พระลีลา พิมพ์ใบข้าว หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว -จันทเกณฑํ - webpra
เฮ็ดในสิ่งตี่เซื่อ เซื่อในสิ่งตี่เฮ็ด

หมวด พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520

พระลีลา พิมพ์ใบข้าว หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว

 พระลีลา พิมพ์ใบข้าว หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว   - 1 พระลีลา พิมพ์ใบข้าว หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว   - 2 พระลีลา พิมพ์ใบข้าว หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว   - 3 พระลีลา พิมพ์ใบข้าว หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว   - 4
ชื่อร้านค้า จันทเกณฑํ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระลีลา พิมพ์ใบข้าว หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว
อายุพระเครื่อง 56 ปี
หมวดพระ พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ MernoOAmulet@gmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 27 ส.ค. 2560 - 15:50.11
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อา. - 27 ส.ค. 2560 - 16:10.17
รายละเอียด
ประวัติความเป็นมา
วัดนี้เดิมเป็นวัดโบราณ ชื่อวัดชีปะขาว หรือวัดชีผ้าขาว บางทีเรียกวัดปะขาวก็มี สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (แก้ว) ซึ่งเป็นพระพี่นางเธอของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์มาแต่ในรัชกาลนั้น ครั้นล่วงมาน้ำได้เซาะตลิ่งพังเข้ามาจนถึงหน้าพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาขุนมนตรีเป็นแม่กองสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่โดยเลื่อนขึ้นจากที่เดิม ทรงโปรดให้เจ้าพนักงานปักกำหนดเขตรอบโรงพระอุโบสถลงใหม่ใช้แทนวิสุงคามสีมาเดิม โดยให้มีความยาว 15 วา กว้าง 7 วา แล้วโปรดให้ลงเขื่อนหน้าวัด เพื่อป้องกันน้ำเซาะตลิ่งจนเป็นผลสำเร็จ ครั้นการทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดศรีสุดาราม ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ทั้งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งเป็นสมเด็จพระราชอัยยิกาเจ้าของพระองค์ ทรงสถาปนาพระราชทานไว้ตั้งแต่วันจันทร์ขึ้น 1ค่ำ เดือน 12 ปีเถาะ นพศกพุทธศักราช 2410 เป็นปีที่ 15 ในรัชกาล (ปลายรัชกาล) ตามพระราชโองการพระราชทานวิสุงคามสีมา ซึ่งมีหลักฐานอยู่ในพระอุโบสถ (พระอุโบสถหลังเก่าปรากฏเป็นวิหาร อยู่หน้าพระอุโบสถปัจจุบัน)
ข้อมูลประวัติ
เกิด 18 มิถุนายน พ.ศ.2442 ณ ต.พระงาม อ.พรหมบุรี สิงห์บุรี
ในสกุลพานิช
อุปสมบท วัดโบสถ์ จ.อ่างทอง
มรณภาพ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2510
สิริอายุ 69 ปี

