สำนักวัดเขาอ้อ ตักสิลาทางไสยเวทย์ภาคใต้ - webpra

สำนักวัดเขาอ้อ ตักสิลาทางไสยเวทย์ภาคใต้

บทความพระเครื่อง เขียนโดย phatmouy

phatmouy
ผู้เขียน
บทความ : สำนักวัดเขาอ้อ ตักสิลาทางไสยเวทย์ภาคใต้
จำนวนชม : 1539
เขียนเมื่อวันที่ : จ. - 25 พ.ค. 2552 - 09:37.36
แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ : จ. - 25 พ.ค. 2552 - 09:41.32
(คลิ๊กที่ชื่อผู้เขียนผู้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียน)

ตำนานสำนักเขาอ้อ

ชื่อเสียงของวัดเขาอ้อที่ผู้คนทั่วไปรู้จักมักจะเน้นไปในทางไสยเวทเสียมากกว่า
ทั้งที่วัดเขาอ้อยังมีดีมากกว่านั้น โดยเฉพาะวิชาการแพทย์แผนโบราณ
พูดได้ว่าไม่มีสำนักใหนทางภาคใต้ที่จะชัดเจนและได้ผลชะงัดเท่ากับสำนักนี้ แม้ปัจจุบันจะคลายลงไปบ้าง
แต่ก็หาได้สูญหายไปอย่างใดไม่ อย่างน้อยที่สุดยังมีพระอาจารย์หลายรูปที่สืบทอดกันมา

ตำนานสำนักเขาอ้อ

เล่ากันว่า จุดกำเนิดของสำนักวัดเขาอ้อนั้น แต่เดิมเป็นที่บำเพ็ญพรตของพราหมณ์มาหลายรุ่น
เนื่องจากภายในถ้ำบนเขาอ้อนั้นเป็นทำเลที่ดีมาก ตัวเขาอ้อเองก็ตั้งอยุ่บนเส้นทางสัญจรของชุมชนในอดีต
เมืองที่เจริญในละแวกนั้น ซึ่งได้แก่สทิงปุระ หรือสะทิงพาราณสี ซึ่งก็คืออำเภอ สทิงพระในปัจจุบัน
ประวัติของเมืองสทิงปุระนั้นเกี่ยวข้องกับพราหมณ์อยู่มาก
แม้กระทั่งในสมัยศรีวิชัยที่ศาสนาพุทธแผ่อิทธิพลทั่วแหลมาลายู ในบริเวณสว่นนั้น
(เขตเมืองพัทลุงในปัจจุบัน) ยังเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของพราหมณ์
หลักฐานทางประวัติศาตร์บอกว่าเป็นเมืองที่มีชุมชนหนาแน่นที่สุด

ในขณะนั้นมีพราหมณ์ผู้ทรงวิทยาคุณ (ฤาษี) คณะหนึ่งได้ไปบำเพ็ญพรตอยู่ที่ถ้ำบนเขาอ้อ
บำเพ็ญพรตจนเกิดอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ ตามตำราอถรรพเวท (พระเวทอันดับสี่ของคัมภีร์พราหมณ์)
แล้วได้ถ่ายทอดวีชานั้นต่อ ๆ กันมา พร้อมกันนั้นก็ได้จัดตั้งสำนักถ่ายทอดวิชาความรู้แก่ผู้สนใจ
ซึ่ตามวรรณะแล้วพราหมณ์มีหน้าที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่เชื้อพระวงศ์หรือวรรณะกษัตริย์และลูกหลานผู้นำเ
พื่อจะให้นำไปเป็นความรู้ในการปกครองคนต่อไป สำนักเขาอ้อสมัยนั้น จึงมีฐานะคล้าย ๆ
สำนักทิศาปาโมกข์ของพราหมณ์ผู้ทรงคุณ

พราหมณ์ผู้ทรงคุณดังกล่าวได้ถ่ายทอดวิชาต่าง ๆ ให้พราหมณาจารย์สืบทอดต่อ ๆ กันมา
ซึ่งเท่าที่สืบค้นรากฐานก็พบว่า วิชาที่ถ่ายทอดให้คณาศิษย์
นอกจากวิชาในเรื่องการปกครองตามตำราธรรมศาตร์แล้วก็ยังมีเรื่องพิธีกรรม ฤกษ์ยาม
การจัดทัพตามตำราพิชัยสงคราม ตลอดจนไปถึงไสยเวทและการแพทย์
ตามตำนานบอกวิชาสองสายสืบทอดโดยพราหมณาจารย์ผู้เฒ่าสองคน ซึ่งสืบทอดกันคนละสาย
สำนักเขาอ้อในสมัยนั้นเป็นสำนักทิศาปาโมกข์จึงมีพราหมณ์อยู่สองท่านเสมอ

