เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม วัดเหวลึก อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร-dd-team2005 - webpra
VIP
ซื่อตรง...จริงใจ...ไม่หลอกลวง ครับ..เงินท่านแท้...ท่านต้องได้ " พระแท้ " ครับ..

หมวด พระเกจิภาคอีสานเหนือ

เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม วัดเหวลึก อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม วัดเหวลึก อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร - 1เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม วัดเหวลึก อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร - 2เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม วัดเหวลึก อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร - 3
ชื่อร้านค้า dd-team2005 - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม วัดเหวลึก อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
อายุพระเครื่อง 35 ปี
หมวดพระ พระเกจิภาคอีสานเหนือ
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ dd-team2005@hotmail.co.th
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 28 ส.ค. 2554 - 18:10.56
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อ. - 11 มิ.ย. 2556 - 12:59.15
รายละเอียด
ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม

วัดเหวลึก (วัดฐิติธรรมาราม)
ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร


๏ อัตโนประวัติ

“พระครูฐิติธรรมญาณ” หรือ “หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม” อดีตเจ้าอาวาสวัดเหวลึก (วัดฐิติธรรมาราม) และอดีตเจ้าอาวาสวัดศรีชมพู ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร มีชื่อเลื่องลือยิ่งในฐานะศูนย์รวมใจธรรม ใช้เวลากว่าครึ่งชีวิตใต้ร่มกาสาวพัสตร์ แนะนำพร่ำสอนคณะศรัทธาญาติโยมผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ให้รู้จักบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา และตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์

หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม มีนามเดิมว่า ลี แสนเลิศ เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พุทธศักราช 2463 ตรงกับวันเสาร์ แรม 5 ค่ำ เดือน 10 ปีวอก ณ บ้านบึงโนนอก ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โยมบิดาชื่อ พ่อใหญ่เคน แสนเลิศ โยมมารดาชื่อ แม่ใหญ่ปึ้ง แสนเลิศ หลวงปู่มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 3 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 1 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 2 โดยมีชื่อตามลำดับดังนี้

(1) โยมพี่ชาย (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)
(2) หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม (มรณภาพแล้ว)
(3) โยมน้องสาว นางบุญ แสนเลิศ (เสียชีวิตแล้ว)


๏ ภูมิลำเนาเดิม

ภูมิลำเนาเดิมของโยมบิดาอยู่ที่บ้านแดง ตำบลหนองดินดำ อำเภอท่าวัดบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ส่วนโยมมารดานั้นเป็นคนบ้านดอนแคนน้ำ ตำบลหนองดินดำ อำเภอท่าวัดบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด อาชีพหลักของท่านทั้งสองคือการทำนา สำหรับโยมบิดาของหลวงปู่นั้น ยังมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านพืชสมุนไพรต่างๆ ด้วย ท่านจึงทำหน้าที่เป็นหมอยารักษาชีวิตคนด้วยความเมตตาอีกทางหนึ่ง

พ่อใหญ่เคน แสนเลิศ โยมบิดาของหลวงปู่ เดิมมีภรรยาคนแรกและมีบุตรด้วยกัน 4 คน (ปัจจุบันเสียชีวิตหมดแล้ว) หลังจากที่ภรรยาคนแรกเสียชีวิตลง โยมบิดาได้แต่งงานใหม่กับแม่ใหญ่ปึ้ง แสนเลิศ โยมมารดาของหลวงปู่ โดยท่านทั้งสองได้ใช้ชีวิตร่วมกันที่บ้านดอนแคนน้ำ จนกระทั่งเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ แม่น้ำชีหนุนขึ้นสูงจนเกิดน้ำท่วมใหญ่และโรคระบาดอย่างรุนแรง ทำให้ผู้คนล้มตายกันมากมาย

