พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ กรุวัดวังเพิ่ม เมืองขอนแก่น - ทำเนียบรุ่น - webpra

เมืองขอนแก่น

พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ กรุวัดวังเพิ่ม เมืองขอนแก่น

พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ กรุวัดวังเพิ่ม เมืองขอนแก่น (1)
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ พิมพ์ใหญ่ เนื้อชินเงิน
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ กรุวัดวังเพิ่ม เมืองขอนแก่น (1)
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ พิมพ์ใหญ่ เนื้อชินเงิน
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ กรุวัดวังเพิ่ม เมืองขอนแก่น (1)
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ พิมพ์ใหญ่ เนื้อชินเงิน
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ กรุวัดวังเพิ่ม เมืองขอนแก่น (1)
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ พิมพ์ใหญ่ เนื้อชินเงิน
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ กรุวัดวังเพิ่ม เมืองขอนแก่น (1)
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ พิมพ์ใหญ่ เนื้อชินเงิน
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ กรุวัดวังเพิ่ม เมืองขอนแก่น (1)
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ พิมพ์ใหญ่ เนื้อชินเงิน
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ กรุวัดวังเพิ่ม เมืองขอนแก่น (1)
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ พิมพ์ใหญ่ เนื้อชินเงิน
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ กรุวัดวังเพิ่ม เมืองขอนแก่น (1)
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ พิมพ์ใหญ่ เนื้อชินเงิน
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ กรุวัดวังเพิ่ม เมืองขอนแก่น (2)
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ พิมพ์เล็ก เนื้อชินเงิน
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ กรุวัดวังเพิ่ม เมืองขอนแก่น (2)
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ พิมพ์เล็ก เนื้อชินเงิน
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ กรุวัดวังเพิ่ม เมืองขอนแก่น (2)
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ พิมพ์เล็ก เนื้อชินเงิน
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ กรุวัดวังเพิ่ม เมืองขอนแก่น (2)
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ พิมพ์เล็ก เนื้อชินเงิน
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ กรุวัดวังเพิ่ม เมืองขอนแก่น (2)
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ พิมพ์เล็ก เนื้อชินเงิน
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ กรุวัดวังเพิ่ม เมืองขอนแก่น (2)
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ พิมพ์เล็ก เนื้อชินเงิน
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ กรุวัดวังเพิ่ม เมืองขอนแก่น (2)
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ พิมพ์เล็ก เนื้อตะกั่วสนิมแดง
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ กรุวัดวังเพิ่ม เมืองขอนแก่น (2)
พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ พิมพ์เล็ก เนื้อตะกั่วสนิมแดง
ชื่อพระเครื่อง พระร่วงยืน พิมพ์ห้ามญาติ กรุวัดวังเพิ่ม เมืองขอนแก่น
อายุพระเครื่อง 0 ปี
หมวดพระ พระกรุ
สถานะ
จำนวนคนชม 25503
เข้าทำเนียบตั้งแต่วันที่ ศ. - 27 ก.ค. 2555 - 22:53.58
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พ. - 01 ส.ค. 2555 - 10:09.37
Facebook
รายละเอียด
กรุที่มีการค้นพบ
- กรุวัดวังเพิ่ม

ศิลปะยุค
- ศิลปะลพบุรียุคปลาย

จำนวน
- สภาพสมบูรณ์ประมาณ 8,000 องค์
- พิมพ์พนมมือ (พนมกร)
- พิมพ์ห้ามพยาธิ (ห้ามเจ็บห้ามไข้) ห้ามญาติ (ห้ามญาติพี่น้องทะเลาะเบาะแว้งกัน)

