เหรียญหลวงพ่อทองอยู่ วัดหนองพะอง - webpra

ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

เหรียญหลวงพ่อทองอยู่ วัดหนองพะอง

เหรียญหลวงพ่อทองอยู่ วัดหนองพะอง เหรียญหลวงพ่อทองอยู่ วัดหนองพะอง
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญหลวงพ่อทองอยู่ วัดหนองพะอง
รายละเอียดเหรียญหลวงพ่อทองอยู่ วัดหนองพะอง ปี 2519 เนื้อทองแดง
จ.สมุทรสาคร
หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์ จ.สมุทรสาคร (พระครูสุตาธิการี)

หลวงพ่อทองอยู่ หรือ พระครูสุตาธิการี (ทองอยู่ ยโส) อายุ ๙๖ ปี ๙ เดือน ๙ วัน อดีตเจ้าอาวาส องค์ที่ ๘ วัดใหม่หนองพระอง จ.สมุทรสาคร ท่านเป็นพระเถระ พระเกจิอาจารย์ยุคเก่าที่แก่กล้าด้วยอาคม มีความเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนาธุระ-คันถธุระ เขียนและอ่านภาษาขอมได้เป็นอย่างดี

พ.ศ.2475 เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองพะอง
พ.ศ.2481 เป็นประทวนสมณศักดิ์ที่ พระครูทองอยู่
พ.ศ.2501 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูสุตาธิการี
พ.ศ.2521 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทที่ พระครูสุตาธิการี
พ.ศ.2522 เป็นพระอุปัชฌาย์

ชาติภูมิของหลวงพ่อ
ชื่อ ทองอยู่ นามสกุล ชมปรารภ ต่อมาเปลี่ยนเป็น สิงหเสนี เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2430 ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ ปีกุน เป็นบุตรคนที่ 3 ของ นายคำ และนางปั่น ชมปรารภ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คน คือ
1. นายหุ่น ชมปรารภ
2. นางจิบ ชมปรารภ
3. พระครูสุตาธิการี (ทองอยู่) ชมปรารภ (สิงหเสนี)
4. นางหน่าย ชมปรารภ
5. นางรอด ชมปรารภ

พระครูสุตาธิการีนั้นท่านเติบโตมากับวัด โดยสมัยที่ท่านยังเป็นเด็กได้มาช่วยสร้างอุโบสถของวัดหนองพะองด้วย และมาช่วยกิจการงานของวัดในเวลาว่างเสมอ ในวัยหนุ่มท่านเป็นคนโอบอ้อมอารีต่อเพื่อนฝูงมาก และมีนิสัยชอบความยุติธรรม ถ้าอะไรไม่ถูกต้องท่านจะต้องเข้าไปช่วยแก้ไขเสมอ จึงเป็นที่รักของเพื่อนฝูง ท่านสนใจวิชาการเล่นแร่แปรธาตุศึกษาจนสามารถนำแร่ปรอทมาหุงให้เป็นทองคำได้ และท่านได้เรียนรู้วิชาอาคมจากพระอาจารย์แห ปัญจสุวัณโณ ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังด้านวิทยาอาคมในสมัยนั้นด้วย