โยมบิดาและโยมมารดาของหลวงปู่ จึงตัดสินใจอพยพย้ายถิ่นฐานที่อยู่มายังบ้านบึงโนนอก ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ร่วมกับชาวบ้านอีกประมาณ 60 ครัวเรือน ด้วยได้ยินกิติศัพท์ว่า บ้านบึงโนนอกเป็นสถานที่อุดมสมบูรณ์มาก ผู้เฒ่าผู้แก่เล่ากันว่า ในสมัยนั้นบ้านบึงโนนอกจะมีต้นโสน และต้นแซง ขึ้นเต็มบึง แต่ละต้นมีลำต้นโตเท่าแขน หลวงปู่เล่าว่า “ต้นใหญ่ขนาดคนตัวโตนั่งเล่นได้ ไม่ตก”

บ้านบึงโนนอกในครั้งนั้นยังเป็นป่าดิบ เรื่อยมาตั้งแต่ดงผาลาด ดงบัง ต่อเนื่องจนถึงดงหม้อทอง เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ทั้งช้างป่า เสือ เก้ง กวาง ละมั่ง หมูป่า ไก่ป่า หลวงปู่เล่าว่า “สมบูรณ์ขนาดปลาในบึง จับวันเดียวกินได้ทั้งอาทิตย์”

ในช่วงอพยพย้ายถิ่นฐานที่อยู่จากบ้านดอนแคนน้ำ จังหวัดร้อยเอ็ด มาที่บ้านบึงโนนอก จังหวัดสกลนครนั้น โยมมารดาของหลวงปู่กำลังตั้งครรภ์ท่านอยู่ ด้วยเหตุนี้หลวงปู่จึงมักปรารภว่า “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด” ด้วยถือว่าท่านถือกำเนิดนับแต่โยมมารดาตั้งครรภ์


๏ ชีวิตปฐมวัยและการศึกษาเบื้องต้น

แม่ใหญ่ปึ้ง แสนเลิศ โยมมารดาของหลวงปู่นั้นเสียชีวิตในขณะที่หลวงปู่ยังเล็กอยู่มาก คือหลังจากคลอดน้องสาว (นางบุญ แสนเลิศ) ได้ไม่นาน ส่วนโยมพี่ชายของหลวงปู่ก็เช่นกัน เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก โดยในตอนนั้นบ้านบึงโนยังไม่มีป่าช้า ท่านเคยเล่าขำๆ ว่า พี่ชายของท่านตายจองป่าช้า โยมบิดาของหลวงปู่ได้แต่งงานใหม่อีกครั้งหนึ่งกับแม่หม้ายลูกติด 1 คน ชื่อแม่หมุน มีลูกสาวด้วยกัน 1 คน ชื่อ บัว

ดังได้กล่าวในตอนต้นแล้วว่า พ่อใหญ่เคน แสนเลิศ โยมบิดาเป็นหมอยาสมุนไพรช่วยรักษาชีวิตคน จึงเป็นเหตุให้บางครั้งต้องจากบ้านไปเพื่อรักษาชีวิตคน นานอาทิตย์หนึ่งบ้าง ครึ่งเดือนบ้าง หนึ่งเดือนบ้าง หลวงปู่กับน้องสาว (นางบุญ แสนเลิศ) จึงถูกทอดทิ้งให้อยู่กับแม่เลี้ยง ท่านว่า “ครั้งหนึ่งเคยเกือบเป็นฆาตกร ฆ่าแม่เลี้ยงไปแล้ว เนื่องจากน้องสาวของท่านถูกแม่เลี้ยงรังแก แต่โชคดีที่ท่านมีสติระงับได้ทัน”

เมื่อโยมบิดาถึงแก่กรรมในขณะที่หลวงปู่มีอายุไม่ถึง 10 ปีนั้น จึงนับว่าเป็นภาระหนักหนาสำหรับเด็กชายวัยนี้ ที่ต้องรับผิดชอบดูแลทุกอย่างในครอบครัว ทั้งเลี้ยงน้องที่ยังเล็กถึง 3 คน ทั้งต้องเลี้ยงวัวควาย ทำไร่ไถนา ด้วยความยากลำบาก และต้องอยู่กับแม่หมุนผู้เป็นแม่เลี้ยง

