ตำนานการแตกกรุของพระรอด วัดหนองมน - webpra

ตำนานการแตกกรุของพระรอด วัดหนองมน

บทความพระเครื่อง เขียนโดย wison

wison
ผู้เขียน
บทความ : ตำนานการแตกกรุของพระรอด วัดหนองมน
จำนวนชม : 18396
เขียนเมื่อวันที่ : จ. - 14 มี.ค. 2554 - 22:43.20
แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ : จ. - 14 มี.ค. 2554 - 22:46.24
(คลิ๊กที่ชื่อผู้เขียนผู้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียน)

วัดหนองมนเป็นวัดตั้งอยู่ในท้องที่ ต.บางงา  อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี
วัด นี้เพิ่งจะรู้จักในวงการพระเคื่องไม่กี่ปีมานี่เอง จากพระพิมพ์เนื้อชินสนิมแดงของวัดนี้ เป็นสกุลลำพูน เรียกกันว่า พระรอดหนองมน ได้แสดงอิทธิฤทธิ์ที่ประจักษ์แก่ผู้ใช้พระพิมพ์ชนิดนี้มาแล้วเป็นอย่างดี สำหรับผู้ที่มีพระพิมพ์ชนิดนี้อยู่แล้ว ควรจะภาคภูมิใจ ในปัจจุบันจัดว่าหายากพอๆกับพระสกุลลำพูน พระรอดหนองมนกึกก้องอยู่ในวงการมานานเท่าไรไม่มีใครบันทึกไว้ แต่เล่ากันมาต่อๆกันว่า เมื่อวัดปล่อยให้บูชา ได้มีทหารพลร่มนายหนึ่งนำติดตัว โดดร่มตามวาระที่เขาเอราวัณ ปรากฎว่าความสูงหลายพันฟุต ร่างของเขาลอยลงมาโดยร่มติดอยู่ที่หลัง ไม่ยอมทำงาน และในที่สุดร่างของเขาก็ทิ้งดิ่งลงสู่ตีนเขาเอราวัณ เหมือนคุณพระช่วย ร่างของเขาหล่นลงบนกอไผ่พอดีแล้วไถลร่วงลงสู่พื้นหินกระด้าง เขารอดตายอย่างปาฏิหาริย์ เขารอดมาอย่างไร มันเป็นสิ่งที่เหลือเชื่อแต่มันเป็นไปแล้ว เขารอดตายเพราะพระรอดหนองมน !!?? นั่นคือพระหนองมนที่เรารู้จักกันในเวลาต่อมา

650
แต่บางทีเราอาจจะไม่รู้จักพระรอดหนองมน ถ้าบังเอิญวัดหนองมนไม่มีหลวงพ่อเมือง
เล่าสืบต่อกันมาว่า หลวงพ่อเมืองท่านเป็นคนพิจิตรเมื่ออายุรุ่นหนุ่มได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ ไสยเวทย์เป็นอย่างยิ่งที่เกรงขาม แก่บรรดานักเลงทุกหัวระแหง ต่างยกให้หลวงพ่อเมืองเป็นลูกพี่ ใครมีเรื่องราววิวาทบาดหมางกับใคร หลวงพ่อเมืองเป็นจัดการให้เรียบร้อยทุกครั้งไป  แต่ครั้นพออายุอานามมากเข้าก็ได้สำนึกผิดชอบชั่วดี อันคนเรานี้ต่างก็เกิดมาใช้กรรมร่วมกัน เหตุไฉน จึงมาคิดประหัตประหารทำลายกันด้วยเล่า  คิดได้ดังนี้เลยบวชใช้หนี้กรรม บวชได้ไม่นานเท่าไรนัก  ปรากฎว่าท่านต้องอาบัติทำร้ายเด็กได้รับบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจ ชาวบ้านต่าง พากันไม่พอใจท่าน  ท่านจึงตัดสินใจออกจากพิจิตร  ข้าวของเครื่องรางของขลังก็นำมาใส่หลังช้างผ่านเมืองนครสวรรค์ ชัยนาท ตัดผ่านมาทางอำเภอทองเอน สิงห์แล้วเอาของลงเรือสำปั้น ลัดเลาะมาจนถึงอารามร้างแห่งหนึ่ง ไม่ทราบว่าเป็นวัดอะไรเห็นก็ชอบจึงตั้งหลักปักฐานที่ตรงนั้น ซึ่งต่อมาคนรู้จักกันว่าเป็นบ้านหนองมน หรือบ้านหนองน้ำมน ในอดีตนั่นเอง
หลวง พ่อเมืองท่านได้ช่างก่อสร้างฝีมือดีคนนึงเป็นเจ๊กชื่อ เจ๊กเส็ง มาช่วยในการก่อสร้างครั้งนี้ด้วย จึงทำให้หมดกังวลในเรื่องการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์ ตัวท่านเอง ได้ย้อนกลับขึ้นไปที่บ้านเกิด หลายครั้งแต่ละครั้งได้เอาพระพิมพ์ชนิดต่างๆ ซึ่งขุดได้จากเกาะกลางเมืองพิจิตรมาด้วย พอผ่านชัยนาทก็นำไปให้หลวงปูศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าปลุกเสกให้อีก แล้วจึงนำล่องมาแจกจ่าย

