**..พระเนื้อชาร์ปรถไฟ กับมาตรฐานสากล ที่ดีๆ ของวงการพระเครื่องไทย..** - webpra

หัวข้อ: **..พระเนื้อชาร์ปรถไฟ กับมาตรฐานสากล ที่ดีๆ ของวงการพระเครื่องไทย..**

กระทู้ และ ความคิดเห็นต่างๆ

**..พระเนื้อชาร์ปรถไฟ กับมาตรฐานสากล ที่ดีๆ ของวงการพระเครื่องไทย..**
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 4
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

**..พระเนื้อชาร์ปรถไฟ กับมาตรฐานสากล ที่ดีๆ ของวงการพระเครื่องไทย..**

**..พระเนื้อชาร์ปรถไฟ กับมาตรฐานสากล ที่ดีๆ ของวงการพระเครื่องไทย..** **..พระเนื้อชาร์ปรถไฟ กับมาตรฐานสากล ที่ดีๆ ของวงการพระเครื่องไทย..**
โพสต์เมื่อ อา. - 18 ม.ค. 2552 - 02:10.34
ความคิดเห็นที่ 1:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

**..พระเนื้อชาร์ปรถไฟ กับมาตรฐานสากล ที่ดีๆ ของวงการพระเครื่องไทย..**

โพสต์เมื่อ อา. - 18 ม.ค. 2552 - 02:13.47
ความคิดเห็นที่ 2:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

.... ประวัติการสร้าง ....

พระหลวงพ่อพรหม เนื้อช๊าฟรถไฟ  

จัดสร้างโดย  อดีตพนักงานการรถไฟฯ...ฝ่าย การช่างกล....

พระเนื้อช๊าฟรถไฟ      รวบรวมข้อมูลโดย ...

      คุณ จรัญ ปั้นโฉม         T.085-9128115 

     ผู้ช่วยสารวัตรแขวงงานสารวัตรรถจักรบางซื่อ

     คุณ สุภศักดิ์ แสนเย็น

     พนักงานรถจักร 6 งานรถพ่วงปากน้ำโพ

    คุณ วิชาญ  ภาคพิชัย 

    พนักงานรถจักร 6 งานสารวัตรรถจักรอุตรดิตถ์

    คุณ เศกสรร คงไพรสันต์  T.081-6478569

    พนักงานรถจักร 6 งานสารวัตรรถจักรบางซื่อ

 


โพสต์เมื่อ พฤ. - 15 ก.ค. 2553 - 00:36.06
ความคิดเห็นที่ 3:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

คำนำ

          หนังสือประวัติการสร้าง พระหลวงพ่อพรหมเนื้อช๊าฟ รถไฟเล่มนี้เกิดขึ้นจากการที่ในปัจจุบัน  ผู้ที่นิยมสะสมพระชุดนี้   ยังมีอีกจำนวนมาก  ที่สับสนในประวัติการจัดสร้าง   โดยเฉพาะนักสะสมพระรุ่นใหม่แทบไม่ทราบประวัติที่แน่ชัดเลย   หรือแม้แต่นักนิยมสะสมรุ่นเก่าที่นิยมสะสมพระในสายชุดของหลวงพ่อพรหมเองก็ตาม  เนื่องจากผู้จัดสร้างพระชุดนี้  มีเจตนาสร้างเพื่อไว้แจกจ่ายเฉพาะในหน่วยงานของการรถไฟเป็นการเฉพาะเท่านั้น   และด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ในการจัดสร้าง  ทำให้บุคคลต่างๆที่นิยมสะสมพระของหลวงพ่อพรหม  ต่างเสาะหามาสะสม    มาไว้ใช้ ด้วยความเคารพ    และด้วยความศรัทธาในองค์หลวงพ่อพรหม  โดยเฉพาะนักนิยมสะสมพระเครื่องในหน่วยงานของการรถไฟฯที่อยู่ในยุคที่ทันคณะผู้จัดสร้าง    และในยุคหลังๆต่อๆมา  จนถึงปัจจุบัน

 

โพสต์เมื่อ พฤ. - 15 ก.ค. 2553 - 00:37.54
ความคิดเห็นที่ 4:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

ประวัติ ..หลวงพ่อพรหม ถาวโร

วัดช่องแค ต.ช่องแค(พรหมนิมิตร) อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

ประวัติ ชาติภูมิ

          หลวงพ่อพรหม ถาวโร ถือกำเนิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปี มะแม ตรงกับวันที่ 12 เมษายน พ ศ. 2426 ที่หมู่บ้านโก่งธนู ตำบลบ้านแพรก อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตร นายหมี-นางล้อมโกสะลัง มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 4 คน คือ

1.นางลอย                       2.นายปลิว   

3.หลวงพ่อพรหม           4.นางฉาบ

          ทุกคนถึงแก่กรรมแล้ว

 การศึกษา

          หลวงพ่อพรหมในขณะเยาว์วัยได้ศึกษา อ่านเขียนกับพระในวัดใกล้บ้าน และศึกษาอักษรขอมควบคู่กับภาษาไทยตั้งแต่ก่อนอุปสมบท

อุปสมบท  

          เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบทที่วัดเขียนลาย ต.บ้านแพรก อ.บ้านแพรก จ.อยุธยาฯ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2447 ได้รับฉายาว่า "ถาวโร" โดยมีหลวงพ่อถมยา วัดเขียนลาย เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาขอมจนชำนาญ และเริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

โพสต์เมื่อ พฤ. - 15 ก.ค. 2553 - 00:53.23
ความคิดเห็นที่ 5:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

ศึกษาวิชาไสยศาสตร์

          หลวงพ่อพรหมเริ่มศึกษาวิชาไสยศาสตร์  และคาถาอาคมกับอาจารย์ที่เป็นฆราวาส   ชื่ออาจารย์พ่วง ต่อมาเมื่ออุปสมบทแล้วจึงได้ศึกษาอสุภกรรมฐาน สมถะกรรมฐาน วิปัสสนา จากหลวงพ่อดำ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ไม่ทราบวัดอยู่ประมาณ 4 ปี ในพรรษาที่ 5 อาจารย์พ่วง ได้พาไปฝากอาจารย์ปู่วอน    ซึ่งเป็นฆราวาส และได้ศึกษาวิชาแขนงต่างๆเป็นเวลา 5 ปีเต็ม      จนกระทั่งอาจารย์ปู่วอนถึงแก่กรรม      ซึ่งในภายหลังหลวงพ่อพรหมได้นำกระดูกมาเก็บไว้ที่วัดช่องแค    จากนั้นหลวงพ่อพรหม ก็ไม่ได้ไปศึกษากับอาจารย์ท่านใดโดยตรง    มีแต่ศึกษาแลกเปลี่ยนวิชากับอาจารย์รุ่นพี่    และรุ่นเดียวกันในระหว่างธุดงค์ เช่น หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ เป็นต้น

