ประวัติ เมืองนครสวรรค์ - พระกรุ - webpra

เมืองนครสวรรค์

ประวัติ พระกรุ


เมืองนครสวรรค์

                เดิมจังหวัดนี้ชื่อเมือง “พระบาง” เพราะเคยเป็นเมืองที่พักระหว่างทางของพระพุทธรูปสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงอัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ และภายหลังโปรดให้นำกลับไปคืน ต่อมาเมืองนี้เปลี่ยนชื่อเป็นชอนตะวัน และนครสวรรค์ตามลำดับวิมานซึ่งเป็นที่สถิตของชาวสวรรค์หมายถึงชื่อหลังสุดของจังหวัดนครสวรรค์ เป็นชุมชนเมื่อประมาณ 1000 ปีมาแล้ว กระทั่งเข้าสู่ยุคทวาราวดีในพุทธศตวรรษที่ 13-16 ดินแดนนี้ได้รับอารยธรรมจากอินเดียจนพัฒนาขึ้นเป็นสังคมเมืองขนาดใหญ่มีโบราณสถานกว่า 20 แห่ง ทำให้นครสวรรค์มีความสำคัญในฐานะที่ถูกเรียกขานว่าเป็น “รัฐกึ่งกลาง” ที่เชื่อมระหว่างทิศตะวันตกกับทิศตะวันออก

                สำหรับเมืองโบราณในจังหวัดนครสวรรค์ เช่นจันเสน ดงแม่นางเมือง หรือ บ้านโคกไม้เดนมีร่องรอยคล้ายเมืองโบราณที่พบในภาคอีสานจากศิลาจารึกซึ่งค้นพบที่ดงแม่นางเมือง แปลความว่า เป็นดินแดนเมืองชื่อ “ธานยบุรี” ในบริเวณเดียวกันยังขุดพบพระพุทธรูปสำริดและพระพุทธรูปหินทราย สมัยลพบุรีมากมาย ยังเจริญด้วยชาวจีนที่อพยพเข้ามาค้าขายส่งผลให้ พ.ศ.2438 นครสวรรค์ เป็น 1 ใน 4 มณฑลแรกตั้งขึ้นมีอาณาเขตคือ เมืองนครสวรรค์ กำแพงเพชร ชัยนาท ตาก อุทัยธานี พยุหคีรี มโนรมย์ และสวรรค์บุรี

                ครั้งสมัยรัชกาลที่ 5 มีการเปิดเดินรถไฟสายเหนือมาถึงปากน้ำโพเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการเดินทางและการขนส่ง จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 7 มีการออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ พ.ศ. 2476 จึงได้ยุบเลิกมณฑล นครสวรรค์จึงมีฐานะเป็นจังหวัดตั้งแต่นั้นมา

                นครสวรรค์นอกจากจะมีชื่อเดิมว่า เมืองพระบางยังปรากฏนามอีกหลายชื่อ เช่น เมืองขอนตะวัน(เรียกตามลักษณะที่ตั้งของเมืองหันหน้าไปทางทิศษตะวันออก) เมืองสี่แคว(เรียกตามการบรรจบกันของแม่น้ำ 4สาย) และเมืองปากน้ำโพ ที่หลายคนบอกว่ามาจากคำว่าปากน้ำโผล่นั่นเอง (เรียกตามชื่อตัวเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำใหญ่มาบรรจบกัน) วัดหัวเมืองเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครสวรรค์ ในปี พ.ศ. 2510 ปรากฏมีพระแตกกรุออกมาสองพิมพ์ คือพระนางพญาและพระพิมพ์นครโกษา เป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดง สร้างในสมัยอยุธยาส่วนพิมพ์นครโกษาสร้างสมัยลพบุรี พระทั้ง 2 พิมพ์นี้จัดเป็นพระที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนครสวรรค์เลยทีเดียว ด้านพระพุทธคุณดีทางแคล้วคลาดและคงกระพัน


ข้อมูลอ้างอิง : คัดลอกมาจาก "หนังสือ อมตพระกรุ"
ทางทีมงานขอขอบคุณทางเจ้าของหนังสือมา ณ โอกาสนี้



Top