ให้กับผู้ที่มาช่วยงาน แต่ด้วยจุดประสงค์ที่แท้จริงแล้ว ท่านบรรจุไว้คู่กับอุโบสถ ที่ท่านสร้างมาด้วยความลำบาก ฉะนั้นเมื่อได้บรรจุพระไว้ที่ใต้ฐาน พระพุทธรูปเป็นการเพียงพอแล้ว
\ปราก ฎว่ายังมีพระเหลืออยู่อีกเป็นจำนวนมาก ท่านจึงให้ เจ๊กเส็ง ช่วยก่อนพระเจดีย์ขึ้นข้างโบสถ์ด้านละองค์ พอสร้างเสร็จท่านก็เอาบรรจุไว้จนแน่น ก็ยังไม่หมดจึงให้ เจ๊กเส็ง
ก่ออิฐขึ้นข้างหน้าโบสถ์ตอนนั้นเป็นรูปโค้งคล้ายกระทะควำไว้ แล้วเอาพระบรรจุไว้อย่างมากมายจากนั้น ให้โบกปูนปิดไว้

การขุดค้นพบกรุพระรอดหนองมนต์
ครั้ง ที่๑ สมัยพ่อศรี ประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้พบกรุพิมพ์รอดหนองมน ที่อนุสาวรีย์หลังพระอุโบสถ (หลังเก่า)  พระกรุนี้มีจำนวนประมาณ ๔ บาตร

ครั้ง ที่ ๒ ระยะเวลาไม่ต่างกันมากนัก ก็มีคนขุดเจาะเจดีย์หน้าโบสถ์ซีกซ้ายมือ ซึ่งเป็นเจดีย์ขนาดย่อมๆทรงสี่เหลี่ยม ทางวัดรู้เข้าจึงไปขุดเอามาเก็บไว้ และทางวัดจึงได้ส่งกรรมการให้นำพระไปตามหน่วยทหาร
เพราะเห็นว่าแคล้ว คลาดดีนักโดยให้บูชาองค์ละ ๕-๑๐ บาท แต่ก็ไม่ค่องมีคนสนใจมากนัก เพราะคิดว่าพระรอดเนื้อโลหะไม่นิยมจึงได้นำไปให้ข้าพเจ้าดู และได้บูชาไว้หนึ่งกอบมือ
จำนวน ๒๐๐ บาท ซึ่งแจกจ่ายให้ผู้ที่สนใจทีละองค์ สององค์ ไม่ช้าก็เหลือน้อยเพียง ๗-๘ องค์ และเลี่ยมประจำไง้องค์หนึ่ง
ครั้นชื่อเสียงของพระรอดหนองมนได้แพร่สพัดไป จนเวลานี้ก็หาแท้ๆยากแล้ว สำหรับองค์แท้ จากกรุคราวนั้นค่าบูชาจาก
๑๐ บาทขึ้นไปถึง ๗๐๐-๘๐๐ บาท แต่ถ้าองค์สวยจริงๆ สนิมแดงราคาเรือนพัน ก่อนที่จะพบกรุครั้งใหม่ คือพ.ศ.๒๕๑๙ นี้ เหลือประมาณ ๕ องค์
การ พบพระรอดหนองมนทั้ง ๒ ครั้งที่กล่าวมา มีจำนวนประมาณ ๖ บาตรเห็นจะได้ ครั้งทางวัดแจกจ่ายหมดแล้ว ผู้ที่รับไปเห็นอภินิหารย์ทางแคล้วคลาดจากภยันตรายอย่างดีเยี่ยม
จึงมีผู้เสาะแสวงหาจำนวนมาก ในกรุครั้งนั้นปรากฏว่าพระพิมพ์รอดหนองมนเนื้อชินหลายพิมพ์ด้วยกัน คือ
๑.พระรอดพิมพ์ใหญ่
๒.พระรอดพิมพ์กลางหรือพิมพ์ต้อ
๓.พระรอดพิมพ์เล็ก
๔.พระหลวงพ่อโตหรือหลวงพ่อโป้
๕.พระนาคปรก  ( มีน้อย)

ครั้ง ที่ ๓ ขุดพบเมื่อวันที่ ๓ สิงห์หาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ทางวัดได้เจาะพบที่ยอดเสาเอกของโบสถ์ได้พระประมาณ ๑ บาตรมีพิมพ์ใหญ่บางองค์ที่เป็นสนิมแดงในเนื้อองค์พระแต่มีน้อย
ส่วนพิมพ์เล็กมีจำนวนมากเอามือลูบส่วนใหญ่เป็นสีแดง  สำหรับพิมพ์กลางหรือพิมพ์ต้อมีไม่กี่องค์ในกรุนี้

