
ว่าด้วยการสะสมรูปถ่ายพระอาจารย์และวิธีดู
บทความพระเครื่อง เขียนโดย แม่น้องบัว
สมัยก่อนการสร้างพระอะไรสักอย่างแสนลำบากยากเย็น ถ้าจะทำให้สวยต้องเข้ากรุงเทพ ไม่ว่าจะเหรียญหรือรูปหล่อต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงเอาการส่วนใหญ่จะเกินกำลังวัดบ้านนอก ถ้าหล่อกันแบบฝีมือชาวบ้านตามมีตามเกิดวัด พระจะออกมาไม่สวย อาจารย์รุ่นเก่าๆจึงนิยมทำรูปถ่ายแจกแก่ลูกศิษย์ลูกหาที่เคารพนับถือท่าน เพราะการจ้างร้านถ่ายรูปในตัวจังหวัด ให้อัดครั้งละมากๆ ต้นทุนจึงถูกไม่เป็นภาระวัดและประชาชน หลังปลุกเสกท่านก็แจกอย่างนั้นเลย บางก็จ้างช่างอัดประกบกระจกทั้งหน้าหลังก็มี รูปถ่ายเหล่านั้นแทนพระเครื่อง ของท่านนำติดตัวไปไหนสะดวกป้องกันอันตรายได้ไม่ต่างจากพระเครื่อง นอกจากรูปถ่ายขนาดเล็กแล้ว บางท่านก็ทำรูปบานใหญ่ขนาด 5X7 นิ้วก็มี ทำรูปล็อกเกตก็มี ปัจจุปันนักสะสมรูปถ่ายพระอาจารย์เฉพาะทางนั้นมีน้อย โดยมากก็คละกันไปตามความนิยม แต่ก็เริ่มมีนักสะสมหน้าใหม่ที่เริ่มสะสมเฉพาะรูปถ่ายมากขึ้นสังเกตุตามนิตยสารจะมีรูปถ่ายพระเกจิลงในหน้าของหมวดเครื่องรางของขลังเป็นประจำ ราคาเล่นหาตั้งแต่หลักร้อยไปถึงหมื่อนๆก็มีเช่นหลวงพ่อเดิม หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง วิธีการสังเกตุเบื้องต้นว่ารูปถ่ายนั้นเก่าถึงยุคไหม ประการแรก ภาพถ่ายเก่างัยก็ต้องเป็นภาพขาวดำหรือที่เรียกว่าซีเปีย ต้องดูสารซิลเวอร์ไนเตรท รูปถ่ายเก่าจะต้องมีแสงสะท้อนของสารตัวนี้ แต่ถ้าเป็นรูปเล็กประกบกระจกสองด้านจะมองไม่เห็น เนื่องจากไม่มีการทำปฏิกริยาออกซิไดเซชั่นกับออกซิเจนในอากาศ ต้องดูที่ความแห้งเก่าคร่ำของภาพแทน ส่วนล็อกเกตของเกจิรุ่นเก่าจะสั่งทำจากจีนและญี่ปแนเป็นหลัก โดยเอารูปอัดประกบด้วยฝาประกับหลังขึงให้ตึง ในการดูนั้น ต้องดูทั้งหน้าหลังถึงความแห้งของรูปรวมทั้งรอยรานของเยื่อพลาสติกชั้นนอกของรูปถ่ายและต้องจำแบบและกระแสฝาโลหะให้ดี ตัวอย่างที่มีให้ดูของร้านเป็นรูปถ่ายหน้าหนุ่มพัดคู่หลวงปู่เผือกวัดกิ่งแก้ว หลังภาพเป็นยันต์หมึกจีนที่มีความแห้งเป็นธรรมชาติ ด้านหน้ามีแสงวาวสะท้อนของสารซิลเวอร์ไนเตรท รูปนี้สั่งอัดพ.ศ. 2455 หลวงปู่นำออกแจกประชาชนปี 2460 |

