ชุดพระผง หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาละวัน-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน หลังปี 2525

ชุดพระผง หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาละวัน

ชุดพระผง หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาละวัน - 1ชุดพระผง หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาละวัน - 2ชุดพระผง หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาละวัน - 3ชุดพระผง หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาละวัน - 4ชุดพระผง หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาละวัน - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง ชุดพระผง หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาละวัน
อายุพระเครื่อง 38 ปี
หมวดพระ พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน หลังปี 2525
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 17 พ.ค. 2566 - 21:07.52
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อา. - 18 มิ.ย. 2566 - 20:38.17
รายละเอียด
ชุดพระผง หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาละวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา 3 องค์ ใน 1 กล่อง จัดสร้างเมื่อปี 2529 พระชุดนี้จัดสร้างเมื่อครั้งท่านยังดำรงค์สมณศักดิ์เป็น "พระภาวนาพิศาลเถระ" ประกอบด้วย
1) พระสมเด็จเนื้อผง ซึ่งเต็มไปด้วยเนื้อมวลสาร, ผงว่านต่างๆและเนื้อพระผงรุ่นเก่ามารวมกัน พระองค์นี้มีผสมเกศาหลวงพ่อพุธและฝังเม็ดพระธาตุถึง 3 องค์ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด
2) พระปิดตาเนื้อผงว่านเกสรดอกไม้ผสมผงพุทธคุณ
3) พระปิดตามหาอุตม์เนื้อผงว่านเกสรดอกไม้ผสมผงพุทธคุณ

พระรุ่นนี้หลวงพ่อพุธ ได้มีเมตตาอธิษฐานจิตปลุกเสกให้เป็นพิเศษตลอดไตรมาส (ปี2529) ค่อนข้างจะพบเห็นพระรุ่นนี้ไม่บ่อยนัก พระชุดนี้กดพิมพ์ออกมาได้สวยสมบูรณ์ชัดเจน ไม่มีรอยร้าวหรือแตกหัก ไม่เคยผ่านการใช้มาก่อนสภาพยังเดิมๆ (เก่าเก็บตั้งแต่ได้มา) มาพร้อมกล่องเดิมๆจากวัด

พระโพธิสัตว์
14 นาที ·
พระราชสังวรญาณ
(หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) ...
.
วัดป่าสาลวัน
อ.เมือง จ.นครราชสีมา
.
.
“พระอริยสงฆ์ผู้ชำนาญทั้งปริยัติ​ปฏิบัติ​ และปฏิเวธ” (๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๕ - ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๔๒) ศิษย์องค์สุดท้ายของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ท่านกำพร้าพ่อแม่ตั้งแต่ ๔ ขวบ เมื่ออายุ ๑๑ ขวบ ท่านเคยกราบท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ในวัยเด็กเมื่อป่วยไข้ไม่สบาย จิตจะเกิดแสงสว่าง นิมิตเห็นก้อนศิลากลิ้งมาจากทิศทั้ง ๔ บดขยี้ร่างกาย เป็นมรณสติกระตุ้นเตือนปัญญาและจิตวิญญาณอยู่เสมอ ท่านจึงมีมโนปณิธานตั้งแต่วัยเด็กว่า “ จะบวชตลอดชีวิต ” ท่านเป็นผู้มีปฏิปทางดงาม หนักแน่นในความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ มีปัญญาดี สามารถท่องพระปาฏิโมกข์ได้ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร ท่านเป็นผู้ชำนาญทั้งปริยัติและปฏิบัติ เป็นที่ยอมรับทั้งฝ่ายคามวาสีและอรัญญวาสี เทศนาธรรมของท่านประกอบไปด้วยโวหารที่ฟังเข้าใจง่ายเป็นที่ซาบซึ้งถึงใจแก่ผู้ที่ได้ฟัง ท่านได้รับการยกย่องจากหลวงปู่อ่อน ญาณสิริว่า ...
“ เป็นผู้สามารถเทศน์เรียงลำดับสมาธิได้ละเอียดลออดี ”
.
