พระบูชาหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จ.พิจิตร ซุ้มถอดได้ สวยมากค่ะ- คลังพระเครื่องออนไลน์ - webpra

พระบูชาหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จ.พิจิตร ซุ้มถอดได้ สวยมากค่ะ

คลังพระเครื่องออนไลน์

พระบูชาหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จ.พิจิตร ซุ้มถอดได้ สวยมากค่ะ - 1พระบูชาหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จ.พิจิตร ซุ้มถอดได้ สวยมากค่ะ - 2พระบูชาหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จ.พิจิตร ซุ้มถอดได้ สวยมากค่ะ - 3พระบูชาหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จ.พิจิตร ซุ้มถอดได้ สวยมากค่ะ - 4
ชื่อพระเครื่อง พระบูชาหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จ.พิจิตร ซุ้มถอดได้ สวยมากค่ะ
อายุพระเครื่อง ปี
หมวดพระ พระบูชา
ราคาเช่า
-
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พฤ. - 16 พ.ค. 2562 - 20:58.57
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ศ. - 10 พ.ค. 2562 - 21:49.52
รายละเอียด
พระบูชาหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จ.พิจิตร เนื้อโลหะ​ ทาทอง​ ฐานสูง ซุ้มถอดได้ ใต้ฐานดินฝรั่ง​ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว ฐานกว้าง 9 นิ้วเศษ สูง 12.5 นิ้ว ​ สภาพสวยสมบูรณ์มาก ผิวหิ้งเดิม ๆ แบ่งให้เช่าบูชา​ 3,900 บาทนะคะ

Tel. 0819410767

Line id : jowtongdeelert

ประวัติหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จ.พิจิตร
หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยเชียงแสน หล่อด้วยโลหะทองสัมฤทธิ์ มีพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ชายสังฆาฏิหยักเป็นเขี้ยวตะขาบสั้นเหนือพระอุระ เกตุบัวตูม ขนาดหน้าตัก 1.40 เมตร สูง 1.60 เมตร ประทับนั่งบนฐานดอกบัวบานหงายรองรับ ต่อจากฐานโลหะเป็นแท่นชุกชี มีลวดลายปิดทอง ประดับกระจก ผู้ชำนาญการได้ตรวจสอบและได้ให้ความเห็นตรงกันว่า องค์หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน สิงห์หนึ่ง สร้างขึ้นในระหว่างปีพ.ศ. 1660 ถึงปี พ.ศ.1800

ประวัติการสร้างและความเป็นมาของ องค์หลวงพ่อเพชร ยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชัดแน่นอน เพียงแต่มีตำนานเล่าขานกันสืบมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาลว่า เดิมหลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ที่วัดจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ แล้วมีการอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดนครชุม เมืองพิจิตร (เก่า) โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อคราวยกทัพไปปราบหัวเมืองทางเหนือ

ต่อมาราวปี พ.ศ. 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเบญจมบพิตร มีพระราชประสงค์จะอันเชิญพระพุทธชินราชจากเมืองพิษณุโลกไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ชาวเมืองพิษณุโลกพากันเศร้าโศกไปทั้งเมือง พระองค์จึงมี พระบรมราชโองการให้สืบหาพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามไปแทนพระพุทธชินราช เจ้าพระยาศรีสุริยศักดิ์ซึ่งเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก ทราบว่าหลวงพ่อเพชร เมืองพิจิตรมีพุทธลักษณะงดงาม จึงแจ้งเจ้าเมืองพิจิตรทราบ พร้อมทั้งให้อัญเชิญหลวงพ่อเพชรขึ้นไปที่เมืองพิษณุโลก

ชาวเมืองพิจิตรเมื่อได้ทราบข่าวก็เกิดการหวงแหน ได้นำหลวงพ่อเพชร ไปซ่อนไว้ตามป่า แต่คณะกรรมการเมืองก็ได้ติดตามกลับคืนมาได้และอัญเชิญ หลวงพ่อเพชรมาไว้ที่วัดท่าหลวง เมืองพิจิตร (ใหม่) เพื่อรอการอันเชิญไปประดิษฐานที่เมืองพิษณุโลกต่อไป เหตุการณ์ครั้งนั้นยังความเศร้าโศกเสียใจให้กับชาวเมืองเป็นอย่างยิ่ง ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเข้าพระทัยชาวเมืองพิษณุโลกและชาวเมืองพิจิตร จึงโปรดเกล้าฯ ให้ระงับการนำพระพุทธชินราชและหลวงพ่อเพชรไปกรุงเทพฯ และโปรดเกล้าฯ ให้หล่อ พระพุทธชินราชจำลอง เพื่อนำไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรแทน หลวงพ่อเพชรจึงไม่ต้องถูกนำไปเมืองพิษณุโลก

ชาวเมืองพิจิตรพากันแสดงความยินดี มีมหรสพสมโภชเป็นการใหญ่เมื่อเสร็จการสมโภชแล้วชาวเมืองพิจิตร (เก่า) ก็เตรียมการที่จะแห่แหนหลวงพ่อเพชรกลับคืนไปประดิษฐานที่วัดนครชุมตามเดิม แต่ชาวเมืองพิจิตร (ใหม่) ก็มีความเห็นว่าสมควรที่จะประดิษฐานที่วัดท่าหลวง เพราะเมืองพิจิตรได้ย้ายมาอยู่ที่แห่งใหม่แล้ว ไม่ยอมให้ชาวเมืองพิจิตร (เก่า) นำหลวงพ่อเพชรคืนไป จนเกิดเป็นเรื่องราวใหญ่โต เจ้าคุณพระธรรมทัสสีมุนีวงศ์ (เอี่ยม) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าหลวงและดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดพิจิตรในขณะนั้นได้เข้าทำการห้ามปรามระงับเหตุได้ทัน โดยให้ทำการหล่อหลวงพ่อเพชรจำลองขนาดเท่าองค์เดิมไปประดิษฐานที่วัดนครชุม เมืองพิจิตร (เก่า) แทน และนับตั้งแต่นั้นมาหลวงพ่อเพชรก็ประดิษฐานเป็น พระประธานอยู่ ณ พระอุโบสถวัดท่าหลวง อ.เมือง จ.พิจิตร มาจนถึงปัจจุบัน

องค์หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปสวยงามที่ทรงไว้ซึ่งพุทธลักษณะและ ศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งของประเทศไทย
กำหลังโหลด Comments
Top