เหรียญเจริญยศ (พิมพ์นิยมห้าแตก) หลวงปู่ทิม หลวงพ่อเงิน หลวงปู่โต๊ะ ปลุกเสก วัดราชประดิษฐ์ จ.กรุงเทพ - webpra

ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

เหรียญเจริญยศ (พิมพ์นิยมห้าแตก) หลวงปู่ทิม หลวงพ่อเงิน หลวงปู่โต๊ะ ปลุกเสก วัดราชประดิษฐ์ จ.กรุงเทพ

เหรียญเจริญยศ (พิมพ์นิยมห้าแตก) หลวงปู่ทิม หลวงพ่อเงิน หลวงปู่โต๊ะ ปลุกเสก วัดราชประดิษฐ์ จ.กรุงเทพ เหรียญเจริญยศ (พิมพ์นิยมห้าแตก) หลวงปู่ทิม หลวงพ่อเงิน หลวงปู่โต๊ะ ปลุกเสก วัดราชประดิษฐ์ จ.กรุงเทพ
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญเจริญยศ (พิมพ์นิยมห้าแตก) หลวงปู่ทิม หลวงพ่อเงิน หลวงปู่โต๊ะ ปลุกเสก วัดราชประดิษฐ์ จ.กรุงเทพ
รายละเอียดรายละเอียด
พิธีใหญ่ๆไม่ควรพลาดครับ องค์นี้องค์เดียวครบสูตรครับ (4)

เหรียญสวยมากครับ กะไหล่เดิม ถ่ายรูปยากมากครับ


เหรียญพระนิรันตรายเจริญยศ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหารปี 2515 ชื่อเดิมคือ “วัดราชประดิษฐ์สถิตธรรมยุติการาม” เรียกสั้นๆว่าวัดราชประดิษฐ์ฯ เป็นวัดประจำรัชกาลที่4 และเป็นพระอารามแห่งแรกของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติ ซึ่งรัชกาลที่4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ภายในวัดมีศิลปะในยุครัตนโกสินทร์งดงามตระการตาให้ชมมากมาย มีจิตรกรรมฝาผนังภาพการชมสุริยุปราคาในสมัยรัชกาลที่4 และเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธสิหิงค์ด้วยเมื่อสร้างวัดราชประดิษฐ์ ฯ เสร็จเมื่อปี พ.ศ.2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้อาราธนาพระสาสนโสภณ จากวัดบวรนิเวศฯ มาครองวัดราชประดิษฐ์ฯ เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ซึ่งต่อมาภายหลังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม เมื่อปีพ.ศ.2436 ถึงปีพ.ศ.2442 รวม 6 พรรษา ประวัติของสมเด็จพระสังฆราช(สา ปุสฺสเทโว) เมื่อย้อนไปเมื่อพระชนมายุได้ 18 ปี ทรงแปลพระปริยัติธรรม 9 ประโยค ได้เป็นเปรียญเอกตั้งแต่ยังทรงเป็นสามเณร นับเป็นสามเณรองค์แรกที่ได้เป็นเปรียญ 9 ประโยคในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาได้ลาสิกขาไปเป็นฆราวาสอยู่พักหนึ่ง และเมื่อพระชนมายุได้ 38 ปี ได้กลับมาอุปสมบทใหม่ ว่ากันว่า ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้งหนึ่ง และทรงแปลได้หมดทั้ง 9 ประโยค จึงมีผู้กล่าวถึงพระองค์ด้วยสมญานามว่า "สังฆราช 18 ประโยค"(โสฬส) ในปีพ.ศ.2515 เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ศิษย์ยานุศิษย์ในการฉลองวัดครบรอบ 108 ปี ทางวัดได้จัดสร้างวัตถุมงคล พระกริ่งโสฬส, เหรียญพระนิรันตรายแบบพัดยศและแบบเสมา ได้มีการจัดพุทธาภิเษก ในพระอุโบสถวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน ตั้งแต่วันที่ 16-24 พฤศจิกายน 2515 โดยได้นำชนวนมาจาก การเททองหล่อพระนิรันตรายรุ่นแรก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเททองในการครั้งนี้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้เมตตามาเป็นประธานในการจุดเทียนชัย และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสุหร่ายวัตถุมงคล รวมพระเกจิ 108 รูป
อาทิ 1...พระราชสุทธาจารย์ (หลวงพ่อโชติ ระลึกชาติ) จ.นครราชสีมา เป็นประธาน
2.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
3.หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
4.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงฆ์บุรี
5.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
6.หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง จ.นครปฐม
7.หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสาคร
8.หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา
9.หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า จ.ระยอง
10.หลวงพ่อรวย วัดตะโก จ.อยุธยา,
11…หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย จ.นนทบุรี
12.หลวงปู่ดู่ วัดสะแก จ.อยุธยา
13.หลวงปู่ศรีจันทร์ วัดเลยหลง จ.เลย
14.พระอาจารย์วัน อุตฺตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม, จ.สกลนคร
15.หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, จ.ระยอง
16.หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล, จ.อุดรธานี
17.หลวงปู่เทสก์ วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
18.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี
19.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
20.หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง จนนทบุรี
21.หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ฯลฯนอกจากนี้ยังมีพระคณาจารย์สายวิปัสสนาทั้ง 4 ภาคร่วมนั่งอธิษฐานจิตปลุกเสกเป็นเวลา 9 วัน 9 คืนโดยผลัดกันวันละ 12 รูป