1.พิมพ์ใหญ่
2.พิมพ์เล็ก


บทความจากพระร่วงนั่ง กรุคอกควาย จาก saranugrompra.com
---ที่มาของการเปิดกรุพระร่วง กรุวังเพิ่มนั้นครั้งแรกเลยนั้นเป็นการพบโดยบังเอิญ ครั้งที่สองเป็นการเปิดกรุจากการใช้เครื่องมือเปิดทุ่นระเบิดตรวจค้น วังเพิ่มนับเป็นตำบลหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอสีชมภู จังหวัดขอนแก่น ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 113 กม. ตามถนนสายกรุงเทพชุมแพ พื้นที่พบพระเราสามารถเข้าได้ 2 ทาง คือ เข้าทางวังเพิ่มระยะทาง 5 กม. เข้าทางบ้านขมิ้น (ทุ่งนา) 2 กม. พื้นที่เหล่านี้เป็นเขตติดต่อสามหมู่บ้านคือ บ้านบุ่งเม่น-บ้านขมิ้น-บ้านหนองอู่ พื้นภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา มองไปทางด้านหน้าจะพบเทือกเขาอันยาวเหยียดไม่ห่างไกลนัก เวลาน้ำท่วม น้ำท่วมไม่ถึงจึงเหมาะแก่การทำไร่ปอแก้ว ทำไร่มันสำปะหลัง พื้นที่ลุ่มก็ทำนา ข้ามฟากไปทางด้านโน้น เป็นเขตอำเภอภูเวียง นักธรณีวิทยากล่าว่า พื้นที่แห่งนี้เคยมีมนุษย์อาศัยอยู่เป็นกลุ่มก้อนมาก่อนภายหลังได้อพยพเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่อื่นที่สมบูรณ์กว่า จึงปล่อยทิ้งร้างว่างเปล่า ต่อมาคนรุ่นใหม่ได้เข้าไปบุกป่าทำนาทำไร่ ต่ออีก ชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวนาได้ขุดพบพระเนื้อสำริด และเทวรูปสำริด ตลอดจนของเก่าแก่มากมายในท้องที่แห่งนี้ มีทั้งเครื่องประดับ ต่างหู, หม้อ, ไห, กำไรแขน อันเป็นของโบร่ำโบราณทั้งสิ้น ได้ถูกฝังจมดินไว้ให้คนรุ่นหลังได้รู้เห็น นับว่าเป็นนิมิตหมายอันดีของพื้นที่ดังกล่าว

---เมื่อประมาณ 10 ปีล่วงมาแล้ว มีประชาชนคนแถบวังเพิ่มได้ขุดพบพระกรุ เป็นพระร่วงเนื้อตะกั่วสนิมแดงประมาณ 123 องค์ พบพระเมื่อเดือนพฤษภาคม 2527 จะมีพระเนื้อชินบ้างเป็นส่วนน้อย เมื่อเรื่องราวของการพบพระครั้งนั้นก็ทำให้นักล่าสมบัติแผ่นดินอยากจะเข้าไปเผชิญโชคบ้าง เพราะถ้ามีกรุพระเครื่องแล้วโดยมากมักจะมีพระกรุ (บูชา - เทวรูป) รวมอยู่ด้วย ดังนั้นในภาคอีสานทั้งหมดแทบทุกตารางนิ้วจะมีของโบร่ำโบราณฝังจมดินอยู่ ทั้งที่ได้พบมามากต่อมาก ต่อมาก็มีทั้งที่ยังไม่พบก็ยังมีอีกมาก ดังนั้นจึงมีนักล่าสมบัติชุดหนึ่ง ที่อำเภอเชียงดาวซึ่งทำมาหากินในถิ่นอีสาน รู้ข่าวคราวการแตกกรุนี้ ก็ปรึกษาพรรคพวกเพื่อนฝูง เพื่อจะทำการค้นหากรุพระร่วงนี้อีกครั้ง

---ครั้นแล้วเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2536 สี่วันยังค้นไม่พบ ทำให้รู้สึกท้อแท้ใจพอถึงวันที่ 5 ก็เป็นดีเดย์ที่นักขุดชุดดังกล่าวต้องหัวเราะกันท้องแข็ง เพราะได้พบพระอย่างสมใจนึก คือ พบกรุพระใหญ่ที่สุดในภาคอีสานก็ว่าได้ พบพระจำนวน 8,000 องค์ พระชำรุดไม่นับ เมื่อพบแล้วทุกคนก็ดีอกดีใจและหายเหนื่อย นับเป็นโชคอันมหันต์ที่ได้พบพระกรุใหญ่ๆ ในครั้งนี้ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ชาวบ้านเรือนเดียวกันรู้ข่าว ต่างแบกจอบแบกเสียมเพื่อไปค้นหากันจ้าละหวั่น แต่อนิจจาสู้เครื่องตรวจไม่ได้เสียแล้ว เพราะเครื่องตรวจนี้เป็นเทคนิคชนิดหนึ่งของการตรวจทุ่นระเบิดในสงคราม (เครื่องตรวจทุ่นระเบิดสงคราม) ซึ่งมีคุณภาพดีกว่าการหาโดยการเดาสุ่ม

