ชั้นที่ ๕ - ๙ เป็นห้องผู้ป่วย จำนวน ๖๐ ห้อง ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
๘. เป็นประธานในการก่อสร้างสะพานหลวงพ่อแพ ๙๙ (อนุสรณ์ ๑๐๐ปี สิงห์บุรี)
ตลอดชีวิตของหลวงพ่อได้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์อย่างเอนกอนันต์ และได้อุทิศเวลาส่วนใหญ่ให้แก่ประชาชนผู้เดือดร้อนหรือตกทุกข์ได้ยากตลอดมาหลวงพ่อแพ เปรียบเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรของประชาชนทั่วไปได้แผ่บารมีช่วยเหลือกิจการต่าง ๆ จวบจนท่านมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ รวมสิริอายุ ๙๔ ปี

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top