ซุ้มเสมาทิศ พิมพ์มีเดือย กรุวัดอรัญญิก พิษณุโลก-wison - webpra
VIP
สมัครเล่นครับ เรียนรู้จากของแท้เท่านั้น

หมวด พระกรุ เนื้อชิน

ซุ้มเสมาทิศ พิมพ์มีเดือย กรุวัดอรัญญิก พิษณุโลก

ซุ้มเสมาทิศ พิมพ์มีเดือย กรุวัดอรัญญิก พิษณุโลก - 1ซุ้มเสมาทิศ พิมพ์มีเดือย กรุวัดอรัญญิก พิษณุโลก - 2ซุ้มเสมาทิศ พิมพ์มีเดือย กรุวัดอรัญญิก พิษณุโลก - 3ซุ้มเสมาทิศ พิมพ์มีเดือย กรุวัดอรัญญิก พิษณุโลก - 4ซุ้มเสมาทิศ พิมพ์มีเดือย กรุวัดอรัญญิก พิษณุโลก - 5
ชื่อร้านค้า wison - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง ซุ้มเสมาทิศ พิมพ์มีเดือย กรุวัดอรัญญิก พิษณุโลก
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระกรุ เนื้อชิน
ราคาเช่า 18,500 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0819460502
อีเมล์ติดต่อ wison41505@gmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 12 ม.ค. 2554 - 19:55.08
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อา. - 23 มิ.ย. 2556 - 17:27.18
รายละเอียด
ซุ้มเสมาทิศ พิมพ์มีเดือย กรุวัดอรัญญิก พิษณุโลก มาพร้อมใบเซอร์ของสมาคมเป็นเครื่องใช้ยืนยันความแท้เป็นอย่างดี องค์นี้สวยหายากมาก มีหน้าตา มีก้านช่อเหลืออยู่ ซึ่งปกติจะตัดออก ทำให้เป็นของแปลกหายากเพราะมีน้อย มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ยิ่งนัก

พระซุ้มเสมาทิศ เป็นพระเอกลักษณ์ของเมืองพิษณุโลก "พระซุ้มเสมาทิศ" หรือบางท่านอาจจะเรียก พระซุ้มระฆัง ซึ่งเดิมชื่อว่า "พระซุ้มคอระฆัง" มีการแตกกรุเป็นครั้งแรกมานานกว่า ๑๐๐ ปี ตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายโน้นที่วัดอรัญญิก ซึ่งสันนิษฐานว่าในสมัยก่อนน่าจะเป็นวัดที่ใหญ่โตเจริญรุ่งเรืองมาก่อน สืบเนื่องจากหลักฐานซากพราะเจดีย์ทั้งองค์ใหญ่องค์เล็กที่ปรักหักพังครอบ คลุมบริเวณกว้าง แต่ต่อมากลายสภาพเป็นวัดร้าง ณ ปัจจุบันเป็นเพียงวัดเล็กๆ มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่เพียงไม่กี่รูป ลบล้างภาพความรุ่งเรืองในอดีตอย่างสิ้นเชิง เป็นที่น่าเสียดายยิ่ง

พระซุ้มเสมาทิศ วัดอรัญญิก มีขนาดพอเหมาะและน้ำหนักเบา สะดวกต่อการบูชาติดตัว ส่วนฐานล่างความกว้างประมาณ ๓ ซ.ม. และส่วนสูงจากฐานถึงยอดบนสุดประมาณ ๕.๙ ซ.ม. พุทธลักษณะองค์พระประธานเป็นพระพุทธรูปขนาดจิ๋ว มีพุทธศิลปะแบบพระพุทธรูปอู่ทอง หรือไม่ก็แบบตะกวนหรือแบบลังกาประทับนั่งแสดงปางมารวิชัย เหนืออาสนะเป็นเส้นขีดรับหนึ่งชั้น ต่อด้วยตุ่มรับอีก ๒ ชั้น ถัดมาเป็นฐานใหญ่เป็นเส้นตรงรองรับอีกชั้นหนึ่ง อยู่ภายในซุ้มคอระฆังใหญ่ ลักษณะเป็นเส้นคู่ภายในมีเม็ดไข่ปลา เรียงรายโดยรอบอย่างสวยงาม ปลายซุ้มทั้งสองข้างแต่งเป็นลายกนกรูปเศียรพญานาค เหนือเส้นซุ้มเป็นลายเถาซ้อนกัน ๓ ชั้น เหนือลายเถาเป็นยอดแหลมมีบัวรองรับ ส่วนฐานล่างสุดถัดจากฐานใหญ่เป็นเส้นขีดทแยงเข้าหากันในลักษณะ "บัวก้างปลา" อันเป็นความงดงามอลังการที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์