          หลวงพ่อพรหมจะเดินธุดงค์ทั้งเส้นทางใกล้และไกล โดยหลวงพ่อเคยเดินธุดงค์ไปประเทศพม่าถึงเมืองร่างกุ้ง และได้มีโอกาสที่มนัสการพระเจดีย์ชะเวดากอง และเดินธุดงค์ผ่านทางด่านเจดีย์สามองค์ ผ่านเทือกเขาน้อยใหญ่ และธุดงค์อยู่ในประเทศพม่าเป็นเวลานาน จึงเดินทางกลับประเทศไทยทางด่านแม่ละเมา จ.ตาก และเดินเรื่อยๆไปจนถึงเขาช่องแค ต.พรหมนิมิต อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เกิดฝนตกหนัก หลวงพ่อได้หลบเข้าไปอยู่ในถ้ำซึ่งเป็นถ้ำเล็กๆ ซึ่งเป็นสถานที่ที่หลวงพ่อเห็นว่าเป็นที่วิเวก เหมาะแก่การบำเพ็ญธรรม จึงเริ่มปลูกต้นไม้แห่งศรัทธาลง ณ. ช่องเขาแห่งนี้ ขณะที่หลวงพ่อจำศีลปฏิบัติธรรมอยู่นั้น ที่วัดช่องแคมีพระภิกษุจำพรรษาอยู่แล้ว 2 รูป แต่ยังไม่มีเจ้าอาวาส ภายในวัดยังไม่มีเสนาสนะใดๆ บริเวณวัดรกร้าง ต่อมาชาวบ้านในแถวนั้นซึ่งมีความนับถือเลื่อมใสหลวงพ่อ ได้นิมนต์ให้หลวงพ่อลงมาจำพรรษา ข้างล่าง คือวัดช่องแคในปัจจุบัน หลวงพ่อพรหมจึงเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดช่องแค โดยที่ชาวบ้านได้ร่วมกันบริจาคที่ดินเพิ่มขึ้น หลวงพ่อพรหมได้เริ่มต้นสร้างวัดจากวัดที่รกร้างไม่มีเสนาสนะใดๆ เมื่อปี 2460 มาเป็นวัดที่มีกุฏิ ศาลาการเปรียญ โรงครัว ซึ่งส่วนหนึ่งของทรัพย์สินมาจากการขายสมบัติส่วนตัวและมรดกของหลวงพ่อเอง ต่อมาเมื่อทางวัดจะสร้างโบสถ์ ซึ่งต้องใช้ทุนทรัพย์สูง คณะกรรมการของวัดจึงขอ อนุญาตหลวงพ่อสร้างวัตถุมงคลขึ้น หลวงพ่อพรหม ชอบระฆัง การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อจึงมีรูประฆัง และกลายเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของหลวงพ่อพรหม

โพสต์เมื่อ พฤ. - 15 ก.ค. 2553 - 00:55.18
ความคิดเห็นที่ 6:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

การปลุกเสกวัตถุมงคล 

          หลวงพ่อพรหม มีวิธีการปลุกเสกวัตถุมงคลไม่เหมือนใคร ส่วนใหญ่ หลวงพ่อจะนำพระที่จะทำพิธีปลุกเสกใส่ลงในบาตร แล้วใช้มือคนวนไปรอบๆ และถ้ามีเทียนชัยจะจุดเทียนชัยหยดน้ำตาเทียน ลงในบาตรน้ำมนต์   แล้วนำเทียนชัย มาวนรอบๆ จนครบ 9 รอบ  แล้วจึงนำแป้งดินสอพองมาเจิมที่วัตถุมงคล และเอามือคนไปรอบๆอีกครั้ง โดยที่หลวงพ่อจะลืมตาเพ่งกระแสจิตอัดพลังแล้วจึงนำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมวัตถุมงคลทั้งหลาย แล้วหลวงพ่อก็จับบาตรใส่วัตถุมงคลขึ้น เพื่อเพ่งกระแสจิตอีกครั้งจนกระทั่งวัตถุมงคลเหล่านั้น มีรังสีพุ่งออกมา จึงนำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมอีกครั้งเป็นเสร็จพิธี ดังนั้นเราจะสังเกตได้ว่าพระเนื้อผงของหลวงพ่อจะมีรอยบิ่น เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง เพราะเกิดจากหลวงพ่อเอามือคนในบาตร ดังนั้นพระที่มีรอยบิ่นจึงสันนิษฐานได้ว่า ได้สัมผัสกับมือหลวงพ่อโดยตรง.

       หลวงพ่อพรหม ไม่เคยย้ายไปอยู่วัดอื่นๆใดเลย โดยตลอดระยะเวลา 58 ปี  หลวงพ่อพรหมได้ลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาส วัดช่องแค เมื่อปี 2514 รวมระยะเวลาที่เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องแค ได้ 54 ปี  เพื่อให้ พระครูนิวิฐธรรมวัตร (พระครูแบ๊ง ธมมวโร) เป็นเจ้าอาวาสสืบแทนต่อมา  จนกระทั่งถึงปี ๒๕๒๖ พระครูนิวิฐธรรมวัตร ก็ได้มรณภาพลง  พระครูนิวิฐปัญญากร เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน จึงได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส วัดช่องแค สืบต่อมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

โพสต์เมื่อ พฤ. - 15 ก.ค. 2553 - 00:57.22
ความคิดเห็นที่ 7:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

 

 

 

มรณภาพ 

          หลวงพ่อพรหม มรณภาพ   เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2518 เมื่อเวลา 15.00 น. ณ.โรงพยาบาลบ้านหมี่ จ.ลพบุรี รวมอายุได้ 91 ปี 71 พรรษา  หลังจากหลวงพ่อพรหม มรณภาพแล้ว คณะกรรมการวัดได้บรรจุศพของท่านไว้ในโลงแก้ว อยู่บนศาลา

การเปรียญ ศพของหลวงพ่อพรหมไม่เน่าเปื่อย มด ไร มอด และ แมลง ไม่ได้รบกวนทำลายชิ้นส่วนใดๆในร่างกายของท่านแม้แต่น้อย คล้ายกับหลวงพ่อนอนหลับอยู่ แม้ว่าท่านจะมรณภาพมาแล้วถึง30กว่าปี  

  

โพสต์เมื่อ พฤ. - 20 ม.ค. 2554 - 02:56.03
ความคิดเห็นที่ 8:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

 

 

สิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้น  หลังจากหลวงพ่อได้มรณภาพแล้ว คือ    ศพของหลวงพ่อพรหมไม่เน่าเปื่อย   และที่เกิดขึ้นเหนือกว่าคนธรรมดาทั่วไป ก็คือ  

         1.เส้นผมงอกยาว 5-6 มม.

         2.เส้นขนคิ้วงอกยาว 5-6 มม.

         3.เส้นขนตางอกยาว 1 ซม.

         4.หนวดงอกยาว 5-6 มม.

         5.เคราใต้คางยาว 5-6 มม.

         6.เล็บมืองอกยาว 1 ซม.

 

Kaigeenline 

 

         7.เล็บเท้างอกยาว 4-5 มม.

 

 


โพสต์เมื่อ พฤ. - 20 ม.ค. 2554 - 03:01.39
ความคิดเห็นที่ 9:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

 

ประวัติและปาฎิหาริย์เกี่ยวกับพระเนื้อช๊าฟรถไฟ 

 (คัดมาจากหนังสือประวัติและปาฎิหาริย์ ที่ทางวัดพิมพ์แจกเมื่อปี๒๕๔๓)

 

