เหรียยหลวงพ่อสอนรุ่น 2 หลังหลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ ปี 2475 เนื้ออัลปาก้า (เคาะเดียวแดง) - webpra

ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540

เหรียยหลวงพ่อสอนรุ่น 2 หลังหลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ ปี 2475 เนื้ออัลปาก้า (เคาะเดียวแดง)

เหรียยหลวงพ่อสอนรุ่น 2 หลังหลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ ปี 2475 เนื้ออัลปาก้า (เคาะเดียวแดง) เหรียยหลวงพ่อสอนรุ่น 2 หลังหลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ ปี 2475 เนื้ออัลปาก้า (เคาะเดียวแดง) เหรียยหลวงพ่อสอนรุ่น 2 หลังหลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ ปี 2475 เนื้ออัลปาก้า (เคาะเดียวแดง) เหรียยหลวงพ่อสอนรุ่น 2 หลังหลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ ปี 2475 เนื้ออัลปาก้า (เคาะเดียวแดง) เหรียยหลวงพ่อสอนรุ่น 2 หลังหลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ ปี 2475 เนื้ออัลปาก้า (เคาะเดียวแดง)
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียยหลวงพ่อสอนรุ่น 2 หลังหลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ ปี 2475 เนื้ออัลปาก้า (เคาะเดียวแดง)
รายละเอียดถิร พึ่งเจริญ .... (2445-2527)
พระวิสุทธิสารเถร เดิมมีสมณศักดิ์เป็นพระครูรักขิตวันมุนี แต่ทั่วไปมักเรียกว่า “หลวงพ่อถิร” เป็นพระเกจิอาจารย์รูปสำคัญของเมืองสุพรรณ และของประเทศไทย เกิดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2445 ณ บ้านพูลหลวง ตำบลพิหารแดง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของพ่อวาส แม่เพิ่ม “พึ่งเจริญ” ตระกูลผู้ใหญ่ฝ่ายมารดาสืบเชื้อสายมาจากหมื่นเกล้าฯ และยายทวดจัน ซึ่งมีบุตรสาวชื่อยายมี แม่เพิ่มเป็นบุตรของยายมีกับตาสิงห์ ต้นกระกูล “สิงห์สุวรรณ” ส่วนตระกูลข้างเตี่ย (พ่อ) มาจากก๋งผึ้งและย่าอิ่ม เดิมจาก “แซ่ตัง” มาใช้นามสกุลว่า “พึ่งเจริญ” พ่อวาสเป็นบุตรชายของก๋งผึ้งกับย่าอิ่ม หลวงพ่อถิรบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 17 ปี ต่อมาเข้าพิธีอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2465 ณ วัดหน่อพุทธางกูร โดยมีพระครูโพธาภิรัต (สอน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสุวรรณวรคุณ (หลวงพ่อคำ) วัดหน่อพุทธางกูร เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า “ปญฺญาปโชโต”แล้วย้ายไปอยู่จำพรรษาที่วัดสุวรรณภูมิ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย จนสอบได้นักธรรมชั้นเอก เป็นนักเรียนที่สอบนักธรรมชั้นเอกได้เป็นรูปแรกในนามของจังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาไปอยู่วัดป่าเลไลยก์ เมื่ออายุ 38 ปี พรรษา 18 หลวงพ่อถิรได้เขียนบันทึกประวัติของท่านว่า “ข้าพเจ้าได้ทรงรับอนุมัติจากท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ ให้ย้ายจากวัดสุวรรณภูมิ ไปเป็นผู้รักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 พอถึงวันที่ 19 ได้ไปอยู่ ในคืนนั้นได้นิมิตไปว่า ท่านพระครูโพธาริรัต (สอน) เจ้าอาวาสและพระอุปัชฌายะของข้าพเจ้าที่ล่วงไป ได้มาบอกแก่ข้าพเจ้าว่า อยู่ไปเถอะไม่เป็นไร ใครจะทำอะไรไม่ดีก็ช่างเขา แล้วเขาจะพินาศไปเอง”

วันที่ 9 กรกฎาคม 2483 เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์,ผู้รักษาการเจ้าคณะอำเภอเมืองสุพรรณบุรี,และพระอุปัชฌาย์

