พระพุทธชินราชอินโดจีน เสาร์ ๕ ปี 2553 สวยมากๆๆๆ - webpra

ประมูล หมวด:พระพุทธชินราช ทุกรุ่น

พระพุทธชินราชอินโดจีน เสาร์ ๕ ปี 2553 สวยมากๆๆๆ

พระพุทธชินราชอินโดจีน เสาร์ ๕ ปี 2553 สวยมากๆๆๆ พระพุทธชินราชอินโดจีน เสาร์ ๕ ปี 2553 สวยมากๆๆๆ พระพุทธชินราชอินโดจีน เสาร์ ๕ ปี 2553 สวยมากๆๆๆ พระพุทธชินราชอินโดจีน เสาร์ ๕ ปี 2553 สวยมากๆๆๆ พระพุทธชินราชอินโดจีน เสาร์ ๕ ปี 2553 สวยมากๆๆๆ
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระพุทธชินราชอินโดจีน เสาร์ ๕ ปี 2553 สวยมากๆๆๆ
รายละเอียด#25

พระพุทธชินราชอินโดจีน เสาร์ ๕ ปี 2553 พิมพ์ ทรง สวยงดงามที่สุด นับแต่มีการ สร้าง อินโดจีน ย้อนยุค
พระทุกองค์ จะ มี โค้ด 3 โค้ด คือ
1. โค้ดธรรมจักร
2. โค้ดอกเลา
3. โค้ดเสาร์ ๕

วัตถุประสงการจัดสร้าง
วัดใหญ่หรือวัดหลวงพ่อพระพุทธชินราช นามเต็มว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นพระอารารมหลวงมาแต่เดิม มีพระธรรมเสนานุวัตร รองเจ้าคณะภาค 5 เป็น เจ้าอาวาส
พระธรรมเสนานุวัตร เปิดเผยว่า ทางวัดจะจัดสร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์ พุทธชินราช 1,500 ล้านบาท ให้เสร็จภายในปี 2558 และมีโครงการปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างภายในวัดที่ชำรุดทรุดโทรมอีก 200 ล้านบาท ใช้เวลา 3 ปี
เพื่อให้ทั้ง 2 โครงการสำเร็จตามวัตถุประสงค์จึงจัดสร้าง เหรียญพระพุทธชินราช-พระเหลือ เหรียญพระพุทธชินราช-สมเด็จพระนเรศวรและพระพุทธชินราชอินโดจีน รุ่นเสาร์ 5 (เหลือกินเหลือใช้) ได้จัดพิธีมหาพุทธาภิเษกใหญ่ในวิหารพระพุทธชินราชไปแล้วเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2553 ซึ่งเป็นฤกษ์ดีปีขาลเสาร์ 5 100 ปีมีหนเดียว
คำว่าพระเหลือนั้น พระยาลิไทได้รับสั่งให้ช่างนำเศษทองสัมฤทธิ์ที่เหลือจากการสร้างพระพุทธชิน ราช พระพุทธชินสีห์ แลพระศรีศาสดาราม ไปรวมหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์เล็กที่เรียกว่า พระเหลือ นักธุรกิจพ่อค้าที่เกี่ยวข้องกับการเงินเชื่อว่า หากได้กราบไหว้แล้วจะเหลือกินเหลือใช้มั่งมีเงินทองไม่อดอยาก มีโชคมีลาภพรั่งพรู อุดมสมบูรณ์

ชื่อ เสียงของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือวัดใหญ่ วัดหลวงพ่อพระพุทธชินราช เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ ก็เพราะพระอารามหลวงแห่งนี้มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และสวยงามที่สุดในโลก คือ "พระพุทธชินราช" เชื่อกันว่า ในชีวิตนี้ควรหาโอกาสไปกราบไหว้องค์จริงของท่านให้ได้สักครั้ง เฉกเช่นพระพุทธรูปดังๆ อีกหลายองค์

"พระพุทธชินราช" เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัย หล่อด้วยทองสำริด ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว สูง 7 ศอก 1 คืบ จากหลักฐานพงศาวดารเหนือ ในราวปี พ.ศ.1900 พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก หรือพระ มหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) หลังจากทรงสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุแล้ว ทรงรับสั่งให้หาช่างฝีมือดีจากเมืองศรีสัชนาลัย เชียงแสน และหริภุญชัย มาหล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา ในการหล่อครั้งแรกนั้น ปรากฏว่าทองแล่นติดเป็นองค์พระสมบูรณ์เพียง 2 องค์ คือ พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา ส่วนพระพุทธชินราช ทองแล่นไม่เต็มองค์ จึงหล่ออีก 2 ครั้ง แต่ก็เป็นเช่นเดิม พระองค์จึงทรงตั้งจิตอธิษฐานขอให้เทพยดาช่วยดลใจให้สร้างพระพุทธรูปสำเร็จ ตามพระประสงค์ แล้วจึงทำพิธีเททองอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งครั้งนี้มีตาปะขาวผู้หนึ่ง ไม่มีใครทราบว่ามาจากที่ใด ได้เข้ามาช่วยปั้นหุ่น และเททองด้วยตนเอง เมื่อกะเทาะหุ่นออกมา เป็นที่ประหลาดใจมาก เพราะทองแล่นติดเต็มองค์พระ เนื้อทองสำริดสุกสกาวสดใสงดงามหาที่ติไม่ได้