การจัดสร้าง วัตถุมงคลนั้นทางคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม) เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมปาโมกข์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์และ พลเอกประภาส จารุเสถียร รองหัวหน้าคณะปฏิวัติในขณะนั้นเป็นประธานฝ่ายฆราวาสโดยกราบบังคมทูลอัญเชิญ เชิญเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเสด็จฯ เททองหล่อ พระนิรันตราย (ขนาดบูชา) เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2515 จำนวน 908 องค์ ตามจำนวนสั่งจองจากนั้นจึงนำทองชนวนที่เหลือจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเททองไปจัดสร้าง พระกริ่งนิรันตราย ทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก, พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราชสา (กริ่งโสฬส) และ เหรียญพระนิรันตราย ทั้งสองแบบ ดังกล่าวข้างต้นอย่างละ 50,000 องค์ เท่ากันยกเว้น พระบรมรูปรัชกาลที่ 4 ประทับยืนแบบเดียวกับองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ใน ปราสาทพระจอมเกล้า (ปราสาททรงพระปรางค์) สร้างจำนวน 108 องค์ และ ล็อกเกต จำนวนหลักร้อยเช่นกัน ซึ่งหลังการสร้างวัตถุมงคลเสร็จแล้วได้จัดทำ พิธีพุทธาภิเษกและมังคลาภิเษก ภายใน พระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์ฯ ระหว่างวันที่ 16-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 รวม 9 วัน 9 คืน ซึ่งตรงกับช่วงวันสถาปนาวัดพอดีโดยนิมนต์พระคณา จารย์ผู้ทรงวิทยาคุณในขณะนั้น ทั่วพระราชอาณาจักร เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก คืนละ 12 รูป รวมทั้งหมด 108 รูป เท่ากับอายุของวัดราชประดิษฐ์ฯ ทุกประการโดยพระคณาจารย์ที่ทรงวิทยาคุณได้แก่ หลวงปู่แหวนวัดดอยแม่ปั๋ง, หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, (ปกติแล้วหลวงปู่ทิมจะไม่ออกจากวัดละหารไร่ไปร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลที่ อื่น ๆ โดยเด็ดขาด จึงนับว่าพิธีในครั้งนี้เป็นกรณีที่พิเศษจริง ๆ โดยมีภาพถ่ายยืนยัน) หลวงปู่คร่ำวัดวังหว้า, หลวงปู่ดู่วัดสะแก, หลวงปู่เทียมวัดกษัตราธิราช, หลวงพ่อโชติ (ระลึกชาติ), หลวงปู่ขาววัดถ้ำกองเพล, หลวงปู่เทศก์วัดหินหมากเป้ง, หลวงปู่จันทร์วัดเลยหลง, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อมุ่ยวัดดอนไร่, หลวงพ่อถิรวัดป่าเลไลยก์, หลวงพ่อกี๋วัดหูช้าง, หลวงพ่อแพวัดพิกุลทอง, หลวงพ่อหลิววัดไร่แตงทอง, หลวงตามหาบัววัดป่าบ้านตาด ฯลฯ เป็นต้น.



ติดต่อ 089-5103832

คลิ๊กที่รูปบ้าน-(ดูหน้าร้าน)
หรือตามลิ้งค์ http://www.web-pra.com/Shop/chaiwin
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน1,200 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลพฤ. - 27 ต.ค. 2554 - 20:06.39
วันปิดประมูล พฤ. - 27 ต.ค. 2554 - 21:20.37 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 1,200 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน)
ราคาประมูลด่วน1,200 บาท
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
1,050 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พฤ. - 27 ต.ค. 2554 - 21:16.38
1,200 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน) พฤ. - 27 ต.ค. 2554 - 21:20.37
กำลังโหลด...
Top