การสืบทอดวิชาของสำนักเขาอ้อได้ดำเนินเช่นนั้นจนกระทั้งมาถึงพราหมณ์รุ่นสุดท้ายเห็นว่าไม่มีผู้รับสืบทอ
ดต่อแล้ว ประกอบกับเล็งเห็นว่าเมื่อสิ้นท่านแล้ว
สถานที่แห่งนั้นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์พราหมณ์ผู้บรรลุพระเวทหลายคนได้ฝังล่างไว้ที่นั้น
สถานที่นั้นจึงสำคัญเกินที่จะปล่อยให้รกร้างไปได้พราหมณ์ผู้เฒาท่านนั้นจึงได้เล็งหาผู้ที่จะมาสืบทอดและร
ักษาสถานที่สำคัญนั้นไว้ ประกอบกับขณะนั้นอิทธิพลทางพุทธศาสนาได้แผ่เข้ารายล้อมเขตเมืองพัทลุงแล้ว
บริเวณข้าง ๆ เขาอ้อมีวัดอยู่หลายวัด วัดที่ใกล้ที่สุดคือ “วัดน้ำเลี้ยว”
มหาพราหมณ์ทั้งสองท่านเล็งเห็นว่าต่อไปภายภาคหน้าพุทธศาสนาจะยั่งยืนและแผ่อิทธิพลในดินแดนแถบนั้น
การที่จะฝากอะไรไว้กับผู้ที่ยั่งยืนและมีอิทธิพลน่าจะเป็นการดีท่านเลยตัดสินใจไปนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่งม
าจากวัดน้ำเลี้ยวให้มาอยู่ในถ้ำแทนท่าน แล้วมอบคำภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของบูรพาจารย์พราหมณ์ให้
พร้อมทั้งถ่ายทอดวิชาทางไสยเวทให้ รวมทั้งวิชาทางแพทย์แผนโบราณ

พระภิกษุรูแรกที่พราหมณ์ผู้เฒ่าไปนิมนต์มา ทราบแต่เพียงว่ามีนามว่า “ทอง” ส่วนจะทองอะไรนั้นสุดจะเดาได้
เพราะวัดแห่งนี้ช่างอาถรรพ์เหลือเกิน มีเจ้าอาวาสที่ชื่อทองติดต่อกันมาหลายสิบรูป

ด้วยเหตุผลดังกล่าว วัดเขาอ้อจึงมีชื่อเสียงในทางไสยเวทและการแพทย์แผนโบราณ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับว่าน
ภายหลังจึงมีพิธีแช่ว่าน พิธีกรรมทางไสยเวทหลายอย่างขึ้นที่นั่นจนลือเลื่องไปทั่ว

ตามตำนานเบื้องต้น ฟังดูออกจะเหลือเชื่อ แต่เมื่อวิเคราะกันด้วยเหตุผลแล้ว มีส่วนเป็นไปได้มาก
มีข้อให้สังเกตอยู่ ๓ จุด คือ

๑. ความสวยงามเรื่องสถานที่
วัดเขาอ้อคงเป็นอารามในถ้ำอารามแรกในละแวกนั้นไม่ค่อยปรากฏว่าเป็นที่นิยมของพระภิกษุในสมัยนั้น
ส่วนทำเลนั้นเล่าก็สวยงามน่าอยู่ ภายในถ้ำมีทางเดินทะลุภูเขาได้ ลมโกรกเย็นสบาย ด้านหนึ่งติดทุ่งนา
อีกด้านเป็นคลองใหญ่ อันเป็นทางสัญจรสายสำคัญในสมัยนั้น ทำเลที่ดีอย่างนี้
พวกพราหมณ์ที่นิยมในทางวิเวกชอบใช้เป็นที่บำเพ็ญพรต

๒. วิชาเด่นของวัด วิชาเด่นของวัดเขาอ้อคือ “ไสยเวท”
เป็นที่ทราบกันว่าในคัมภีร์ทางพุทธศาสนานั้นไม่มีวิชาใดที่สอนเกี่ยวกับไสยเวท
แต่ในคัมภีร์ของพราหมณ์นั้นมีเด่นชัดถึงขนาดเป็นคัมภีร์หนึ่งต่างหากต่อจากไตรเวทคือคำภีร์

Top