วันที่ 18 ตุลาคม 2494 เป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองสุพรรณบุรี

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2494 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์

วันที่ 5 ธันวาคม 2495 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูรักขิตวันมุนี

วันที่ 5 ธันวาคม 2510 เป็นพระราชาคณะที่ พระรักขิตวันมุนี

วันที่ 5 ธันวาคม 2521 เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาที่ พระวิสุทธิสารเถร

มีเกร็ดประวัติศาสตร์ท้องถิ่นว่า เมื่อหลวงพ่อถิรย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสและไม่เกิดปัญหาเช่นหลวงพ่อโต๊ะ เนื่องจากท่านเป็นที่รักศรัทธาเสื่อมใสของชุมเสือก๊กต่าง ๆ เช่น เสือฝ้าย เสือมเหศวร เสือใบ ที่มักมาหาเครื่องรางของขลังจากหลวงพ่อถิรเสมอตั้งแต่ครั้งอยู่ที่วัดสุวรรณภูมินั้นแล้ว เสือเหล่านี้ต่างพากันประกาศก้องว่า ใครหน้าไหนอย่าได้มารบกวนการสร้างพัฒนาวัดของหลวงพ่อถิร ให้เดือนเนื้อร้อนใจเป็นเด็ดขาด หาไม่เป็นได้เจอกัน…ฟังดูเสือเหล่านี้ก็มีคุณธรรม รักพระศาสนาดีทีเดียว และนั่นก็เป็นเหตุมีผู้กล่าวหาว่า หลวงพ่อถิรเลี้ยงเสือ เลี้ยงโจร ซึ่งท่านก็ตอบด้วยอารมณ์ขันว่า“ข้าไม่ได้เลี้ยงพวกมันหรอก มันเลี้ยงข้าตะหาก…”

เมื่อเสือก๊กต่าง ๆ ลงให้หลวงพ่อถิร นับถือเป็นอาจารย์ ชื่อเสียงความขลังของท่านจึงเป็นที่รู้จักที่วไป กอปรกับท่านมีสีลาจารวัตรงดงาม เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีเมตตาจิตจึงเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับนิมนต์ในงานพุทธาภิเษกสำคัญแทบทุกงานในประเทศมาตั้งแต่อายุพรรษาไม่มากนัก

หลวงพ่อถิร นอกจากเป็นพระเกจิเรืองวิทยาคมแล้ว ท่านยังเป็นนักการศึกษา นักอ่าน นักเขียนตัวยงหนังสือประวัติวัดป่าเลไลยก์ ที่ตีพิมพ์ครั้งแรก เป็นผลงานการค้นคว้าของท่านเอง ทางวัดยังรักษาลายมือต้นฉบับเอาไว้อย่างดี

หลวงพ่อถิร ได้จัดให้มีการศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี มีภิกษุสามเณรจำพรรษาปีละเกือบร้อยรูป ได้ปรับสานที่ ย้ายกุฏิ ซ่อมพระวิหารใหญ่มุงหลังคา กระเบื้องสี สร้างถนน สร้างศาลาสมเด็จพระนเรศวร ทำการซ่อมและสร้างเสมอมาจดวัดป่าได้รับเกียรติบัตรเป็น วัดพัฒนาตัวอย่าง วัดแรกของจังหวัดสุพรรณบุรี

ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 เป็นต้นมา หลวงพ่อถิรได้ริเริ่มจัดงานประจำปีวัดป่าเลไลยก์ กำหนดงานเทศกาลปิดทองหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ในวันทางจันทรคติ วันขึ้น 5-9 ค่ำ ของเดือน 5 และเดือน 12 ของทุกปี วัดป่าเลไลยก์เริ่มเปิดกว้างสู่สาธารณชนยิ่งขึ้น
ราคาเปิดประมูล300 บาท
ราคาปัจจุบัน300 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ150 บาท
วันเปิดประมูลจ. - 12 ก.พ. 2567 - 20:18.52
วันปิดประมูล อา. - 03 มี.ค. 2567 - 20:18.52 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
เบอร์ติดต่อ 0819627789
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 300 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ150 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top