พระซุ้มเถาวัลย์เลื้อย กรุวัดชนะสงคราม กทม.-วาสนา-พระเครื่อง - webpra
VIP
พระแท้...ราคาสมเหตุสมผล...โทร.089-4611699

หมวด พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

พระซุ้มเถาวัลย์เลื้อย กรุวัดชนะสงคราม กทม.

พระซุ้มเถาวัลย์เลื้อย กรุวัดชนะสงคราม กทม. - 1พระซุ้มเถาวัลย์เลื้อย กรุวัดชนะสงคราม กทม. - 2พระซุ้มเถาวัลย์เลื้อย กรุวัดชนะสงคราม กทม. - 3
ชื่อร้านค้า วาสนา-พระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระซุ้มเถาวัลย์เลื้อย กรุวัดชนะสงคราม กทม.
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
ราคาเช่า 2,280 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 089-4611699 เวลาที่สะดวก 10.00 น. ถึง 21.00 น.
อีเมล์ติดต่อ Line : 0894611699
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 19 ม.ค. 2564 - 14:06.05
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พฤ. - 16 พ.ค. 2567 - 18:32.54
รายละเอียด
พระซุ้มเถาวัลย์เลื้อย กรุวัดชนะสงคราม กทม.

ขนาดโดยประมาณ กว้าง 1.7 ซ.ม. สูง 3 ซ.ม.

"วัดชนะสงคราม" เดิมเป็นวัดเล็กๆซึ่งตั้งอยู่กลางทุ่งนา เรียกกันว่า "วัดกลางนา" สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่สร้างมาก่อนการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ โดยหากพิจารณาจากรูปทรงของพระเจดีย์แต่ละองค์ ตลอดจนกระทั่งทั้งกลุ่มหมู่พระเจดีย์ในบริเวณวัดนั้น เป็นรูปทรงแบบสมัยอยุธยา ความเก่าแก่ของวัสดุที่ใช้ก่อสร้างก็อยู่ในยุคเดียวกัน สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงบูรณะปฏฺิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงแต่งตั้งพระราชาคณะฝ่ายรามัญสำหรับพระนครเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา โดยโปรดให้พระสงฆ์รามัญมาอยู่วัดนี้ จึงเรียกชื่อวัดว่า"วัดตองปุ" เลียนแบบเดียวกับวัดตองปุซึ่งเป็นวัดพระรามัญในสมัยอยุธยา แต่อีกกระแสหนึ่งกล่าวว่าชื่อวัดตองปุมาจากชาวรามัญ หมู่บ้านตองปุ ซึ่งเคยอยู่ในหงสาวดีได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองไทย จึงนำชื่อวัดที่ตนยึดถือเป็นที่พึ่งทางใจมาตั้งด้วย วัดกลางนาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดตองปุ ต่อมาเพื่อเป็นอนุสรณ์ที่สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงมีชัยชนะต่อพม่าในการรบถึง 3 ครั้ง รวมถึงศึกใหญ่ที่เรียกกันว่า "สงครามเก้าทัพ" ด้วย พระองค์จึงพระราชทานนามว่า “วัดชนะสงคราม” จนต่อมาถูกยกสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหารเป็น "วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร" จนปัจจุบัน

วัดชนะสงคราม เคยเป็นวัดที่มีการปฏิบัติพระกัมมัฏฐานโดยเคร่งครัดมาตลอด จนมีชื่อเสียงโด่งดัง ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) จนถึงรัชกาลที่ 2 แม้แต่หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ แห่งวัดบางคลาน (วัดหิรัญญาราม) ตามประวัติท่านชาตะกาลในปลายรัชกาลที่ 1 (16 ก.ย. 2353) และมีอายุยืนถึง 111 ปี จึงมรณภาพ (20 ก.ย. 2462) ในช่วงปฐมวัยท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดชนะสงครามนี้ เพื่อเรียนพระกัมมัฏฐานจนกระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงกลับไปอุปสมบทยังภูมิลำเนาเดิม แล้วกลับมาเรียนกัมมัฏฐานต่อ แสดงให้เห็นว่า วัดชนะสงครามนี้เป็นสำนักที่มีพระสมณะนักปฏิบัติที่รุ่งเรืองในอดีต แม้หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ ที่ท่านเป็นชาวจังหวัดพิจิตร ที่ห่างไกลโพ้นในยุคนั้น ยังต้องเดินทางมาศึกษาเล่าเรียนในสำนักวัดตองปุ แห่งนี้ด้วยเช่นกัน

พระกรุนี้ได้แตกกรุออกมาเมื่อปี 2496 ตามประวัติเท่าที่มีการบันทึกไว้ ท่านเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามในขณะนั้น คือท่านเจ้าคุณพระธรรมทัศนาธร (ทองสุก สุทสฺโส) ได้สั่งให้พระครูพิศิษฐ์วิหารการ (ศิริ อตฺตาราโม) พร้อมด้วยพระสงฆ์สามเณรได้ไปตรวจดูสถานที่บริเวณหมู่เจดีย์น้อยใหญ่ ใกล้ศาลาชี (ปัจจุบันเป็นที่ตั้ง ร.ร.วัดชนะสงคราม) เพราะมีผู้มาแจ้งว่า มีคนร้ายลักขุดและพังทำลายพระเจดีย์ สืบเนื่องจากพระลูกวัดได้ไปสำรวจพบร่องรอยการลักลอบขุดจนพระเจดีย์องค์เล็กเสียหาย คนร้ายล้วงเอาของมีค่าที่บรรจุไว้ในพระเจดีย์ไปเกือบหมดสิ้น พระที่พวกเหล่าร้ายทิ้งหลงเหลืออยู่บ้าง มีพระกรุแบบวัดตะไกรหน้าครุฑ พระโคนสมอแบบอยุธยา พระทรงเทริด ฯลฯ