พระอาจารย์เจี๊ยะ จุนฺโท ออกปากชมท่านว่า ...
“ ท่านเจ้าคุณพุธมีความอ่อนน้อมถ่อมตัวมาก เขียนหนังสือด้านการปฏิบัติได้ดี ถูกต้องทุกขั้นตอน เก่งกว่าพระที่มียศตำแหน่งเป็นสมเด็จเสียอีก เราชอบอ่านหนังสือที่ท่านเจ้าคุณพุธเขียน ”
ท่านเป็นพระเถระที่อ่อนน้อมถ่อมตนอยู่เสมอในโอกาสอันควรท่านมักเที่ยวไปคารวะและสนทนาธรรมกับพระมหาเถระผู้ทรงธรรมเป็นปราชญ์ทางศาสนา เช่น ท่านพ่อลี ธมฺมธโร หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ หลวงปู่เทสก์ เทสฺรงฺสี หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท เป็นต้น ท่านเคยดำรงตำแหน่งทางคณะสงฆ์หลายตำแหน่ง เช่น เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น ท่านเป็นผู้มิเคยหยุดบำเพ็ญประโยชน์ต่อชาติ พระศาสนาและสังคมท่านมีสหธรรมิกคือพระอาจารย์วัน อุตฺตโม พระอาจารย์มานิตย์ สุรปญฺโญ ท่านรับเป็นองค์บรรยายธรรมและอบรมสมาธิภาวนาให้แก่ศาสนิกชนอย่างสม่ำเสมอ นับเป็นผู้สร้างคุณประโยชน์แก่พระศาสนาและประชาชนอย่างยิ่ง เป็นผู้ยินดีเอาใจใส่ในการอบรมสั่งสอนธรรมแก่พระภิกษุ สามเณร ตลอดถึงสาธุชนผู้มาถึงสำนักด้วยความเมตตา เป็นผู้ชี้นำในธรรมปฏิบัติ ทั้งเป็นผู้ปฏิบัติสำรวมตนในพระธรรมวินัยซึ่งเป็นแบบอย่างอันดีแก่ศิษย์มาโดยตลอด
หลวงพ่อพุธท่านเล่าประวัติว่า ...
“ ท่านเป็นเด็กกำพร้าพ่อแม่ตั้งแต่อายุ ๔ ขวบ ท่านเคยทำกรรมพรากชีวิตสัตว์ไว้ จึงต้องเป็นกำพร้าตั้งแต่เด็ก ”
พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) มีนามเดิมว่า พุธ อินทรหา เป็นบุตรคนเดียวของ บิดา-มารดา เกิดที่หมู่บ้านชนบท ตำบลหนองหญ้าเซ้ง อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี เมื่อเดือน ๓ ปีระกา ตรงกับวันพุธที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๕
บิดา-มารดาของท่าน มีอาชีพทำไร่ทำนา และค้าขาย เมื่อท่านอายุได้ ๔ ขวบ บิดา-มารดาได้ถึงแก่กรรม ญาติที่อยู่ ณ หมู่บ้านโคกพุทรา ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร จึงมารับท่านไป อุปการะต่อมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒ อายุท่านได้ ๘ ขวบ จึงเข้าเรียนในโรงเรียน ประชาบาลวัดไทรทอง ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน ท่านได้เรียน จนจบชั้นประถมปีที่ ๖ เมื่อมีอายุได้ ๑๔ ปี ในสมัยนั้น ถ้าย้อนหลังไป ๖๐-๗๐ ปี การได้เรียนจนจบชั้นประถมปีที่ ๖ ได้ ต้องถือว่าเป็นการเรียน ที่สูงพอสมควรแล้ว เมื่อเรียนจบแล้วครูบาอาจารย์ได้ชักชวนท่านให้เป็น ครูสอนนักเรียนในโรงเรียนที่ท่านเรียนนั้นต่อ หากทว่าจิตของท่านมุ่งมั่น สนใจที่จะบวชมากกว่า
