วิธีดูพื้นเหรียญปั้ม - webpra

วิธีดูพื้นเหรียญปั้ม

บทความพระเครื่อง เขียนโดย โชฉัตรแก้ว

โชฉัตรแก้ว
ผู้เขียน
บทความ : วิธีดูพื้นเหรียญปั้ม
จำนวนชม : 13159
เขียนเมื่อวันที่ : อ. - 22 ก.ย. 2552 - 02:16.20
(คลิ๊กที่ชื่อผู้เขียนผู้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียน)

วิธีดูพื้นเหรียญปั้ม
" รู้ไว้มีชัยไปกว่าครึ่ง "ส่วนชั้นนอกสุด ที่สามารถมองเห็นได้ก่อนส่วนอื่น พระเครื่องบางอย่างไม่สามารถมองเห็นเนื้อภายในได้
เมื่อสมัยก่อน การพิจารณาว่าเหรียญแท้หรือเทียมนั้น จะใช้หลักการดูตำหนิ หรือจดจำเค้าใบหน้าของหลวงพ่อ ปัจจุบันขบวนการปลอมเหรียญได้ทำตำหนิในหนังสือ จึงเหมือนเป็นการชี้โพรงให้กระรอก เข้าไปอีก


ก่อนที่จะมาเป็นเหรียญดังทั้งหลายนั้น วิธีการทำมีอยู่ว่า จะต้องเอาแผ่นโลหะเข้าเตาไฟเผาเพื่อให้อ่อนตัว จากนั้นก็เอาเข้าเครื่องปั๊ม ซึ่งเครื่องก็จะกระแทกอย่างแรง เพื่อตัดขอบเหรียญให้ขาดออกจากกัน การที่โลหะถูกความร้อนจนอ่อนตัว แล้วถูกกระแทกอัดซ้ำอย่างหนักจะทำให้เนื้อโลหะเกิดการอัดแน่น
ผิวของเหรียญที่ปั๊มออกมาจึงต้องมีลักษณะตึง เรียบ แน่น ไม่บวมหรือมีเนื้อเกินขรุขระ หากเหรียญมีผิวขรุขระไม่เรียบ มีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การเอาบล็อกเก่ามาปั๊มใหม่ ซึ่งบล็อกของเหรียญจะทำด้วยเหล็กกล้า เหนียวและแข็ง แต่ถึงจะเหนียวและแข็งขนาดไหน ก็ไม่ทนทานต่อการเกิดสนิม กัดกินได้ เนื่องจากถูกความชื้น หรือละอองในอากาศ
ครั้นเอาบล็อกที่เป็นสนิมมาทำความสะอาด แล้วปั๊มเหรียญใหม่ ผิวของเหรียญ ย่อมขรุขระตามไปด้วย มีเนื้อเกินเป็นจุดๆหรือเป็นบางแห่ง ซึ่งเรียกลักษณะนี้ว่า “ เหรียญขี้ลาภ ” ซึ่งเหรียญประเภทนี้วงการไม่ค่อยให้ความนิยม ปล่อยยากเพราะถือว่าปั๊มขึ้นมาทีหลัง
ผิวเหรียญอีกแบบหนึ่งที่ไม่น่าไว้วางใจ คือพื้นผิวของเหรียญลาดเอียงเป็นหลุมเป็นบ่อ เหรียญแบบนี้มักเป็นเหรียญหล่อถอดพิมพ์ โดยเอาเหรียญแท้ไปถอดพิมพ์ขึ้นมาใหม่ แล้วหลอมตะกั่วเทลงไป สังเกตได้ง่ายว่าผิวจะไม่ตีงเรียบและแน่น จึงมักจะนำไปชุบทองแดง รมผิว หรือกะไหล่ทอง เพื่อปกปิดไม้ให้รู้ว่าหล่อมาจากเนื้อตะกั่ว ที่สำคัญมักเหลี่ยมพลาสติกจับขอบไว้ด้วย จึงต้องพึงระวังให้ดี
เหรียญปั๊มของเก่าแท้จะมีลักษณะแห้งซีด ไม่แวววาว สดใส มีคราบสนิทความเก่าจับตามพื้นผิวเป็นจุด เหรียญที่สร้างโดยการปั๊มเนื้อจะดูแน่น ตึงเรียบ ไม่มีรูพรุนของฟองอากาศ ยกเว้นรอยสนิทกัดกิน ส่วนเหรียญที่สร้างโดยการหล่อ หรือฉีดเนื้อโลหะเข้าแม่พิมพ์อย่างเหรียญคอมพิวเตอร์ เนื้อเหรียญจะดูไม่แน่นตึง มีรูพรุนของฟองอากาศหรือ “ตามด” เป็นจุดๆ และเป็นบางแห่ง
หลักเกณฑ์พิจารณาพื้นผิวของเหรียญปั๊มขอสรุปง่ายๆ ดังนี้ครับ
1. พื้นเหรียญต้องตึง เรียบแน่น ไม่ขรุขระเป็นขี้กลาก หรือมีเนื้อเกินเป็นก้อนๆ และต้องไม่บวม
2. เหรียญที่มีความเก่า เนื้อเหรียญจะมีความเก่า โดยโลหะจะมีลักษณะแห้ง ซีด ไม่แวววาว
3. เหรียญเก่าที่ถูกสนิทกัดกินพื้นผิวจนผุกกร่อน รอยรูพรุนจะมีเกือบทั่วเหรียญและเป็นการผุกร่อนจากภายนอก กินลึกเข้าไปในเนื้อเหรียญ
4. รอยรูพรุนตามพื้นผิวเหรียญ ถ้ามีรูพรุนเป็นจุดๆ บางแห่งและมีจำนวนน้อยนั้น จะเกิดจากการหดตัวของเนื้อโลหะ ไม่ได้เกิดจาก การกัดกินของสนิทภายนอก
หลักการพิจารณาทั้งหมดนี้ อาจช่วยหนักให้เป็นเบา ได้เช่าของแท้ เพราะการดูแค่พื้นผิวของเหรียญไม่ต้องดูส่วนอื่นๆ สามารถบอกได้ทันทีว่า แท้หรือเทียม