ในการหล่อพระพุทธรูป ทั้ง 3 องค์นั้น เมื่อหล่อเสร็จแล้วมีเศษทองเหลืออยู่ จึงเอามารวมหล่อเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เรียกว่า "พระเหลือ" หรือ "พระเสสันตปฏิมา" หน้าตักกว้าง 20 นิ้ว สูง 22 นิ้ว คนทั่วไปนิยมเรียก "หลวงพ่อเหลือ" พร้อมกับหล่อพระสาวกเป็นพระยืนอีก 2 องค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะทรงผนวชเป็นสามเณร ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธาให้บูรณะวิหารพระเหลือ ดังมีตราพระเกี้ยวประจำพระองค์ปรากฏที่หน้าบัน

ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ เป็นอมตะของพระพุทธชินราช จึงมีการจัดสร้างวัตถุมงคลแทนองค์ท่านขึ้นจำนวนหลายรุ่น ทั้งที่ออกโดยตรงที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) และวัดอื่นๆ รวมไปถึงหน่วยงาน องค์กรมากมายที่เลื่อมใสศรัทธา ซึ่งหลายๆ รุ่นได้รับความนิยม มีมูลค่าในการสะสมบูชาสูง ล่าสุดทางวัดใหญ่โดยพระธรรมเสนานุวัตร เจ้าอาวาส และรองเจ้าคณะภาค 5 ได้จัดสร้างวัตถุมงคล พระพุทธชินราช-พระเหลือ รุ่นเสาร์ห้า (เหลือกินเหลือใช้) ปี"53 เพื่อนำรายได้ก่อสร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช และบูรณปฏิสังขรณ์โบราณวัตถุภายในวัด โดยประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกไปแล้วเมื่อวันเสาร์ที่ 20 มี.ค.53 (เสาร์ห้า) เวลา 13.09 น. ภายในวิหารพระพุทธชินราช โดยมีพระธรรมเสนานุวัตร เจ้าอาวาส และรองเจ้าคณะภาค 5 เป็นประธานจุด และดับเทียนชัย พระอาจารย์ไพรินทร์ เป็นเจ้าพิธี และร่วมปลุกเสกกับพระเกจิอาจารย์ดังภาคเหนือตอนล่างหลายรูป อาทิ หลวงพ่ออั้น วัดธรรมโฆษก (โรงโค) จ.อุทัยธานี พระราชรัตนาภรณ์ (แวว) วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา ครูบาสายทอง วัดท่าไม้แดง จ.ตาก เป็นต้น

มวล สารสำคัญที่นำมาเป็นส่วนผสม อาทิ ไม้หอมโรงเรง ไม้หอมเทพทาโร ผงพุทธคุณ ผงว่าน 108 ไม้มงคล 9 ชนิด คือ ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ ทองหลาง ขนุน ไผ่สีสุก ทรงบาดาล สัก กันเกรา พะยูง ผงจากแผ่นโมเสกสีทองหรือแผ่นนพเก้า อายุ 100 ปี ที่ลอกจากการบูรณะพระปรางค์ เศษปูนที่ลอกจากผนังรอบองค์พระปรางค์ จัดสร้างรวม 4 แบบคือ 1.พระพุทธชินราช-พระเหลือ ชนิดผงมวลสาร ขนาด 3.5 ซ.ม. และพระพุทธชินราช-พระนเรศวร ชนิดผงมวลสาร 2.เหรียญโลหะชุบทอง พระพุทธชินราช หลังพระเหลือ และเหรียญโลหะชุบทอง พระพุทธชินราช หลังพระนเรศวร ขนาด 3.5 ซ.ม. และ 2.6 ซ.ม. 3.รูปหล่อลอยองค์ พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน 4.พระพุทธชินราช ขนาดบูชา หน้าตัก 9 นิ้ว และ 5.9 นิ้ว รุ่นเสาร์ 5

วัตถุมงคลชุดนี้ ทางวัดจัดสร้างโดยตรง รายได้เข้าวัดชัดเจน เน้นส่งเสริมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาตามนโยบายของ "พระธรรมเสนานุวัตร" เจ้าอาวาสนักพัฒนาที่สร้างสรรค์วัดใหญ่จนใหญ่โตงดงาม
ราคาเปิดประมูล450 บาท
ราคาปัจจุบัน450 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 24 พ.ย. 2563 - 13:41.54
วันปิดประมูล จ. - 14 ธ.ค. 2563 - 13:41.54 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 450 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top