หลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง จังหวัดอยุธยา พิมพ์มารวิชัย-promrat - webpra
เงินแท้ พระต้องแท้ สบายใจทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ

หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525

หลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง จังหวัดอยุธยา พิมพ์มารวิชัย

หลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง จังหวัดอยุธยา พิมพ์มารวิชัย - 1หลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง จังหวัดอยุธยา พิมพ์มารวิชัย - 2หลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง จังหวัดอยุธยา พิมพ์มารวิชัย - 3หลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง จังหวัดอยุธยา พิมพ์มารวิชัย - 4หลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง จังหวัดอยุธยา พิมพ์มารวิชัย - 5
ชื่อร้านค้า promrat - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง หลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง จังหวัดอยุธยา พิมพ์มารวิชัย
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ thitiwatprom@gmail.com
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ส. - 12 มี.ค. 2554 - 10:15.12
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พฤ. - 18 ต.ค. 2555 - 23:10.11
รายละเอียด
เนื้อดินค่อนข้างหยาบ ด้านหลังเรียบ ขนาดกว้าง ๓.๓ ซม. สูง ๓.๖ ซม. เนื้อดินดูง่าย เก่ามีอายุ มีว่านดอกมะขามตรงข้อมือซ้าย มีตำหนิที่เม็ดกรวดหลุดมา มีเม็ดมวลสารทั้งด้านหน้าและด้านข้าง ตำหนิต่าง ๆ ครบถ้วนตามที่หนังสือมหาโพธิ์ชี้แนะ องค์นี้เป็นองค์แรกทีมี ขอเป็นกรณีศึกษาเพื่อสะสมต่อไป มีข้อแนะนำเมลล์มาได้ที่ wichat2001@gmail.com ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำแนะนำดีดี
ข้อมูลเกี่ยวกับหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง

จากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก : พระเครื่อง ที่มีองค์พระขนาดค่อนข้างใหญ่ ส่วนมากมักจะเรียกกันว่า พระหลวงพ่อโต และที่รู้จักกันดี ก็คือ พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง ต.หัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระเนื้อดินเผา มีทั้งชนิดเนื้อละเอียดและเนื้อค่อนข้างหยาบ รวมทั้งมีพระเนื้อชินปะปนอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก
นอกจากกรุวัดบางกระทิงแล้ว พระหลวงพ่อโตยังพบตามกรุวัดต่างๆ ทั้งใน จ.พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งบางวัดในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพระที่นำมาฝากกรุในภายหลัง
พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง เป็นพระที่มีจำนวนสร้างมาก คาดว่าน่าจะเท่ากับ พระธรรมขันธ์ คือ ๘๔,๐๐๐ องค์ หรือมากกว่านั้น ทำให้พบเห็นโดยทั่วไป ในส่วนพระเนื้อดิน นับเป็นเนื้อดินที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองอยุธยาโดยเฉพาะ ราคาเช่าหาไม่แพงนัก แต่ที่สวยคมชัดมากๆ อาจจะมีราคาที่สูงกว่าพระทั่วๆ ไป
พุทธศิลป์ เป็นฝีมือของช่างสมัยอยุธยา อายุกว่า ๔๐๐ ปี
ชาวอยุธยารุ่นเก่าๆ เล่าว่า สมัยก่อนบริเวณวัดบางกระทิง มักพบพระหลวงพ่อโตตกหล่นอยู่ตามพื้นดินตามลานวัดโดยทั่วไป คนสมัยก่อนไม่นิยมนำพระเข้าบ้าน เมื่อนำพระมาใช้ติดตัวยามไปไหนมาไหน หรือนำออกสู้รบในสงครามเสร็จแล้ว ก็มักจะนำพระกลับมาเก็บไว้ที่วัดเหมือนเดิม
สำหรับการแตกกรุของ พระหลวงพ่อโต นั้น ก่อนหน้านี้ไม่ปรากฏหลักฐาน แต่ที่ทางวัดเปิดกรุอย่างเป็นการ คือในปี ๒๔๘๑ ขณะรื้อโบสถ์เก่าเพื่อสร้างใหม่ จึงได้พบพระหลวงพ่อโต บรรจุอยู่ใต้ฐานพระประธาน ทางวัดจึงได้นำพระส่วนหนึ่งออกมาแจกสมนาคุณแก่ชาวบ้าน ที่ร่วมทำบุญสร้างโบสถ์หลังใหม่ ส่วนพระที่เหลือได้นำบรรจุที่ฐานพระประธานในโบสถ์หลังใหม่
ในการพบกรุพระหลวงพ่อโต ครั้งนั้นได้พบ แม่พิมพ์ ของพระหลวงพ่อโตด้วย ต่อมาได้มีคนร้ายแอบขุดพระหลวงพ่อโต ที่ใต้ฐานพระประธานได้ไปจำนวนหนึ่ง พร้อมกับเอาแม่พิมพ์เก่าไปด้วย ทางวัดจึงได้เปิดกรุพระอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้คนร้ายแอบลักขุดขโมยพระได้อีก
การขุดกรุครั้งนี้ ได้พบ พระหลวงพ่อโต อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละส่วนกับที่ขุดได้ในครั้งก่อน ทางวัดได้ให้กรมศิลปากร ตรวจสอบ ปรากฏว่า พระหลวงพ่อโต ในส่วนนี้เป็นการสร้างขึ้นภายหลัง ในสมัยรัตนโกสินทร์ เนื่องจากเนื้อหามวลสารแตกต่างกัน และอายุความเก่าไม่ถึงสมัยอยุธยา ไม่เหมือนกับพระหลวงพ่อโตที่ขุดพบก่อนหน้านี้
พระหลวงพ่อโต มีสัณฐานเป็นรูปสามเหลี่ยม องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีทั้งปางสมาธิ และ ปางมารวิชัย องค์พระคมชัดนูนเด่น พระพักตร์ใหญ่ และมักปรากฏรายละเอียดต่างๆ บนพระพักตร์อย่างครบถ้วน รวมทั้งเส้นสังฆาฏิ ด้านหลังองค์พระ ส่วนใหญ่มีรอยปาด ที่เรียกกันว่า "รอยกาบหมาก"
พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง มีของปลอมมานานแล้ว ทั้งที่ถอดพิมพ์ หรือสร้างแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่ รวมทั้งส่วนหนึ่งที่คนร้ายได้ขโมยแม่พิมพ์เก่าไป ได้เอาไปกดพิมพ์พระกันใหม่ ก็เป็นอีกฝีมือหนึ่งที่คนร้ายได้ทำ พระปลอม วางขายกันมาโดยตลอด
การพิจารณาจากพิมพ์ทรงองค์พระ จึงอาจจะมีปัญหา เพราะ พระปลอม ส่วนหนึ่งมักจะมีจุดตำหนิเหมือนกับ พระแท้ มาก สิ่งที่ต้องยึดเป็นหลักในการพิจารณา คือ เนื้อพระ ที่ไม่สามารถทำได้เหมือน โดยเฉพาะ ความเก่า ที่เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติ ซึ่งย่อมแตกต่างกับ ความเก่าที่แปลกปลอม อันเกิดมาจากการเร่งทำปฏิกิริยาด้วยน้ำยาทางเคมี หรือการเผาไปที่เป็นไปอย่างเร่งรีบ
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาด้วยความละเอียดรอบคอบ ไม่ประมาท หรือถามผู้รู้ไว้ก่อน ก็ย่อมจะปลอดภัยจาก พระปลอม ได้ในระดับหนึ่ง
พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง เป็นพระที่ชายชาตรีสมัยก่อน หรือนักเลงโบราณ นิยมกันแขวนโชว์นอกเสื้อมานานแล้ว ด้วยความเชื่อมั่นในพุทธคุณ ที่เลื่องลือกันมานานแล้วว่า เป็นพระคงกระพันชาตรี มหาอุด ปืนผาหน้าไม้ทำอะไรไม่ได้เลย ขณะเดียวกัน คนสมัยใหม่ต่างยืนยันว่า ทางด้านเมตตามหานิยมก็เป็นเลิศ
ที่สำคัญ คือ พระหลวงพ่อโต ที่เป็นของเก่า สร้างในสมัยอยุธยา เป็นพระเนื้อดินเผาที่ยึดเป็น เนื้อครู สำหรับการศึกษาพระเนื้อดินสมัยอยุธยาได้เป็นอย่างดี
"บุญนำพา"