ครั้ง ที่ ๔ ขุดพบเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๙ เวลา ๕ โมงเย็นทางวัดได้ขุดพบพระรอดหนองมนที่โคนเสาเอกของโบสถ์ เมื่อเจอพระต้องเอาขึ้นมาปรากฏว่าติดโคลนมาด้วย
ปริมาณจึงได้ถึง ๕-๖ ปีบ แต่เลือกเอาจริง ได้ ๑-๒ บาตร พระรอดกรุนี้จะเรียกว่ากรุน้ำคงไม่ผิด โคลนที่จับติดองค์พระมีลักษณะเป็นคราบสีขาวบางองค์ก็ออกอมสีชมพู

ครั้งที่ ๕ เจอแต่เนื้อตะกั่วล้วน เท่าที่พบมีดังนี้
๑.พระรอดพิมพ์ใหญ่มีจำนวนมาก
๒.พระรอดพิมพ์กลาง(ต้อ)มีจำนวนน้อย
๓.พระรอดพิมพ์เล็กมีพอประมาณ
๔.พระนาคปรกพิมพ์ใหญ่ มีบ้างไม่ทราบจำนวนแน่นอน
๕.พระนาคปรกขนาดกลาง มีจำนวนมาก
๖.พระนาคปรกขนาดเล็ก รูปนาคปรกกลมมีจำนวนน้อย
๗.พระ พิมพ์ทรงประทานลักษณะรูปสี่เหลี่ยมขนาดเท่าสมเด็จถ้ำชาองค์ประทับบนบัลลังค์ ผ้าทิพย์ภายใต้ฉัตร ๕ ชั้น
มีผู้ถวายพระนามทรงนี้เป็นหลายอย่างด้วยกันคือ
- สมเด็จฉัตรแก้ว
- สมเด็จทรงประทาน
- สมเด็จผ้าทิพย์
- สมเด็จกระจังเมือง ฯลฯ เป็นต้น

ครั้ง ที่ ๖ เมื่อ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๐ เวลาเที่ยงกับ ๕ นาที ได้ขุดพบกรุพระรอดหนองมน ที่เจดีย์หน้าพระอุโบสถหลังเก่า ส่วนมากก็รูปลักษณะตามที่เคยขุดมาแล้วปรากฏว่าหน้าปกเท่าองค์จริงทุกประการ มีจำนวนดังนี้
๑.พระรอดพิมพ์ใหญ่จำนวน ๗๗๓ องค์
๒.พระปิดตาพิมพ์เล็กจำนวน ๓๓๓ องค์
๓.พระนาคปรกพิมพ์ใหญจำนวน ๔๔๓ องค์
๔.พระสมเด็จฉัตรจำนวน ๕๕๓ องค์
๕.พระหลวงพ่อโตจำนวน ๒๔๓ องค์
สำหรับ พระกรุนี้พระนาคปรกพิมพ์ใหญ่ดูออกจะชัดเจนกว่ากรุก่อนๆ การขุดพบในครั้งนี้ดำเนินการโดยคณะกรรมการวัดและคณะนายทหาร มีเสธฯ วิสูตร อุทัยกุล แห่งศูนย์สงครามพิเศษเป็นผู้นำ

การบูชาพระหนองมน ให้บูชาด้วยธูปทียน ดอกบัวขาว จึงจะเป็นศิริมงคลแก่ผู้ใช้ คำบูชามีว่า
ตั้งนโมสามจบ พุทธบูชา มหาเตชะวันโต ธรรมบูชามหาปัญโญ สังฆบูชา มหาโภคโวโห

การ ปลุกพระ หรืออาราธนาพระคล้องคอให้ว่า นโมสามจบ  แล้วว่า พุทธังอาราธนานัง ธรรมมังอาราธนานัง สังฆังอาราธนานัง พุทธังประสิทธิเม สังฆังประสิทธิเม

คาถาปลุกเสกพระรอดหนองมนของพระอธิการวงษ์ ภูริปญฺโญ ที่ได้รับการถ่ายทอดจากหลวงพ่อมีวัดเขาสมอคอน
สักกาสัก วิชิราวุทัง  เวรุวันคะทา วุทัง ยะมะสะวะวุทัง
อีกบทหนึ่งคือ อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ
หลวงพ่อบอกว่าถ้ายังท่องไม่ได้อีกก็ภาวนาว่าพระรอดช่วยด้วย

คัดลอกจากหนังสือที่ระลึกงาน พระราชทานเพลิงศพ พระอธิการวงษ์ ภูริปัญโญ เจ้าอาวาส วัดหนองมน ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๓

Top