ปี 2527-2537 เหรียญพระปรกใบมะขาม ภ.ป.ร. ธรรมศาสตร์ 50 ปี (2โค๊ต) - ทำเนียบรุ่น - webpra

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

ปี 2527-2537 เหรียญพระปรกใบมะขาม ภ.ป.ร. ธรรมศาสตร์ 50 ปี (2โค๊ต)

ปี 2527-2537 เหรียญพระปรกใบมะขาม ภ.ป.ร. ธรรมศาสตร์ 50 ปี (2โค๊ต) (2.เนื้อเงิน)
เหรียญพระปรกใบมะขาม 50 ปี ( 2โค๊ต )
ปี 2527-2537 เหรียญพระปรกใบมะขาม ภ.ป.ร. ธรรมศาสตร์ 50 ปี (2โค๊ต) (2.เนื้อเงิน)
เหรียญพระปรกใบมะขาม 50 ปี ( 2โค๊ต )
ปี 2527-2537 เหรียญพระปรกใบมะขาม ภ.ป.ร. ธรรมศาสตร์ 50 ปี (2โค๊ต) (2.เนื้อเงิน)
เหรียญพระปรกใบมะขาม 50 ปี ( 2โค๊ต )
ปี 2527-2537 เหรียญพระปรกใบมะขาม ภ.ป.ร. ธรรมศาสตร์ 50 ปี (2โค๊ต) (2.เนื้อเงิน)
เหรียญพระปรกใบมะขาม 50 ปี ( 2โค๊ต )
ปี 2527-2537 เหรียญพระปรกใบมะขาม ภ.ป.ร. ธรรมศาสตร์ 50 ปี (2โค๊ต) (3.เนื้อทองแดง)
เหรียญพระปรกใบมะขาม 50 ปี ( 2โค๊ต )
ปี 2527-2537 เหรียญพระปรกใบมะขาม ภ.ป.ร. ธรรมศาสตร์ 50 ปี (2โค๊ต) (3.เนื้อทองแดง)
เหรียญพระปรกใบมะขาม 50 ปี ( 2โค๊ต )
ปี 2527-2537 เหรียญพระปรกใบมะขาม ภ.ป.ร. ธรรมศาสตร์ 50 ปี (2โค๊ต) (3.เนื้อทองแดง)
เหรียญพระปรกใบมะขาม 50 ปี ( 2โค๊ต )
ปี 2527-2537 เหรียญพระปรกใบมะขาม ภ.ป.ร. ธรรมศาสตร์ 50 ปี (2โค๊ต) (3.เนื้อทองแดง)
เหรียญพระปรกใบมะขาม 50 ปี ( 2โค๊ต )
ปี 2527-2537 เหรียญพระปรกใบมะขาม ภ.ป.ร. ธรรมศาสตร์ 50 ปี (2โค๊ต) (ตัวอย่าง 1โค๊ต)
เหรียญพระปรกใบมะขาม 50 ปี ( 1โค๊ต )
ปี 2527-2537 เหรียญพระปรกใบมะขาม ภ.ป.ร. ธรรมศาสตร์ 50 ปี (2โค๊ต) (ตัวอย่าง 1โค๊ต)
เหรียญพระปรกใบมะขาม 50 ปี ( 1โค๊ต )
ปี 2527-2537 เหรียญพระปรกใบมะขาม ภ.ป.ร. ธรรมศาสตร์ 50 ปี (2โค๊ต) (ตัวอย่าง 1โค๊ต)
เหรียญพระปรกใบมะขาม 50 ปี ( 1โค๊ต )
ปี 2527-2537 เหรียญพระปรกใบมะขาม ภ.ป.ร. ธรรมศาสตร์ 50 ปี (2โค๊ต) (ตัวอย่าง 1โค๊ต)
เหรียญพระปรกใบมะขาม 50 ปี ( 1โค๊ต )
ชื่อพระเครื่อง ปี 2527-2537 เหรียญพระปรกใบมะขาม ภ.ป.ร. ธรรมศาสตร์ 50 ปี (2โค๊ต)
อายุพระเครื่อง 0 ปี
หมวดพระ พระเหรียญปั๊ม-เหรียญหล่อ
สถานะ
จำนวนคนชม 12930
เข้าทำเนียบตั้งแต่วันที่ ศ. - 10 ก.พ. 2555 - 21:21.35
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อ. - 14 ก.พ. 2555 - 12:10.50
Facebook
รายละเอียด
( หลวงตามหาบัว ร่วมพิธีปลุกเสก )