ขออนุญาต อ.วิศัลย์ อินทามระ ใช้ข้อความต่อไปนี้นะครับ

พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง จ.อยุธยา

พระหลวงพ่อโต วัดบางกระทิง จะมีการแตกกรุออกมาเมื่อไรนั้นคงไม่มี ใครทราบช่วงเวลาที่แน่ชัดนักเพราะเดิมทีนั้นได้มีผู้พบเห็นพระหลวงพ่อโต
ตกหล่นอยู่ตามบริเวณพื้นที่รอบๆวัดบางกระทิงมานานแล้วแต่ที่แตกกรุอย่างเป็น ทางการและมีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรแน่นอน
ก็คือเมื่อปี ๒๔๘๑ เนื่องจากวัดได้รื้อพระอุโบสถหลังเดิม เพื่อสร้างใหม่ จึงได้พบกรุพระหลวงพ่อโตเป็นจำนวนมาก มายหลายหมื่นองค์
ซึ่งในครั้งนั้นทางวัดได้แจกจ่ายไปยัง ผู้ร่วมกุศลทีร่วมกันสร้างโบสถ์ จนเหลือพระ อยู่ในราว ๑๐ ปี๊ป ซึ่งพระที่เหลือจำนวนนี้ทางวัดได้นำไปบรรจุที่ฐานชุกชีพระประธานของพระอุโบสถหลังใหม่

พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง เท่าที่พบ จะเป็นพระเนื้อดินเผาทั้งสิ้น มีทั้งประเภทเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด
พระที่ แตกกรุเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ตามผิวพระจะไม่ปรากฏคราบกรุ หากแต่มีฝ้ากรุสีขาวหม่นเกาะจับประปราย
โดยเฉพาะในองค์ที่ไม่ผ่านการสัมผัสจับต้องมากนักจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้เป็นเพราะสภาพกรุที่อัดแน่นไป
ด้วยทรายจึงเป็นตัวป้องกันความชื้นได้เป็นอย่างดี คราบกรุและราดำจึงไม่ปรากฏให้เห็นในพระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง

ศิลปการสร้างสมัยอยุธยาตอนต้น องค์พระล่ำสัน พระพักตร์โต จึงเรียกกันว่า "หลวงพ่อโต" มีด้วยกันสองพิมพ์คือ
พิมพ์สมาธิ และพิมพ์มารวิชัย มีด้วยกัน ๒ เนื้อ คือ เนื้อดินและเนื้อชิน แต่นิยมเล่นหาเนื้อดินมากกว่า
นักเลงรุ่นคุณปู่สมัยก่อนนิยมมีไว้กับตัว จนมีอีกชื่อหนึ่งนิยมเรียกว่า "พระคงกระบอง" อันเนื่องมาจากพุทธคุณที่สูง
และโดดเด่นมากทางด้านคงกระพัน ชาตรี(วิชาชาตรีนี้ดีอย่างไร อ่านข้างล่างนี้ต่อได้ครับ) ชนิดที่ว่ากันว่าแมลงวันยังไม่เคยดื่มเลือดผู้ที่แขวนหลวงพ่อโตได้เลย แถมยังมีพุทธคุณทางด้านเมตตา-มหานิยมอีกด้วย