พ.ศ. ๒๔๗๙ อายุได้ ๑๕ ปี ท่านจึงได้ขอร้องให้ญาติซึ่งเป็น ผู้ปกครองของท่าน พาไปบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดอินทร์สุวรรณ บ้านโคกพุทรา ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร โดยมีท่านพระครูวิบูลย์ธรรมขันธ์ เจ้าคณะอำเภอสว่างแดนดิน เป็นพระอุปัชฌาย์ และท่านพระครูโพธิภูมิไพโรจน์เป็นพระบรรพชาจารย์ และสามเณรพุธได้ อาศัยอยู่จำพรรษากับท่านพระครูโพธิภูมิไพโรจน์นั่นเอง ท่านได้รับเมตตา จากพระอาจารย์ให้ได้ศึกษาทางด้านปริยัติธรรมด้วย และในพรรษาแรกนี้เอง สามเณรพุธสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี
ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ หลังจากออกพรรษา เป็นเหตุบังเอิญให้ในขณะนั้นที่ท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร (ปุสโส เส็ง) ได้เดินธุดงค์มายังจ.สกลนคร ในฐานะเจ้าคณะตรวจการผู้ช่วยภาค ๔ แทนพระอาจารย์ของสามเณรพุธ อันได้แก่ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ท่าน เจ้าคุณพระอริยคุณาธาร ได้เกิดความเมตตาต่อสามเณรพุธเป็นอย่างมาก สามเณรพุธจึงมีโอกาสได้ติดตามท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธารธุดงค์ออก จากอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ไปยังจังหวัดอุบลราชธานี
ในสมัยนั้นทางคมนาคมยังไม่สะดวก ต้องเดินด้วยเท้าไปตามทางเกวียน ผ่านป่าเขาต่างๆ ท่านเล่าว่าต้องใช้เวลาถึง ๓๑ วัน จึงเดินเท้ามาถึง จ.อุบลราชธานี ในระหว่างทาง บางทีเหนื่อยนักเมื่อยนักก็พักค้าง แห่งละ ๒-๓ วัน บางช่วงในขณะที่เดินรอนแรมในป่า ก็หลงดงหลงป่าบ้าง บางวันไม่ได้ฉันข้าว เพราะหมู่บ้านห่างกันมาก เดินทางออกจากหมู่บ้าน แห่งหนึ่ง ตั้งแต่เช้าจนค่ำก็ยังไม่เจอหมู่บ้านอีกหนึ่งเลย ป่าดงในสมัยนั้น ก็ยังมีสัตว์ป่าชุกชุม บางครั้งได้ยินเสียงเสือเสียงสัตว์ต่างๆร้อง บางครั้ง เสือมันก็กระโดดข้ามทางที่จะเดินไปก็มี เมื่อเดินทางไปถึง จ.อุบลราชธานี ได้เข้าพักที่วัดบูรพา และฝากตัว เป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์พร (พี่ชายของพระอาจารย์บุญ ชินะวังโส) ท่านพระอาจารย์พรเป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ ซึ่งในขณะนั้นท่านพระอาจารย์เสาร์ได้มาจำพรรษาอยู่ ณ วัดบูรพาด้วย สามเณรพุธจึงได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์เสาร์ และเริ่มรับการอบรมทางด้านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นครั้งแรก แต่เดิมทีในสมัยแรก ที่ท่านบรรพชาเป็นสามเณรนั้น ท่านได้บรรพชาในสังกัดมหานิกายคณะที่วัดบูรพา อ.เมือง จ.อุบลราชธานี แห่งนี้ นอกจากจะได้รับการ อบรมทางด้านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ท่านยังได้ศึกษาทางด้านพระ ปริยัติธรรมอีกด้วย และสามารถสอบได้นักธรรมเอก เมื่อมีอายุเพียง ๑๘ ปี