ข้อมูลโค๊ตเบื้องต้น
- เหรียญพระปรกใบมะขาม ภ.ป.ร. ธรรมศาสตร์ 50 ปี จะมีตอกโค๊ต 1 โค๊ต และ ตอกโค๊ต 2 โค๊ต
- ตอกโค๊ต 1 โค๊ต (โค๊ตนะ) คือ เหรียญที่เข้าพิธี 50ปี ธรรมศาสตร์
- ตอกโค๊ต 2 โค๊ต (โค๊ตนะ และ โค๊ตธรรมจักร) คือ เหรียญที่เหลือจากพิธี 50ปี ธรรมศาสตร์ และได้นำมาเข้าพิธี 60ปี ธรรมศาสตร์ โดยได้ตอกโค๊ต ธรรมจักร เพิ่มเข้ามาอีก 1 โค๊ต
---------------------------------

พระปรกใบมะขาม "พระพุทธสิหิงค์ ภ.ป.ร."

พิธีในการจัดสร้างมีด้วยกัน 3 วาระดังนี้
- วาระที่ 1 : วันที่ 17-18 ตุลาคม 2527 พิธีใหญ่สร้างพร้อมกับกริ่งธรรมศาสตร์ 50 ปีรุ่นแรก
- วาระที่ 2 : วันที่ 1 ธันวาคม 2528 พิธีใหญ่ ณ.หอประชุมใหญ่ ธรรมศาสตร์
- วาระที่ 3 : วันที่ 29 มิถุนายน 2537 พิธีใหญ่พร้อมกับกริ่งธรรมศาสตร์ 60 ปี ณ.วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ในวันพิธีวาระที่ 3 นี้ ( 29 มิถุนายน 2537 ) ได้กราบบังคมทูล ในหลวงเสด็จมาเป็นประธานในพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสุหร่าย สมเด็จพระสังฆราช ทรงจุดเทียนชัยและหลวงพ่ออุตตมะดับเทียนชัย โดยได้เชิญพระเกจิดังๆจากทั่วทุกภาคร่วมปลุกเสกในพิธีครั้งนี้ด้วย
---------------------------------



ประวัติบางส่วนที่ได้รวบรวมไว้จากหลายที่
โดยคุณชินภัทร ตั้งสุณาวรรณ เป็นผู้เรียบเรียงข้อมูล จึงขอนำมาลงเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้สนใจได้อ่านเพิ่มเติม

พระชุดนี้ผ่านพิธี 3 พิธีด้วยกันคือ
1. พิธีทำบุญ 50 ปี ธรรมศาสตร์ (ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ ท่าพระจันทร์)
2. พิธีทำบุญ 60 ปี ธรรมศาสตร์ (ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ ท่าพระจันทร์)
3. พิธีที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

โดยทั้ง 3 พิธีเป็นพิธีที่ใหญ่มากๆ ทั้ง 3 พิธี แต่มีความเข้าใจผิดกันมากอยู่ 2 เรื่องใน 2 พิธี คือ ในพิธีที่ 2 และ พิธีที่ 3

-------พิธีที่ 2 ทำบุญ 60 ปี ธรรมศาสตร์ (ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ ท่าพระจันทร์)
1. ความเข้าใจผิดในพิธีทำบุญ 60 ปี ธรรมศาสตร์ ในช่วงก่อนถึงวันงานทำบุญ จะมีการรวบรวมรายชื่อครูบาอาจารย์ที่ตอบรับ และปฏิเสธการรับนิมนต์มาร่วมพิธีทำบุญส่งให้กับทางมหาวิทยาลัยเป็นระยะๆ ทางมหาวิทยาลัยจึงนำรายชื่อครูบาอาจารย์ที่ตอบรับว่าจะมาร่วมพิธี ซึ่งยังไม่ได้อัพเดทล่าสุด ไปพิมพ์สูจิบัตร (เล่มบางๆ ปกสีฟ้า มีรูปพระกริ่ง ภปร.ธรรมศาสตร์ 60 ปี บนปก)สำหรับแจกในวันงานทำบุญ

ดังนั้นจึงมีหลายองค์ที่มีรายชื่อปรากฏในสูจิบัตร แต่เมื่อถึงวันงานจริง ไม่สามารถมาร่วมพิธีได้ เช่น หลวงปู่ชอบ ฐานสโม(เดิมท่านรับนิมนต์ว่าจะมาเป็นประธานในพิธีอย่างแน่นอน แต่บังเอิญท่านอาพาธ ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ก่อนวันงานเพียง 2-3 วัน)หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป หลวงปู่หลอด ปโมทิโต เป็นต้น ข้อมูลที่ผิดพลาดของสูจิบัตรนี้เอง ที่ถูกนำไปเผยแพร่ต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีน้อยคนที่จะทราบข้อเท็จจริง

