นวโลหะกับพระเครื่อง - webpra

นวโลหะกับพระเครื่อง

บทความพระเครื่อง เขียนโดย piriyakorn

piriyakorn
ผู้เขียน
บทความ : นวโลหะกับพระเครื่อง
จำนวนชม : 1225
เขียนเมื่อวันที่ : ศ. - 21 ก.ย. 2555 - 12:16.03
แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ : ศ. - 21 ก.ย. 2555 - 12:19.57
(คลิ๊กที่ชื่อผู้เขียนผู้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียน)

นวโลหะ

โลหะ ๙ ชนิด มีเหล็ก ปรอท ทองแดง เงิน ทองคำ เจ้าน้ำเงิน (แร่สีเขียวอย่างสีน้ำเงิน) สังกะสี ชิน และทองแดงบริสุทธิ์

                                     พระเครื่องเนื้อนวโลหะ เป็นเนื้อโลหะผสมสูตรพิเศษที่ประกอบไปด้วยโลหะที่เป็นมงคล 9 อย่างผสมหล่อหลอมรวมกันแล้วจะได้โลหะที่มีเนื้อเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครและมีคุณวิเศษในตัวเองยิ่งนำมาปลุกเสกผ่านกรรมพิธีที่เป็นมงคลก็ยิ่งเพิ่มคุณวิเศษขึ้นไปอีก 
เนื้อนวะโลหะ มีการจัดสร้างแยกได้ดังนี้
1.   
เนื้อนวโลหะเต็มสูตรรวมน้ำหนักทั้งสิ้น 45 บาท( 1 บาท เท่ากับ 15.2 กรัม)  ซึ่งจะต้องใช้ทองคำถึง 20 % ดังนั้นสูตรนี้ต้องใช้มูลค่าสูงมาก ทำได้จำกัด และเนื้อพระจะกลับดำไม่มีทองแดงหรือพรายเงิน  ฉะนั้น นวะโลหะที่มีผิวไฟ(ทองแดง)  หรือพรายเงินนั้นจึงไม่น่าจะใช่นวะโลหะเต็มสูตร นวะโลหะเต็มสูตรโดยจะประกอบไปด้วยโลหะ 9 อย่างคือ
1.
ชินหนัก 1 บาท
2.
จ้าวน้ำเงินหนัก 2 บาท
3.
เหล็กละลายตัว หนัก 3 บาท
4.
บริสุทธิ์ หนัก 4 บาท
5.
ปรอท หนัก 5 บาท
6.
สังกะสี หนัก 6 บาท
7.
ทองแดง หนัก 7 บาท
8.
เงิน หนัก 8 บาท
9.
ทองคำหนัก บาท
2.   
เนื้อนวะโลหะกลับสูตร
สูตรนี้เกิดขึ้นเนื่องจากสูตรแรกใช้ต้นทุนสูงโบราณจารย์จึงได้คิดสูตรนวะกลับ หรือนวโลหะกลับสูตรขึ้นมาแทน เพื่อลดต้นทุนให้สามารถทำจำนวนได้มากขึ้น โดยการใช้ทองคำหนัก 1 บาท เงิน หนัก 2 บาทและใช้ทองแดงหนัก 9 บาทแทนทองคำ โลหะอื่นๆอาจปรับสูตรนิดหน่อยหรือใช้โลหะเงินมากหน่อยเพื่อให้ผิวออกดำ ( ผิวกลับดำ ) สูตรนี้นิยมในยุคต่อมาแต่ต้นทุนมูลค่าก็ยังสูงอยู่ทำจำนวนมากไม่ได้ทำเป็นการค้าหากำไรได้ยาก
3.   
เนื้อนวะโลหะต่อชนวน
เนื่องจากเนื้อนวะโลหะกลับสูตรยังมีต้นทุนสูงอยู่จึงได้มีการพลิกแพลงทำเป็นนวโลหะต่อชนวนขึ้นมาโดยการนำช่อชนวนที่เหลือจากการหล่อพระเนื้อนวโลหะกลับสูตรมาหล่อหลอมรวมกับทองแดงล้วนๆ กลายเป็นเนื้อนวะโลหะต่อชนวนชั้นที่ 1 ครั้งต่อไปก็นำช่อชนวนจากชั้นนี้ไปหล่อหลอมรวมกับทองแดงล้วนๆกลายเป็นนวโลหะต่อชนวนชั้นที่ 2 ทำอย่างนี้หลายๆครั้งจนไม่รู้ว่าเป็นชั้นที่เท่าไรเนื้อนวโลหะเจือจางเหลืออยู่เท่าใด แต่ในแต่ละครั้งเขาจะมีการเพิ่มเงินเพิ่มจ้าวน้ำเงิน(พลวง) หรือโลหะอื่นๆทุกครั้งเพื่อให้ได้สีผิวออกดำออกแดงตามต้องการและตามต้นทุนที่คำนวณไว้แล้วแต่ไม่เป็นไปตามสูตรโบราณใดๆทั้งสิ้นเป็นสูตรยุคโลกาภิวัฒน์แท้ๆดังนั้นเนื้อนวโลหะเต็มสูตรจริงๆจะมีมูลค่าและคุณค่าสูงกว่าเนื้อเงินทั่วไปมากแม้นวะกลับสูตรก็ยังสูงกว่าแต่สำหรับเนื้อนวโลหะต่อชนวนเป็นเรื่องยากที่จะประเมินว่ามีมูลค่าหรือคุณค่าเท่าไรเพราะต้องดูจากองค์ประกอบหลายๆอย่างดังกล่าวแล้วอีกอย่างหนึ่งเนื้อนวโลหะจะใช้สร้างพระหล่อประเภทกริ่งหรือรูปหล่อเหมือนเป็นส่วนใหญ่ส่วนการสร้างเหรียญเนื้อนวโลหะ ก็จะใช้วิธีหล่อแล้วเทแล้วรีดเป็นแผ่นก่อนนำไปปั๊มขึ้นรูปหน้าหลัง จากนั้นก็ปั๊มตัดขอบ ก็จบกระบวนการ

ขอขอบคุณความรู้ดีๆจาก http://www.ubonpra.com/board/index.php?topic=919.0;wap2

Top