เหรียญที่ระลึกราษฎรได้รับรัฐธรรมนูญ ๒๗ มี.ค. ๒๔๗๕ (เนื้อเงิน) หายาก...-จามเทวี53 - webpra
VIP
รับผิดชอบ-ซื่อสัตย์-จริงใจ"085-9891660" *รับประกันพระแท้ทุกองค์-เก๊คืนเต็ม* (ID Line....paopongs.r)

หมวด วัตถุมงคลของแผ่นดิน เชื้อพระวงศ์ บุคคลสำคัญ เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ธนบัตร

เหรียญที่ระลึกราษฎรได้รับรัฐธรรมนูญ ๒๗ มี.ค. ๒๔๗๕ (เนื้อเงิน) หายาก...

เหรียญที่ระลึกราษฎรได้รับรัฐธรรมนูญ ๒๗ มี.ค. ๒๔๗๕ (เนื้อเงิน) หายาก... - 1เหรียญที่ระลึกราษฎรได้รับรัฐธรรมนูญ ๒๗ มี.ค. ๒๔๗๕ (เนื้อเงิน) หายาก... - 2เหรียญที่ระลึกราษฎรได้รับรัฐธรรมนูญ ๒๗ มี.ค. ๒๔๗๕ (เนื้อเงิน) หายาก... - 3
ชื่อร้านค้า จามเทวี53 - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญที่ระลึกราษฎรได้รับรัฐธรรมนูญ ๒๗ มี.ค. ๒๔๗๕ (เนื้อเงิน) หายาก...
อายุพระเครื่อง 87 ปี
หมวดพระ วัตถุมงคลของแผ่นดิน เชื้อพระวงศ์ บุคคลสำคัญ เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ธนบัตร
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 085-9891660 (ID Line....paopongs.r)
อีเมล์ติดต่อ paopongs.r@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 22 มิ.ย. 2553 - 05:44.56
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ศ. - 22 ก.ย. 2566 - 12:44.02
รายละเอียด
เหรียญที่ระลึกราษฎรได้รับรัฐธรรมนูญ ๒๗ มี.ค. ๒๔๗๕ (เนื้อเงิน) หายาก...

-ปลุกเสกโดย.."หลวงพ่ออี๋." หรือ พระครูวรเวทมุนี (อี๋ พุทธสโร) ผู้ถูกขนานนามว่า "เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำทะเลตะวันออก" หลวงพ่ออี๋.ท่านเป็นอาจารย์ของพระเกจิอาจารย์ไทยชื่อดังมากมาย อาทิเช่น หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ เป็นต้น

"หลวงพ่ออี๋" ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๘ ตรงกับปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔ ), และมรณภาพเมื่อวันที่ ๒๐ ก.ย. ๒๔๘๙ สิริอายุได้ ๘๑ ปี ๖๑ พรรษา

เหรียญที่ระลึกรูปหยดน้ำ ที่ระลึกพระราชทานรัฐธรรมนูญ ด้านหน้ารูปสมเด็จพระปกเกล้าฯ รัชกาลที่ 7 ประทับบัลลังก์เต็มองค์ พระราชทานรัฐธรรมนูญ มีข้อความ "ที่ระลึกราษฎรได้รับรัฐธรรมนูญ ๒๗.๓.๗๕" ด้านหลังรูปอุณาโลมบนสมอเรือและคันไถ มีรวงข้าวล้อมรอบ เนื้อเงิน สภาพสวย

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกประทับพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์
ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ณ พระที่นั่ง อนันตสมาคม ซึ่งโปรดเกล้าให้จัดเป็นที่ประชุมรัฐสภา
ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พระราชทานเป็นกฎหมายสูงสุดเพื่อเป็นหลักในการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

ความหมาย

รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ

วันรัฐธรรมนูญ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

ความเป็นมา

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

๑. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

๒. หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ

๓. อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

๔. รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร

จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ
๑. พระมหากษัตริย์

๒. สภาผู้แทนราษฎร

๓. คณะกรรมการราษฎร

๔. ศาล

ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

กระทั่งถึง วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๔๗๕ ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ้

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ

ข้อมูลจาก : หนังสือ "วันสำคัญโครงการปีรณรงค์วัฒนธรรมไทยและแนวทางในการจัดกิจกรรม"
โดย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๓๗

33333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333333
- เมื่อก่อตั้งสมาคมคณะราษฎรสาขาจังหวัดชลบุรี
ได้มีการจัดสร้างเหรียญที่ระลึกเนื่องในงานเปิดสมาคมคณะราษฎรจังหวัดชลบุรีขึ้นมา โดยเรือเอกหลวงสังวรยุทธกิจ (สังวรณ์ สุวรรณชีพ) เลขาสมาคมคณะราษฎร เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง
เป็นเหรียญปั๊มทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปสมอเรือ ที่แสดงถึง ‘ทหารเรือ’ ตรงกลางสมอมีรูปคันไถ ที่หมายถึง ‘ประชาชนพลเมืองที่เป็นเกษตรกรของประเทศ’ ใต้รูปสมอเป็นรูปหนังสือ ที่หมายถึง ‘ความเจริญรุ่งเรืองด้านวิทยาการของพลเมือง’ และรูปช่อรวงข้าว ที่หมายถึง ‘ความอุดมสมบูรณ์ ด้านบนสมอเรือมีรูปพุ่มข้าวบิณฑ์บรรจุอุณาโลม ที่หมายถึง ‘ความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา’ ขอบข้างเหรียญแกะลวดลายกระหนกครีบสิงห์
ด้านหลัง มีอักษรระบุว่า ‘ที่ระลึกในงานเปิดสาขาสมาคมคณะราษฎรจังหวัดชลบุรี ๑๑/๑๑/๗๕’
หลังการจัดสร้างเหรียญเรียบร้อยแล้ว เรือเอกหลวงสังวรยุทธกิจ (สังวรณ์ สุวรรณชีพ) ได้นำเหรียญทั้งหมดมาให้พระครูวรเวทย์มุนี (อี๋ พุทฺธสโร) ทำการปลุกเสกให้



คลิ๊กที่รูปบ้าน-(ดูหน้าร้าน)
หรือตามลิ้งค์ http://www.web-pra.com/Shop/jamadevi53
เผื่อเจอพระที่ท่านถูกใจ..085-9891660

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top