เหรียญหล่อฉลุ หลวงปู่ทวด-หลวงปู่ดู่วัดสะแก อยุธยา เลข ๗๐ - webpra

ประมูล หมวด:หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก - หลวงปู่ดู่ วัดสะแก – หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน

เหรียญหล่อฉลุ หลวงปู่ทวด-หลวงปู่ดู่วัดสะแก อยุธยา เลข ๗๐

เหรียญหล่อฉลุ หลวงปู่ทวด-หลวงปู่ดู่วัดสะแก อยุธยา เลข ๗๐ เหรียญหล่อฉลุ หลวงปู่ทวด-หลวงปู่ดู่วัดสะแก อยุธยา เลข ๗๐ เหรียญหล่อฉลุ หลวงปู่ทวด-หลวงปู่ดู่วัดสะแก อยุธยา เลข ๗๐ เหรียญหล่อฉลุ หลวงปู่ทวด-หลวงปู่ดู่วัดสะแก อยุธยา เลข ๗๐ เหรียญหล่อฉลุ หลวงปู่ทวด-หลวงปู่ดู่วัดสะแก อยุธยา เลข ๗๐
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญหล่อฉลุ หลวงปู่ทวด-หลวงปู่ดู่วัดสะแก อยุธยา เลข ๗๐
รายละเอียดครั้งแรกแห่งประวัติศาสตร์การจัดสร้าง

ร่วมรำลึก ๑๐๙ ปี แห่งบารมี หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ พระอริยสงฆ์ผู้เปี่ยมด้วยอภิญญาฤทธิ์

ครั้งแรกของการจัดสร้างโดย วัดเขาดิน อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา พระครูพิศาลธรรมรักษ์ เจ้าอาวาสวัดสะแก ประธานที่ปรึกษาการจัดสร้าง

วัตถุประสงค์ : เพื่อนำปัจจัยสมทบทุนบำรุงเสนาสนะเก่าแก่ที่ชำรุดทรุดโทรมของวัดเขาดิน ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
และ เพื่อสมทบทุนหล่อรูปเหมือนหลวงปู่ทวด-หลวงปู่ดู่ เพื่อประดิษฐานไว้ ณ ศาลาอเนกประสงค์ วัดเขาดิน ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา

พิธิบวงสรวงหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ณ พระอุโบสถวัดสะแก วันเสาร์ ที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๙ น.
พิธีมหาเทวาภิเษก-พุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดเขาดิน อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา วัน เสาร์ ที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๕๙ น. โดยสุดยอดพระเกจิคณาจารย์แห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประธานในพิธีพุทธาภิเษกฝ่ายฆราวาส