              มีลูกศิษย์ที่ทำงานรถไฟนำโดย คุณ วินัย อยู่เย็น ซึ่งนับถือหลวงพ่อเป็นพิเศษได้มาขอหลวงพ่อสร้างวัตถุมงคล  โดยทำเป็นพิมพ์รูปเหมือนเนื้อตะกั่วช๊าฟรถไฟ เพื่อนำไปติดตัวบูชา  และเป็นสิริมงคลแก่พวกคนงานรถไฟ ไม่ได้นำไปทำธุรกิจ  อย่างเช่นปัจจุบัน  เมื่อสร้างพระเสร็จแล้ว คุณ วินัย  อยู่เย็น  ก็นำพระมาให้หลวงพ่อพรหมปลุกเสก หลวงพ่อก็ปลุกเสกให้ตามความประสงค์  แล้วจึงนำไปแจกจ่ายแก่คนงานรถไฟมักกะสัน โดยเฉพาะพระชุดนี้จะตกอยู่กับพวกช่างกลโรงซ่อมเป็นส่วนมาก  เพราะคุณ วินัย  แกทำงานแผนกช่างกล  คนรถไฟที่ได้รับแจกก็จะนำติดตัวขึ้นล่องกับขบวนรถไฟอยู่เสมอ ต่อมาไม่นานเป็นช่วงฤดูฝน  ฝนตกน้ำท่วมทางภาคเหนือบางตอนทางรถไฟขาด จึงต้องส่งช่างไปซ่อมเป็นการเร่งด่วน  พวกช่างที่มีหน้าที่ก็ต้องไปกับบวนซ่อมราง  มีอู่ครั้งหนึ่ง ขบวนรถไฟที่นำพวกช่างซ่อมรางวิ่งไปเกือบถึงสถานีศิลาอาสน์  หัวรถจักรเกิดพลิคว่ำ  เพราะรางยุบ  บริเวณดังกล่าวเป็นไหล่เขา  เหวลึก  เมื่อหัวรถจักรพลิกคว่ำ ก็ลากเอาตู้ขบวนช่างซ่อมรางคว่ำลงไปด้วย  ขบวนรถทั้งหมดก็พุ่งลงเหว  พวกช่างซ่อมรางต่างก็กระโดดลงจากรถไฟ  คนละทิศ คนละทาง  บางคนก็ถูกตู้ทับเอา บางคนตกลงไปในเหวข้างทาง หรือค้างอยู่บนต้นไม้ก็มี  แต่เหลือเชื่อ  จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ไม่มีใครเสียชีวิตแม้แต่คนเดียว  เพียงแต่ได้รับบาดเจ็บคนละเล็กละน้อยเท่านั้น  พวกคนงานซ่อมรถไฟเหล่านั้น ต่างก็เล่าเป็นเสียงเดียวกันว่า  เพราะพวกเขานำพระเครื่องรุ่นช๊าฟรถไฟติดตัวกันทุกคน  จึงไม่มีใครได้รับอันตราย  และได้กลับมาเล่าขานเหตุการณ์ ให้ฟังถึงปาฏิหาริย์ของพระเครื่องรุ่นช๊าฟรถไฟดังกล่าว



Kaigreenline..  

 

โพสต์เมื่อ พฤ. - 20 ม.ค. 2554 - 03:05.23
ความคิดเห็นที่ 10:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

 

 

ประวัติผู้สร้าง พระเนื้อช๊าฟรถไฟ โดยสังเขป 

 

           คุณ วินัย  อยู่เย็น  เข้าทำงานในการรถไฟฯ เมื่อ ปีพ..๒๕๐๐ ในตำแหน่งช่างไฟฝึกหัด สังกัดฝ่ายการช่างกล    การรถไฟฯ และปฏิบัติงานในการรถไฟฯ   เรื่อยมาจนถึงตำแหน่งสูงสุดในสายงาน     โดยดำรงตำแหน่ง พนักงานขับรถไฟชั้นตรี  สังกัดแขวงงานสารวัตรรถพ่วงปากน้ำโพ จนกระทั่งได้เกษียณ อายุราชการเมื่อปี พ..๒๕๔๐

         

            คุณ อัมพร  ดวงทอง เข้าทำงานในการรถไฟฯ เมื่อ ปีพ..๒๕๑๐  ในตำแหน่งคนการช่าง สังกัดฝ่ายการช่างกล    การรถไฟฯ  ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ช่างชั้น ๑  สังกัดแขวงงานสารวัตรรถพ่วงปากน้ำโพ      และจะเกษียณอายุราชการในเดือนกันยายน  ปี พ..๒๕๕๑

 

โพสต์เมื่อ พฤ. - 20 ม.ค. 2554 - 03:16.24
ความคิดเห็นที่ 11:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

 

   

    **...ประวัติการสร้าง พระหลวงพ่อพรหม เนื้อช๊าฟรถไฟ... **

                   .....................................................
    พระหลวงพ่อพรหมเนื้อช๊าฟรถไฟได้มีการสร้างขึ้นโดยอดีตพนักงานของการรถไฟฯ  หลายกลุ่มเช่นกลุ่มคุณ ชนะ กลุ่มคุณ วินัย โดยเฉพาะคุณ วินัย จะมีบทบาทมากในพระชุดนี้  เนื่องจากท่านเป็นผู้ที่ได้นำพระที่สร้างเสร็จแล้วไปให้หลวงพ่ออธิฐานจิตบ่อยครั้งที่สุด  เพราะท่านเป็น ศิษย์ที่ใกล้ชิดและหลวงพ่อไว้วางใจมากท่านหนึ่ง และอีกท่านหนึ่งที่ได้สร้างคือหลวงพ่อผิว ซึ่งท่านได้ร่วมกับอดีตพนักงานรถไฟสร้างพระพิมพ์ก้นระฆัง มีตัว ผ. ที่สังฆาฏิ ซึ่งเป็นพิมพ์ที่บุคลภายนอกรู้จักและยอมรับมากกว่าทุกพิมพ์ แต่นอกจากพระพิมพ์นี้แล้วยังมีพระอีกหลายพิมพ์ที่บุคลภายนอกไม่รู้จักเพราะพระเหล่านั้นโดยมากแล้วจะมีอยู่แต่ในความครอบครองของคนรถไฟเท่านั้น และ มีหลายๆ ท่านที่มีพระอยู่ในครอบครองนับร้อยๆองค์ ในอดีตที่พระชุดหลวงพ่อพรหมของทางวัดยังไม่มีราคามากนักพระเนื้อช๊าฟ รถไฟจึงไม่มีใครให้ความสนใจ ต่อเมื่อพระของทางวัดมีราคาสูงขึ้นผู้ที่รู้เรื่องเกี่ยวกับพระเนื้อช๊าฟ รถไฟจึงได้มีการเสาะหากันมากขึ้นจึงทำให้พระเนื้อช๊าฟ รถไฟเป็นพระที่มีราคาขึ้นมา บุตร หลานของอดีตพนักงานรถไฟเหล่านั้นเมื่อทราบว่าพระที่ตนเองมีอยู่เป็นพระที่มีราคาจึงได้นำมาออกสู่ภายนอก ในระยะนี้จึงดูว่ามีพระเนื้อช๊าฟ รถไฟ ออกมามากจนผิดสังเกตเป็นเหตุให้ผู้ที่มีความสนใจหลายๆท่านเกิดความสบสนขึ้นมาและเมื่อมีของออกมาสู่ภายนอกแล้วก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ย่อมมีพระเก๊ระบาดตามออกมาด้วย ( ยกเว้นพระที่สร้างปี พ.ศ. 2533และปี 2539 )แต่ถ้าหากท่านใดที่มีความสนใจและไม่ปิดกั้นปัญญาของตนเองมากจนเกินไปนักก็จะสามารถศึกษาและสะสมพระชุดนี้ได้ไม่ยากเพราะในปัจจุบันราคาของพระชุดนี้ก็เป็นพระที่มีราคายังไม่สูงจนเกินความสามรถของผู้ที่มีความศรัทธาในองค์หลวงพ่อโดยทั่ว ๆไปจะเสาะหามาบูชาได้ การสะสมพระชุดนี้ ( หรือพระโดยทั่วไป ) ควรศึกษาให้เข้าใจโดยถ่องแท้เสียก่อนเพราะพระชุดนี้นั้นคนรถไฟเขาสะสมกันมานานแล้วเขาสะสมกันด้วยความศรัทธาในองค์หลวงพ่อสะสมด้วยปัญญาไม่ได้สะสมตามผู้ที่อ้างว่าเป็นผู้รู้ท่านใด บุคลภายนอกหากสนใจที่จะสะสมควรศึกษาจากคนรถไฟโดยตรงยิ่งท่านใดมีญาติหรือรู้จักกับอดีตคนรถไฟรุ่นก่อนสามารถที่จะขอความรู้จากท่านเหล่านั้นได้

