พระสมเด็จวัดอ่างทอง พระดี พิธีใหญ่ ที่ถูกมองข้าม - webpra

พระสมเด็จวัดอ่างทอง พระดี พิธีใหญ่ ที่ถูกมองข้าม

บทความพระเครื่อง เขียนโดย ว_อ่างทอง

ว_อ่างทอง
ผู้เขียน
บทความ : พระสมเด็จวัดอ่างทอง พระดี พิธีใหญ่ ที่ถูกมองข้าม
จำนวนชม : 9183
เขียนเมื่อวันที่ : อ. - 24 มี.ค. 2558 - 13:03.22
แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ : อ. - 24 มี.ค. 2558 - 13:07.10
(คลิ๊กที่ชื่อผู้เขียนผู้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียน)

จำได้ว่าประมาณปี 2538 (20 ปีที่ผ่านมา) เคยมีคนนำพระพิมพ์สมเด็จวัดอ่างทองวรวิหาร ลงหนังสือพระเครื่องฉบับหนึ่ง ระบุว่าเป็นสมเด็จวัดเกษไชโย นอกพิมพ์...

วัดอ่างทองวรวิหาร หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “วัดอ่างทอง” เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ฝั่งตะวันออก ตั้งอยู่บริเวณข้างศาลากลางจังหวัดอ่างทอง เดิมเป็นวัดเล็กๆ 2 วัด ชื่อวัดโพธิ์เงินและวัดโพธิ์ทอง
สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4  ต่อมาในปี พ.ศ.2443 สมัยรัชกาลที่ 5 เสด็จทางชลมารคผ่านวัดทั้งสองนี้   จึงโปรดฯ
ให้รวมวัดสองวัดเป็นวัดเดียวกัน และพระราชทานนามว่า  “วัดอ่างทอง”  

พระพิมพ์ของวัดอ่างทองวรวิหาร มีห้าทรงพิมพ์ คือ
1. พิมพ์สมเด็จ 7 ชั้นอกวี
2. พิมพ์สมเด็จ 7 ชั้นไหล่ตรง
3. พิมพ์ขุนแผน
4. พิมพ์อู่ทอง
5. พิมพ์นางพญา
สำหรับพิมพ์อู่ทองและพิมพ์นางพญา แกะเป็นรูปหลวงพ่อทอง ซึ่งเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ใช้แม่พิมพ์
เดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนกรอบกระจกเท่านั้น พระทั้ง 5 พิมพ์ใช้แม่พิมพ์ทองเหลือง ซึ่งสั่งทำพร้อมกับแม่พิมพ์
พระพิมพ์ที่ระลึกของวัดไชโยวรวิหาร

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง
เพื่อให้เป็นที่ระลึกในการบูรณะพระอุโบสถของวัดอ่างทองวรวิหารและเป็นพระประจำวัดของทั้งสองวัด สร้างพร้อมกับพระพิมพ์ที่ระลึกแห่งชาตกาล ครบรอบ 160 ปี ในปี พ.ศ.2491 ที่จะมาถึง จึงเริ่มสร้างพระพิมพ์ทั้งสองวัดพร้อมกัน ราวเดือนมีนาคม พ.ศ.2448 เพื่อให้พิมพ์ทั้งหมดถึงแดดในหน้าแล้ง (คือการตากพระให้แห้ง
สนิท ในฤดูร้อนและฤดูหนาว)

