เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณ) วัดเบญจมบพิตรฯ กรุงเทพฯ ปี 2504-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณ) วัดเบญจมบพิตรฯ กรุงเทพฯ ปี 2504

เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณ) วัดเบญจมบพิตรฯ กรุงเทพฯ ปี 2504 - 1เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณ) วัดเบญจมบพิตรฯ กรุงเทพฯ ปี 2504 - 2เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณ) วัดเบญจมบพิตรฯ กรุงเทพฯ ปี 2504 - 3เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณ) วัดเบญจมบพิตรฯ กรุงเทพฯ ปี 2504 - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณ) วัดเบญจมบพิตรฯ กรุงเทพฯ ปี 2504
อายุพระเครื่อง 63 ปี
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พฤ. - 09 ก.ค. 2563 - 21:16.16
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อ. - 29 ธ.ค. 2563 - 08:33.02
รายละเอียด
เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณ) วัดเบญจมบพิตรฯ กรุงเทพฯ ปี 2504

เหรียญ สวย ผิวเดิม ๆ

เหรียญสมเด็จพระสังฆราช พ.ศ. 2504 ลักษณะเหรียญคล้ายใบเสมา ขอบหยัก กว้าง 2.2 ซ.ม. ด้านหน้ามีพระรูปของสมเด็จฯ ท่านอยู่ตรงกลาง เหนือพระเศียรเป็นจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) เปล่งรัศมี ใต้จุลมงกุฎเป็นเลข 5 ลายกนก ใต้เลข 5 จารึกอักษรขอมหัวใจอริยสัจ 4 คือ ทุ สะ นิ มะ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ด้านล่างใต้พระรูปมีข้อความว่า “สมเด็จพระสังฆราช” ด้านหลังตรงกลางเหรียญเป็นตราประจำพระองค์คือ อักษรย่อ อ.ป.ก. ใต้ฉัตร 3 ชั้น ด้านบนซ้าย-ขวาฉัตรมีข้อความ “27 พ.ค. 2504” ใต้ตรามีข้อความ “งานฉลองพระชนมายุครบ 72 ปีบริบูรณ์” เหรียญนี้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) วัดสามพระยา เมื่อดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมคุณาภรณ์ เป็นผู้อำนวยการสร้าง ณ วัดสามพระยา กรุงเทพฯ เหรียญสภาพสวย กะไหล่ทอง หายากครับ

**ประวัติของเหรียญสมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณ)**
สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณ) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 14 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2503 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 2 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2505พระชนมายุได้ 73 พรรษา

พระองค์มีพระนามเดิมว่า ปลด เกตุทัต ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2432 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรขุนพิษณุโลกประชานาถ (ล้ำ เกตุทัต) เจ้ากรมคนแรกของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ แต่ได้กราบถวายบังคมลาก่อนที่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ จะทรงกรมเป็นกรมหลวง

ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. 2444 ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ทรงเริ่มเรียนภาษาบาลีตั้งแต่พระชนมายุ 8 ปี เรียนมูลกัจจายน์ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้ประโยค 1 ได้รับโปรดเกล้า ฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ให้อยู่ที่วัดเบญจมบพิตร ฯ ต่อมาได้เข้าแปลประโยค 2 และประโยค 3 ได้ ทรงสอบได้ประโยค 4 เมื่อพระชนมายุได้ 13 ปี ประโยค 5 ถึงประโยค 7 เมื่อพระชนมายุได้ 14, 15, 16 ปี ตามลำดับ ทรงสอบประโยค 8 ได้เมื่อพระชนมายุได้ 19 ปี และประโยค 9 เมื่อพระชนมายุได้ 20 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2451 ทรงอุปสมบทเป็นนาคหลวงสายเปรียญธรรม ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อปี พ.ศ. 2452 ได้ฉายาว่า "กิตฺติโสภโณ"

- พ.ศ. 2457 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระศรีวิสุทธิวงศ์
- พ.ศ. 2466 เป็นราชาคณะชั้นราชที่ พระราชเวที
- พ.ศ. 2468 เป็นเจ้าคณะแขวงกลาง จังหวัดพระนคร
- พ.ศ. 2469 เป็นราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพมุนี
- พ.ศ. 2471 เป็นเจ้าคณะมณฑลพายัพ
- พ.ศ. 2472 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมโกศาจารย์
- พ.ศ. 2473 เป็นกรรมการเถรสมาคม
- พ.ศ. 2481 เป็นเจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก และเป็นประธานคณะบัญชาการคณะสงฆ์ แทนองค์สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
- พ.ศ. 2482 เป็นพระราชาคณะ ตำแหน่งเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏที่ พระพรหมมุนี
- พ.ศ. 2490 เป็นสมเด็จพระราชา คณะตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ ชั้นสุพรรณบัฎที่ สมเด็จพระวันรัต
- พ.ศ. 2494 เป็นสังฆนายก
- พ.ศ. 2501 เป็นผู้บัญชาการคณะสงฆ์ แทนสมเด็จพระสังฆราชเจ้า และรักษาการในตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราช

พระองค์ทรงกระทำกิจทางพระศาสนามาโดยตลอด ด้วยประการต่าง ๆ เป็นอันมาก ตลอดพระชนมชีพ พอประมวลสรุปได้ดังนี้
1. ด้านการปกครอง เริ่มตั้งแต่เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส เจ้าคณะแขวง เจ้าคณะมณฑล กรรมการเถรสมาคม ประธานคณะบัญชาการคณะสงฆ์ แทนองค์สมเด็จพระสังฆราช สังฆนายก และรักษาการในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช

2. ด้านการศึกษา เริ่มตั้งแต่การศึกษาในสำนักวัดเบญจมบพิตร ฯ การศึกษาในมณฑลพายัพ ทั้ง 7 จังหวัด และแขวงกลางจังหวัดพระนคร เป็นกรรมการสอบพระปริยัติธรรมในสนามหลวง เป็นแม่กองบาลีสนามหลวง เป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การศึกษา

3. ด้านการเผยแผ่ มีหนังสือธรรมที่ทรงนิพนธ์ พิมพ์ออกเผยแผ่ เป็นอันมาก เช่น มงคลภาษิต ปราภวภาษิต ศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมทั้งงานพระธรรมเทศนา ในโอกาสต่าง ๆ ที่ได้รับการยอย่องว่า มีสำนวนโวหารง่าย ๆ เป็นที่เข้าใจทราบซึ้ง

4. ด้านการต่างประเทศ ได้เสด็จไปต่างประเทศเพื่อการพระศาสนาหลายครั้ง คือ
- พ.ศ. 2482 ไปตรวจการณ์คณะสงฆ์ ไทรบุรี และปีนัง แทนสมเด็จพระสังฆราช
- พ.ศ. 2498 เป็นหัวหน้าคณะไปร่วมงานฉัฎฐสังคายนาจตุตถสันนิบาต (สมัยไทย) โดยเป็นประธาน กระทำพิธีเปิดประชุมสังคายนา ณ สหภาพพม่า
- พ.ศ. 2499 เป็นหัวหน้าคณะไปร่วมพิธีฉลอง พุทธชยันตี 25 ศตวรรษแห่งพระพุทธศาสนา ณ ประเทศลังกา และไปสังเกตการพระศาสนาในประเทศอินเดีย
- พ.ศ. 2501 เป็นหัวหน้าคณะไปเป็นประธานประกอบพิธีบรรจุพระบรมธาตุ ณ วัดบุปผาราม เมืองปีนัง สหพันธรัฐมาลายา
- พ.ศ. 2502 เป็นหัวหน้าคณะไปร่วมพิธีฉลองพระพุทธชยันตี 25 ศตวรรษแห่งพระพุทธศาสนา ณ ประเทศญี่ปุ่นและในปีเดียวกันนี้ ได้นำพระสงฆ์ไทยไปอยู่ ณ วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย และได้เสด็จไปมนัสการสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง ที่อินเดีย
- พ.ศ. 2504 เสด็จไปสังเกตการพระศาสนา ในสหรัฐอเมริกา ตามคำทูลอาราชธนาของมูลนิธิเอเซีย

5. งานด้านวิชาการและงานพิเศษ มีงานสำคัญคือ
- ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้รับมอบให้เป็นผู้ชำระคัมภีร์อรรถกถาพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย 4 คัมภีร์ คือ อรรถกถาอุทาน อิติวุตตก มหานิเทศ และจุลนิเทศ
- ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ได้รับมอบให้เป็นผู้ชำระคัมภีร์พระสุตตันคปิฎก ขุททกนิกาย 3 คัมภีร์ คือ มหานิเทศ จุลนิเทศ และชาดก และได้ชำระคัมภีร์ สารัตถทีปนี ฎีกาพระวินัย
- ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เป็น ประธานกรรมาธิการแปล พระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย จนจบพิมพ์เป็นเล่มได้จำนวน 80 เล่ม เมื่อปี พ.ศ. 2500
- เมื่อปี พ.ศ. 2500 ได้เป็นประธานสงฆ์ในงานรัฐพิธีฉลอง 25 พุทธศตวรรษของไทย

*ข้อมูลจากจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี*

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top