ประวัติหลวงพ่ออี้ - webpra

ประวัติหลวงพ่ออี้

บทความพระเครื่อง เขียนโดย lekleking

lekleking
ผู้เขียน
บทความ : ประวัติหลวงพ่ออี้
จำนวนชม : 1263
เขียนเมื่อวันที่ : อ. - 23 ก.พ. 2553 - 08:03.59
(คลิ๊กที่ชื่อผู้เขียนผู้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียน)

พระครูวรเวทมุนี  (หลวงพ่ออี๋)
วัดสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

 

คัดลอกจาก http://www.sattahipbeach.com/sheet3.html

คัดลอกจาก http://www.tumnan.com/keji_arjan/keji_arjan_g.html

พระครูวรเวทมุนี ปรากฏนามเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ๆ ว่า "หลวงพ่ออี๋" เพราะท่านชื่ออี๋มาแต่แรก ท่านเป็นบุตรชาย นายขำ นางเอียง ทองขำ เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2408ตรง กับวันอาทิตย์ ขึ้น 11 ค่ำเดือน 11 ปีฉลู ที่บ้านตำบลสัตหีบ กิ่งอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

เมื่ออายุ 25 ปีได้อุปสมบทที่วัดอ่างศิลานอก ซึ่งบัดนี้ได้ยุบรวมเข้าเป็น วัดอ่างศิลาวัดเดียว โดยมีพระอาจารย์จั่น จนฺทโส เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยมีพระอาจารย์ทิม เป็นกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์แดงเป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ได้ตั้งฉายาว่า "พุทธสโร" และในช่วงโอกาสนั่นเอง หลวงพ่ออี๋ก็ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย คลองด่าน และยังกล่าวกันอีกว่า หลวงพ่อแดงและหลวงพ่อเหมือนก็เป็นพระอาจารย์ท่านด้วยเช่นกัน

วัดสัตหีบ (วัดหลวงพ่ออี๋) เป็นวัดที่หลวงพ่ออี๋ได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2442 และท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก หลวงพ่ออี๋มีความชำนาญในด้านสมถะวิปัสสนาธุระมากคือ คล่องแคล่วในการเข้าใน ออกนอก และในการพักจิตอยู่เป็นกสิณ และในธรรมารมณ์ตามปรารถนา จะเรียกว่า มีวสีภาพก็ควร เพราะเมื่อท่านปรารถนาจะสำรวมจิตแล้ว ไม่มีอะไรมาขัดขวางทางเดินภายในของท่านได้ เป็นการเข้าออกได้เรียบร้อยตามประสงค์

เมื่อกล่าวถึงคุณสมบัติแล้วท่านจะเหนือว่าพระเถระอื่น ๆ มากทีเดียวเพราะท่านสามารถยกจิตให้พ้นจากเวทนาได้เสมอ ดังจะเห็นได้จากเวทนาที่เกิดขึ้นจากความหนาว ร้อน หิว กระหาย ปวด บวม ระบม เป็นต้น ท่านไม่เคยปริปากบ่นในเรื่องทุกขเวทนาดังกล่าวให้ผู้อื่นได้ยินเลย แม้การเจ็บป่วยเจ็บป่วยของท่าน คงอยู่ในอาการสงบเป็นปรกติจนหมดอายุขัย

"หลวงพ่ออี๋"  ได้สร้างพระเครื่องรางต่างๆ ไว้มาก รวมทั้งปลัดขิกที่มีชื่อมาก (พอๆ กับหลวงพ่อเหลือ แปดริ้ว) ทั้งตะกรุด เสื้อยันต์ เหรียญ พระปิดตา "พระสาม" และ "พระสี่" (พรหมสี่หน้า) กล่าวกันว่าในระยะ พ.ศ. 2483-86 นั้น หลวงพ่ออี๋ก็มีของดีเกรียงไกรออกสู่สงครามอินโดจีนไปก็มาก ชื่อเสียงของท่านดังขนานไปกับหลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา และหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอกทีเดียว พระเครื่องรางของขลังของหลวงพ่ออี๋มีสร้างออกมามากแบบเอาใน พ.ศ. 2484 และตาม พ.ศ. นี้เอง "พระสาม" และ "พระสี่" หรือ พระพรหมสี่หน้า ก็ได้กำเนิดตามออกมาด้วย พระทั้ง 2 พิมพ์เป็นพระเนื้อเมฆพัด องค์หนึ่งทำเป็นพระ 3 หน้าพระทับนั่งบนฐานบัวกลีบ (3 หน้า 3 องค์) ส่วนพระสี่หรือพรหมสี่หน้าก็ทำเป็นพระประทับนั่งบนฐานเขียงเหมือนกันทั้ง 4 หน้า (4 หน้า 4 องค์) ด้านพุทธคุณมีทั้งแคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี

ประวัติหลวงพ่ออี้
Top