หลวงพ่อซวง มีนามเดิมว่า ซวง พานิช เป็นบุตรของ นายเฮง และ นางอ่ำ พานิช เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๔๔๒ ที่บ้านพัก ณ ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ซึ่งอยู่เหนือ วัดชีปะขาว ไปเล็กน้อย เมื่ออายุได้ ๒๖ ปี ท่านได้บวชที่วัดโบสถ์ ต.ชัยภูมิ อ.ไชโย จ.อ่างทอง ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับ วัดชีปะขาว ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาขวางกั้นอยู่ พระอุปัชฌาย์ของท่าน คือ หลวงพ่อเฟื่อง วัดสกุณาราม (วัดนก) อ.ไชโย จ.อ่างทอง ซึ่งเป็นพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณของ จ.อ่างทอง ผู้สร้าง พระพิมพ์สมเด็จวัดนก อันลือลั่น เป็นที่รู้จักกันดีในวงการพระเครื่องทั่วไป เมื่อหลวงพ่อซวงบวชแล้ว ได้รับฉายานามว่า "อภโญ" จากนั้นได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดชีปะขาว โดยไม่เคยลาสิกขาเลย ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดชีปะขาว จนกระทั่งถึงวันที่ท่านมรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๐ สิริรวมอายุได้ ๖๙ ปี หลวงพ่อซวง ได้รับการถ่ายทอดการฝึกหัดจิตสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐานตลอดจนวิชาไสยเวท คาถามอาคมต่างๆ มาจาก ๓ พระคณาจารย์ และอาจารย์ฆราวาสผู้ทรงวิทยาคุณ อันได้แก่ ๑.หลวงพ่อฤทธิ์ วัดบ้านสวน อ.กงไกรลาส จ.สุโขทัย ๒.หลวงพ่อแป้น วัดเสาธงใหม่ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา ๓.อาจารย์คำ ฆราวาสจอมอาคม ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
ก่อนที่หลวงพ่อซวงจะมรณภาพ ท่านได้บอกกับคณะกรรมการวัดว่า ถ้าต้องการให้โบสถ์หลังใหม่ซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่นั้นให้แล้วเสร็จ อย่าเพิ่งฌาปนกิจสังขารของท่าน มิฉะนั้นโบสถ์จะสร้างไม่เสร็จ คณะกรรมการวัดจึงได้ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของท่าน โดยได้เก็บรักษาร่างของท่านไว้ในหีบไม้อย่างมิดชิด ประดิษฐานไว้บนศาลาการเปรียญ เพื่อให้คณะศิษย์และชาวบ้านได้บูชากราบไหว้ และร่วมทำบุญสร้างโบสถ์หลังใหม่ดังกล่าว หลังจากนั้นไม่นานโบสถ์หลังใหม่ก็สร้างเสร็จตามคำประกาศิตของหลวงพ่อ
หลังจากที่หลวงพ่อได้มรณภาพไปแล้ว ๒๖ ปี ต่อมาเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๓๖ คณะกรรมการวัดได้เปิดหีบไม้ที่บรรจุสรีระสังขารของหลวงพ่อซวง เพื่อทำพิธีฌาปนกิจต่อไป ก็เกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์ขึ้น โดยพบว่าสรีระสังขารของหลวงพ่อไม่เน่าเปื่อยไปตามกาลเวลาแต่ประการใด ร่างของท่านมีเนื้อหนังมังสาอยู่ครบถ้วน แต่แห้งและแข็งเหมือนหิน คณะกรรมการวัดจึงเปลี่ยนใจ ไม่ทำพิธีฌาปนกิจสรีระสังขารของท่าน โดยนำร่างที่ไม่เน่าเปื่อยของหลวงพ่อบรรจุไว้ในโกศขนาดใหญ่ และสร้างมณฑปเป็นที่ประดิษฐานไว้ภายในวัดชีปะขาว เพื่อเป็นที่บูชากราบไหว้ของคณะศิษย์และชาวบ้านทั่วไป

หลวงพ่อซวง เป็นพระเถระผู้มีจริยาวัตรอันงดงาม สมถะ ไม่ยึดติดรูปสมบัติ ฉันอย่างง่ายๆ ไม่ยอมรับปัจจัยใดๆ เป็นการส่วนตัว ท่านจะยกให้เป็นสมบัติของสงฆ์จนหมดสิ้น นอกจากนี้ท่านยังได้ปฏิเสธการรับสมณศักดิ์และตำแหน่งใดๆ ที่เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรีสมัยนั้น (หลวงพ่อทรัพย์-พระราชสิงหวรมุนี วัดสังฆราชาวาส) มอบให้ท่าน อย่างไรก็ตาม หลวงพ่อทรัพย์ ได้ขอร้องให้ท่านรับตำแหน่ง "พระวินัยธร” ซึ่งขณะนั้นว่างลงพอดี หลวงพ่อจึงจำเป็นต้องน้อมรับอย่างปฏิเสธมิได้
หลวงพ่อซวง เป็นผู้ที่มั่นคงในพระธรรมวินัย เน้นการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน มีฌานอันบริสุทธิ์และพลังจิตอันแก่กล้า จนสำเร็จอภิญญาสมาบัติ สามารถแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ เช่น การห้ามฝน การย่นระยะทาง การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า นอกจากนี้ท่านยังมีพลังอำนาจเมตตาบารมีอันสูงส่ง แม้แต่อีกาตาแววท่านยังเลี้ยงจนเชื่อง และรู้ภาษาของมันด้วย

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
ท่านสร้างวัตถุมงคลเอาไว้หลายประเภททั้งประเภทหล่อโบราณ เนื้อโลหะ เช่น พระลีลา เหรียญหล่อรูปเหมือนใบเสมา รูปหล่อ สมเด็จหล่อ พระกลีบบัวเนื้อปรอท และนอกจากนั้นยังมี พระเนื้อผง รูปถ่าย ผ้ายนต์

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
เมตตามหานิยม แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top