เป็นความรู้มากเลยทีเดียวครับ คุณเหลือน้องๆๆที่เข้ามาเล่นใหม่ๆอ่านแล้วก็คงจะห่างไกลของเก๊ไปได้ระดับหนึ่งนะครับ
ผม อยากจะเสริมนิดหนึ่งก็คือ บางเหรียญที่เขาทำมาเป็นห่วงในตัวการห้อยแขวนมักทำให้เกิดการสึกหรอ การดูลักษณะการสึกก็สำคัญครับ กล่าวคือ
1.การสึกของห่วงมักเกิดขึ้นภายในห่วงด้านในบนมากกว่าด้านอื่น
2.การสึกของเหรียญมักเกิดขึ้นกับด้านล่างของเหรียญมากกว่าด้านอื่นเล็กน้อยเพราะโดนความหนาของห่วงชะลอไว้
3.การสึกของห่วงและผิวเหรียญต้องไปด้วยกันได้หมายถึงพอพอกัน
4.เหรียญที่อ้างว่าถูกล้างมาถ้าไม่จำเป็นผมจะไม่ค่อยจับเพราะปัจจุบันดูยากมาก
5.ดูว่าเป็นเหรียญปั๊มยุคไหนแล้วสังเกตุการตัดขอบให้ดีอันนี้เป็นข้อยุติของเหรียญเก๊ระดับ 5 ดาวปาดคอ


คัดลอกมาเผยแพร่ แหล่งที่มาwww.g-pra.com/webboard/show.php?Category=real_amulets&No=150768

Top