ด้วยพุทธลักษณะของ "พระซุ้มเสมาทิศ" ที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ดังกล่าว กอปรกับพุทธคุณที่ปรากฏเป็นที่กล่าวขานกันในด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี และมหาอำนาจเป็นเลิศ จึงกลายเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาของนักนิยมสะสมนับแต่สมัยนั้นเป็นต้นมา จนถึงประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๕ ได้มีการจัดกิจกรรมการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ของนักเรียน ให้ทำการพัฒนาพื้นที่บริเวณโดยรอบวัดอรัญญิกปรากฏว่าเด็กเหล่านั้นได้พบโพรง ที่บรรจุ "พระซุ้มเสมาทิศ" โดยบังเอิญ ตกลงว่าจากการพัฒนาพื้นที่จึงกลายมาเป็นการปิดกรุพระเครื่องไปโดยปริยาย จึงเรียกกันว่า "กรุใหม่"
พระซุ้มเสมาทิศ วัดอรัญญิก ที่แตกกรุเป็นครั้งแรกมีทั้งพระเนื้อดินเผาและเนื้อชิน แต่สำหรับ "พระซุ้มเสมาทิศ วัดอรัญญิก กรุใหม่" จะเป็นเนื้อชินสนิมดำทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็นพระซุ้มเสมาทิศ วัดอรัญญิก ที่ค้นพบเมื่อ ๑๐๐ ปีมาแล้ว หรือที่เพิ่งค้นพบเมื่อ ๔๐ กว่าปีนี้เท่านั้น แต่ถึงอย่างไรอายุการสร้างก็เท่ากัน ดังนั้น พุทธคุณจึงเข้มขลังเช่นกัน นับได้ว่าเป็นพระยอดนิยมอันดับต้นๆของจังหวัดพิษณุ โลกทีเดียวครับผม