หลวงปู่เล่าว่า ท่านลำบากแม้กระทั่งการเรียน เรียนไปได้ 1 ปี ที่โรงเรียนวัดบ้านโคกสี ก็ต้องหยุดการเรียนการสอน เนื่องจากครูผู้สอนเสียชีวิต มาได้เรียนอีกทีก็เมื่อบ้านบึงโนนอกได้ตั้งโรงเรียนวัดบ้านบึงโนนอก (โรงเรียนวัดศรีชมพู ในปัจจุบัน) ขึ้น ท่านจึงได้มีโอกาสเรียนต่อจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2478 อายุ 15 ปี

๏ ชีวิตวัยหนุ่ม

ขณะอายุได้ 15-16 ปี หลวงปู่มีความฉลาดเฉลียว อุปนิสัยอาจหาญ ร่าเริง พูดเก่ง และเป็นผู้นำในหมู่ พ่อใหญ่สุด สหายในวัยเด็กของหลวงปู่เล่าว่า หลวงปู่จะเป็นผู้นำในทุกเรื่อง บางครั้งเวลาไปเลี้ยงควายคุยกัยแค่ 2-3 คน แต่สนุกสนานเฮฮาเหมือนคุยกัน 9 คน 10 คน เมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นในหมู่วัวควาย หลวงปู่ก็จะนำวัวควายที่เกิดโรคระบาดนี้ ไปในที่ห่างไกลจากหมู่บ้าน ไม่ให้แพร่เชื้อ ไปติดตัวอื่นที่ยังไม่เป็น

ในด้านอุปนิสัยผู้นำของหลวงปู่นั้น หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร แห่งวัดถ้ำประทุน ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ได้เคยกล่าวรับรองในหลายโอกาสว่า “หลวงปู่ลีท่านเก่ง เป็นผู้นำมาแต่น้อย เราแอบหลังท่าน ไม่กล้า โตมาด้วยกัน เล่นกันมา ไล่หลังกันมา เพราะเราเป็นรุ่นน้องหลวงปู่ลี 2-3 ปี”

ช่วงอายุ 18-22 ปี ถ้าไม่ใช่ฤดูทำนา หลวงปู่มักจะพาหมู่ไปค้าขายไกลๆ ถึงร้อยเอ็ดบ้าง มหาสารคามบ้าง โดยใช้เกวียนเดินทาง ไปครั้งละ 1 เดือนบ้าง 5 วันบ้าง แล้วแต่ระยะทางและสินค้าที่นำไป สินค้าที่หลวงปู่นำไปขายส่วนใหญ่มักจะเป็นจำพวก หวาย ปลาร้า และเข (เครื่องมือในการย้อมไหม) พ่อใหญ่สุดเล่าว่า ไปกับหลวงปู่แล้วสนุกมาก ไม่เบื่อเลย เพราะหลวงปู่จะเป็นผู้นำที่ดีมาก รักหมู่รักเพื่อน ไม่ทอดทิ้งและดูแลทุกคนเสมอกัน


๏ การอุปสมบท

ล่วงเข้าสู่วัยหนุ่มฉกรรจ์อายุได้ 23 ปี หลวงปู่มีความคิดที่จะแต่งงาน แต่หลวงปู่ธรรม เจ้าอาวาสวัดดอนชัยมงคล อำเภอบ้านหัน (อำเภอสว่างแดนดิน ในปัจจุบัน) จังหวัดสกลนคร ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้าของหลวงปู่ได้ห้ามเอาไว้ โดยบอกว่า “พ่อแม่ก็ล้มหายตายจากไปแล้ว ก็น่าจะบวชให้สักปีสองปีก่อน จึงค่อยลาสิกขามาแต่งงานก็ได้” ด้วยความกตัญญูหลวงปู่จึงตัดสินใจบวชเพื่อทดแทนพระคุณบิดามารดาในปีนั้นนั่นเอง

ในสมัยนั้น การบวชเป็นพระธรรมยุต จะต้องไปบวชที่วัดซึ่งมีพระอุปัชฌาย์เป็นพระธรรมยุตด้วยกัน และวัดที่อยู่ใกล้ที่สุดก็อยู่ไกลถึงวัดจอมศรี ตำบลพันดอน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี แต่เมื่อตัดสินใจเด็ดเดี่ยวแล้ว หลวงปู่ก็มิได้ย่อท้อแต่อย่างใด มุ่งมั่นเป็นผ้าขาวอยู่นานหลายเดือน จึงเดินตามรอยเท้าครูบาอาจารย์ จากบ้านบึงโน จังหวัดสกลนคร ไปยังวัดจอมศรี จังหวัดอุดรธานี เข้าสู่ชีวิตใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์

