พระงบน้ำอ้อยหลวงพ่อโหน่งหลังจาร"พระ คง หลง โปย" พร้อมประวัติการสร้างพระเครื่อง - webpra

พระงบน้ำอ้อยหลวงพ่อโหน่งหลังจาร"พระ คง หลง โปย" พร้อมประวัติการสร้างพระเครื่อง

บทความพระเครื่อง เขียนโดย kittikarn

kittikarn
ผู้เขียน
บทความ : พระงบน้ำอ้อยหลวงพ่อโหน่งหลังจาร"พระ คง หลง โปย" พร้อมประวัติการสร้างพระเครื่อง
จำนวนชม : 6577
เขียนเมื่อวันที่ : จ. - 08 มี.ค. 2553 - 10:54.28
แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ : จ. - 08 มี.ค. 2553 - 20:15.10
(คลิ๊กที่ชื่อผู้เขียนผู้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียน)

     พระงบน้ำอ้อยหลวงพ่อโหน่งหลังจาร"พระ คง หลง โปย" นับเป็นพระยุคแรกของหลวงพ่อโหน่งอย่างแท้จริงโดยมี ประวัติศาสตร์ชัดเจน ในจดหมายเหตุของวัดอัมพวันไว้กล่าวอ้างอิง <พระคง องค์นี้แหละที่เป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหลวงพ่อโหน่งให้แกะพิมพ์งบน้ำอ้อยร่วมกับพระตึก นับเป็นพระยุคแรก ที่หลวงพ่อโหน่งได้ดำริให้จัดสร้างพระเครื่องขึ้น เพื่อบรรจุไว้ในพระเจดีย์ ใจกลางวัดอัมพวันเป็นวาระแรกๆ ...เฉพาะพระพิมพ์นี้ส่วนใหญ่ทุกองค์ต้องจารเปืยกเท่านั้น เนื่องจากผู้แกะพิมพ์และผู้สร้างจะจารึกชื่อตนเองไว้เมื่อพิมพ์พระเสร็จใหม่ๆ(สัณนิฐานว่า หลง โปย น่าจะเป็นสกุลเดิม ของผู้สร้าง) หากจารแห้ง คาดว่าน่าจะจารขึ้นมาภายหลัง สามารถสังเกตุได้ชัดเจนจากลายมือรอยจารได้เลย ลายมือแบบจารเปืยกจะเป็นลายมือเดียวกันทุกองค์ แต่ลายมือแบบจารแห้งจะพบได้หลากหลายลายมือครับ ( ปล.บทวิจารย์นี้พูดถึงเฉพาะรอยจาร "พระ คง หลง โปย"เท่านั้น รอยจารแบบอื่นๆจะกล่าวในโอกาสต่อไป  )++                                                                                                                                                                   

<ประวัติการสร้างพระเครื่อง> 

วันหนึ่งพระอาจารย์นวล วัดไก่เตี้ย มาพบสนทนากับหลวงพ่อโหน่ง เรื่องการกำหนดวันเสาร์ ที่ ๕ หลวงพ่อได้ถามอาจารย์นวลว่า “วันเสาร์ ที่ ๕ นั้น ท่านกำหนดอย่างไร” อาจารย์นวล ตอบว่า “ถือวันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ ตรงกับวันเสาร์” หลวงพ่อแย้งว่า “วันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ เป็นวันกระทิงห้ามทำการมงคล” หลวงพ่อท่านจึงกำหนดวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ที่มีวันเสาร์ ๕ เป็นเกณฑ์ ตั้งแต่นั้นมา จึงถือการกำหนดของหลวงพ่อเป็นหลักในการกำหนดเสาร์ ๕ หลวงพ่อจึงปรารถนาที่จะทำพระเครื่อง โดยมอบหมายให้อาจารย์ฉวยเป็นผู้แกะพิมพ์ พระผู้มีฝีมือในการช่างได้ช่วยแกะ เช่นพระคงแกะพิมพ์น้ำอ้อย และพระตึก ส่วนพระฆราวาสได้แก่ นายสารทได้เป็นผู้แกะพิมพ์พระบูชาปางไสยาสน์อย่างใหญ่ พระอาจารย์แกะพิมพ์พระบูชาปางไสยาสน์อย่างกลาง ใช้หินมีดโกนแกะเมื่อแกะพิมพ์แล้วจึงเริ่มพิมพ์พระ โดยการนำดินมาตำร่อนเอาก้อนกรวดออก แล้วตำให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่งจึงพิมพ์ ดินที่ใช้พิมพ์นั้นใช้ดินทั่วไป ดินขุ่นก็มี ดินตามทุ่งนาก็มี ส่วนใหญ่เป็นดินที่อยู่ในวัด ตรงที่ตั้งกุฏิพระอาจารย์จาง ในปัจจุบันการพิมพ์พระของหลวงพ่อนั้นได้ทำอยู่เป็นจำนวนมาก และอยู่หลายปี ในระหว่างที่ทำนั้นนายทองอยู่เล่าว่าในวันหนึ่งๆ มีญาติโยมทั้งชายหญิงได้มาช่วยกันทำเป็นจำนวนมาก บางหมู่ตำดิน บางหมู่ร่อนดิน บางหมู่พิมพ์ บางหมู่ขนดิน นำพิมพ์ทำที่บ้านและนำพระที่พิมพ์แล้วมารวมที่วัดก็มี ในการพิมพ์ครั้งนั้นผู้ที่มีฝีมือก็จะทำอย่างประณีต คือ หลังพระพิมพ์จะเก็บเรียบร้อย ผู้ไม่ละเอียดลออ เมื่อดูพิมพ์แล้วก็จะแกะออก จึงเห็นว่าพระบางองค์ก็มีลายนิ้วมือปรากฏ อย่างไม่สม่ำเสมอ ซึ่งพอจะเห็นได้ว่าการพิมพ์พระของหลวงพ่อนั้นมีประชาชนไปช่วยเป็นจำนวนมาก และนายทองอยู่ได้เล่าอีกว่า ตัวของหลวงพ่อไม่เคยพิมพ์เลย
   ในการทำพระเครื่องและการพิมพ์พระนี้ นายฟุ้ง ใจบุญ ซึ่งบิดามารดาได้นำมาถวายเป็นบุตรบุญธรรม ของหลวงพ่อโหน่งเมื่ออายุได้ ๑๒ ปี ได้อยู่ใกล้ชิดหลวงพ่อโหน่ง และเมื่ออายุครบอุปสมบท ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ใกล้ชิดหลวงพ่อเป็นเวลา ๑๒ ปี ปัจจุบันอายุ ๘๑ ปี อยู่บ้านหวายสอ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ได้เล่าเพิ่มเติมว่า
   การพิมพ์พระนั้น ครั้งแรกต้องการจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ แต่เนื่องจากการพิมพ์พระนั้น ประชาชนได้ช่วยพิมพ์เป็นจำนวนมาก จึงมีจำนวนไม่ต่ำกว่าแสนองค์ เมื่อได้จำนวนตามต้องก

พระงบน้ำอ้อยหลวงพ่อโหน่งหลังจาร"พระ คง หลง โปย" พร้อมประวัติการสร้างพระเครื่อง
พระงบน้ำอ้อยหลวงพ่อโหน่งหลังจาร"พระ คง หลง โปย" พร้อมประวัติการสร้างพระเครื่อง
Top