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ มีชาติกำเนิดในสกุล "หนูศรี"เดิม ชื่อ ดู่ เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๗
ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะโรง ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา ณ บ้านข้าวเม่า ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัด พระนครศรีอยุธยา เมื่อท่านอายุได้ ๒๑ ปี ก็ได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับวันอาทิตย์แรม ๔ ค่ำ เดือน ๖ ณ วัดสะแก ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัด พระนครศรีอยุธยา โดยมี หลวงพ่อกลั่น เจ้าอาวาสวัดพระญาติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแด่ เจ้าอาวาสวัดสะแก ขณะนั้นเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อฉาย วัดกลางคลองสระบัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พรหมปัญโญ”พรรษาแรกนั้น ท่านได้ศึกษา พระปริยัติธรรมที่วัดประดู่ทรงธรรมซึ่งในสมัยนั้นเรีกว่า วัดประดู่โรงธรรม โดยมีพระอาจารย์ผู้สอนคือ ท่านเจ้าคุณเนื่อง พระครูชม และ หลวงพ่อรอด(เสือ) เป็นต้น
ด้านการปฏิบัติพระกรรมฐานนั้น ท่านได้ศึกษากับหลวงพ่อกลั่น ผู้เป็นอุปัชฌาย์ และหลวงพ่อเภา ศิษย์องค์สำคัญของหลวงพ่อกลั่น ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่าน เมื่อท่านบวงได้พรรษาที่สองประมาณปลายปี พ.ศ.๒๔๖๙ หลวงพ่อกลั่นมรณภาพ ท่านจึงได้ศึกษาหาความรู้จากหลวงพ่อเภา เป็นสำคัญ นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาจากตำรับตำราที่มีอยู่จากชาดกบ้าง จากธรรมบทบ้าง และด้วยความที่ท่านเป็นผู้ใฝ่รู้รักการศึกา ท่านจึงได้เดินทางไป
ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากพระอาจารย์อีกหลายท่านที่ จังหวัดสุพรรณบุรี และ สระบุรี
หลวงปู่ดู่ ท่านมิได้ตั้งตัวเป็นเกจิอาจารย์ การที่ท่านสร้างหรืออนุญาตให้สร้างพระเครื่องหรือพระบูชา ก็เพราะเห็นประโยชน์บุคคลจำนวนมากยังขาดที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ท่านมิได้จำกับศิษย์อยู่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นนคณะศิษย์ของท่านจึงมีกว้างขวางออกไป ทั้งที่ใฝ่ใจธรรมล้วนๆ หรือที่ยังต้องอิงกับวัตถุมงคล ท่านเคยพูดว่า "ติดวัตถุมงคล ก็ยังดีกว่าที่จะให้ไปติดวัตถุอัปมงคล"ทั้งนี้ ท่านย่อมใช้ดุลยพินิจพิจารณาตามความเหมาะควรแก่ผู้ที่ไปกราบท่าน แม้ว่าหลวงปู่ดู่จะรับรองในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องที่ท่าน อธิษฐานจิตให้ แต่สิ่งที่ท่านยกไว้เหนือกว่านั้นก็คือ การปฏิบัติดังจะเห็นได้จากคำพูดของท่านว่า "เอาของจริงดีกว่า พุทธัง ธัมมังฯ สังฆังฯ สรณัง คัจฉามิ นี่แหละของแท้"
พระเครื่องหรือพระบูชาต่างๆ ที่ท่านอธิษฐานปลุกเสกให้แล้วนั้น ปรากฏผลแก่ผู้บูชาในด้านต่างๆ เช่น
แคล้วคลาดฯลฯ นั่นก็เป็นเพียงผลพลอยได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ทางโลกๆ แต่ประโยชน์ที่ท่านสร้างมุ่งหวังอย่างแท้จริงนั้นก็คือ ใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติภาวนา มีพุทธานุสติ กรรมฐาน เป็นต้น นอกจากนี้แล้วผู้ปฏิบัติยังได้อาศัยพลังจิตที่ท่านตั้งใจบรรจุไว้ในพระเครื่องช่วยน้อมนำและประคับประคองให้จิตรวมสงบได้เร็วขึ้น ตลอดถึงการใช้เป็นเครื่องเสริมกำลังใจและระงับ ความหวาดวิตกในขณะปฏิบัติ ถือเป็น ประโยชน์ทางธรรมซึ่งก่อให้เกิดพัฒนาการทางจิตของผู้ใช้ไปสู่การพึ่ง พาตนเองได้ในที่สุด
หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ อุปสมบทและจำพรรษาอยู่ ณ วัดสะแก มาโดยตลอด จนกระทั่งมรณภาพเมื่อวันพุธที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ อายุ ๘๕ ปี ๘ เดือน อายุพรรษา ๖๕ พรรษา เมตตาธรรมและคำสั่งสอนของท่านจะยังปรากฏอยู่ในดวงใจของศิษยานุศิษย์และผุ้ที่เคารพรักท่านตลอดไป บัดนี้ สิ่งที่คงอยู่มิใช่สังขารธรรม ของท่านหากแต่เป็นหลวงปู่ดู่องค์แท้ที่ศิษย์ทุกคนจะเข้าถึงท่านได้ด้วยการสร้างคุณ งาม ความดีให้เกิดให้มีขึ้นที่ตนเอง สมดังที่ท่านได้กล้าวไว้เป็นคติว่า "ตราบใดก็ตามที่แก ยังไม่เห็นความดีในตัว ก็ยังไม่นับว่าแกรู้จักข้า แต่ถ้าเมื่อใด แกเริ่มเห็นความดีในตัวเองแล้ว เมื่อนั้น...ข้าจึงว่าแกเริ่มรู้จักข้าดีขึ้นแล้ว"
ธรรมทั้งหลายที่ท่านได้พร่ำสอน ทุกวรรคตอนแห่งธรรมที่บรรดาศิษย์ ได้น้อมนำมาปฏิบัตินั้น ก็คือการที่ท่านได้พาะเมล็ดพันธุ์แห่งความดีงามบนดวงใจ ของศิษย์ทุกคน ซึ่งนับวันจะเติมใหญ่ผลิดอก ออกผลเป็นสติและปัญญาบนลำต้นที่แข็งแรงคือสมาธิ และบนพื้นดินที่มั่นคงแน่นหนาคือ ศีล สมดังเจตนารมย์ ที่ท่านได้ทุ่มเททั้งชีวิต ด้วยเมตตาธรรมอันยิ่ง อันจักหาได้ยาก ทั้งในอดีต
วัดเขาดินตั้งอยู่เลขที่ ๓๘ ถนนเอเชีย หมู่ที่ ๔ ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ห่างจากวัดสะแก เพียง 1 กม.สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๕ ไร่ ๓๙ ตารางวา มีธรณีสงฆ์ จำนวน ๒ แปลง เนื้อที่ ๑๙ ไร่ ๓๕ ตารางวา ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๕ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๘.๔๐ เมตร ปัจจุบันมี ท่านพระครูอุทัยกิจจารักษ์ (สุรางค์ สุจิณฺโณ)ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๘ จนถึงปัจจุบัน วัดเขาดินถือเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งทางประวัติศาสตร์ คือ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ แห่งตำนาน นิราศวัดเจ้าฟ้า บทประพันธ์ของท่านสุนทรภู่ บรมกวีแห่งแผ่นดินสยาม แต่ในปัจจุบัน วัดเขาดินมีสภาพชำรุดทรุดโทรม โดยท่านพระครูพิศาลธรรมรักษื เจ้าอาวาสวัดสะแกในปัจจุบัน หรืออดีตเจ้าอาวาสวัดเขาดิน ท่านได้เล็งเห็นคุณค่าของโบราณสถานแห่งนี้ โดยเห็นสมควรอย่างยิ่งที่จะบูรณะฟื้นฟูวัดเขาดินหรือวัดเจ้าฟ้าอากาศนาถนรินทร์ ให้กลับมาอยู่ในสภาพบูรณ์ เป็นศูนย์รวมจิตใจที่รื่นรมย์ ซึ่งต้องใช้ทุนปัจจัยในการบูรณะดังกล่าว ทางวัดเขาดิน โดยท่านพระครูอุทัยกิจจารักษ์ จึงได้มีดำริจัดสร้าง วัตถุมงคลหลวงปู่ทวด-หลวงปู่ดู่รุ่น "๑๐๙ ปี บารมีหลวงปู่ดู่" ขึ้น เพื่อบอกบุญพุทธศาสนิกชน และเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสมี วัตถุมงคลหลวงปู่ทวด-หลวงปู่ดู่ ไว้สักการะบูชาติดตัว เพื่อความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นศิริมงคล แต่ตนเองและครอบครัวสืบไป
ราคาเปิดประมูล1,400 บาท
ราคาปัจจุบัน1,400 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลศ. - 26 เม.ย. 2567 - 13:47.36
วันปิดประมูล พฤ. - 16 พ.ค. 2567 - 13:47.36 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 1,400 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top