ประวัติ หลวงพ่อคลิ้ง จันทสิริ - วัดถลุงทอง ตำบลวัดถลุงทอง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช - webpra

หลวงพ่อคลิ้ง จันทสิริ

ประวัติ วัดถลุงทอง ตำบลวัดถลุงทอง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

หลวงพ่อคลิ้ง จันทสิริ

ข้อมูลประวัติหลวงพ่อคลิ้ง จันทสิริ

                เกิด                      ประมาณปี พ.ศ.2428

                บรรพชา                พ.ศ.2435 ขณะอายุ 8 ปี               

                อุปสมบท               พ.ศ.2447 ขณะอายุ 20 ปี

                รวมสิริอายุ             106 ปี 86 พรรษา


                พ่อท่านคลิ้ง หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง นับว่าเป็นอริยะสงฆ์แดนทักษิณอีกองค์หนึ่งของเมืองนค รศรีธรรมราช ตลอดชีวิตร้อยกว่าปีของท่านมีแต่เมตตาธรรมต่อผู้ที่ไ ด้ไปกราบท่าน สำหรับความศักดิ์สิทธิ์ของท่านนั้น ขนาดพ่อท่านคล้าย แห่งวัดสวนขัน ยังกล่าวยกย่อง พ่อท่านคลิ้งเสมอ เช่นว่า มีชาวบ้านจาก อ.ร่อนพิบูลย์ไปกราบพ่อท่านคล้าย พอท่านทราบว่ามาจากร่อนพิบูลย์ ท่านก็จะกล่าวว่า “ทีหลังไม่ต้องมาไกลถึงนี้หรอก ไปหาท่านคลิ้งนั้นแหละ ท่านคลิ้ง(หลวงพ่อคลิ้ง)ให้พรดีเหมือนเหมือนฉัน” หรือ แม้แต่พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา ก็ยังกล่าวยกย่อง หลวงพ่อคลิ้งเสมอ

                พ่อท่านคลิ้ง เป็นคณาจารย์ที่อายุยืนนานอีกองค์หนึ่ง วัตถุมงคลที่ท่านได้เมตตาปลุกเสกเอาไว้มีหลายชนิด เช่น เหรียญ ลูกอมชานหมาก พระปิดตาเนื้อผงผสมว่าน วัตถุมงคลท่านเด่นทางด้าน เมตตามหานิยม โภคทรัพย์ แคล้วคลาด

                “พ่อท่านคลิ้ง จันทสิริ” เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นพระเถระที่มีวิชาอา คมอีกรูปหนึ่ง นอกจากนี้ท่านยังมีอายุยืนนานถึง ๑๐๔ ปี เพราะหลวงพ่อคลิ้ง ท่าน เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ และมรณภาพใน ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ โดยออกบวชเป็นสามเณรขณะอายุ ๘ ขวบ แล้วก็ครองเพศเป็นบรรพชิตมาตลอดจวบกระทั่งวาระสุดท้า ยของชีวิต หากนับพรรษาต่อเนื่องตั้งแต่บวชเป็นสามเณรกระทั่งเป็ นพระภิกษุ “พ่อท่านคลิ้ง” ก็จะครองพรรษาได้ถึง ๙๖ พรรษา เลยทีเดียว

                ส่วนทางด้านเรื่องราวอภินิหารของ “พ่อท่านคลิ้ง” ที่จะนำมาเล่าขานวันนี้เป็นเรื่องราวของ “เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อคลิ้ง หลัง ภปร” ซึ่งจัดเป็นเหรียญ ที่อุดมด้วยสิริมงคลเพราะจัดสร้างในวาระฉลองอายุครบ ๙๓ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ โดย “พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภานุพันธ์ยุคล” หรือ “เสด็จพระองค์ชายใหญ่” พระโอรสของ “จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯกรมหลวง ลพบุรีราเมศวร์” อดีตผู้สำเร็จราชการมณฑลทักษิณ พร้อมทั้งได้กราบบังคมทูล พระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญตราสัญลักษณ์ “พระปรมาภิไธยย่อ ภปร” ประดิษฐานที่ด้านหลังเหรียญจึงนับเป็นสิริมงคลอันสูง สุด ดังที่ทราบ กันดีในวงการนักสะสมว่าวัตถุมงคลที่มีความเกี่ยวเนื่ อง “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” รัชกาลปัจจุบันล้วนเป็นที่นิยม ต่อนักสะสมซึ่งถึงแม้ว่า ขั้นตอนการสร้าง “เหรียญของพ่อท่านคลิ้ง” รุ่นนี้ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” มิได้เสด็จฯทรงประกอบพิธีแต่ก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ต่อ “พ่อท่านคลิ้ง” ได้ทรงพระสุหร่ายและทรงเจิม “โลหะธาตุมหามงคล” แล้วพระราชทานให้นำมาหล่อหลอมผสมกับแผ่นทองลงอักขระเ ลขยันต์ของ “พ่อท่านคลิ้ง” นับเป็นร้อย ๆ แผ่นและโลหะสัมฤทธิ์เก่าสมัยบ้านเชียงที่มีอายุกว่า ๔,๐๐๐ ปี รวมถึงโลหะสัมฤทธิ์อันเป็น ชิ้นส่วนของพระพุทธรูปโบราณหลายสมัย เช่น ลพบุรี, ทวารวดี, สุโขทัย ฯลฯ