มวลสารที่ใช้ในการสร้าง ใช้พระสมเด็จเกษไชโย ของสมเด็จฯโต ที่ชำรุดนำมาบดรวมกับมวลสารอื่น ๆ ตาม
กรรมวิธี โดยวัดไชโยวรวิหารเป็นผู้ทำการผสมเนื้อหา ซึ่งในการสร้างพระแต่ละครั้งต้องใช้กำลังคนมาก พระ
เณร ที่ต้องศึกษาพระธรรมวินัย ชาวบ้านต้องประกอบสัมมาอาชีพ เด็กวัด ก็ต้องเรียนหนังสือ  เมื่อได้เนื้อหา
ตามความต้องการ ก็แบ่งออกเป็น 2 ส่วน   สำหรับวัดไชโยวรวิหาร 1 ส่วน ของวัดอ่างทองวรวิหาร 1 ส่วน  เนื้อหายุคแรก ๆ จะออกวรรณเหลืองนมข้น ส่วนผสมครั้งต่อ ๆ มา จะออกเหลืองอ่อน ถึงขาวนวล    เข้าพิธี
พุทธาภิเษก ณ วิหารหลวงวัดไชโยวรวิหาร ราวต้นปี พ.ศ.2490   เพื่อให้ทันงานฉลองเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระ
ราชาคณะชั้นเทพและทำบุญอายุครบ 64 ปี ของพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระโพธิวงศาจารย์ ที่จะมาถึงใน
ไม่กี่เดือนข้างหน้า สำหรับพระพิมพ์ของวัดไชโยวรวิหาร ได้ออกให้เช่าบูชา ในปี พ.ศ.2491 ในวาระครบรอบ 160 แห่งชาตะกาลของสมเด็จ ฯ โต

ต่อมาราวปี พ.ศ.2495 ช่วงฤดูน้ำ เกิดน้ำเซาะตลิ่งหน้าวัดพัง   ท่านเจ้าคุณพระมหาพุทธพิมพาภิบาล
โสภโชติเถระ(วร อินทรสมบูรณ์) เจ้าอาวาสสมัย นั้น ได้ดำริที่จะสร้างเขื่อนกั้นตลิ่งหน้าวัดไชโยวรวิหาร ให้แล้ว
เสร็จภายในปี พ.ศ.2496 ก่อนที่ฤดูน้ำหน้าที่จะมาถึงอีก แต่เนื่องจากเหรียญที่ระลึกและวัตถุมงคล ที่จัดสร้างไว้
ลดจำนวนลง ไม่เพียงพอที่จะหาปัจจัย   พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระโพธิวงศาจารย์ สุนธรมหาเถระ (แผ้ว
อัมพชาติ) ท่านได้ปรารภต่อท่านเจ้าคุณพระมหาพุธพิมพาภิบาล โสภโชติเถระ(วร อินทรสมบูรณ์) ซึ่งหลวงปู่วร
มีอายุและกาลพรรษา มากกว่า 2 ปี ว่ามีความประสงค์ขอให้ทางวัดไชโยวรวิหาร จัดสร้างพระพิมพ์สมเด็จขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อหารายได้ในการสร้างเขื่อน ทางวัดไชโยวรวิหาร จึงได้จัดสร้างพระพิมพ์สมเด็จขึ้นอีกครั้งราวปี 2498 โดยใช้แม่พิมพ์เดิมทั้งหมด วรรณจะออกขาวนวล ถึง ขาว และเข้าพิธีพุทธาภิเษก ราวต้นปี พ.ศ.2500
(นี่คือที่มาของเขื่อนเหลือง และ เขื่อนขาว ของวัดไชโยครับ) และนำออกให้เช่าบูชา ในวาระครบรอบ 170 ปี
แห่งชาตะกาลของสมเด็จฯ โต ท่าน ในปี พ.ศ.2501

ขอขอบคุณข้อมูล...จากคุณปัทม รักในหลวง และคุณตุ้ย สุโรจน์ หอมขจร
หมายเหตุ มีการเรียบเรียงและแก้ไขข้อมูลใหม่ เพื่อให้ได้ใจความกระชับ ผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ....ขอบคุณครับ

พระสมเด็จวัดอ่างทอง พระดี พิธีใหญ่ ที่ถูกมองข้าม
พระสมเด็จวัดอ่างทอง พระดี พิธีใหญ่ ที่ถูกมองข้าม
Top