และ 2. ความเข้าใจผิดในพิธีที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เกี่ยวกับหลวงตามหาบัวครับ หลวงตาท่านอยู่ในช่วงเจริญพระพุทธมนต์แต่ไม่ได้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก แต่ท่านได้ให้ลูกศิษย์ที่มาอีก 5 องค์อยู่ร่วมด้วยแทนครับนั่นคือ
1. หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ
2. หลวงปู่เพียร วิริโย
3. หลวงปู่ลี กุสลธโร
4. หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม
5. และพระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก

ราวปลายปี พ.ศ.2536 ทางมหาวิทยาลัยมีโครงการสร้างวัตถุมงคล พระกริ่ง ภปร. และเหรียญพระพุทธสิหิงค์ ภปร.ธรรมศาสตร์ 60 ปี เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่มหาวิทยาลัยครบ 60 ปีด้วย เหมือนกับที่เคยสร้าง พระปรกใบมะขาม คราวที่มหาวิทยาลัยครบ 50 ปี จึงได้ผนวกพิธีทำบุญเข้ากับการสร้างวัตถุมงคลที่ระลึก โดยจะนำเหรียญพระพุทธสิหิงค์ ภปร. ธรรมศาสตร์ 60 ปี ซึ่งสร้างเสร็จแล้ว และทองชนวน แผ่นยันต์ สำหรับหล่อพระกริ่ง ภปร.ธรรมศาสตร์ 60 ปี กับพระปรกใบมะขาม ที่ยังคงเหลืออยู่ มาโยงกับสายสิญจน์ที่ครูบาอาจารย์ใช้เจริญพระพุทธมนต์

และเปลี่ยนชื่องานทำบุญมหาวิทยาลัยครบ 60 ปี เป็นทำนองที่ว่า “พิธีมิ่งมงคลแผ่เมตตาจิต พระเถรานุเถระ 61 รูป โครงการสร้างพระกริ่ง ภปร. และเหรียญพระพุทธสิหิงค์ ภปร. ธรรมศาสตร์ 60 ปี” โดยทำเป็นโครงการขึ้น และแต่งตั้งอาจารย์และเจ้าหน้าที่ทั่วมหาวิทยาลัย เป็นคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ด้วยเหตุนี้เอง จากเดิมที่จะเป็นเพียงงานทำบุญครบรอบมหาวิทยาลัย จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างวัตถุมงคลที่ระลึกไปโดยปริยาย

ในวันงาน วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2537 พระสงฆ์ทุกรูปบิณฑบาตรอบสนามฟุตบอล สำหรับครูบาอาจารย์บางรูปที่ชราภาพ เช่น หลวงปู่แว่น ธนปาโล หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร หลังจากรับบิณฑบาตจากคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย และพุทธศาสนิกชนจำนวนหนึ่ง ท่านก็กลับขึ้นอาสนะในหอประชุมใหญ่ ครูบาอาจารย์ส่วนใหญ่ซึ่งมีสุขภาพแข็งแรง ท่านเมตตาเดินรับบิณฑบาตจากพุทธศาสนิกชนจนครบหมด

จากนั้นพระสงฆ์ทุกรูปเจริญพระพุทธมนต์ และอธิษฐานจิตแผ่เมตตา เหรียญพระพุทธสิหิงค์ ภปร. ธรรมศาสตร์ 60 ปี และ ทองชนวน แผ่นยันต์ สำหรับหล่อพระกริ่ง ภปร.ธรรมศาสตร์ 60 ปี ชั่วระยะเวลาสั้นๆ
จากนั้นถวายภัตตาหาร และถวายไทยทาน เป็นอันเสร็จพิธี

พระเถระฝ่ายกรรมฐานที่มาร่วมพิธีทำบุญ ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีเกือบ 70 รูป เมื่อรวมพระติดตามด้วย รวมเป็นจำนวนพระสงฆ์เกือบ 100 รูป จึงอาจนับได้ว่าเป็นงานที่มีพระเถระฝ่ายกรรมฐานในยุคนั้นมาร่วมงานมากเป็นประวัติการณ์งานหนึ่ง ดังรายนามต่อไปนี้(ที่อยู่วัดของท่าน เป็นวัดที่ท่านจำพรรษาในขณะนั้น ซึ่งอาจต่างจากปัจจุบัน