---เมื่อพบพระแล้ว และนำพระใส่ลังไม้ฉำฉาเสร็จก็นำกลับมายังโคราชบ้านเรา และส่งพระต่อไปยังทางภาคเหนือ เช่น ลำพูน, ลำปาง, เชียงใหม่, แพร่, น่าน, เชียงราย, พะเยา แต่ไม่มีใครสนใครนัก กลัวจะเป็นของปลอมกันเลยไม่กล้าเช่าหรือบูชากัน ปัจจุบันเริ่มรู้แล้วว่า พระร่วงกรุวังเพิ่มเป็นของแท้และแน่นอน ไม่ใช่ของปลอมรู้สึกว่า ชักจะมีคนสนใจมากขึ้นทุกขณะ ผู้เขียนขอยืนยันว่า พระกรุดังกล่าวเป็นพระกรุแท้จริงเป็นพระดี (ไม่ใช่ของปลอม) เป็นพระศิลปลพบุรียุคหนึ่ง ฝีมือช่างนอกเมือง มีด้วยกันถึง 3 พิมพ์ทรง มีเอกลักษณ์ในตัวเอง

-พิมพ์พนมมือ (พนมกร) คล้ายพระอัครสาวกขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า พระพักตร์ตรง
-พิมพ์ห้ามพยาธิ (ห้ามเจ็บห้ามไข้) ห้ามญาติ (ห้ามญาติพี่น้องทะเลาะเบาะแว้งกัน) ตามพุทธประวัติ มีทั้งพิมพ์ใหญ่ - เล็ก
-พิมพ์ห้ามพยาธิ (ใหญ่) ห้ามญาติ (ใหญ่) ไม่ปรากฏว่ามีพระเนื้อตะกั่วสนมแดงเลย

---แม่พิมพ์หรือวัสดุที่นำมาประกอบการสร้าง ได้แก่แม่พิมพ์ (ตัวผู้- ตัวเมีย) เบ้าพิมพ์เหล่านี้เป็นฝีมือช่างโบราณสมัยเก่าทั้งด้านหน้า-และด้านหลัง ทั้งด้านหน้าและด้านหลังประกบกัน แล้วช่างจะหล่อเทเมื่อหลอมละลายเนื้อชินเงิน หรือวัสดุที่จะนำมาหล่อ เมื่อหล่อเสร็จแล้วก็จะไม่มีการตกแต่งเหมือนพระยุคใหม่ๆ คือปล่อยไปตามธรรมชาติเลยทีเดียว คนโบราณเขาสร้างสรรค็ไว้คนสมัยใหม่จะไม่อนุรักษ์ ปล่อยเลยตามเลยเช่นนั้นหรือ พระร่วงกรุขอนแก่นสามารถย้อยรอยถึงอดีตได้ คนไทยเรามักจะลืมง่าย เห็นเป็นเรื่องไร้สาระ ขอทีเถอะครับ การเห็นแก่ตัวเล็กๆ น้อยๆ เป็นสิ่งที่ไม่บังควร ศิลปสามารถย้อนรอยถึงอดีตได้ ทำให้คนรุ่นใหม่รู้เรื่องราวได้ ฉะนั้นพระร่วงกรุนี้ก็เป็นศิลปหนึ่งที่เราควรจะรักและหวงแหนไว้ให้ลูกหลานเหลนของเราไว้ได้เชยชม ถึงแม้ว่า พระกรุนี้จะไม่มีความงดงามมากนัก แต่มีหลักประกันถึงความเก่า ช่างโบราณได้เน้นหนักความบริสุทธิ์ใจที่มีอยู่อันเป็นเอกลักษณ์อย่างแท้จริงขององค์ท่าน

---พระร่วงกรุนี้ มีอิทธิฤทธิ์ บุญฤทธิ์ และปาฏิหาริย์อันน่าเชื่อถือได้คือ มีเพื่อนคนหนึ่ง พกพระร่วงไว้ในกระเป๋าเสื้อ รถเกิดอุบัติเหตุพังทั้งคันแต่รอดตายมาได้ราวปฏิหาริย์ อย่างนี้ไม่เรียก ปาฏิหาริย์แล้วจะเรียกอะไรกันครับ ใครพบพระกรุนี้ในราคาถูกๆ เช่าไว้เถอะครับวันหน้า และโอกาสหน้าจะหายากนะจะบอกให้
Top