พระบูชาไม้แกะ พุทธศิลป์อยุธยา เก่าแห้งจัด แกะจากไม้โพธิ์นิพพาน ลองเข้ามาชมกันได้จ้า - webpra

ประมูล หมวด:พระบูชา

พระบูชาไม้แกะ พุทธศิลป์อยุธยา เก่าแห้งจัด แกะจากไม้โพธิ์นิพพาน ลองเข้ามาชมกันได้จ้า

พระบูชาไม้แกะ   พุทธศิลป์อยุธยา เก่าแห้งจัด แกะจากไม้โพธิ์นิพพาน  ลองเข้ามาชมกันได้จ้า พระบูชาไม้แกะ   พุทธศิลป์อยุธยา เก่าแห้งจัด แกะจากไม้โพธิ์นิพพาน  ลองเข้ามาชมกันได้จ้า พระบูชาไม้แกะ   พุทธศิลป์อยุธยา เก่าแห้งจัด แกะจากไม้โพธิ์นิพพาน  ลองเข้ามาชมกันได้จ้า พระบูชาไม้แกะ   พุทธศิลป์อยุธยา เก่าแห้งจัด แกะจากไม้โพธิ์นิพพาน  ลองเข้ามาชมกันได้จ้า พระบูชาไม้แกะ   พุทธศิลป์อยุธยา เก่าแห้งจัด แกะจากไม้โพธิ์นิพพาน  ลองเข้ามาชมกันได้จ้า
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระบูชาไม้แกะ พุทธศิลป์อยุธยา เก่าแห้งจัด แกะจากไม้โพธิ์นิพพาน ลองเข้ามาชมกันได้จ้า
รายละเอียดพระเจ้าไม้ หรือ พระบูชาไม้แกะ

พระเจ้าไม้ หรือ พระบูชาไม้แกะ ตามคติความเชื่อเกี่ยวกับไม้ที่นำมาสร้างเป็นรูปเคารพแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ อาจเนื่องมาจากความเชื่อตามเรื่องในพุทธประวัติที่มีไม้โพธิ์พฤกษ์ ซึ่งเป็นคำใช้ใช้เรียกแทนต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ประทับใต้ร่มไม้นั้นๆ เพื่อตรัสรู้ ร่มไม้ที่ใช้เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ในอดีตเหล่านั้น มีอยู่หลากหลายชนิด ซึ่งไม้เหล่านั้นล้วนเชื่อกันว่าเป็นไม้มงคลทั้งสิ้น ไม้ที่นำสลักเสลาสร้างพระจึงไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ทั้งไม้ที่มีนามเป็นมงคล หรือไม้อะไรก็ได้ที่มีความคงทน แลขอให้มีเนื้อและขนาดใหญ่พอให้แกะสลักได้ง่าย ก็พอนับได้ว่าเป็นไม้มงคล เนื่องจากสามารถนำมาสร้างพุทธปฏิมาได้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งพระพุทธรูปประเภทนี้มีหลากหลายพุทธลักษณะและหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กประมาณ ๑ นิ้ว ถึงขนาดใหญ่หลายๆศอกก็มี แต่ส่วนมากมีขนาดหน้าตักกว้างประมาณ ๒-๕ นิ้ว บ้างก็แกะสลักจากไม้ท่อนเดียว และบ้างก็ประกอบขึ้นด้วยไม้หลายชิ้น นิยมสร้างให้มีฐานสูงเพื่อให้มีเนื้อที่จารึกข้อความได้บางองค์ฐานกับองค์ พระเป็นคนละชิ้นกัน และบางองค์เจาะรูที่ฐาน ซึ่งบางท่านก็ว่าใช้บรรจุพระธาตุบ้าง บางท่านก็เข้าใจว่าบรรจุกระดูกของผู้ที่เสียชีวิต แล้บ้างก็ว่าเจาะเพื่อใช้เหล็กเสียบเพื่อให้สะดวกในตอนแกะสลัก