                 และจากพิธีสร้างที่ดีเยี่ยมนี้เองจึง เป็นเหรียญพ่อท่านคลิ้ง ที่ มีประสบการณ์มากมายอย่างเช่น “นายสุนทร บุญชอุ่ม” ชาวตำบลคานโพธิ์ อ.เมือง จ.สตูล ได้เล่าให้ฟังว่า ตัวเขานั้นมีอาชีพเป็น “ไต้ก๋งเรือ” ประมงขนาดเล็กที่ออกหาปลาในแถบ “ทะเลอันดามัน” โดยมีลูกเรือเพียง ๕ คน ซึ่งช่วงที่พบประสบการณ์นั้น “นายสุนทร” จำได้แม่นว่าเป็นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ เพราะเป็นฤดูมรสุมทางภาคใต้โดยขณะนำเรือออกหาปลาช่วง เวลาประมาณสองทุ่มเศษ ปรากฏคลื่นขนาดยักษ์ถล่มเรือประมงของเขาอับปางลง “นายสุนทร” พร้อมลูกเรือต่างกระจัดกระจายไปคนละทิศละทางโดย “นายสุนทร” ที่เคยเป็นลูกเรือมาก่อนจึงช่วยเหลือตัวเองด้วยการเก าะเศษไม้จากเรือที่ อับปางคอยพยุงตัวเองลอยคออยู่กลางทะเลถึง “๒ วัน ๒ คืน” โดยขณะนั้นได้แต่ภาวนาให้ “พ่อท่านคลิ้ง” ช่วยเหลือเนื่องจากในคอแขวน “เหรียญพ่อท่านคลิ้งหลัง ภปร” เพียงเหรียญเดียว กระทั่งเช้าตรู่วันที่สาม ขณะจวนจะหมดแรงอยู่แล้ว ก็มีเรือประมงขนาดใหญ่มาช่วยไว้และหลังจากฟังเรื่องร าวของ “นายสุนทร” ทุกคนบนเรือประมงที่มาช่วยต่างสงสัยไปตาม ๆ กันว่า “นายสุนทร” รอดได้อย่างไรเพราะเป็นที่รู้กันดีในหมู่ชาวประมงหาก เรือประมงขนาดเล็ก อับปางลงยังกลางทะเล ยากที่จะมีคนรอดได้แม้จะเก่งด้านว่ายน้ำแค่ไหนก็ตาม เพราะการว่ายน้ำข้ามวันข้ามคืนจะทำให้หมดแรงไปเองซึ่ งตัว “นายสุนทร” เองก็ไม่รู้เช่นกันว่ารอดได้อย่างไรเพราะช่วงที่ลอยค ออยู่ในทะเลนั้น คลื่นแรงมากปะทะหน้าอกเจ็บระบมไปหมดจึงได้แต่ภาวนาขอ ให้ “เหรียญพ่อท่านคลิ้ง ภปร” ที่แขวนอยู่ในคอช่วยแล้วกัดฟันว่ายน้ำไป

                 ส่วนอีกเรื่อง “นายฉลอง สง่าวงศ์” อาชีพทำไร่อยู่บ้านเลขที่ ๕๕๑ หมู่ ๔ ต.ไร่ใหม่ อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เล่าว่าตัวเขาชนะคดีความพิพาทกับเพื่อนบ้านเรื่องที่ ดิน จึงถูกเพื่อนบ้านผู้นั้นเจ็บแค้นมาตลอด วันหนึ่งในเดือน มิ.ย. ๒๕๔๗ เวลาประมาณสามทุ่มเศษ ขณะ “นายฉลอง” เดินไปตามถนนในหมู่บ้านที่ทั้งมืดและเปลี่ยวปรากฏมีม ือปืนมาซุ่มยิงด้วย “ปืนลูกซองกระสุนลูกโดด” (ปกติลูกซองจะเป็นกระสุนลูกปราย) สองนัดปรากฏว่าลูกกระสุนโดนลำตัวนายฉลองอย่างจังแต่น ายฉลองกลับไม่เป็นอะไร มือปืนจึงยิงอีก ๒ นัด แต่กระสุนปืนก็ทำอะไรนายฉลองไม่ได้เช่นเคย มือปืนที่ซุ่มยิงจึงวิ่งเข้าหานายฉลองแล้วใช้ด้ามปืน ตีท้ายทอยนายฉลอง ที่ยืนงงอยู่กับที่ถึงกับสลบเหมือดแล้วมือปืนจึงหนีไ ป กระทั่งเช้าวันรุ่งขึ้นจึงมีคนมาพบจึงพยุงนายฉลองกลั บบ้าน ปรากฏว่านายฉลองโดนยิงลำตัวถึง ๓ นัด แต่กระสุนไม่เข้าเป็นเพียง “รอยช้ำแดง” เท่านั้นนายฉลองจึงเชื่อมั่นว่าเป็นเพราะ “เหรียญพ่อท่านคลิ้งหลัง ภปร” ที่ใส่ตลับสเตนเลสแขวนคอไว้เพียงเหรียญเดียวช่วยไว้. ...'แฉ่ง บางกระเบา'