เมื่ออายุครบกำหนดเข้ารับการคัดเลือกเป็นทหารเรือ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระพุทธเจ้าหลวง ท่านเข้ารับราชการเรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่ 6 จึงลาออกจากราชการ มาประกอบอาชีพการทำนาอยู่ข้างวัดบึงพระยาสุเรนทร์ เขตมีนบุรี จังหวัดกรุงเทพฯ ท่านได้ช่วยพ่อแม่ประกอบอาชีพกสิกรรมและมีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณด้วยการเลี้ยงดูท่านเป็นการสนองน้ำใจของพ่อแม่ หลวงพ่อได้ใช้ชีวิตการครองเรือนมีภรรยาคือ นางหนู ชมปรารถ มีบุตรธิดา 2 คน คือ นายย้อย ชมปรารถ และนางแย้ม ชมปรารถ จนกระทั่งเมื่อนางหนูเสียชีวิตจึงได้นางทองสุขเป็นภรรยามีบุตร 1 คน คือ นายหยด ชมปรารถ จนถึงอายุ 31 ปี หลวงพ่อท่านรู้รสชาติของการครองชีวิตคู่เป็นอย่างดี ท่านจึงกราบลาพ่อแม่เพื่อที่จะเข้ารับการบรรพชาอุปสมบท โดยมีขุนหนองแขมเขมกิจ เป็นผู้ดำเนินการจัดการอุปสมบทให้ ณ วัดใหม่หนองพะอง ตำบลหนองแขม อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดธนบุรี ซึ่งตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2461 โดยกราบนิมนต์ท่านพระครูสังวรศีลวัตร (หลวงพ่ออาจ) วัดดอนไก่ดี เป็นพระอุปัชฌาย์ กราบนิมนต์ท่านพระครูถาวรสมณศักดิ์ (หลวงพ่อคง) วัดนางสาว มาเป็นพระกรรมวาจาจารย์ กราบนิมนต์พระอธิการ (หลวงพ่อแห) วัดใหม่หนองพะอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

สถานะเดิม ตามใบสุทธิ

นามเดิม ทองอยู่ ชมปรารถ นามบิดา นายคำ สีเนื้อดำแดง สัณฐานสันทัด ตำหนิ แผลเป็นเนือข้อมือขวา อายุ 31 เกิดปีกุน วันที่ 7 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2430 ตำบลหนองแขม อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดธนบุรี บรรพชาอุปสมบท นามฉายา ยสภิกขุ นามพระอุปัชฌาย์ พระครูสังวรศีลวัตร นามพระกรรมวาจาจารย์ พระครูถาวรสมณศักดิ์ นามพระอนุสาวนาจารย์ พระแห ปัญจสุวัณโณ เวลา 14.00 น. ณ วัดใหม่หนองพะอง ตำบลหนองแขม อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดธนบุรี ได้ให้ไว้ ณ วันจันทร์ที่ 15 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2461 ลงนามพระครูสังวรศีลวัตร (ตำแหน่ง) เจ้าคณะแขวง
นามพระทองอยู่ ฉายา ยสภิกขุ สำนักวัดใหม่หนองพะอง ตำบลหนองแขม อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดธนบุรี

วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2461
(ลงนาม) พระครูสังวรศีลวัตร
(ตำแหน่ง) เจ้าคณะแขวง

เมื่อหลวงพ่อบวชเข้ามาแล้วได้ศึกษาหลักธรรมวินัยจนมีความรู้พอสมควร ครั้นพอพรรษาแรก จิตใจรู้สึกสงบ และทราบซึ้งในรสพระธรรม พอออกพรรษาแล้วท่านได้ขอลาพระอาจารย์แห ออกธุดงค์เพื่อแสวงหาโมกขธรรม ในสมัยที่ท่านยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ท่านได้ธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรกว่า ๓๐ ปี ไปในที่ทุรกันดารต่าง ๆ ที่ใดที่มีพระอาจารย์เก่งกล้าทางคาถาอาคม หรือ เก่งทางด้านปฏิบัติธรรม ก็จะไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อขอศึกษาวิชาความรู้ต่าง ๆ

ประวัติหลวงพ่อแห ท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อพร วัดหนองแขม ตำบลหนองแขม จังหวัดกรุงเทพฯ ท่านได้ศึกษาทดลองวิชาอาคมกับหลวงพ่อพร ที่วงการพระเครื่องรู้จักกันดีว่ามีวิทยาอาคมเพียงใด หลวงพ่อท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่อแห ก็ตั้งใจเจริญสมาธิภาวนากับหลวงพ่อแหเป็นประจำ จนเกิดความชำนาญในสมาธิภาวนาที่ท่านได้ทำเป็นประจำ

