พระผงมีกิน พิธีจตุรพิธฯ ปี 2518-วาสนา-พระเครื่อง - webpra
VIP
พระแท้...ราคาสมเหตุสมผล...โทร.089-4611699
พระผงมีกิน พิธีจตุรพิธฯ ปี 2518 - 1พระผงมีกิน พิธีจตุรพิธฯ ปี 2518 - 2
ชื่อร้านค้า วาสนา-พระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระผงมีกิน พิธีจตุรพิธฯ ปี 2518
อายุพระเครื่อง 49 ปี
หมวดพระ ท่านเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์ - หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
ราคาเช่า 1,250 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 089-4611699 เวลาที่สะดวก 10.00 น. ถึง 21.00 น.
อีเมล์ติดต่อ Line : 0894611699
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 08 มี.ค. 2566 - 12:25.40
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 18 พ.ค. 2567 - 12:28.56
รายละเอียด
พระผงมีกิน พิมพ์กลีบบัว พิธีจตุรพิธพรชัย ปี 2518

ขนาดโดยประมาณ กว้าง 2.5 ซ.ม. สูง 3.5 ซ.ม.

พระพิมพ์นี้อาจารย์ลอย อยู่เรือ สุดยอดตำนานหุ่นพยนต์ ราคาชิ้นละเป็นหมื่น เป็นผู้รวบรวมมวลสาร และกดพิมพ์พระที่วัดรัตนชัย (จีน) จ.พระนครศรีอยุธยา

พิธีจตุรพิธพรชัย

ประวัติการสร้างวัตถุมงคลชุดนี้น่าสนใจมาก เพียงแต่คนจะทราบรายละเอียดค่อนข้างน้อย ทำให้หลายคนมองข้ามของดีในพิธีนี้ไปอย่างน่าเสียดาย

ประวัติมีอยู่ว่า นายเรียน นุ่มดี ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่ดู่ วัดสะแก) ในสมัยนั้นท่านกำลังใกล้จะเกษียณอายุราชการและจะกลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่บ้านเกิดที่ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี

แต่เนื่องด้วยวัดเขาใหญ่ ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่และเป็นวัดใกล้บ้านเกิดนั้นมีสภาพทรุดโทรม เสนาสนะก็ไม่ได้รับการบูรณะมานานมาก ดังนั้น นายเรียนจึงมีความตั้งใจที่จะหารายได้จำนวนหนึ่ง ไปปฏิสังขรณ์วัดเขาใหญ่ให้สวยงาม พร้อมทั้งสร้างวิหารจตุรพิธพรชัยขึ้นใหม่

จึงได้นำความมาปรึกษากับหลวงปู่ดู่ ท่านว่าจะทำอย่างไรดี หลวงปู่ดู่ท่านจึงได้เมตตาแนะนำและให้คำปรึกษาในการจัดสร้างวัตถุมงคล ตลอดจนการนิมนต์ครูบาอาจารย์มาร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลในพิธีอย่างละเอียด

โดยพิธีพุทธาภิเษกถูกกำหนดขึ้นที่วัดรัตนชัย (วัดจีน) อ.เมือง จ.อยุธยา เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ส่วนพระเกจิอาจารย์ที่รับนิมนต์มาร่วมพิธีมีทั้งหมด 16 รูป คือ

1.พระครูสังวรวิมล (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี อ.บางกอกใหญ่ จ.กรุงเทพฯ
2. พระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
3. พระรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเรไรย์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
4. พระโบราณคณิสสร (หลวงพ่อใหญ่) วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
5. พระครูประสาทวรคุณ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู อ.เมือง จ.ลพบุรี
6. พระครูสันทัดธรรมคุณ (หลวงพ่อออด) วัดบ้านช้าง อ.วังน้อย จ.อยุธยา
7. พระครูกัลยานุกูล (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณมิตร อ.ธนบุรี จ.กรุงเทพฯ
8. หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
9. พระครูอดุลวรวิทย์ (หลวงพ่อไวทย์) วัดบางซ้าย อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา
10. หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา
11. พระราชสุวรรณโสภณ วัดพนัญเชิง อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
12. พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี
13. พระครูสังฆรักษ์ (หลวงพ่อเฉลิม) วัดพระญาติการาม อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
14. พระครูภัทรกิจโกศล (หลวงพ่อหวล) วัดพุทไธสวรรค์ อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
15. หลวงพ่อโปร่ง วัดขุนทิพย์ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
16. หลวงพ่อสมบูรณ์ วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ (ศิษย์ก้นกุฎิของหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค มาในนามของท่าน)

เกล็ดเล็กๆน้อยๆ ที่เล่าขานสืบมาเกี่ยวกับพิธีจตุรพิธพรชัย มีดังนี้.-

ครูบาอาจารย์หลายรูปรวมถึงหลวงพ่อกวยกล่าวกับศิษย์ของท่านว่า พิธีนี้ศักดิ์สิทธิ์มาก
พิธีนี้หลวงปู่ดู่ท่านให้นายเรียนนิมนต์หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค มาร่วมพิธีพุทธาภิเษก แต่ขณะนั้นท่านอายุ 126 ปี เข้าไปแล้ว ท่านจึงมอบหมายให้พระอาจารย์สมบูรณ์ ศิษย์ก้นกุฏิและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในขณะนั้นไปร่วมพิธีในนามของท่าน

แต่จะว่าไปแล้วเรื่องที่คนคิดไม่ถึง คือ หลวงปู่สีท่านก็ได้เดินญาณมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกเช่นเดียวกัน เพราะท่านถือว่าท่านได้รับรับนิมนต์จากหลวงปู่ดู่แล้ว

พิธีนี้ว่ากันว่า นอกจากหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค เดินญาณมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกแล้ว ยังมีอีกรูปหนึ่งที่เดินญาณมาร่วมพิธีเหมือนกัน ซึ่งก็คือ หลวงปู่ดู่ วัดสะแก เพราะท่านรับปากนายเรียนว่า จะช่วยปลุกเสกอย่างเต็มที่

ลูกศิษย์ท่านหนึ่งของหลวงพ่อกวยเคยถามว่า "หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค เป็นใคร ทำไมถึงมีเหรียญของท่านในชุดเหรียญ" หลวงพ่อกวยท่านตอบว่า "ท่านเป็นพระอรหันต์.."

