พระงบน้ำอ้อย หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน เนื้อดิน อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา สวยคมชัดพร้อมบัตรรับรอง-ปัญญาคุณพระเครื่อง - webpra
  • Page 1
  • Page 2
รักษ์พุทธศิลป์ ธำรงค์พุทธศาสนา เพิ่มคุณค่า ทำนุและบำรุง..."ยึดมั่น หมั่นทำดี พระท่านจักคุ้มครอง"

หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525

พระงบน้ำอ้อย หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน เนื้อดิน อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา สวยคมชัดพร้อมบัตรรับรอง

พระงบน้ำอ้อย หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน เนื้อดิน อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา สวยคมชัดพร้อมบัตรรับรอง - 1พระงบน้ำอ้อย หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน เนื้อดิน อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา สวยคมชัดพร้อมบัตรรับรอง - 2พระงบน้ำอ้อย หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน เนื้อดิน อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา สวยคมชัดพร้อมบัตรรับรอง - 3พระงบน้ำอ้อย หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน เนื้อดิน อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา สวยคมชัดพร้อมบัตรรับรอง - 4
ชื่อร้านค้า ปัญญาคุณพระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระงบน้ำอ้อย หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน เนื้อดิน อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา สวยคมชัดพร้อมบัตรรับรอง
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ ืnainoom_wut@hotmail.com , nainoom_pok@yahoo.com
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 03 ธ.ค. 2560 - 17:54.10
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 11 เม.ย. 2563 - 08:11.41
รายละเอียด
สวยเดิม เก็บดี... งบน้ำอ้อย หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน พิมพ์ใหญ่ เนื้อดิน อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา

หลวงปู่ยิ้ม ท่านเริ่มจัดสร้างพระตั้งแต่ปี 2460 และสร้างตลอดมา เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ท่านบรรจุในฐานชุกชี ๘๔,ooo องค์ ตามพระธรรมขันธ์ อีกจำนวนหนึ่งท่านบรรจุตามพระเจดีย์รอบพระอุโบสถ (เวลาท่านลงพระอุโบสถ เช้า-เย็น ท่านจะยืนอธิฐานจิตร ทุกวัน) วัดปฏิบัติของท่านเป็นที่น่าเลื่อมใสของชาวบ้าน และผู้ที่พบเห็น
**หลังจากกท่านหยุดสร้างพระแล้วได้นำพระทั้งหมดทำพิธีปุกเสก ปี ๒๔๗๔ มี หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก เป็นประธานในพิธี พร้อมพระเกจิอาจารย์อีกกว่า ร้อยรูป **

หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดในท่านเป็นเกจิอาจารย์ สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นพระสหายธรรมกับ หลวงพ่อปาน บางนนโค ,หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก,

วัดทั้งสามท่านอยู่ไม่ไกลกัน มากนักทั้งสามท่าน เป็นที่เคารพ และศัทธาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และใกล้เคียง ทั้งสามท่านจึงได้รับฉายาว่า

" สามเสือแห่งกรุงเก่า"

(พระหมอหลวงพ่อปาน เกจิอาจารย์หลวงพ่อจง เมตตาไหลหลงหลวงปู่ยิ้ม)