พอออกพรรษาท่านก็ขอลาหลวงพ่อออกธุดงค์ คราวนี้ท่านได้ไปนมัสการพระธาตุพนม การเดินทางไปธุดงค์ในสมัยนั้นยากมากด้วยสิงห์สาราสัตว์ในป่าดงดิบนั้นมากมาย ครั้งหนึ่งในระหว่างทางท่านได้พบฝูงความยป่าเข้าโดยบังเอิญ หลวงพ่อก็ใช้ปัญญาวิจารณญาณและสมาธิภาวนา ทำจิตให้สงบเจริญเมตตาภาวนาจนฝูงควายป่าที่วนเวียนเพ่นพ่านอยู่ล่าถอยหลบทางให้ ในคืนนั้นท่านได้ปักกลดพักในป่า รุ่งเช้าท่านจึงออกเดินทางต่อไป ในพรรษานี้หลวงพ่อกลับวัดไม่ทันก็จำพรรษาที่วัดในระหว่างทาง ท่านได้ศึกษาสมาธิภาวนากับพระอาจารย์ที่วัดนั้นด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มเติมความรู้ให้แตกฉานยิ่งขึ้น พอออกพรรษาท่านจึงลาพระอาจารย์เพื่อเดินธุดงค์ต่อไป
ท่านออกเดินทางไปนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ในคืนวันหนึ่งท่านได้ปักกลดเรียบร้อยแล้วอยู่ในแนวป่าเมืองอุตรดิตถ์ ได้มีเสือลายพาดกลอนตัวขนาดใหญ่มากทีเดียว มันคำรามมาแต่ไกลและใกล้เข้ามาทุกที พอเวลาดึกสงัดมันก็เข้ามาใกล้กลดที่พัก ทีแรกหลวงพ่อก็สะดุ้งกลัวภัยอันเป็นธรรมดาของมนุษย์ แต่พอท่านตั้งสติได้ในวินาทีต่อมา หลวงพ่อได้เจริญเมตตาภาวนาและเพ่งกสิณจนเสือลายพาดกลอนตัวนั้นล่าถอยกลับเข้าป่าดงดิบไป ในเวลาเช้าหลวงพ่อได้เข้าไปรับอาหารบิณฑบาตในเมืองลับแล โดยการนิมาต์ของผู้หญิงคนหนึ่ง ได้อาหารมาพอสมควรในการขบฉันแล้วหลวงพ่อก็เดินทางต่อไป พอใกล้เข้าพรรษาหลวงพ่อก็เดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดใหม่หนองพะอง

ในปีต่อมาหลวงพ่อได้เดินทางไปนมัสการพระแท่นดงรัง จังหวัดกาญจนบุรี และเลยไปในดงกะเหรี่ยง ท่านออกรับอาหารบิณฑบาตแต่ไม่มีใครใส่บาตรให้เลย พอถึงกลดได้มีชายคนหนึ่งนำอาหารมาถวาย เมื่อหลวงพ่อพิจารณาแล้วก็ห้ามมิให้พระที่ไปด้วยฉัน แล้วหลวงพ่อก็หยิบถุงย่ามข้างกายมา เอาน้ำมนต์พรมไปที่อาหารนั้น อาหารนั้นกลับกลายเป็นตะปูและเศษกระดูกคนทั้งนั้น แต่พอหันมาดูอีกทีชายคนนั้นก็หายไปแล้ว หลวงพ่อท่านออกธุดงค์เป็นประจำทุกปี กว่าหลวงพ่อจะกลับมาวัดก็ย่างเข้าฤดูฝนแล้ว คาถาอาคมต่างๆ หลวงพ่อได้ศึกษาจากอาจารย์หมอพุ่ม และจากตำราของอาจารย์หมอพุ่มที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาคาถาอาคม และได้ศึกษาจากพระอาจารย์แห ปัญจสุวัณโณ
การออกธุดงค์ของหลวงปู่ทุกครั้ง หลวงพ่อแหจะคอยควบคุมดูแลอยู่ที่วัดว่าหลวงพ่อไปอยู่ที่ไหน เมื่อมีญาติพี่น้องของพระที่ออกไปธุดงค์มาถาม ท่านก็จะตอบได้ว่าสบายดี ไม่มีอุปสรรคอันตรายอะไร

