เหรียญที่ระลึก 95 ปี ศ.ดร. ปรีดี พนมยงค์ ปี 2538-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ
เหรียญที่ระลึก 95 ปี ศ.ดร. ปรีดี พนมยงค์  ปี 2538 - 1เหรียญที่ระลึก 95 ปี ศ.ดร. ปรีดี พนมยงค์  ปี 2538 - 2เหรียญที่ระลึก 95 ปี ศ.ดร. ปรีดี พนมยงค์  ปี 2538 - 3เหรียญที่ระลึก 95 ปี ศ.ดร. ปรีดี พนมยงค์  ปี 2538 - 4เหรียญที่ระลึก 95 ปี ศ.ดร. ปรีดี พนมยงค์  ปี 2538 - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญที่ระลึก 95 ปี ศ.ดร. ปรีดี พนมยงค์ ปี 2538
อายุพระเครื่อง 28 ปี
หมวดพระ วัตถุมงคลของแผ่นดิน เชื้อพระวงศ์ บุคคลสำคัญ เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ธนบัตร
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ศ. - 22 ธ.ค. 2560 - 20:53.43
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อ. - 19 มิ.ย. 2561 - 10:43.08
รายละเอียด
เหรียญที่ระลึก 95 ปี ศ.ดร. ปรีดี พนมยงค์ ปี 2538


ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ (พ.ศ. 2443-2526) ผู้ก่อตั้ง “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” (27 มิถุนายน 2477) และเป็น “ผู้ประศาสน์การ” คนแรกและคนเดียวของมหาวิทยาลัย (ในระหว่างปี 2477-2495)




เหรียญบล็อกษาปณ์ ครับ สวยเดิม

ในยูเหรียญละ 500 บาท

ของผม สวยเดิม ซองเดิม

เหรียญละ 350 บาท มี5 เหรียญครับ

http://uauction4.uamulet.com/AuctionDetail.aspx?bid=74&qid=267942


ปรีดี พนมยงค์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปรีดี พนมยงค์
รัฐบุรุษอาวุโส, น.ร., ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม.

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ดำรงตำแหน่ง
16 ธันวาคม พ.ศ. 2484 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488
(3 ปี 355 วัน)
กษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ก่อนหน้า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน)
ถัดไป สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 7
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2489 – 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489
(0 ปี 152 วัน)
กษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ก่อนหน้า ควง อภัยวงศ์
ถัดไป ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2489 – 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489
(0 ปี 152 วัน)
นายกรัฐมนตรี ปรีดี พนมยงค์
ก่อนหน้า พระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล)
ถัดไป วิจิตร ลุลิตานนท์
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2484
(2 ปี 362 วัน)
นายกรัฐมนตรี แปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้า พระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ)
ถัดไป เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
12 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2481
(2 ปี 162 วัน)
นายกรัฐมนตรี แปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้า พระยาศรีเสนา (ศรีเสนา สมบัติศิริ)
ถัดไป เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณ สงขลา)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
29 มีนาคม พ.ศ. 2477 – 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478
(0 ปี 320 วัน)
นายกรัฐมนตรี พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
ก่อนหน้า พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
ถัดไป ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
11 เมษายน พ.ศ. 2477 – 18 มีนาคม พ.ศ. 2495
(17 ปี 341 วัน)
ถัดไป ศ. ดร.เดือน บุนนาค (รักษาการ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 11 เมษายน พ.ศ. 2476
(0 ปี 288 วัน)
ถัดไป หลวงคหกรรมบดี (ชม จารุรัตน์)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443
ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
เสียชีวิต 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 (82 ปี)
กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
พรรคการเมือง คณะราษฎร, พรรคสหชีพ
คู่สมรส ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์
บุตร
ลลิตา พนมยงค์
ปาล พนมยงค์
สุดา พนมยงค์
ศุขปรีดา พนมยงค์
ดุษฎี พนมยงค์
วาณี พนมยงค์
ที่อยู่
ในประเทศไทย
ทำเนียบท่าช้าง วังหน้า, ราชอาณาจักรไทย
ในประเทศฝรั่งเศส
บ้านอองโตนี, สาธารณรัฐฝรั่งเศส
ศาสนา พุทธ
ลายมือชื่อ
การเข้าเป็นทหาร
สังกัด Free Thai insignia.svg ขบวนการเสรีไทย
ปีปฏิบัติงาน พ.ศ. 2484–พ.ศ. 2488
การยุทธ์ สงครามแปซิฟิก
ศาสตราจารย์[1] ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือ อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) เป็นผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และเป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย[2] เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 3 สมัย[3] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ อีกหลายสมัย เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ประศาสน์การเพียงคนเดียวของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง[4] และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (ปัจจุบัน คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย)[5]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปรีดีเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นผู้แพ้สงคราม[6][7][8] นอกจากนี้เขายังได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในรัชกาลที่ 8[9] และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะ "รัฐบุรุษอาวุโส"[10]

ปรีดีต้องยุติบทบาททางการเมืองหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล โดยถูกกล่าวหาจากพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว[11] ต่อมาเกิดการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เป็นเหตุให้เขาต้องลี้ภัยการเมืองไปยังประเทศจีนและฝรั่งเศสรวมระยะเวลากว่า 30 ปี และไม่ได้กลับสู่ประเทศไทยอีกเลยจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม[12] เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526[13][14][15]

ระหว่างที่ลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ ปรีดีได้ฟ้องร้องผู้ใส่ความหมิ่นประมาทต่อศาลยุติธรรม ผลปรากฏว่าศาลตัดสินให้ชนะทุกคดี และยังได้รับความรับรองจากทางราชการตลอดจนเงินบำนาญและหนังสือเดินทางของไทย[16][17]

ใน พ.ศ. 2542 ที่ประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 30 ขององค์การยูเนสโก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้มีมติประกาศให้ปรีดี พนมยงค์ เป็น "บุคคลสำคัญของโลก" และได้ร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาลของเขา ระหว่าง พ.ศ. 2543–พ.ศ. 2544[18] นอกจากนี้นิตยสารเอเชียวีกยังได้เสนอชื่อของเขาเข้าชิงตำแหน่ง "Asian Of The Century" อีกด้วย[19]


พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top