โพสต์เมื่อ พฤ. - 20 ม.ค. 2554 - 03:34.53
ความคิดเห็นที่ 12:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

**...หลวงพ่อพรหมเนื้อช๊าฟรถไฟ ที่จัดสร้างโดย อดีตพนักงานการรถไฟฯ ฝ่ายการช่างกล  ทางคุณวินัยได้หารือร่วมกับ หลวงพ่อ ผิว ซึ่งเป็นพระลูกวัดช่องแค และเป็นพระลูกศิษย์ หลวงพ่อพรหมในขณะนั้น ว่าทางพนักงานการรถไฟฯ.อยากจะสร้างพระที่เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อหรหมขึ้น เพื่อที่จะแจกจ่ายให้กับ

พนักงานการรถไฟ ไว้ติดตัวเพื่อบูชา และมอบให้ทางวัดเพื่อแจกจ่ายให้ชาวบ้านทั่วไปบ้าง ซึ่งคุณวินัยฯ.ได้หารือกับเพื่อนพนักงาน และผู้บังคับบัญชาแล้วเห็นว่า เศษเนื้อช๊าฟรถไฟ  ที่ทางการไม่ใช้แล้ว และไม่สามารถนำกลับมาใช้งานอีกได้  ส่วนใหญ่จะถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์  เศษเนื้อช๊าฟรถไฟ เป็นวัสดุที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว และเป็นวัสดุที่บุคคลภายนอกจะหารวบรวม ให้เป็นจำนวนมากได้ยากมาก เมื่อนำมาทำเป็นชิ้นงานออกมาแล้วจะยากแก่การปลอมแปลง จึงได้ทำการขออนุญาต หลวงพ่อพรหมจัดสร้างพระรูปเหมือนหลวงพ่อพรหมขึ้น

โพสต์เมื่อ พฤ. - 20 ม.ค. 2554 - 03:45.28
ความคิดเห็นที่ 13:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

หลังจากที่ทางวัดได้มีการจัดสร้างพระชุดหลวงพ่อพรหมรุ่นเสาร์ 5 ปี พศ.2512 แล้วทางคุณวินัยและคณะ จึงได้มีการขออนุญาตจัดสร้างพระขึ้นดังต่อไปนี้.

             สร้างรูปเหมือนหล่อโบราณโดยแกะแม่พิมพ์ขึ้นใหม่ ไม่ทราบชื่อผู้แกะแม่พิมพ์ ลักษณะไม่เหมือนรูปหล่อของหลวงพ่อในชุดใดเมื่อหล่อไปจะแก้ไขพิมพ์ไปทำให้บุคลที่ได้ครอบครองในภายหลังเกิดความสับสน ลักษณะเนื้อโลหะ ทราบจากผู้ที่มี

ส่วนร่วมในการหล่อพระบอกว่ามีส่วนของ เนื้อเงินผสมกับ เนื้อช๊าฟรถไฟ จำนวนการสร้างประมาณ 100 องค์            หลังจากที่สร้างพระรูปเหมือนดังที่กล่าวในข้อ 1. แล้วพระที่ได้มีรูปแบบ ที่ไม่น่าพอใจจึงได้มีการขออนุญาต  ทำพระขึ้นมาใหม่ดังนี้.

โพสต์เมื่อ พฤ. - 20 ม.ค. 2554 - 03:49.27
ความคิดเห็นที่ 14:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
pop_014
ตั้ง: 38 ตอบ: 86
คะแนน: 3
รายละเอียด

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะครับ

โพสต์เมื่อ พฤ. - 20 ม.ค. 2554 - 21:11.34
ความคิดเห็นที่ 15:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

พิมพ์ก้นระฆังมี ผ.ที่สังฆาฏิ


  โดยถอดแบบมาจาก พระรูปเหมือนพิมพ์ก้นระฆัง ปี 2512 ของพระอาจารย์ (ลพ.พรหม) แต่เพื่อมิให้สับสนและปนกับพระที่พระอาจารย์สร้างไว้ก่อนหน้าคือ ปี 2512 แล้วนั้น จึงแกะแม่พิมพ์ ตัว ผ เพิ่มไว้ที่ด้านหน้า ตรงสังฆาฏิ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ จัดสร้างในกรณีพิเศษ เพื่อแจกให้กับลูกศิษย์สายพนักงานรถไฟ ฝ่ายการช่างกลโดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานบนหัวรถจักร (พนักงานขับรถไฟ) ที่ลงพักค้างคืน ที่สถานีรถไฟช่องแค ซึ่งในอดีตสถานีรถไฟ ช่องแค เป็นศูนย์รวมของพนักงานการรถไฟฯ.อยู่หลายฝ่าย เช่นการเดินรถ, ช่างกล,ฟืน,หิน และเอกชนที่รับเหมาช่วงงานอีกมาก ( พระที่สร้างเน้นมอบฝ่ายช่างกล ) และได้มอบพระส่วนหนึ่ง ประมาณ 100 องค์ให้ที่โรงงานรถไฟมักกะสัน เนื่องจากได้มอบเศษ เนื้อชาร์ปรถไฟมาถวายเพื่อใช้เป็นวัสดุในการจัดสร้างพระในครั้งนั้น ซึ่งเป็นพระรุ่นแรกที่ใช้เศษเนื้อช๊าฟสร้างจำนวนพระ ประมาณ 500 องค์ ( พระที่สร้างได้จริงๆ 497 องค์ ข้อมูลจากผู้ที่ทำหน้าที่ตอกโค๊ดพระชุดนี้ คือ คุณ  อัมพร  ดวงทอง   (ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว)

โพสต์เมื่อ ส. - 22 ม.ค. 2554 - 21:31.28
ความคิดเห็นที่ 16:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

..ลักษณะเนื้อพระ… ในพระชุดนี้เป็นพระที่เริ่มสร้างจากเศษเนื้อช๊าฟที่ได้มาจาก เศษช๊าฟละลายที่เกิดจากการใช้งานเนื่องจาก การขาดการหล่อลื่น เนื้อช๊าฟจะละลายตกลงในอ่างน้ำมันของหม้อเพลาล้อรถไฟ เนื้อช๊าฟส่วนใหญ่จะดำเป็นก้อน เมื่อหล่อพระออกมาแล้ว ผิวพระส่วนมากจะมีผิวสีออกดำเหมือนผิวตะกั่วเก่า ของปลอมจะทำได้ใกล้เคียงมาก โดยใช้ตะกั่วผสมเศษช๊าฟแต่จะมีเนื้อช๊าฟผสมเป็นส่วนน้อย เนื่องจากเนื้อช๊าฟ หายาก โค๊ดที่ใช้ตอกใต้ฐาน เป็นตัว พ อยู่ในใบโพธิ์( เดิมผู้สร้างตั้งใจทำให้เป็นตัว พ ในดอกบัว ) พระอีกส่วนหนึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด แต่เป็นจำนวนที่น้อยมากจะไม่ตอกโค๊ดที่ใต้ฐานแต่จะมีจาร ตัว มะ อะ อุ แทน

โพสต์เมื่อ ส. - 22 ม.ค. 2554 - 21:43.16
ความคิดเห็นที่ 17:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

พิมพ์ก้นระฆังมี ผ.ที่สังฆาฏิสร้างปี พ ศ.2513 จำนวน 497 องค์แบ่งเป็นแบบต่างๆ ดังนี้