นอกจากนี้ยังมีพระเจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งเป็นเจดีย์ประธานในที่นั้น ยังไม่ถูกคนร้ายขุดคุ้ยทำลาย แต่พระเจดีย์องค์นี้ยอดหักแตกร้าวตลอดจากยอดลงมาถึงคอระฆัง บริเวณฐานก็ผุกร่อนหลายแห่ง พิจารณาแล้วหากปล่อยไว้คนร้ายคงขุดทำลายเสียหายได้โดยง่าย และของมีค่าหากบรรจุไว้ อาจถูกคนร้ายขุดเอาไปอีก ทางคณะสงฆ์และคณะกรรมการวัด จึงประชุมและได้เห็นควรให้มีการขุดค้นอย่างเป็นทางการทั้งเจดีย์องค์เล็กและเจดีย์องค์ใหญ่ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน.ชนะสงคราม มาคอยอำนวยความสะดวกระหว่างการขุด ผลจากการขุดค้นได้พบพระเครื่องพระบูชา ตลอดจนข้าวของต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ภายในองค์เจดีย์สร้างเป็นโพรงกลางองค์ถึงคอระฆัง ในนั้นบรรจุพระพิมพ์เนื้อดินดิบเป็นจำนวนมากเก็บลงใส่ปี๊บประมาณ 8 ปี๊บ พบหลักฐานการสร้างและการบรรจุพระเครื่องชุดนี้คือ ไม้แกะสลักเป็นรูปพระสงฆ์ห่มดองคาดประคตอก นั่งสมาธิ ลงรัก ปิดทอง ใต้ฐานรูปแกะสลักนี้บรรจุพระธาตุพระอัครสาวกโมคคัลลาน์ ใบลานจารึกอักษรขอมเลอะเลือนผุกร่อนอ่านได้ไม่ชัดเจน พระทองคำแบบพระวัดตะไกรหน้าครุฑบ้างเล็กน้อย จากหลักฐานที่ค้นพบในกรุ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรสันนิษฐานว่าพระชุดนี้สร้างโดย กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทในสมัยรัชกาลที่ 1 พระพิมพ์จำนวนมากมายหลายพิมพ์ที่พบ มีพุทธลักษณะสวยงามมาก ทั้งมีลายเครือเถา ที่เรียกกันว่า ซุ้มเถาวัลย์เลื้อย อยู่ในพระทุกพิมพ์ ตามศิลป์ของช่างหลวง หนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นลงข่าวเกรียวกราวติดต่อกันอยู่หลายวัน

พระกรุนี้เป็นพระเนื้อดิน ส่วนใหญ่สีดำ มีบ้างเป็นส่วนน้อยที่เป็นสีน้ำตาลอมแดง แบบสีหม้อใหม่ ทำให้ผู้คนสับสนเข้าใจว่าพระที่มีสีดำเป็นพระเนื้อดินผสมใบลาน แท้ที่จริงแล้วพระกรุนี้เกือบทั้งหมดเป็นพระเนื้อดินดิบ คำว่า "พระเนื้อดินดิบ" นั้นมิได้หมายความว่าเป็นพระพิมพ์ที่ไม่ได้เผา หากแต่การเผาพระกรุนี้นั้นความร้อนอาจไม่สูงมากพอ ทำให้พระยังไม่สุกดี ตามปกติสีของพระเนื้อดินที่เผาจนสุกได้ที่จะเป็นสีหม้อใหม่ อมแดงส้ม ทั่่วกันทั้งผิวนอกทั้งเนื้อใน ทำให้มีความแกร่งสูง แต่พระกรุวัดชนะสงครามนี้ ส่วนใหญ่ยังสุมไฟเผาพระพิมพ์ยังไม่สุกได้ที่ ผิวข้างนอกจึงมักเป็นสีดำ เนื้อหาค่อนข้างเปราะหากเทียบกับพระเนื้อดินกรุอื่นๆ สีของเนื้อพระที่บิ่นแตกหัก ภายในจะเป็นสีอิฐ หรือสีน้ำตาลเข้ม ซึ่งเป็นหลักการพิจารณาขั้นต้น ที่เซียนพระรุ่นเก่าที่สอนกันมาว่า ถ้าส่องแล้วเห็น "ดำทั้งนอกทั้งใน" แล้วละก็วางได้เลย นอกเหนือจากนั้นพิมพ์พระต้องถูกต้องสวยงามคมชัด

ในด้านพุทธคุณนั้นเรียกว่าครอบจักรวาล ทั้งชื่อที่เป็นมงคล เป็นมหาอำนาจ แคล้วคลาดคงกระพัน ครบสูตร เคยมีตำรวจของ สน.ชนะสงคราม ที่ได้รับแจกพระเมื่อครั้งไปช่วยอำนวยความสะดวกในตอนเปิดกรุ ถูกคนร้ายแทงในขณะปฏิบัติงาน แต่ไม่เข้า โดยขณะนั้นมีเพียงพระกรุวัดชนะสงคราม ติดตัวเพียงองค์เดียว แม้ในปัจจุบันก็ยังมีประสบการณ์ให้เห็นพุทธานุภาพของพระกรุนี้อยู่.

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top