ต่อมาได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเมีย เวลา 11.00 นาฬิกา ณ พัทธสีมาวัดจอมศรี ตำบลพันดอน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี โดยมี พระครูพิทักษ์คณานุกร วัดจอมศรี จังหวัดอุดรธานี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระสมุห์ภา วัดจอมศรี จังหวัดอุดรธานี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระฮวด สุมโน วัดชัยมงคล ตำบลสว่าง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “ฐิตธมฺโม” ซึ่งแปลว่า “ผู้ตั้งอยู่ในธรรม”

๏ การมรณภาพ

แม้ในระยะหลังที่กิจนิมนต์ของหลวงปู่มากขึ้น ตามจำนวนลูกศิษย์ที่เพิ่มขึ้นมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ หลวงปู่ท่านก็ยังคงดำรงตนแผ่กิ่งก้านแห่งความร่มเย็นปกคลุมไปทั่ว โดยมิได้เหน็ดเหนื่อยโดยมิได้ละเว้น เมตตาของหลวงปู่ไม่มีประมาณ ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่เคยตกหล่น แม้ลูกศิษย์ตัวน้อย

ด้วยเหตุนี้ เรื่องราวใน 24 พรรษาของท่าน จึงเป็นบันทึกเล่าขานที่ไม่มีม้วนเทปม้วนใด บุคคลใด บันทึกได้ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรษาสุดท้าย ที่อาการอาพาธของหลวงปู่หนักขึ้นเรื่อยๆ แต่กระนั้น หลวงปู่ก็ยังดำรงองค์เหมือนไม่มีอะไร หลวงปู่ไม่ได้สนใจต่อโรคร้าย ที่แสดงตัวกำเริบขึ้นทุกที ท่านยังคงทำหน้าที่ “พระธรรมทูต” เผยแผ่พระธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เป็นปกติ ตราบถึงวินาทีสุดท้าย


วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2542 หลวงปู่มีอาการไตวายชัดเจน มีอาการบวมทั้งองค์ ปัสสาวะไม่ออกเลย เวลาประมาณ 08.15 นาฬิกา หัวใจหยุดเต้น แพทย์ที่อยู่เวรประจำได้ทำการปั้มหัวใจ และถวายยาฉีดกระตุ้นหัวใจให้หัวใจทำงานต่ออีก ประมาณเวลาประมาณ 08.45 นาฬิกา ค่าออกซิเจนในเลือดเริ่มลดต่ำลง ความดันโลหิตตก และหัวใจเต้นช้าลงเรื่อยๆ จนกระทั่งหยุดเต้น เครื่องมือไม่สามารถวัดสัญญาณชีพของหลวงปู่ได้อีก คณะแพทย์ได้พยายามรักษาอย่างสุดความสามารถ จนกระทั่งหลวงปู่ลี ได้ละสังขารลงอย่างสงบ ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในเวลา 09.00 นาฬิกา ของวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2542 ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 12 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ สิริอายุรวม 78 ปี 8 เดือน 8 วัน พรรษา 56

ท่ามกลางความเศร้าสลดอาลัยของคณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไปเป็นยิ่งนัก เหลือทิ้งไว้แต่ผลงานอันทรงคุณค่ายิ่งที่อุทิศให้แด่พระพุทธศาสนา เป็นอนุสรณ์แห่งความทรงจำไว้เบื้องหลัง

////////////////////////////////////////////////////////////

เหรียญรุ่นนี้ นับเป็นเหรียญรุ่นแรกของหลวงปูลี ครับ

สร้างในวาระครบรอบ 62 ปี ของหลวงปู่ครับ

สภาพจัดว่าสวยเดิมครับ

A666




ด.ต.เอนก อยุธยา....จัดส่ง ( 10/6/56 )

EJ797556570TH

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top