พระบางองค์เมื่อกาลเวลาล่วงไปนานจึงไม่สามารถระบุให้ชัดเจนได้ว่าสร้างจากไม้อะไร เนื่องจากช่างผู้บรรจงสลักสร้างสรรพุทธปฏิมาเหล่านั้นล้วนมีถิ่นฐานอยู่ทั่วทุกทิศในราชอาณาจักรสนามประเทศ ไม้ต่าง ๆ ที่ใช้ ล้วนหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งหาได้ง่ายมีจำนวนมากในท้องถิ่นนั้น ซึ่งไม้ที่ใช้มีทั้ง ไม้กวาว (ทองกวาว) ไม้แคฝอย ไม้ไร ( ทางเหนือเรียก“ไฮ” คือ ต้นไทรนั่นเอง ) ไม้สาลกัลยาณะ ไม้นาวกาน ไม้บุนนาค ไม้ชะล่อ ไม้หมากเกลือหรือไม้มะเกลือ ไม้เดื่อกา ไม้จวง ไม้สะเลียม ไม้ซางคำ ไม้ประเหียง ไม้จัมปา ไม้นิโครธ ไม้ฝาง ไม้กัณณิการ์ ไม้ดู่ลาย หรือประดู่ลาย ไปจนไม้มะขามป้อม ไม้ม่วงก็มีเช่นกัน

แม้ตำราพิชัยสงคราม มาแต่ครั้งโบราณกาล ยังปรากฏว่ามีการกล่าวถึงการสร้างพระไม้แกะจากไม้โพธิ์ให้เป็น “พระไม้โพธิ์ห้ามสมุท” หรือ “พระพิชัยสงคราม” ไว้บูชาตามตำรับพิชัยสงครามมาแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชว่า

“ผู้ใดได้สร้างขึ้นตามตำรับ จะเกื้อหนุนดวงชะตา เพิ่มบุญวาสนาให้เป็นถึงท่านท้าวพระยามหากษัตริย์”

แต่การสร้าง“พระไม้โพธิ์ห้ามสมุท” หรือ “พระพิชัยสงคราม” ให้ถูกต้องตามตำรานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย หาใช่ว่าใครก็สร้างได้ ท่านให้หา “กิ่งไม้โพธิ์ตายพราย” (ตายเอง) ที่ชี้ไปทางทิศตะวันออก จำเพาะด้วยว่ากิ่งที่หักตกลงมาเองเท่านั้น ตัดมาพอประมาณสำหรับแกะ เป็นองค์พระยืน สูงจากพระบาทถึงพระเมาฬีได้ 11 หรือ 13 นิ้วหัวแม่มือเท่านั้น (การวัดใช้ส่วนกว้างของนิ้วโป้งของผู้สร้าง ) ส่วนกลางพระเมาฬีให้ทำกลวง แล้วหา ”ไม้ชุมแสง “หรือ “ไม้กาหลง” แกะเป็นเปลวรัศมีมา เสียบไว้ได้โดยแน่นหนา ฐานรองพระบาทท่านให้ทำจาก “ไม้นนทรี” ฐานรองพระให้ใช้”ไม้ขนุน” แกะภายในฐานนั้นให้ทำกลวงไว้เพื่อ บรรจุสิ่งของเครื่องมงคลสำคัญลงไป และต้องทำลิ้นปิดสำหรับรองไม้นนทรีที่ใช้รองพระบาทด้วย เมื่อจะแกะต้องหาฤกษ์งามยามดีที่แน่นอน ผู้แกะต้องสมาทานศีล 5 ศีล 8 หรือหากอยู่ในสมณเพศเป็นพระภิกษุ ต้องแสดงอาบัติเสียก่อน