ท่านพระอาจารย์เสาร์ได้พาสามเณรพุธเดินธุดงค์จากอุบลราชธานีเข้ามายังกรุงเทพฯ และพาไปฝากตัวกับท่านเจ้าคุณ ปัญญาพิศาลเถระ (หนู) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม ให้ช่วยอบรมสั่งสอน สามเณรพุธจึงได้ศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี และสามารถสอบได้เปรียญ ๔ ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณรนั่นเอง สามเณรพุธได้จำพรรษาเรื่อยมา ณ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร แห่งนี้ จนอายุได้ครบบวช ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ท่านจึงได้รับการอุปสมบท โดยมีท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) พระอาจารย์ของท่านเป็น พระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า " ฐานิโย "
ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นสมัยสงครามเอเซียบูรพา ท่านได้อพยพ กลับไปจำพรรษาที่วัดบูรพา จ.อุบลราชธานี และท่านได้อยู่จำพรรษา ที่วัดนี้จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ในระหว่างนั้นท่านได้เกิดอาพาธหนัก เป็น วัณโรคอย่างแรง จนหมอไม่รับรักษา ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ท่านพระ อาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้เดินทางมาจำพรรษาที่วัดบูรพา ตามคำสั่งของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) เช่นกัน ท่านพระอาจารย์ฝั้นสอนให้ ท่านตั้งใจเพ่งอาการ ๓๒ โดยให้พิจารณาถึงความตายให้มากที่สุด ทั้งยัง คอยให้กำลังใจกับท่านตลอดเวลา
หลวงพ่อพุธ ท่านเล่าว่า ขณะที่ท่านป่วยเป็นวัณโรคนั้น ท่านต้องรักษา พยาบาลตัวเอง ตั้งหน้าตั้งตามุ่งมั่นปฏิบัติธรรม เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา โดยมุ่งที่จะพิจารณาดูความตายเท่านั้น โดยคิดว่า "ก่อนที่เราจะตายนั้น ควรจะได้รู้ว่า ความตายคืออะไร" จึงได้ตั้งอกตั้งใจพิจารณาดูความตาย อยู่เป็นเวลาหลายวัน ในวันสุดท้ายได้ค้นคว้าพิจารณาดูความตายอยู่ถึง ๗ ชั่วโมง ในตอนแรกที่พิจารณา เพราะความอยากรู้อยากเห็นว่า ความตาย คืออะไร ซึ่งความอยากรู้อยากเห็นนี้เป็นอาการของกิเลส กิเลสจึงปิดบังดวงใจ ทำให้ความสงบใจที่เป็นสมาธิก็ไม่มี ความรู้แจ้งเห็นจริงก็ไม่มี ท่านเริ่มนั่ง สมาธิตั้งแต่ ๓ ทุ่ม จนกระทั่งเวลาตี ๓ จนเกิดความรู้สึกเหน็ดเหนื่อยแทบจะ ทนไม่ไหว
ในขณะนั้นความรู้สึกทางจิตมันผุดขึ้นมาว่า "ชาวบ้านชาวเมือง ทั้งหลายเขานอนตายกันทั้งนั้น ท่านจะมานั่งตาย มันจะตายได้อย่างไร" ท่าน จึงเอนกายลงพร้อมกับกำหนดจิตตามไปด้วย เมื่อเกิดความหลับขึ้น จิตกลาย เป็นสมาธิแล้ว จิตก็แสดงอาการตาย คือวิญญาณออกจากร่างกายไปลอยอยู่ เบื้องบนเหนือร่างกายประมาณ ๒ เมตร แล้วส่งกระแสออกมา รู้กายที่นอน เหยียดยาวอยู่ แสดงว่าได้รู้เห็นความตาย ลักษณะแห่งความตาย ในเมื่อตาย แล้ว ร่างกายก็ขึ้นอืดเน่าเปื่อยผุพังไปตามขั้นตอน ในเมื่อร่างกายที่มองเห็น อยู่นั้นสลายตัวไปหมดแล้ว ก็ยังเหลือแต่จิตว่าง จิตว่างแล้วก็ยังมองเห็นโลก คือแผ่นดิน ในอันดับต่อมาโลกคือแผ่นดินก็หายไป คงเหลือแต่จิตดวงเดียว ที่สว่างไสวอยู่ มองหาอะไรก็ไม่พบ พอจิตมีอาการไหว เกิดความรู้สึกขึ้นมา ก็เกิดความนึกคิดขึ้นมาว่า "นี่หรือคือความตาย" อีกจิตหนึ่งก็ผุดขึ้นมารับว่า "ใช่แล้ว" ก็เป็นอันว่าได้รู้จริงเห็นจริงในเรื่องของความตายด้วยประการฉะนี้