วัดอรัญญิก
สันนิษฐานว่า ชื่อ "วัดอรัญญิก" ปรากฎในสมัยกรุงสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์องค์ที่ ๓ แห่งกรุงสุโขทัย อีกครั้งเป็นการถาวร พระผู้ทรงศาสนูปถัมภกได้ทรงสร้างวัด ขึ้นในราชอาณาจัำกรมากมาย จากกรุงสุโขทัยขยายไปหัวเมืองต่าง ๆ และคติการสร้างวัดในรัชสมัย พระองค์ท่านทรงแบ่งออกเป็นวัดในพระราชวัง หรือในเมือง สำหรับพระในเมือง เรียกว่า พระเมือง หรือพระคามวาสี ส่วนหนึ่ง และพระนอกเมือง ที่มุ่งปฏิบัติธรรมวิปัสนาธุระ เรียกว่า พระป่า หรือ พระอรัญวาสี ส่วนหนึ่ง
พระคามวาสีจึงมักปฏิบัติศาสนกิจในวัดมหาธาตุ กรุงสุโขทัย และวัดอรัญญิกาวาส วัดสวนมะม่วง จึงได้เสด็จสร้างวัดมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก ซึ่งภายหลังชื่อว่าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารเป็น วัดคามวาสี และบูรณะครั้งใหญ่ วัดป่าแก้ว ให้สง่างามเป็นวัดอรัญวาสี ชื่อ "วัดอรัญญิก" สืบมาจนถึง ปัจจุบัน
ทรางสร้างเจดีย์ประธาน วัดอรัญญิกตามลักษณะศิปสุโขทัยทรงลังกา หรือทรงระฆัง จากการ ขุดค้นพบฐานเจดีย์เป็นช้างล้อม ๔ ด้าน ด้านละ ๑๖ เชือก มุมฐานเจดีย์อีก ๔ เชือก รวมมีช้างล้อมถึง ๖๘ เชือก รูปรอยเจดีย์องค์เดิมก่อนการบูรณะในยุคหลัง องค์เจดีย์มีร่องรอย ซุ้มพระยืน ๘ ซุ้ม ตามคำ บอกเล่ามุขปาฐะ จึงน่าแน่ชัดว่า เจดีย์ประธาน นอกจากเป็นเจดีย์ช้างล้อม ๖๘ เชือก แล้วยังมีพระยืน ล้อมอีก ๘ องค์ หันพระพักต์ออก ๘ ทิศ อยู่ใต้องค์ระฆังเจดีย์ประธานอีกด้วย
เหตุที่สร้างเจดีย์ประธานวัดอรัญญิกเ็ป็นทรงลังกา สืบเนื่องมาจากก่อนรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช ยังมีการสงครามหลายครั้ง ทำให้การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาหย่อนไป เป็นเหตุให้พระสงฆ์ ในสยามประเทศ ไม่แตกฉานในพระไตรปิฎก พ่อขุนรามคำแหงมหาราช จึงทรงอาราธนาพระสงฆ์ "ลังกาวงศ์" จากนครศรีธรรมราช มาจำพรรษา ณ วัดอรัญญิก นำโดยพระมหาสวามีสังฆราช และ ให้มีเจ้้าคณะ อรัญวาสี ชื่อพระยรมครูติโลกดิลกติรัตน์ ปฏิบัติศาสนกิจ เหตุนี้จึ้งทรงสร้างเจดีย์ ประธานเป็นศิลปะ สุโขทัย ทรงลังกา ตามแบบพุทธเจดีย์แห่งพระเจ้าทุฎญคามีนีในลังกาทวีป และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงเสร็จบำำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดอรัญญิก นอกเมืองทั้งใน กรุงสุโขทัย และหัวเมือง ตามปรากฎในประชุมศิลาจารึก ภาค ๑ หน้า ๙ - ๑๐ ว่า "วันเดือนดับ เดือนเพ็ญ ... แต่งช้างเผือก ... ชื่อรุจาศรี พ่อขุนรามคำแหงขึ้นขี่ไปนบพระ... อรัญญิกแล้วเข้ามา"
สันนิษฐานว่า มีการขุดคูน้ำและสร้างพระวิหารด้านทิสตะวันออกของเจดีย์ประธานราว พ.ศ.๑๙๐๔ รัชสมัยพญาลิไท แห่งกรุงสุโขทัย ครั้งเสด็จมาทรงประกอบพิธีหล่อพระพุทธชินราช
สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ คราวสถาปนาเมืองพิษณุโลก เป็นราชธานีของไทยราว พ.ศ. ๒๐๐๗ ทรางสร้างระเบียงคตล้อมรอบ ๔ ด้านของเจดีย์ประธาน และไ้ด้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่อีก
ครั้งหนึ่ง เมื่อสมเด็จพระนเาศวรมหาราช ครั้งดำรงพระยศมหาอุปราช กรุงศรีอยุธยา ใช้เมืองพิษณุโลก เป็นฐานในการกอบกู้เอกราชก่อน พ.ศ. ๒๑๒๗
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงบูรณะในราว พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑ ในคราวใช้เมืองพิษณุโลก เป็นฐานในการทำสงครามกับเชียงใหม่