การออกธุดงค์ท่านได้พบปะสนทนากับพระธุดงค์หลายรูปด้วยกัน ในจำนวนนั้นก็มีเทพเจ้าแห่งล้านนาไทย ครูบาศรีวิชัย หลวงพ่อได้สนทนาธรรมกันเป็นที่ถูกอัธยาศัยของกันและกัน เมื่อเวลาที่หลวงพ่อออกธุดงค์ไปทางเหนือท่านจะแวะไปพักสนทนาธรรมศึกษาวิชาความรู้ของกันและกันเสมอมาเป็นที่รู้ใจกันในวิชาความรู้ในวิชาสมถภาวนาและวัปัสสนาภาวนา ซึ่งท่านครูบาศรีวิชัย ได้เคยชักชวน ลพ.ทองอยู่ ให้อยู่กับท่านด้วยกัน แต่ ลพ.ทองอยู่ ยังติดภาระที่ต้องดูแลทางวัดอยู่จึงเดินทางกลับมา ซึ่งครูบาศรีวิชัย ท่านจะถวายปัจจัยสำหรับค่าเดินทางกลับให้อยู่เสมอมิได้ขาด มีอยู่ครั้งหนึ่ง ลพ.ทองอยู่ได้กราบเรียนถามพระครูบาเจ้าฯว่า ปฏิบัติอย่างไรจึงมีเมตตามีบารมีและมีคนนับถือมากมายขนาดนี้ ซึ่งพระครูบาเจ้าศรีวิไชยก็ได้ตอบแก่ ลพ.ทองอยู่ อย่างเมตตาว่า

" พุทโธ ธัมโม สังโฆ นี้แหละ ที่เฮาภาวนาเสมอ มิได้ขาด ”

และ ลพ.ทองอยู่ ได้เคยกล่าวถึงท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ให้ลูกศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ”ครูบาเจ้าศรีวิชัยนี้ ท่านมีญาณสูงมาก" ด้วยเหตุนี้แหละ จึงมีผู้ตั้งอธิกรณ์ฟ้องท่านว่าเป็นผีบุญ เพราะไปไหนก็มีคนติดตามไปเป็นจำนวนมาก บางครั้งก็เดินไปเหนือยอดหญ้า ฝนตกจีวรก็ไม่เปียกทั้งๆที่เดินฝ่าฝนไป แต่สุดท้าย ผู้ที่กล่าวหาท่าน ก็ถูกบาปกรรมตามสนองอย่างน่าสยดสยองที่สุด

หลวงพ่อทองอยู่ ท่านได้ขอเรียนวิชาเพิ่มเติมจาก หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา ท่านเป็นยอดพระเกจิที่เก่งมาก ๆ ในสมัยก่อน หลวงปู่ทอง วัดราชโยธานี้ ท่านเป็นศิษย์รุ่นน้องของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งมีอาจารย์ร่วมสำนักเดียวกัน คือ หลวงปู่แสง วัดมณีชลขันธ์ จ.ลพบุรี (ศิษย์ร่วมสำนักเดียวกันอีกท่าน คือ หลวงปู่แก้ว วัดเครือวัลย์) ซึ่งในสมัยนั้นยังมีพระเกจิอาจารย์อีกหลายท่านที่มาขอเรียนวิชาเพิ่มเติมจากหลวงปู่ทอง เช่น หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา, หลวงปู่คง วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม, หลวงปู่จาด วัดบางกะเบา ปราจีนบุรี, หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ, หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขันธ์ นครศรีธรรมราช, หลวงปู่เหลือ วัดสาวชะโงก ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่ออี๋ สัตหีบ ชลบุรี และ หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ จะเห็นว่า ลูกศิษย์ของหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา ที่เอ่ยนามมานี้ ล้วนเก่งกล้าวิทยาคม วัตถุมงคลของท่านเป็นที่นิยมของสะสมพระเครื่องทั้งหลาย ดังนั้น หลวงพ่อทองอยู่ ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นน้อง หรือ รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา จึงไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน
ท่านเป็นสหธรรมิก กับ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ โดยเรียนวิชายันต์ตรีนิสิงเห มาจาก หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร มาด้วยกัน งานไหนมีปลุกเสกเครื่องรางของขลัง หรือ วัตถุมงคล ที่นั่นจะมี หลวงปู่โต๊ะกับ หลวงพ่อทองอยู่ ด้วยเสมอ