หลังจากพุทธาภิเษกเสร็จ มีนักเลงพื้นที่พูดคุยกันว่า "จะขลังแค่ไหน" ปรากฏว่าคำพูดนี้ได้ยินไปถึงนายเรียน ทำให้นายเรียนนำความนี้เข้าปรึกษาครูบาอาจารย์ในพระอุโบสถว่า "จะทำอย่างไรดี"

เพราะเป็นที่ทราบกันว่าสมัยนั้นการลองของประเภทจะๆ นิยมกันมาก เช่น เอาปืนยิง เพราะต้องการทดสอบพุทธคุณในวัตถุมงคลนั้น ๆ ว่าดีจริงเพียงใด ถ้าสมมติว่า "ยิงออกหรือเหรียญโดนยิงทะลุ" ทุกอย่างที่ทำมาเป็นอันจบกัน

ซึ่งในเวลานั้นครูบาอาจารย์ที่พรรษาน้อยไม่กล้าออกความเห็น จึงสงบนิ่ง เพื่อให้ท่านที่พรรษาสูงกว่าปรึกษาและตัดสินใจกัน ระหว่างนั้นหลวงพ่อกวย ท่านได้ขออนุญาตครูบาอาจารย์ทุกรูปว่า "กระผมอาสา"

หลังจากนั้นท่านจึงนำเหรียญรูปเหมือนของท่านติดตัวไปด้วยหนึ่งเหรียญ ออกไปนอกพระอุโบสถ แล้วพูดขึ้นว่า "ใครจะเอาไปลองบ้าง" ปรากฎว่านักเลงคนหนึ่งขออาสาเป็นผู้ทดสอบ และได้นำเหรียญดังกล่าวไปยิงที่หลังพระอุโบสถ ปรากฎว่า "แชะ ๆ ๆ"

และได้นำเหรียญมาคืนหลวงพ่อกวย พร้อมขอขมาท่าน พอชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ดังกล่าว ก็ประจักษ์ในพุทธคุณและเริ่มบอกปากต่อปากไปในวงกว้าง ส่วนหลวงพ่อกวยท่านจึงกลับเข้าไปในพระอุโบสถพร้อมกับกล่าวว่า "เรียบร้อย"

ก่อนพระเกจิอาจารย์ทั้งหมดจะเดินทางกลับวัด ทางคณะกรรมการได้มอบวัตถุมงคลในพิธีนี้จำนวนหนึ่งให้แก่พระเกจิอาจารย์ทุกรูป เพื่อให้นำกลับไปแจกลูกศิษย์ลูกหาที่วัด ทำให้วัตถุมงคลในพิธีนี้กระจายในหลายพื้นที่

มหาพิธีพุทธาภิเษก วัตถุมงคลจตุรพิธพรชัย ที่วัดรัตนชัย เมื่อปี พ.ศ. 2518 นั้น หลวงพ่อกวยท่านพอภินิหารของพระคณาจารย์ ผู้ร่วมพิธีปลุกเสกหลายรูปด้วยกัน เมื่อท่านเดินทางกลับมาถึงวัดโฆสิตาราม ได้เล่าให้คณะศิษย์ฟังว่า

พระวัดกลาง อ.ท่าเรือฯ (หมายถึงหลวงพ่อนอ) มีคุณวิเศษในทางมหาอุดเป็นเลิศ พระวัดบ้านช้าง อ.วังน้อยฯ (หมายถึงหลวงพ่อออด) มีความเข้มขลังทางคงกระพันชาตรี เวลาปลุกเสกตัวเฑาะว์ จะหลุดลอยออกมาจากในปาก พระวัดโบสถ์ ลพบุรี (หมายถึงหลวงพ่อพริ้ง) มีดีทางแคล้วคลาด กำบังภัยอย่างยอดเยี่ยม

สำหรับ "จตุรพิธพรชัย" คือ พรที่ทำให้เกิดความสวัสดีมีชัย 4 ประการ เป็นพรที่พระสงฆ์ให้แก่ชาวบ้านเป็นปกติหลังจากทำบุญแล้ว พร ๔ ประการนี้ คือ

1 . อายุ คือ ให้มีอายุยืน มีชีวิตที่ดี
2 . วรรณะ คือ ให้มีความสวยงาม มีชื่อเสียงเกียรติยศ
3 . สุขะ คือ ให้มีความสุขกายสบายใจมีความสะดวกสบาย
4 . พละ คือ ให้มีกำลังกายกำลังใจกำลังทรัพย์ มีพวกพ้องบริวาร

พร 4 ประการนี้ เป็นพรที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ จึงถือว่าศักดิ์สิทธิ์แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตัดต่อเพิ่มเติม พระสงฆ์ได้ใช้ให้พร มานานเป็นพันปีแล้ว.

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top