หลวงปู่แว่น ธนปาโล วัดถ้ำพระสบาย อ.แม่ทะ จ.ลำปาง (เป็นประธาน)
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร วัดประชาชุมพลพัฒนาราม อ.เมือง จ.อุดรธานี
หลวงปู่คำพอง ติสโส วัดถ้ำกกดู่ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่านาสีดา อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี


-------"พิธีที่ 3" : พิธีที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
พระพุทธสิหิงค์ ภปร ใบมะขาม ๕o ปี ม.ธรรมศาสตร์ ที่ได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกชุด ธรรมศาสตร์ ๖o ปี
สังเกตุที่โค๊ด จะตอกโค๊ดเพิ่มอีกหนึ่งตัว บางท่านก็เรียกโค๊ด"ธรรมจักร" บางท่านก็เรียกโค๊ด"รูปใบไม้"
นับว่าเป็นวัตถุมงคลที่น่าเสาะหามาบูชามากครับ เพราะผ่านพิธีใหญ่มาถึง2พิธีด้วยกัน

พิธีพุทธาภิเษก เหรียญพระพุทธสิหิงค์ ภปร.และ พระกริ่ง ภปร.ธรรมศาสตร์ 60 ปี จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ
ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2537 โดยกราบบังคมทูลเชิญ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธี และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
เป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย เพื่อพิธีนี้ ศ.คุณหญิง นงเยาว์ ชัยเสรี เดินทางไปนิมนต์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
มาร่วมพิธี ด้วยตนเอง ซึ่งหลวงตาเมตตารับนิมนต์ และบอกให้ไปนิมนต์พระเถระที่เป็นศิษย์สำคัญของท่านอีก 5 รูป
มาร่วมพิธีด้วย คือ หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ หลวงปู่เพียร วิริโย หลวงปู่ลี กุสลธโร พระอาจารย์อุ่นหล้า ฐิตธัมโม
และพระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก

ในวันพิธีพุทธาภิเษก เมื่อหลวงตามหาบัวเดินเข้ามา
ทางประตูวิหารคดด้านพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย โดยมี ม.ร.ว.ทองศิริ ทองแถม (คุณชายปั๋ม) ถือพัดยศสมณศักดิ์ที่
"พระราชญาณวิสุทธิโสภณ" เดินตามหลังท่านมา พร้อมด้วยพระเถระศิษย์ของหลวงตาทั้ง 5 รูป ผมเดินเข้าไปต้อนรับหลวงตา
ด้วยการคุกเข่าลง ประนมมือขอโอกาสรับย่ามใบน้อยจากมือท่าน และเดินนำท่านไปนั่งยังเก้าอี้ที่จัดเตรียมไว้ด้านข้างพระอุโบสถ
จำได้ว่าขณะนั้น สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี วัดราชบพิธฯ ท่านนั่งอยู่ก่อนแล้ว เมื่อท่านเห็นหลวงตา ท่านจึงกล่าวทักขึ้น
ด้วยความแปลกใจว่า "ท่านอาจารย์ก็มาด้วยหรือ"

เมื่อได้เวลา เจ้าพนักงานก็นิมนต์หลวงตาเข้าในพระอุโบสถ เพื่อร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ โดยพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 9 รูป
อาทิ สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี วัดราชบพิธ
พระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณณโก) วัดบวรนิเวศ ขณะยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมสิริสารเวที
สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรหมคุตโต) วัดบวรนิเวศ ขณะยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพกวี
พระธรรมวราจารย์ (แบน กิตติสาโร) วัดบวรนิเวศ ขณะยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพวราจารย์
พระธรรมบัณฑิต(อภิพล อภิพโล)วัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก ขณะยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชสุมนต์มุนี
พระเทพสารเวที (บุญยนต์ ปุญญาคโม) วัดบวรนิเวศ ขณะยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระมงคลรัตนมุนี
ซึ่งหลวงตามหาบัว เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระเพียงองค์เดียวในพิธีนั้น และได้ยินมาว่า
(ไม่ได้เห็นด้วยตาตัวเอง) ในพิธีวันนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนทนากับหลวงตาพักหนึ่งด้วย