1.   พิมพ์ก้นระฆังมี ผ.ที่สังฆาฏิจาร มะ อะ อุ ที่ใต้ฐาน ไม่ทราบจำนวนแน่ชัดคาดว่าไม่เกิน 30 องค์

พิมพ์ก้นระฆังมี ผ.ที่สังฆาฏิตอกโค๊ด พ.ในใบโพธิ์ และจารตัว อุ ที่ใต้ฐาน

โพสต์เมื่อ ส. - 22 ม.ค. 2554 - 21:47.31
ความคิดเห็นที่ 18:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

แบบพิมพ์หล่อโบราณ สร้างปี พ ศ.2513 ที่ฐานด้านหลังองค์พระระบุ  ตัวเลขปี  พ ศ.2513  มีทั้งแบบมีจารใต้ฐาน และไม่มีจารใต้ฐาน  พระมีจารใต้ฐานสร้างครั้งแรก ๆจำนวนประมาณ 60 องค์ ใต้ฐานที่จาร รอยจารจะเป็นเส้นเล็ก  การสร้างครั้งต่อๆมาไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัดโดยสังเกตได้จากรอยจารจะเป็นเส้นใหญ่

โพสต์เมื่อ ส. - 22 ม.ค. 2554 - 21:50.09
ความคิดเห็นที่ 19:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

พิมพ์แบบแผ่นหล่อรูปเหมือน ปี13(ถอดพิมพ์แผ่นปั๊ม ปี 2512 ลพ.พรหม ) สร้างปี พ ศ.2513 แยกแบบได้ดังนี้

1.แบบไม่ตอกโค๊ด สร้างครั้งแรกจำนวนประมาณ 12 องค์

2.แบบไม่ตอกโค๊ด สร้างครั้งที่สองด้านหลังตัวหนังสือเคลื่อนสร้างไม่เกิน 30 แผ่น

3.แบบด้านหลังมีโค๊ด พ. ในใบโพธิ์ จำนวนไม่ทราบแน่ชัด

        หมายเหตุ  แบบพิมพ์นี้สร้างยากแม่พิมพ์แตกชำรุดง่าย

โพสต์เมื่อ ส. - 22 ม.ค. 2554 - 21:53.13
ความคิดเห็นที่ 20:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

พิมพ์หูกาง ด้านหลังตอกโค๊ดเลข ไทย   สร้างปี 2513 จำนวนประมาณ 200 องค์

โพสต์เมื่อ ส. - 22 ม.ค. 2554 - 21:58.29
ความคิดเห็นที่ 21:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

พิมพ์นิ้วกระดก สร้างปี พ ศ.2513 ใต้ฐานตอกเลข ๑๓ ไทยจำนวนที่สร้างประมาณ 300 องค์ แยกแบบพิมพ์ได้ 2 แบบ ดังนี้

1.พิมพ์ธรรมดา     และ  2.พิมพ์บล็อกแตก

โพสต์เมื่อ ส. - 22 ม.ค. 2554 - 22:31.23
ความคิดเห็นที่ 22:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

พิมพ์นิ้วกระดก สร้างปี พ ศ.2513 ใต้ฐานตอกเลข ๑๓

โพสต์เมื่อ ส. - 22 ม.ค. 2554 - 22:44.19
ความคิดเห็นที่ 23:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

พิมพ์รูปเหมือน ตอกโค๊ด รูประฆัง  สร้างปี พ ศ.2513 สร้างจำนวนประมาณ 500 องค์ แยกตามแบบพิมพ์ ได้ 2 แบบ ดังนี้.

1.พิมพ์รูปเหมือน ตอกโค๊ด รูประฆัง  พิมพ์นิยม

2.พิมพ์รูปเหมือน ตอกโค๊ด รูประฆัง  พิมพ์ตื้น

          

โพสต์เมื่อ ส. - 22 ม.ค. 2554 - 23:25.30
ความคิดเห็นที่ 24:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

1.พิมพ์รูปเหมือน ตอกโค๊ด รูประฆัง  พิมพ์นิยม

โพสต์เมื่อ ส. - 22 ม.ค. 2554 - 23:31.00
ความคิดเห็นที่ 25:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

2.พิมพ์รูปเหมือน ตอกโค๊ด รูประฆัง  พิมพ์ตื้น

โพสต์เมื่อ ส. - 22 ม.ค. 2554 - 23:31.43
ความคิดเห็นที่ 26:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

พระพิมพ์รูปเหมือน ตอกโค๊ด รูประฆังที่สร้างปี 2513 นี้  แยกแบบตามลักษณะของโค๊ดใต้ฐานได้ 3 แบบ ดังนี้.

   1.แบบใต้ฐานตอกโค๊ดรูประฆัง ( โค๊ดวัด ) จำนวน 4 องค์ ทางกรรมการวัดเกรงว่าโค๊ดจะชำรุดจึงให้ยกเลิกการตอก

   2.แบบใต้ฐานเรียบ เมื่อทางวัดไม่ให้ใช้โค๊ดของวัดตอกพระที่สร้างแล้วมีพระบางส่วนได้แจกออกไปโดยไม่ได้ตอกโค๊ดอะไรที่ใต้ฐาน ( ใต้ฐานเรียบ )***..พระส่วนหนึ่งจำนวนประมาณ 10 องค์ ที่ทางคุณอัมพรฯ.ได้นำพระมาเจาะรูที่ใต้ฐาน และนำเกศา,จีวร,ผงพุทธคุณ,และผงที่ใช้สร้างพระสมเด็จรุ่นฟ้าผ่า ของหลวงพ่อมาบรรจุไว้  พระจำนวน 10 องค์ดังกล่าวนี้ได้ถูกแจกจ่ายให้แก่ เพื่อนฝูง คนใกล้ชิด  และเพื่อนร่วมสายงาน ที่หมวดศิลา  ที่ปฏิบัติงานอยู่ที่สถานีรถไฟช่องแค  และเพื่อนร่วมงานที่หมวดศิลานี้ยังได้ขอพระไว้ส่วนหนึ่ง เป็นแบบพิมพ์รูปเหมือนที่ใต้ฐานไม่ได้ตอกโค๊ดใดๆ 

   3.แบบใต้ฐานตอกโค๊ดรูประฆัง  จำนวนประมาณ 400 องค์เศษ

ทางคณะผู้สร้าง ได้ให้ช่างฝีมือ ที่โรงงานมักกะสัน แกะตัวโค๊ดรูประฆัง ขึ้นใหม่ โดยรายละเอียดของโค๊ดรูประฆัง สวยงาม และชัดกว่าโค๊ดของทางวัด )

        หลังจากที่ใช้โค๊ดระฆังตอกแล้ว   เมื่อมีการสร้างครั้งต่อๆมาทางกลุ่มผู้สร้างเห็นว่า เป็นการไม่เหมาะสมในหลายๆ ด้าน และประกอบกับโค๊ดระฆัง ที่ใช้ตอกเริ่มชำรุด จึงได้เริ่มมีการใช้โค๊ดตัวเลขตอกแทนโค๊ดระฆังในครั้งต่อๆมา  พิมพ์รูปเหมือนนี้  มีการสร้างกันมาแบบต่อเนื่องโดยตลอด นับตั้งแต่ปี พ ศ.2513 ถึงปลายปี พ ศ.2516  คาดว่ามีจำนวนพระที่สร้างได้ รวมทั้งหมด ถึงประมาณ 10,000 องค์เศษ  การสร้างพระทุกครั้งจะสร้างก็ต่อเมื่อกลุ่ม  หรือคณะผู้ที่จะจัดสร้าง  เก็บรวบรวมเศษเนื้อช๊าฟรถไฟ ได้มากเพียงพอในแต่ละครั้งเท่านั้น

โพสต์เมื่อ ส. - 22 ม.ค. 2554 - 23:37.39
ความคิดเห็นที่ 27:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

แบบพิมพ์รูปเหมือนที่ตอกโค๊ดตัวเลข ที่เริ่มสร้างปี 2513นี้ สามารถแยกตามรายละเอียด ตามโค๊ดตัวเลขได้ 4 แบบ ดังนี้.