ในเรื่องของจิตที่เป็นสมาธินั้น ท่านมักจะกล่าวเสมอว่า สมาธินั้นมีอยู่ในตัว ของเราอยู่แล้ว แต่เรามักไม่ได้นำเอาออกมาใช้ฝึกฝนให้เป็นประโยชน์ สำหรับเรื่องจิตเป็นสมาธิของหลวงพ่อพุธ ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า ในตอนเด็กๆ มีเกิดขึ้นโดยท่านไม่ทราบ ไม่รู้จักมาก่อนเช่นกัน กล่าวคือ สมัยที่ท่านเป็น สามเณร ในวันหนึ่งท่านพระอาจารย์ของท่านไม่อยู่ และสั่งให้ท่านคอยเฝ้ากุฏิไว้ ท่านจึงลงนั่งอยู่ที่หน้าประตูกุฏิ ในระหว่างที่คอยอยู่นั้น จิตของท่านก็เข้าภวังค์ ลงสู่สมาธิ นิ่งสงบอยู่นานมาก นานจนพระอาจารย์ของท่านกลับมา พระอาจารย์ และชาวบ้านที่ติดตามมาด้วยเรียกท่านอยู่นาน เรียกอย่างไร...อย่างไร ท่านก็ ไม่ไหวติง จนชาวบ้านผู้นั้นมาผลักท่านกระเด็นออกไป นั่นแหละท่านจึงรู้สึกตัว ออกจากสมาธิ ชาวบ้านผู้นั้นว่ากล่าวท่าน...ว่าหลับไม่รู้เรื่อง เรียกอย่างไร เรียกเท่าใดก็ไม่ตื่น ท่านปฏิเสธว่าไม่ได้หลับ ชาวบ้านผู้นั้นก็ไม่ยอมเชื่อ หลวงพ่อพุธท่านเล่าว่า ในขณะที่คอยนั้น ท่านรู้สึกตัวตลอดเวลา และไม่ได้หลับ หลังจากปฏิเสธหลายครั้งและไม่มีใครเชื่อ ท่านจึงตัดความรำคาญด้วยการรับ สมอ้างว่าหลับ ซึ่งต่อมาภายหลังเมื่อท่านย้อนกลับไปพิจารณาอีกครั้ง จึงได้ทราบ แน่ชัดว่า เหตุการณ์ในครั้งเป็นสมาเณรนั้น ก็คือจิตเป็นสมาธินั่นเอง
พ.ศ. ๒๔๙๐ หลวงพ่อพุธ ได้มาจำพรรษาที่วัดเขาสวนกวาง จังหวัด ขอนแก่น อาการป่วยด้วยโรควัณโรคยังไม่หายขาด ท่านเจ้าคุณอริยคุณาธาร จึงได้เร่งเตือนท่านว่า
" คุณอย่าประมาท รีบเร่งปฏิบัติเข้าให้มันได้ภูมิจิตภูมิใจ อนาคตคุณจะไปนั่งเทศน์ในพระบรมมหาราชวัง "
อาการป่วยของท่านเป็นๆหายๆ เรื่อยมาจนถึง ๑๐ ปี จึงได้หายอย่างเด็ดขาด
พ.ศ. ๒๔๙๑ ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดบูรพา จ.อุบลราชธานี อีกจนถึง พ.ศ. ๒๔๙๕ และในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ นี้เอง ท่านได้รับ การแต่งตั้งให้ช่วยงานเกี่ยวกับคณะสงฆ์ กล่าวคือ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้ช่วยเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ ซึ่งภายหลังได้เป็นเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐
พ.ศ. ๒๔๙๖ ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าแสนสำราญ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ท่านจำพรรษาที่วัดแห่งนี้ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๐

ฯลฯ

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top