เมื่อเสร็จพิธีเจริญพระพุทธมนต์แล้ว หลวงตามหาบัวออกจากพระอุโบสถและเดินทางกลับสวนแสงธรรมทันที
โดยไม่ร่วมพิธีพุทธาภิเษก แต่ให้ศิษย์ของท่านทั้ง 5 รูป รอเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก จากนั้น จึงเริ่มพิธีพุทธาภิเษก
ซึ่งจัดพระเถราจารย์เข้านั่งปรกเป็นรอบๆ รวม 3 รอบด้วยกัน รายนามพระเถราจารย์ที่นั่งปรกพุทธาภิเษก ได้แก่

หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต จ.หนองคาย
หลวงปู่พุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่านาสีดา จ.อุดรธานี
หลวงปู่คำพอง ติสโส วัดถ้ำกกดู่ จ.อุดรธานี
หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ด

หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู
หลวงปู่จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย จ.พิจิตร
หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน จ.เลย
หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดป่าสำราญนิวาส จ.ลำปาง
หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม วัดป่าสีห์พนมประชาราม จ.สกลนคร

หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ วัดป่านาคูน จ.อุดรธานี
หลวงปู่เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง จ.อุดรธานี
หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดภูผาแดง จ.อุดรธานี
พระอาจารย์อุ่นหล้า ฐิตธัมโม วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร
พระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก วัดป่านาคำน้อย จ.อุดรธานี

พระอาจารย์อุทัย สิริธโร วัดถ้ำพระภูวัว จ.หนองคาย
พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก จ.เชียงใหม่
หลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ วัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม
หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี

พระเทพวัชรธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อสุรพงษ์) วัดตรีทศเทพ กรุงเทพฯ
พระปริยัติมุนี (หลวงพ่อชูศักดิ์ ธัมมทินโน) วัดหงส์รัตนาราม กรุงเทพฯ
พระญาณสมโพธิ (หลวงพ่อขวัญ) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
พระครูปริยัติคุณาธาร (หลวงพ่ออัมพร) วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
หลวงพ่อฟู วัดเวฬุราชิน กรุงเทพฯ

พระราชปริยัติวิธาน (หลวงปู่บุศย์) วัดดาวดึงษาราม กรุงเทพฯ
พระครูพิศาลพัฒนาพิธาน (หลวงพ่อสมชาย) วัดปริวาศ กรุงเทพฯ
พระสมุห์วีระ วัดอัปสรสวรรค์ กรุงเทพฯ
หลวงปู่เหล็ง วัดโคกเพาะ จ.ชลบุรี
หลวงพ่อพูลทรัพย์ วัดอ่างศิลา จ.ชลบุรี

หลวงปู่สาย โสมสิริ วัดขนอนใต้ จ.อยุธยา
หลวงปู่มี เขมธัมโม วัดมารวิชัย จ.อยุธยา
หลวงปู่เมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา จ.อยุธยา
หลวงปู่ทิม อัตตสันโต วัดพระขาว จ.อยุธยา
หลวงพ่อหวล วัดพุทไธสวรรย์ จ.อยุธยา

หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ จ.อยุธยา
หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม จ.อยุธยา
หลวงปู่มหาทองใบ วัดอบทม จ.อ่างทอง
หลวงพ่อผล วัดดักคะนน จ.ชัยนาท
หลวงปู่หยอด วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม

หลวงพ่อเก๋ วัดแม่น้ำ จ.สมุทรสงคราม
หลวงพ่อเกตุ จิตตสาโร วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์
หลวงพ่อทองใบ วัดสายไหม จ.ปทุมธานี
หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย จ.นนทบุรี
หลวงพ่อจาง วัดนครเนื่องเขต จ.ฉะเชิงเทรา

หลวงพ่อสมชาย พุทธสโร วัดโพรงอากาศ จ.ฉะเชิงเทรา
หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ วัดบางพระ จ.นครปฐม
พระครูสมุห์อวยพร วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
หลวงพ่อสง่า วัดบ้านหมอ จ.ราชบุรี
หลวงปู่ดี จัตตมโล วัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี

หลวงพ่อฮวด วัดดอนโพธิ์ทอง จ.สุพรรณบุรี
หลวงปู่สวิง วัดเสาธงทอง จ.สุพรรณบุรี
หลวงปู่ผล สำนักสงฆ์เขารักษ์ จ.กาญจนบุรี
หลวงพ่อแก้ว วัดเขาปูน จ.นครศรีธรรมราช
หลวงพ่อเนื่อง วัดสวนจันทร์ จ.นครศรีธรรมราช
Top