จุดพิจารณา พระหลวงพ่อโต กรุบางกระทิง พิมพ์มารวิชัย
- พื้นผนังข้างหูทั้ง ๒ ข้าง เป็นแอ่ง ลงไป
- เส้นซุ้มเหนือเข่าขวา จะเป็นเนื้อนูนออกมาเล็กน้อย
- ปลายส้นพระบาทเป็นติ่งแหลม
- มีเส้นซ้อนใต้พระหัตถ์ซ้าย ลากต่อพาดไปที่พระชงฆ์ (แข้งขวา)
- ศอกซ้ายจะเป็นเนื้อย้อยยาว ดูใหญ่กว่าลำแขน

จุดพิจารณาข้างต้น บางครั้งไม่สามารถยืนยันได้ชัดเจน เนื่องจากพระบางองค์อยู่ในสภาพที่ไม่เห็นจุดพิจารณาเนื่องจาก สึก หัก หรือ บิ่น ดังนั้น ข้อสำคัญในการพิจารณาอยู่ที่เนื้อดินเป็นหลัก "เนื้อดิน" บางท่านบอกง่ายๆว่าต้องเก่า มีการหดตัว มีรอยแตกของเนื้อดินบ้าง เนื่องจากพระแตกกรุ ปี ๒๔๘๑ ดังนั้นหากเป็นพระใหม่จะมีอายุประมาณ ๖๐ ปี ซึ่งต่างจากของจริง มีอายุไม่ต่ำกว่า ๔๐๐ ปี เนื้อดินย่อมต่างกัน และทุกองค์ที่ผมลงกล้อง พบว่านดอกมะขาม เป็นสีแดงชัด มีมากบ้าง น้อยบ้าง บางองค์ไม่เห็นแต่อาจปนอยู่ในเนื้อพระก็เป็นได้ ส่วนด้านหลัง อาจจะเป็น รอยกาบหมาก หรือไม่เป็นก็มี แต่ถ้าจะให้ครบสูตร ต้อง หลังกาบหมาก ก้นหยิกเป็นจงอยออกมา ซอกแขนลึก ซอกหูเป็นแอ่ง และมีว่านดอกมะขาม ครับ



ท่านอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ได้เขียนไว้ในหนังสือ วิชาคงกระพันชาตรีว่า วิชาไสยศาสตร์ที่ทำให้มนุษย์พ้นอันตรายจากอาวุธนั้น
แบ่งออกได้เป็น ๖ ประเภท คือ วิชาคงกระพัน วิชาชาตรี วิชาแคล้วคลาด วิชามหาอุด วิชาแต่งคน วิชาล่องหนหายตัว
ซึ่งยังมีวิชาปลีกย่อย อีกมากมายในตำราพิชัยสงครามที่อาจจัดเข้าหมวดหมู่ที่จัดไว้หรือแยกไปตากหาก เช่น สมานแผล เป็นต้น

จุดเด่นด้านพุทธคุณของพระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง จ.อยุธยา ที่หาในพระเครื่องอื่นๆไม่ได้ คือทั้งคงกระพัน และชาตรี กล่าวคือ

วิชาคงกระพัน เป็นวิชาที่ทำให้ร่างกายมนุษย์อยู่คงต่ออาวุธทั้งปวง ฟันแทงไม่เข้า ถ้าจะฆ่าให้ตายต้องใช้ไม้แทงทะลุทวารหนักเท่านั้น

วิชาชาตรี เป็นวิชาที่ใช้ป้องกันอาวุธให้ฟันแทงไม่เข้าได้เช่นเดียวกับวิชาคงกระพัน วิชานี้ยังทำให้ตัวเบากระโดดได้สูง
และอาวุธที่มากระทบตัวนั้นนอกจากไม่ระคายผิวหนังแล้ว ยังไม่รู้สึกเจ็บอีกด้วย
ลิงค์ความรู้เกี่ยวกับหลวงพ่อโต กรุบางกระทิง
http://www1.g-pra.com/webboard/show.php?Category=real_amulets&No=235275

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top