หลวงปู่ยิ้มสิริโชติ เป็นคนดี ศรีอยุธยา เลือดคุ้งน้ำเจ้าเจ็ด?นามเดิม ยิ้ม กระจ่าง เป็นบุตรนายอ่วม นางสุด กระจ่าง ท่านเกิดที่ตำบลเจ้าเจ็ดอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกิดที่บ้านสาลี หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านแถว อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๑๘
(จันทรคติ วันเสาร์ -- ค่ำ เดือน ? ปีกุน จ.ศ. ๑๒๓๗ ) มีพี่น้องร่วมบิดา มารดารวม ๓ คน คือ
๑. นายจ่าง กระจ่าง
๒. พระครูพรหมวิหารคุณ (ยิ้ม สิริโชติ)
๓. นายโชติ กระจ่าง
โยมที่บ้านมีอาชีพทางกสิกรรม ทำไร่ ทำนาบรรพชาเป็นสามเณรมาตั้งแต่อายุได้ ๑๒ ขวบ พ.ศ. ๒๔๓๐ อุปสมบท เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๔๓๘ ณ พัทธสีมา วัดเจ้าเจ็ดนอก มีพระอาจารย์สิน วัดโพธิ์ เป็นอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จาดเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สุ่มเป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัย ขนบธรรมเนียมประเพณีทางศาสนา ศึกษาพระคัมภีร์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน เขียนอักขระเลขยันต์ ลบผงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์ ครูบาอาจารย์ ผู้สืบสานวิชาอาคมมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า?คือพระอาจารย์จาด และพระอาจารย์จีน สำนักวัดเจ้าเจ็ดใน ( พระอาจารย์จีน เป็นพระอาจารย์สอนอักขร สมัยให้กับ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ในครั้งนั้นด้วย ) พออายุ ๑๘ ปี ก็ย้ายไปศึกษาที่วัดกระโดงทอง ภายใต้การปกครองของหลวงพ่อบุญมี สำเร็จยันต์นะ ปัดตลอด และสามารถเขียนยันต์ผงทะลุแผ่นกระดานชนวนได้อย่างอัศจรรย์ ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเจ้าเจ็ดใน ต่อจากพระอุปฌาย์ ปั้น ในสมัยนั้นวัดเจ้าเจ็ดใน ได้แบ่งออกเป็น ๓ คณะ โดยมีหลวงปู่ยิ้ม เป็นเจ้าคณะเหนือ หลวงปู่โฉม เป็นเจ้าคณะใต้ และหลวงปู่คำ เป็นเจ้าคณะตะวันออก และหลวงปู่ยิ้มยังเป็นเจ้าคณะตำบลเจ้าเจ็ด เป็นพระครูกรรมการศึกษาและเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘ ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ เป็น พระครูพรหมวิหารคุณ พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นเจ้าคณะอำเภอบางซ้าย มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๙ รวมอายุได้ ๘๒ ปี ครั้งเมือหลวงปู่ยิ้ม ยังมีชีวิตอยู่ท่านเป็นพระที่อุดมด้วย ศีลลาจารวัตร ตลอดชีวิตของหลวงปู่ เป็นพระที่อารมณ์เย็น เคร่งครัด แต่มีเมตตาธรรมสูง พูดน้อย และมีผู้คนไปกราบนมัสการหาสู่ท่านมิได้ขาด พระเกจิอาจารย์ดังแห่งกรุงศรีอยุธยา, ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามอินโดจีน หลวงปู่ยิ้ม มีพระสหธรรมมิกที่ร่วม ครู-อุปัชฌาย์ อาจารย์องค์เดียวกันในยุคนั้นคือ หลวงพ่อจงวัดหน้าต่างนอก ซึ่งมีอายุมากกว่าหลวงปู่ยิ้ม ๓ ปี อีกรูปหนึ่งคือ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งเกิดปีเดียวกับหลวงปู่ยิ้ม
มีญาติโยมที่เป็นนักเลงสมัยนั้นได้ตั้งสมญานามให้ดูน่ากลัวว่า
? สามเสือแห่งกรุงเก่า ?



หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน จ. พระนครศรีอยุธยา เป็นอาจารย์ร่วมสมัยเดียวกับ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ท่านจึงเป็นพระอาจารย์อาวุโส มรณภาพเมื่อปี ๒๔๙๙ (อายุ ๘๑ ปี) หลังหลวงพ่อปาน ๑๘ ปี ( ๒๔๙๙ - ๒๔๘๑ ) แต่ก่อนหลวงพ่อจงราว ๘ ปี ( ๒๔๙๙ ? ๒๕๐๗ ) วัดของท่านเหล่านี้อยู่ไม่ไกลกันนัก ท่านเป็นสหธรรมมิก และคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี จนชาวอยุธยาเรียกกันติดปากว่า

? พระหมอหลวงพ่อปาน เกจิอาจารย์หลวงพ่อจง เมตตาไหลหลง หลวงพ่อยิ้ม?
หลวงพ่อทั้ง ๓ มีความสนิทสนมกลมเกลียวกันยิ่งนัก ต่างคนต่างผลัดไปมาหาสู่ต่อวิชา ซึ่งกันและกันที่วัดของแต่ละองค์ ครั้งละหลายๆ วันชาวกรุงเก่าที่รู้ซึ้ง จึงกระซิบต่อๆ กันว่า พระเครื่องของทั้ง ๓ องค์นี้พุทธคุณขลังเหมือนกัน ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี เมื่อต่างองค์ต่างสร้างพระเครื่องฯ เพื่อสืบทอดพระศาสนาต่างก็มานั่งปรกพุทธาภิเษก แทบทุกๆครั้งไป?.. เหตุการณ์สำคัญ อธิเช่นการปลุกเสกทราย และขึ้นเครื่องบินโปรยลงสถานที่สำคัญๆ ในประเทศไทย เมื่อครั้งสมัยสงครามอินโดจีนฯ ช่วง พ.ศ. ๒๔๘๕ ฝรั่งเศสที่ต้องการจะยึดดินแดนของไทยเป็นประเทศใน อานานิคม มีผลร้ายแรง พอๆ กับ สงครามโลกครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นเรื่องของความสามัคคี เพื่อให้สถาบันชาติอยู่ได้ สถาบันศาสนาอยู่ได้ และสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ได้ และสืบต่อพระศาสนา ให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบไป.

ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลครับ

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top