       1.แบบใต้ฐานตอกโค๊ดเลข ๙๙๙ ไทยตัวใหญ่  สร้างประมาณ 2.000 องค์     

      2.แบบใต้ฐานตอก โค๊ดเลข ๙0 ไทยตัวใหญ่  สร้างประมาณ 2,000 องค์

      3.แบบใต้ฐานตอกโค๊ดเลข ๙๙๙  ไทยตัวเล็ก  สร้างประมาณ 2,000 องค์

      4.แบบใต้ฐานตอก โค๊ดเลข  ๙0 ไทยตัวเล็ก  สร้างประมาณ 2,000 องค์

      แบบโค๊ดทั้ง 2 แบบ ตัวเลขไทยใหญ่สำหรับแจกพนักงานตั้งแต่ระดับชั้น ตรี ขึ้นไป  ส่วนตัวเลขไทยเล็ก สำหรับแจกพนักงานโดยทั่วไป

โพสต์เมื่อ ส. - 22 ม.ค. 2554 - 23:40.15
ความคิดเห็นที่ 28:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

1.แบบใต้ฐานตอกโค๊ดเลข ๙๙๙ ไทยตัวใหญ่  สร้างประมาณ 2.000 องค์

โพสต์เมื่อ ส. - 22 ม.ค. 2554 - 23:42.15
ความคิดเห็นที่ 29:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

2.แบบใต้ฐานตอก โค๊ดเลข ๙0 ไทยตัวใหญ่  สร้างประมาณ 2,000 องค์

โพสต์เมื่อ ส. - 22 ม.ค. 2554 - 23:43.37
ความคิดเห็นที่ 30:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

3.แบบใต้ฐานตอกโค๊ดเลข ๙๙๙  ไทยตัวเล็ก  สร้างประมาณ 2,000 องค์

โพสต์เมื่อ ส. - 22 ม.ค. 2554 - 23:44.54
ความคิดเห็นที่ 31:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

4.แบบใต้ฐานตอก โค๊ดเลข  ๙0 ไทยตัวเล็ก  สร้างประมาณ 2,000 องค์

โพสต์เมื่อ ส. - 22 ม.ค. 2554 - 23:45.57
ความคิดเห็นที่ 32:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

***…เนื้อพระในการสร้างครั้งต่อๆมาช่วงหลังจากที่ได้สร้างพระเนื้อช๊าฟครั้งแรกแล้ว จะเป็นเศษช๊าฟที่ได้จากการขูดผิวหน้ากาบเพลาช๊าฟให้เรียบ ทำให้เนื้อพระที่หล่อได้ในครั้งต่อๆมามีความสวยขึ้นกว่าเดิม สีผิวพระจะมีหลายวรรณะหลายสีเช่น ผิวขาวแวววาว เหมือนผิวปรอท ที่เกิดจากดีบุกที่ผสมอยู่ในเนื้อช๊าฟ ผิวปรอทเหลือบทองที่เกิดจากขั้นตอนในขณะที่หลอมเนื้อช๊าฟให้ละลาย แล้วไฟแรงเกินไปจะมีลักษณะเหมือนไฟไหม้สีผิว  พระที่ได้จึงมีสีออกเหลือบทองเนื้อพระชนิดเมื่อถูกจับต้อง โดนเหงื่อจากการนำไปใช้บูชาจะมีสีเหมือนสนิมแดงบนผิว เกิดจากสนิมของโลหะนิเกิลที่ผสมอยู่ในเนื้อช๊าฟ และแทรกอยู่ตามซอกขององค์พระ  หลังจากที่มีการสร้างพระชุดนี้ออกมาแล้ว ทางพนักงานการรถไฟและบุคคลทั่วไป มีความต้องการที่จะได้พระเนื้อช๊าฟไว้บูชาเป็นจำนวนมาก จึงมีการจัดหาวัสดุ ที่จะใช้สร้างพระคือเศษเนื้อช๊าฟรถไฟมามอบให้ทางคุณวินัยฯ.และคณะเพื่อรวบรวม และเพื่อขออนุญาต ลพ.พรหมสร้างพระขึ้นอีกหลายครั้ง เศษเนื้อช๊าฟที่ได้มามีที่มาจากหลายๆที่ด้วยกันดังนี้คือ เศษเนื้อช๊าฟจากพนักงานโรงงานรถไฟที่มักกะสัน เศษเนื้อช๊าฟจากพนักงานโรงงานที่อุตรดิตถ์   เศษเนื้อช๊าฟจากพนักงานโรงซ่อมรถพ่วงปากน้ำโพ เศษเนื้อช๊าฟจากพนักงานหน่วยซ่อมรถพ่วงที่สถานีแม่น้ำ  และเศษเนื้อช๊าฟจากพนักงานหน่วยซ่อมรถพ่วงที่ช่องแค อีกด้วย  ทางคุณวินัย และคณะ จึงขออนุญาต ลพ.พรหมสร้างพระขึ้นอีกหลายครั้ง  การสร้างเริ่มตั้งแต่ ปี 2513 เป็นต้นมา   การสร้างไม่มีการกำหนดเวลาที่แน่นอน   จะสร้างไปเรื่อยๆ แล้วแต่จะจัดหาวัสดุเศษเนื้อช๊าฟมาได้  และเท่าที่เวลาจะอำนวย   เพราะคุณวินัย และคณะผู้จัดสร้าง ล้วนแต่มีหน้าที่ประจำที่จะต้องปฏิบัติอยู่แล้วทุกคน  ทางคณะผู้จัดสร้าง  มีความตั้งใจที่จะสร้างพระให้ได้จำนวนถึง 20,000 องค์ สืบเนื่องจากพนักงานการรถไฟขณะนั้นมีจำนวนประมาณ 40000 คนเศษ แต่จำนวนพระที่สร้างได้จริง นับตั้งแต่เริ่มสร้างปี2513 เป็นต้นมา จนถึงประมาณปลายเดือน พฤศจิกายน ปี 2516  มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 10,000 องค์เศษ


โพสต์เมื่อ อา. - 23 ม.ค. 2554 - 00:03.23
ความคิดเห็นที่ 33:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

เศษช๊าฟที่ได้จากการขูดผิวหน้ากาบเพลาช๊าฟให้เรียบ

โพสต์เมื่อ อา. - 23 ม.ค. 2554 - 00:08.42
ความคิดเห็นที่ 34:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

วิธีการหล่อพระเป็นการหล่อแบบการเรียงแม่พิมพ์พระลงใน กระบะดินหล่อ  และเดินติดชนวนโยงถึงกัน และจะเทเนื้อพระที่ละชุดเหมือนหยอดขนมครก   



 

      ลักษณะผิวและเนื้อพระแบ่งออกได้เป็นสองแบบใหญ่ๆได้ดังนี้ คือ แบบที่เป็นเส้นเสี้ยนสั้นๆคล้ายฝอยขัดหม้อ และแบบเป็นเม็ดหรือเกล็ด แบบเกล็ดน้ำตาลทราย  ซึ่งผิวพระทั้งสองแบบนี้เกิดจากขั้นตอนในการหล่อพระนั่นเอง โดยสังเกตได้ คือ เนื้อพระที่เทหล่อ องค์ต้นๆส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาเป็นแบบเส้นเสี้ยนสั้นๆบ้างยาวบ้างคล้ายฝอยขัดหม้อ เส้นเสี้ยนจะมากหรือน้อยก็เกิดขึ้นจาก