วิชาที่สุดยอดของท่านอีกอย่างคือ ลงกระหม่อมด้วยน้ำมันจันทร์หอม ใครได้ลงครบสามครั้ง รับรองได้ว่า ไม่มีตายโหง และไม่อดไม่อยาก เป็นที่รักใคร่ของคนโดยทั่วไป ท่านเจริญเมตตา จนมีฝูงปลาสวายมาอยู่หน้าวัดเต็มไปหมดเลย

ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ ๑ ใน ๔ องค์ ที่หลวงปู่โต๊ะนิมนต์มาในงานครบรอบวันเกิดของท่านทุกปี อีกสามองค์ที่เหลือ องค์แรก คือ หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง กรุงทพฯ องค์ที่สอง หลวงพ่อฮะ วัดดอนไก่ดี สุพรรณบุรี องค์ที่สามเป็น พระจีน (ไม่ทราบชื่อ) สำหรับงานวันเกิดหลวงปู่โต๊ะนั้น จะนิมนต์หลวงปู่หลวงพ่อทั้ง ๔ องค์นี้เป็นประจำ มานั่งสี่มุม ส่วนหลวงปู่โต๊ะท่านจะนั่งที่หน้าพระประธานเป็นองค์ที่ห้า ซึ่งหลวงปู่โต๊ะท่านยังสั่งลูกศิษย์ลูกหาของท่านว่าหลวงพ่อทองอยู่นั้น สามารถเป็นที่พึ่งพิงของลูกศิษย์ได้อีกรูปหนึ่งให้ไปกราบนัสการ หลวงพ่อทองอยู่ท่านก็เมตตาอนุเคราะห์แก่บรรดาลูกศิษย์ที่มาหาท่านเสมอกันทุกคนไม่เลือกว่ายากดีมีจน ธรรมะที่ท่านจะบอกกับลูกศิษย์เป็นประจำก็คือ

“ จะทำอะไรก็แล้วแต่มันสำคัญที่ใจ ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นหัวหน้า ใจเป็นประธาน ถ้ามีจิตใจแน่วแน่แล้วล่ะก็ผลสำเร็จนั้นย่อมเป็นที่หวังพึ่งพิงได้เสมอ ทำใจให้ดีตั้งใจให้ดีแล้วผลสำเร็จจะมีมาเอง”

หลวงพ่อท่านยังห่วงใยในวัดวาอาราม ท่านจะบอกอยู่เสมอว่าในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นการเงินทองนั้นหาง่าย ให้ขยันทำงานต่างๆ นั้นให้มาก ถ้าท่านมรณภาพไปแล้วการเงินจะฝืดเคืองกว่าตอนสมัยของท่านให้เร่งพัฒนาวัด ช่วยกันทำนุบำรุงพระพุท
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน360 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลอา. - 11 พ.ย. 2555 - 13:34.08
วันปิดประมูล อา. - 18 พ.ย. 2555 - 13:34.08 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
deartu54 (28) (-1) 125.24.95.229
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 360 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
110 บาท อา. - 11 พ.ย. 2555 - 17:51.31
200 บาท อา. - 11 พ.ย. 2555 - 17:51.37
250 บาท อา. - 11 พ.ย. 2555 - 17:51.49
300 บาท อา. - 11 พ.ย. 2555 - 23:54.02
350 บาท อา. - 11 พ.ย. 2555 - 23:54.20
360 บาท จ. - 12 พ.ย. 2555 - 22:12.22
กำลังโหลด...
Top