ประวัติ หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม วัดตาลกง - webpra

ประวัติ หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม วัดตาลกง

บทความพระเครื่อง เขียนโดย question

question
ผู้เขียน
บทความ : ประวัติ หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม วัดตาลกง
จำนวนชม : 1143
เขียนเมื่อวันที่ : จ. - 11 ม.ค. 2553 - 02:46.37
แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ : จ. - 11 ม.ค. 2553 - 02:48.10
(คลิ๊กที่ชื่อผู้เขียนผู้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียน)

ประวัติ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง

พระครูวินัยวัชรกิจ (หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม) วัดตาลกง ต.มาบปลาเค้า อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี

ชีวประวัติ กิตติคุณ บารมีธรรม

         เพชรบุรี เมืองเก่าประวัติศาสตร์ ที่มีเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมโบราณสถานโบราณวัตถุ วัดวาอารามเจริญรุ่งเรือง สืบทอดอารยธรรมกันมาหลายยุคสมัย จนได้รับสมญาว่า"อยุธยาที่ยังมีชีวิต"

         นอกจากความเจริญทางศิลปวัฒนธรรมแล้ว เพชรบุรียังเป็นเมืองคนเก่ง คนจริง คนดี เมืองธรรมะพระเกจิอาจารย์ดังที่สืบทอดพุทธาคมจากครูบาอาจารย์อย่างไม่ขาดสาย ในยุคปัจจุบัน พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงเลื่องสือกิตติคุณ เป็นที่เลื่อมใสนับถือของพุทธศาสนิกชนอีกรูปหนึ่ง คือหลวงพ่ออุ้น สุขกาโม ซึ่งอยู่ในความนิยมศรัทธาระดับแนวหน้าของเมืองไทย

หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม หรือพระครูวินัยวัชรกิจ เจ้าอาวาสวัดตาลกง ต.มาบปลาเค้า อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ปัจจุบันเจริญอายุ ๙๑ ปี ๗๑ พรรษา (๒๕๕๐) เป็นพระนักพัฒนา พระนักปฏิบัติ เคร่งครัดพระธรรมวินัย มีบุคลิกลักษณะผิวพรรณผ่องใส อัธยาศัยเปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา ใครไปหากราบไหว้ ท่านต้อนรับทุกคนไม่เลือกชั้นวรรณะด้วยไมตรีจิต สมเป็นสมณพุทธบุตรธรรมทายาท เนื้อนาบุญอย่างแท้จริง

         หลวงพ่ออุ้น นามเดิม อุ้น อินพรหม ถือกำเนิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ โยมพ่อบุญ อินพรหม โยมแม่เล็ก อินพรหม ณ บ้านหนองหินถ่วง ต.มาบปลาเค้า อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน ๘ คน คือ 
๑. หลวงพ่ออุ้น 
๒. นายอิ่น 
๓. นายเอื่อน 
๔. นายพวง 
๕. นายแดง 
๖. นางพุด 
๗. นางเพี้ยน 
๘. นางพ้วน

         เริ่มการศึกษาเบื้องต้น หนังสือไทย ขอม ที่วัดไสค้าน จนกระทั้งจบการศึกษาภาคบังคับ แล้วมาช่วยเหลือบิดามารดาประกอบอาชีพในด้านเกษตรกรรม สู่ร่มเงากาสาวพัสตร์ เมื่ออายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดตาลกง ตรงกับวันที่ ๒๑ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ โดยมีพระอธิการชัน วัดมาบปลาเค้า เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการผิว วัดตาลกง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการขาว วัดอินจำปา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับสมณฉายาว่า "สุขกาโม" ครั้นอุปสมบทแล้วได้อยู่จำพรรษาที่วัดตาลกง ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อผิว และศึกษาข้อวัตรปฏิบัติเรื่อยมา

การศึกษาพุทธาคม

         การศึกษาพุทธาคมของหลวงพ่ออุ้น เริ่มจากการอยู่ปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิดหลวงพ่อผิว วัดตาลกง ซึ่งเป็นพระอาจารย์ที่เชี่ยวชาญไสยศาสตร์เวทมนต์คาถาอาคม รุ่นราวคราวเดียว (สหธรรมิก) กับหลวงพ่อเพลิน วัดหนองไม้เหลือง ทั้งยังเก่งทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน เมตตา อยู่ยงคงกระพัน ซึ่งใกล้ชิดกับ หลวงปู่นาค วัดหัวหิน ทั้งเคยเดินทางไปขอศึกษาวิชาความรู้จากหลวงปู่นาคอยู่เป็นประจำ

         หลวงพ่อผิว ธมมสิริ เป็นพระเกจิทรงคุณวิเศษของเมืองเพชรบุรี ในยุคนั้น แต่อุปนิสัยของท่านชอบอยู่อย่างสันโดษ เก็บตัวเงียบ ไม่ยอมเปิดเผยว่ามีดีนาน ๆ จะลง นะ ที่กระหม่อมให้ผู้ไปหาท่านสักครั้ง ชาวบ้านวัยชราอายุ ๘๐ กว่า เล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อผิวลงนะ หัวให้ตัวเดียว มีคุณสารพัด อยู่ยงคงกระพันจนวันตาย คนเก่า ๆ แถบท่ายางต่างประจักษ์ในความคงกระพันชาตรีมาแล้วหลายราย ก่อนนี้มีหนุ่มวัยรุ่นจากประจวบคีรีขันธ์มาติดพันสาวมาบปลาเค้า เข้าไปกราบนมัสการหลวงพ่อผิว ขอให้ท่านลงนะที่กระหม่อมให้ ครั้นต่อมาไม่นานเขากลับมามาบปลาเค้าอีกครั้ง ถูกนักเลงท้องถิ่นแทงด้วยมีด ตีหัวด้วยท่อนไม้แต่ไม่ยักเป็นไร เลยฮึดสู่หนึ่งต่อสาม เล่นเอานักเลงเจ้าถิ่นต้องเปิดหนีกันจ้าละหวั่นไปเลย หลวงพ่ออุ้น เป็นที่โปรดปรานของหลวงพ่อผิวมาก ๆ ได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาให้จนหมดสิ้น

         ในพรรษาต่อมา หลวงพ่ออุ้นเดินทางไปกราบมนัสการ หลวงพ่อทองศุข วัดโหนดหลวง ถวายตัวเป็นศิษย์เพื่อเล่าเรียนฝึกปฏิบัติกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน พุทธาคมโดยเรียนฝึกวิชากสิณจนชำนาญในกสิณ ๑๐ รวมทั้งตำรับตำราการทำผงเมตตาชั้นสูงด้วย หลวงพ่อทองศุข เห็นความมานะพยายามของหลวงพ่ออุ้น ประจวบกับหลวงพ่อผิว ก็มีความคุ้นเคยกับหลวงพ่อทองศุข มาก่อนแล้ว ท่านจึงรับ

Top