โพสต์เมื่อ อา. - 23 ม.ค. 2554 - 00:13.57
ความคิดเห็นที่ 35:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

แบบที่เป็นเส้นเสี้ยนสั้นๆคล้ายฝอยขัดหม้อ

โพสต์เมื่อ อา. - 23 ม.ค. 2554 - 00:15.23
ความคิดเห็นที่ 36:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

แบบเป็นเม็ดหรือเกล็ด แบบเกล็ดน้ำตาลทราย

โพสต์เมื่อ อา. - 23 ม.ค. 2554 - 00:17.48
ความคิดเห็นที่ 37:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

ขั้นตอนดังกล่าว และพระที่เทหล่อ องค์หลังๆจะมีเนื้อหาเป็นแบบเป็นเม็ดหรือเกล็ด แบบเกล็ดน้ำตาลทราย สืบเนื่องมาจากว่าเนื้อช๊าฟเหลือน้อย และมีความร้อนมากจนเริ่มไหม้ ผิวพระส่วนใหญ่


 

จะมีผิวเงินแวววาว ปกคลุมอยู่บางๆและเมื่อถูกสัมผัสจับต้อง ผิวดังกล่าวจะกลับดำ

โพสต์เมื่อ อา. - 23 ม.ค. 2554 - 00:21.48
ความคิดเห็นที่ 38:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

             คุณวินัยฯ และทางคณะผู้สร้าง เห็นว่าในปี 2516 จะเป็นปี ที่ทางวัดช่องแค จะมีการปลุกเสกพระในพิธีเสาร์ 5 จึงได้มีการสร้างพระพิมพ์สมเด็จหลังยันต์สิบขึ้น  เมื่อสร้างพระไปได้ระยะหนึ่งแม่พิมพ์เกิดรอยแตกชำรุดขึ้นเรื่อยๆพระที่ได้โดยมากจะเป็น  พิมพ์บล๊อกแตก พระที่สมบูรณ์จริงๆ มีน้อย พระสมเด็จหลังยันต์สิบ มีจำนวนการสร้างประมาณ 1000 องค์ โค๊ดที่ใช้ตอก เพื่อมิให้สับสนกับพิมพ์อื่นจึงใช้ โค๊ดเลข ๑๕  อยู่ในวงกลมตอก บริเวณไหล่ขวาขององค์พระ (แม่พิมพ์แกะต่างหากไม่เหมือนของวัด)

โพสต์เมื่อ อา. - 23 ม.ค. 2554 - 00:30.59
ความคิดเห็นที่ 39:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

               ปี 2515 ทางพนักงานการรถไฟสายโรงซ่อมรถพ่วง  ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)  ได้มีการจัดหารวบรวมวัสดุเศษช๊าฟรถไฟ  ที่ได้จากการขูดผิวหน้ากาบเพลาช๊าฟให้เรียบ  มามอบให้กับทาง  คุณวินัยฯ.และคณะ สร้างพระเนื้อช๊าฟรถไฟขึ้นอีกครั้ง เจตนาเพื่อแจกจ่ายให้เพื่อนพนักงานที่อยู่ส่วนกลาง  โดยทำการตอกโค๊ดเลข ๑๕ ไทย  ไว้เป็นสัญลักษณ์ และได้มีการสร้างพระเพิ่มอีก 1 พิมพ์  โดยใช้แบบแม่พิมพ์เดียวพิมพ์หูกาง ที่ตอกโค๊ดเลข ๕ ไทยด้านหลัง  แต่ตอกโค๊ดเลข ๑๕ ในวงกลม ที่ใต้ฐานแทน     และโค๊ดเลข ๑๕ นี้ยังได้ใช้ตอกลงในพิมพ์ก้นระฆัง   และพิมพ์สมเด็จหลังยันต์สิบ  ในคราวเดียวกันนี้ด้วย พิมพ์ก้นระฆัง และพิมพ์หูกางตอกเลข ๑๕ ในวงกลม  สร้างพิมพ์ละประมาณ 500 องค์ พระที่ตอกโค๊ดเลข ๑๕ นี้   ทางผู้สร้าง และคณะเจตนามอบให้กับ พนักงานรถไฟ ในส่วนกลาง ในกรมรถไฟฯโดยเป็นการเฉพาะเท่านั้นนการ็็ (หัวลำโพง ,มักกะสัน, ยศเส, นพวงศ์ ฯลฯ)   ในปี พ ศ.2515 นี้ได้มีการสร้างพระโดยเน้นที่จะนำมาแจกในกลุ่มพนักงานการรถไฟฯในส่วนกลาง  มีการทำโค๊ดขึ้นมาเป็นการเฉพาะมีลักษณะเป็นเลข ๑๕ ไทยในวงกลมใช้ตอกพระพิมพ์ต่างๆ ดังนี้.

โพสต์เมื่อ อา. - 23 ม.ค. 2554 - 00:42.01
ความคิดเห็นที่ 40:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

พิมพ์รูปเหมือนก้นระฆังใต้ฐานตอกโค๊ด เลข ๑๕ ไทย ในวงกลม  สร้าง ปี พ ศ.2515 สร้างจำนวนประมาณ 500 องค์

โพสต์เมื่อ อา. - 23 ม.ค. 2554 - 00:43.30
ความคิดเห็นที่ 41:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

พิมพ์พระสมเด็จหลังยันต์สิบตอกโค๊ดเลข ๑๕ ไทยในวงกลมสร้างปี พ ศ.2515 สร้างจำนวนประมาณ 1,000 องค์แยกแบบพิมพ์ได้ 2 แบบดังนี้. 

     1. พิมพ์นิยม 

     2. พิมพ์บล็อกแตก

โพสต์เมื่อ อา. - 23 ม.ค. 2554 - 00:45.03
ความคิดเห็นที่ 42:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

1. พิมพ์นิยม

โพสต์เมื่อ อา. - 23 ม.ค. 2554 - 00:46.53
ความคิดเห็นที่ 43:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

2. พิมพ์บล็อกแตก

โพสต์เมื่อ อา. - 23 ม.ค. 2554 - 00:48.13
ความคิดเห็นที่ 44:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

1.พระสมเด็จหลังยันต์สิบตอกโค๊ดเลข ๑๕ พิมพ์นิยม

  พระสมเด็จหลังยันต์สิบ พิมพ์นิยมนี้เป็นพระที่ได้จากการหล่อพระในชุดแรกๆแม่พิมพ์พระยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์  พระที่เทหล่อออกมาได้  จึงมีลักษณะที่สวยงาม และสมบูรณ์มาก และมีจำนวนค่อนข้างน้อยกว่า พิมพ์บล็อกแตก 

        2.พระสมเด็จหลังยันต์สิบตอกโค๊ดเลข ๑๕ พิมพ์บล็อกแตก

 พระสมเด็จหลังยันต์สิบ พิมพ์บล็อกแตกนี้เป็นพระที่ได้จากการเทหล่อพระในชุดหลังต่อๆมา   สืบเนื่องจาก แม่พิมพ์พระเริ่มต่อยๆชำรุดอันสืบเนื่องมาจาก แม่พิมพ์ถูกความร้อนของเนื้อช๊าฟที่หลอมละลายด้วยอุณหภูมิสูง  จึงทำให้พระพิมพ์ที่ได้มีเนื้อเกินเนื้อล้นตามส่านต่างๆบนองค์พระ

  

โพสต์เมื่อ อา. - 23 ม.ค. 2554 - 00:55.43
ความคิดเห็นที่ 45:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

แบบพิมพ์หูกางใต้ฐานตอกเลข ๑๕ ไทยในวงกลม สร้างปี พ ศ.2515 สร้างจำนวนประมาณ 500 องค์