ในราว พ.ศ. ๒๓๑๘ หลังเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพพม่ายกทัพเข้าล้อมเมือง พิษณุโลก เผาวัดทุกแห่งในเมืองพิษณุโลก เพือไม่ให้เป็นที่หลบซ่อนของทหาร และชาวเมืองไทย รวมทั้งวัดอรัญญิก ก็ถูกเผาด้วย ยกเว้นวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเท่านั้นที่ไม่ถูกเผา
วัดอรัญญิกเสื่อมโทรม ชำรุดทรุดโทรม ปรกหักพัง รกร้าง มีการขุดค้นหาวัตถุมงคลและของมีค่า จนศาสนวัตถุสถาน ทุกชิ้นเสียหายยับเยิน แม้องค์เจดีย์ประธานเหลือเพียงยอดด้วนและฐานจมดิน กลับเข้าสู่สภาพป่ารก ยังคงเหลือต้นยางสูงใหญ่ เป็นเอกลักษณ์และสัญลักษณ์ของผู้หลงทาง แห่งเมืองพิษณุโลกจดจำได้
ก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ มีคณะแม่ชี นำโดย แม่ฃีพวง ซึ่งเป็นคนพื้นบ้านอรัญญิก เริ่มเช้ามาปรับปรุง บริเวณวัดอรัญญิก สร้างกุฏิชีเพื่อถือศีลจาริณี ตามอัตภาพที่พึงกระทำได้ มีพระสงฆ์จำนวนน้อย ซึ่งแม่ชีพวง และคณะแม่ชีให้การอุปถัมภ์ ถึงกระนั้นวัดอรัญญิกคงยังเต็มไป ด้วยป่ารกรอบบริเวณ วัดด้วยขาดปัจจัยหลายด้านในการบูรณะปฏิสังขรณ์
ครั้งถึงราว พ.ศ. ๒๕๑๒ พระครูสมุห์ แจ่ม สุธมฺโม เจ้าคณะกุฏิ ๕ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหา
วิหาร ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์จังหวัดพิษณุโลก ให้ทำการบูรณะฟื้นฟูสถาพวัดอรัญญิก โดย ปรับสภาพพื้นที่โบราณวัตถุสถานที่ยังเหลืออยู่บ้าง ขุดลอกคูน้ำรอบเขตพุทธาวาส จัดทำถนน บริเวณวัด ขอรับบริจาคที่ดินด้านทิศเหนือจากนางหงษ์ จันทร์แดง จำนวน ๙ ไร่ พร้อมสร้างกุฏิ เจ้าอาวาสขึ้นใหม่ ให้อีก ๑ หลัง บนที่ดินบริจาคในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ครั้งถึง พ.ศ.๒๕๑๘ พระครูสมุห์แจ่ม สุธมฺโม ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอง วัดพระศรีรัตนมาหธาตุวรมหาวิหารที่ "พระครูประทาสธรรมวัตร" ปละได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการ เจ้าอาวาสวัดอรัญญิกอีกตำแหน่งหนี่งใน พ.ศ.๒๕๑๙ และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชา คณะสามัญที่ "พระวรญาณมุนี" ในปีพ.ศ. ๒๕๔๗ แต่พุทธศาสนิกชนนมัสการพระคุณท่านในนาม
พระเกจิอาจารย์เจ้าคุณ "หลวงตาละมัย" ตลอดมา
ท่านเจ้าคุณพระวรญาณมุนี หรือหลวงตาละมัย ได้นำสร้างและบูรณะวัตถุสถานหลายอย่าง อาทิ เจดีย์ประธาน พระอุโบสถ พระวิหาร เจดีย์บริวาร วิหารคต หอระฆัง ศาลาการเปรียญ เมรุเผาศพ ศาลาธรรมสังเวช กำแพงวัด ซุ้มประตูวัด รวมทั้งฟื้นฟูประเพณีอันดีงาม อาทิ ในวันสงกรานต์มี พิธีห่มผ้าพระเจดีย์ประธาน สรงน้ำพระ อาบน้ำ ขอพรผู้อาวุธโส ก่อนพระเจดีย์ทราย เทศน์มหาชาติ ทอดกฐิน และที่เป็นประเพณีเอกลักษณ์ของวัดอรัญญิก คือ ประเพณีทอดผ้าป่าสงกรานต์ย่ำค่ำ
วัดอรัญญิก ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน อยู่ห่างจากกำแพงเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร บนถนนพญาเสือ ซึ่งแยกจากถนนเอกาทศรถ เป็นวัดที่สร้างในสมัยสุโขทัย สำหรับสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี วัดนี้มีคูน้ำล้อมรอบ ตามคติสมัยสุโขทัย ถมเป็นเนินสำหรับวิหาร ด้านหลังวิหารมีเจดีย์ใหญ่ทรงลังกาเป็นเจดีย์ประธาน และมีเจดีย์บริวารสี่องค์ แต่ปัจจุบันผุพังไปมาก

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top