                 พระอริยสงฆ์แห่งแดนทักษิณอีกรูปหนึ่ง นามพ่อท่านคลิ้ง จันทสิริ แห่งวัดถลุงทอง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ตลอดช่วงชีวิตในกาสาวพัสตร์ 86 ปีของท่านเปี่ยมไปด้วยความเมตตาต่อผู้ไปกราบนมัสการท ่าน กล่าวในด้านความศักดิ์สิทธิ์ของพ่อท่านคลิ้งนั้น ในสมัยที่พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อชาวอำเภอร่อนพิบูลย์ไปกราบนมัสการท่านถึงวัดสวน ขัน ท่านมักกล่าวว่า "ทีหลังไม่ต้องมาไกลถึงนี้หรอก ไปหาท่านคลิ้งนั้นแหละ ท่านคลิ้งให้พรดีเหมือนฉัน"
                 เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลัง ภปร.พ่อท่านคลิ้ง ที่ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2521 ซึ่งเหรียญพ่อท่านคลิ้ง หลัง ภปร.นี้ เป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนพ่อท่านคลิ้งหันข้างครึ่งรูป มีอักษรโดยรอบเหรียญว่า "พ่อท่านคลิ้ง จันทสิริ อายุครบ 93 ปี วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช พ.ศ.2521" ด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธยย่อ ภปร.และอักขระขอมเหรียญ พ่อท่านคลิ้ง หลัง ภปร.นับเป็นเหรียญดี พิธีเด่นเหรียญหนึ่งทีเดียว กล่าวคือ เป็นเหรียญที่พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล หรือเสด็จพระองค์ชายใหญ่ ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพร ะปรมาภิไธยย่อ ภปร. ประดิษฐานที่ด้านหลังเหรียญ จึงนับว่าเป็นสิริมงคลอันสูงสุด เหรียญที่มีตราพระปรมาภิไธยย่อในวงการสะสมบูชาพระเคร ื่องล้วนเป็นที่นิยม ด้วยมีความเกี่ยวเนื่องในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงพระสุหร่ายและทรงเจิมโลหธาตุมหามงคล แล้วพระราชทานหล่อหลอมรวมกับแผ่นทองลงอักขระเลขยันต์ ของพ่อท่านคลิ้งนับร้อย แผ่น และโลหะสัมฤทธิ์เก่าสมัยบ้านเชียง อายุกว่า 4,000 ปี และชิ้นส่วนพระพุทธรูปโบราณสมัยทวารวดี, ลพบุรี, สุโขทัยได้ทำพิธี พุทธาภิเษก ณ อุโบสถวัดถลุงทอง เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2521 มีพ่อท่านคลิ้งเป็นประธานจุดเทียนชัย และนั่งปรก มีพระเกจิอาจารย์ร่วมปลุกเสก คือ พ่อท่านจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้มีวัตรปฏิบัติอันดีและเคยก่อเกิดปาฏิหาริย์ระหว่า งการปลุกเสกมาหลายครั้ง หลายหน พ่อท่านผอม วัดหญ้าปล้อง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช พระเกจิอาจารย์รูปนี้มีสมาธิแรงกล้ามาก วิทยาคมเป็นที่เลื่องลือ พ่อท่านหนูจันทร์ วัดพันธเสมา อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช พระเกจิอาจารย์ผู้นิยมอยู่ในป่าช้าเป็นที่พำนัก พระครูกาชาด วัดพระบรมธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้มีสมาธิอันสูงส่ง พระครูกาชาด (บุญทอง) วัดดอนศาลา อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ศิษย์สำนักวัดเขาอ้ออันเลื่องชื่อ พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา ศิษย์สำนักเขาอ้ออีกรูปหนึ่ง หลวงพ่อบุญรอด วัดประดู่พัฒนาราม จังหวัดนครศรีธรรมราช พระเกจิอาจารย์รูปนี้มีทหารเป็นศิษย์มากมาย เพราะวัตถุมงคลของท่านเลื่องชื่อ มีวัตรปฏิบัติไม่ฉันเนื้อสัตว์ และไม่รับนิมนต์ไปในงานที่มีการเลี้ยงเหล้า และฆ่าสัตว์ เล่นการพนันนอก จากนั้น ยังมีหลวงพ่อเจิม วัดใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พระครูสังข์ วัดดอนตรอ อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พระอาจารย์แอบ วัดปากน้ำ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ร่วมปลุกเสก มีขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นเจ้าพิธีฝ่ายฆารวาส


พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

                วัตถุมงคลท่านเด่นทางด้าน เมตตามหานิยม

ข้อมูลอ้างอิงจาก : p.moohin.com

Top