โพสต์เมื่อ อา. - 23 ม.ค. 2554 - 00:57.27
ความคิดเห็นที่ 46:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

               ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น พระที่สร้างจะทำการสร้างไปเรื่อยๆเมื่อคุณ วินัย ทำขบวนมาลงพักค้างคืนที่สถานีรถไฟช่องแค ก็จะนำพระที่หล่อเสร็จแล้วมามอบให้หลวงพ่อพรหมอธิฐานจิต หลวงพ่อพรหมจะอธิฐานจิตให้ตลอดคืน  จนตอนเช้าเมื่อจะทำขบวนรถไฟกลับ คุณ วินัย ก็จะมารับพระที่หลวงพ่ออธิฐานจิตให้กลับคืนไป และก็ได้นำพระมาแจกให้กับเพื่อนพนักงานต่อๆกันไป  ดังนั้นพระชุดนี้บุคคลภายนอกจึงไม่ค่อยทราบประวัติ หรืออีกนัยหนี่งที่ทำเช่นนี้ก็เป็นเพราะ  ต้องการหลีกเลี่ยงการมีปัญหากับทางคณะกรรมการวัด พระที่สร้าง เมื่อสร้างมาจนถึงประมาณเดือนพฤศจิกายนปี 2516 จึงหยุดสร้าง และมีพระที่เหลืออยู่กับคุณวินัย ที่ยังไม่ได้แจก ให้กับเพื่อนพนักงาน  จำนวนมากพอสมควร  คุณวินัยและคณะได้นำมาเข้าพิธี ปลุกเสกครั้งสุดท้าย.เนื่องในโอกาส ฉลองครบรอบอายุ 90 ปี ของ ลพ.พรหมในปีพศ.2517 โดยคุณวินัย และคณะได้นำพระจำนวนดังกล่าวมาเข้าร่วมในพิธีโดยการใส่มาในปี๊บน้ำมันก๊าด   จากที่ได้ทราบมาพระที่คุณ วินัย และคณะฯ ได้สร้างมานี้ตั้งแต่ที่ได้เริ่มสร้าง ปี 2513 ปี 2516 เมื่อทางวัดมีพีธี ปลุกเสกหากคุณวินัยฯ. มีพระเหลืออยู่ คุณ วินัยและคณะ จะนำเข้าร่วมพิธีปลุกเสกกับทางวัดทุกครั้ง

 

                                        ..............................************..................................

โพสต์เมื่อ อา. - 23 ม.ค. 2554 - 01:16.57
ความคิดเห็นที่ 47:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

....ช๊าฟ..คือ อะไร ???

....ชาร์ป คือ ชิ้นส่วนประกอบส่วนหนึ่งที่ใช้ใน รถจักรไอน้ำ และ รถพ่วง ในรถยุคแรกๆ ของรถไฟ  ทำหน้าที่เดียวกับ ..บูทลูกปืนล้อรถ ในปัจจุบันนี่แหละครับ (ในสมัยรถจักรไอน้ำ ยังไม่มี บูทลูกปืน ครับ) ..และปัจจุบันเลิกใช้ ช๊าฟมานานแล้วนะครับ โดยการเปลี่ยนมาใช้ บูทลูกปืน แทนครับ.. 

...เนื้อช๊าฟรถไฟ..ทำปลอมไม่ได้นะครับ..เพราะการรถไฟเลิกใช้ช๊าฟรถไฟ..มานานแล้วครับ..และเนื้อช๊าฟรถไฟก็ไม่มีขายตาม ท้องตลาดทั่วไป ..เหมือน เนื้อเงิน เนื้อตะกั่ว เนื้อทองเหลือง ทองแดง นะครับ..

โพสต์เมื่อ อา. - 23 ม.ค. 2554 - 13:04.22
ความคิดเห็นที่ 48:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
บอยบางบอน
ตั้ง: 16 ตอบ: 42
คะแนน: 3
รายละเอียด

ยอดเยี่ยมครับ ข้อมูลแน่น ผมได้จากพี่ไก่ มาหลายองค์แล้ว แต่ยังไม่มีพิมพ์สมเด็จเลยครับ มีแบ่งราคาเบามั่งมั๊ยครับ 555

โพสต์เมื่อ อ. - 15 ก.พ. 2554 - 19:25.27
ความคิดเห็นที่ 49:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kavin007
ตั้ง: 13 ตอบ: 61
คะแนน: 1
ร้านค้า:
รายละเอียด

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับพี่  Laughing

โพสต์เมื่อ ส. - 19 ก.พ. 2554 - 11:23.17
ความคิดเห็นที่ 50:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
bigmontree44
ตั้ง: 26 ตอบ: 84
คะแนน: 4
ร้านค้า:
รายละเอียด

ผมเก็บสะสมไว้มีอยู่3องค์ แต่ไม่ทราบว่าแท้ไหม ช่วยดูให้ด้วยครับ ถ้าแท้ผมจะเอาไว้บูชาขึ้นคอครับ

โพสต์เมื่อ จ. - 16 ก.ย. 2556 - 11:04.30
ความคิดเห็นที่ 51:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
bigmontree44
ตั้ง: 26 ตอบ: 84
คะแนน: 4
ร้านค้า:
รายละเอียด

เพิ่มเติมฐานครับ

โพสต์เมื่อ จ. - 16 ก.ย. 2556 - 11:05.35
ความคิดเห็นที่ 52:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
bigmontree44
ตั้ง: 26 ตอบ: 84
คะแนน: 4
ร้านค้า:
รายละเอียด

พระสมเด็จหลังยันต์สิบ2องค์ครับ

โพสต์เมื่อ จ. - 16 ก.ย. 2556 - 11:07.09
ความคิดเห็นที่ 53:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
bigmontree44
ตั้ง: 26 ตอบ: 84
คะแนน: 4
ร้านค้า:
รายละเอียด

องค์ที่2

โพสต์เมื่อ จ. - 16 ก.ย. 2556 - 11:08.18
ความคิดเห็นที่ 54:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
bigmontree44
ตั้ง: 26 ตอบ: 84
คะแนน: 4
ร้านค้า:
รายละเอียด

ภาพถ่ายไม่ชัดเท่าไหร่แสงมากเกินไปสีผิวเลยผิดไปหน่อยครับ

โพสต์เมื่อ จ. - 16 ก.ย. 2556 - 11:09.40
ความคิดเห็นที่ 55:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
bigmontree44
ตั้ง: 26 ตอบ: 84
คะแนน: 4
ร้านค้า:
รายละเอียด

ภาพถ่ายไม่ชัดเท่าไหร่แสงมากเกินไปสีผิวเลยผิดไปหน่อยครับ

โพสต์เมื่อ จ. - 16 ก.ย. 2556 - 11:09.40
ความคิดเห็นที่ 56:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

**..พระเนื้อชาร์ปรถไฟ กับมาตรฐานสากล ที่ดีๆ ของวงการพระเครื่องไทย..**

โพสต์เมื่อ ศ. - 02 ก.ค. 2564 - 02:31.59
ความคิดเห็นที่ 57:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

**..พระเนื้อชาร์ปรถไฟ กับมาตรฐานสากล ที่ดีๆ ของวงการพระเครื่องไทย..**

โพสต์เมื่อ ศ. - 02 ก.ค. 2564 - 02:33.18
ความคิดเห็นที่ 58:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
kaigreenline
ตั้ง: 3 ตอบ: 54
คะแนน: 5
รายละเอียด

**..พระเนื้อชาร์ปรถไฟ กับมาตรฐานสากล ที่ดีๆ ของวงการพระเครื่องไทย..**

โพสต์เมื่อ ศ. - 02 ก.ค. 2564 - 02:39.15
Top