สำหรับ ฤกษ์ยามในการสร้างพระไม้ พิมพ์อื่นนอกเหนือจาก “พระห้ามสมุท”ที่ปรากฏในตำราพิชัยสงคราม ยังไม่พบว่ามีการกำหนดฤกษ์ยาม วันเวลาแรกที่สร้าง เท่าที่พบจะมีจำเพาะแต่การสร้างพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานหรือพระพุทธรูปโลหะสำคัญๆ ที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น ในส่วนของพระไม้นั้น ถ้าเป็นองค์หน้าตักขนาดใหญ่ก็น่าจะใช้ตามวิธีการดังกล่าว แต่ถ้าเป็นพระเจ้าไม้ขนาดเล็กก็แค่เพียงอาศัยความสะดวกและความชำนาญของนายช่างผู้แกะสลัก กล่าวคือ แกะได้เลย โดยมิต้องคำนวณฤกษ์ยามหรือตามมาตราที่เป็นมงคลส่วนให้ยุ่งยากแต่อย่างใด

การลงรักปิดทองล่องชาดนั้น พระไม้ไม่ว่าจะมีพุทธลักษณะประทับยืนหรือนั่ง ส่วนใหญ่นิยมลงรักปิดทอง บางองค์ล่องชาด บางองค์ลงรักเพียงอย่างเดียว หรือลงรักแล้วก็ปิดทองคำเปลว ที่สร้างในยุคหลังมีบ้างที่ใช้ทองสีบรอนซ์ หรือ สีน้ำมันใช้สีทาโบสถ์วิหารก็มี การลงรักปิดทองล่องชาดนั้น แต่เดิมจะมีขั้นตอนอย่างไรไม่ปรากฏเป็นหลักฐาน แต่ผู้รู้บางท่านบอกขั้นตอนการทำคร่าว ๆ ไว้ดังนี้ว่า

เมื่อตกแต่งองค์พระเสร็จเรียบร้อยแล้ว ใช้รักผสมน้ำมันสนทาให้ทั่ว ปล่อยให้แห้ง จากนั้นลงรักอีกชั้นหนึ่งพอแห้งสนิทแล้วจึงใช้รักผสมกับชาด (คนล้านนาเรียกชาดว่า หาง) หรือใช้ชาดเพียงอย่างเดียว พอเกือบจะแห้งสนิทจึงปิดทองหรือทำได้โดยการผสมรักกับสมุก (สมุกคือเถ้าที่ได้จากการเผาใบลาน ใบตอง หญ้าคาหรืออื่นๆ) ทาให้ทั่วทั้งองค์แล้ว ปล่อยไว้ให้แห้งแล้วขัดให้เรียบ เอารักผสมกับชาดลงอีกครั้งหนึ่งแล้วค่อยลงรักน้ำใส (ได้จากการลงรักแล้วกรองด้วยกระดาษสา) ทาทิ้งไว้จนเกือบแห้ง จึงค่อยปิดทองคำเปลว ความงามความประณีตจึงอยู่ในส่วนของการลงรักปิดทองล่องชาด คือนอกจากจะทำให้องค์พระสวยงามแล้ว ยังช่วยรักษาเนื้อไม้ให้ทนทานอีกด้วย

อานิสงส์การสร้างพระเจ้าไม้

อานิสงส์ หมายถึงผลของกุศลกรรม หรือประโยชน์อันจะได้รับจากการได้ทำบุญหรือได้สร้างประโยชน์ไว้ คนโบราณนั้นมีความเชื่อว่าการทำบุญทำกุศลอันมีเจตนาอันบริสุทธิ์ ย่อมจะได้รับผลของบุญนั้นตอบแทน แม้สิ่งที่ทำจะมีมูลค่าเล็กน้อยก็ตาม เกี่ยวกับความเชื่อในเรื่องอานิสงส์ต่างๆนั้นจะเห็นได้ว่าสิ่งใดก็ตามที่ ถวายเป็นพุทธบูชาหรือถวายไว้แก่พระศาสนาแล้วย่อมได้รักอานิสงส์ต่างๆเป็นอันมาก ดังนั้นจึงข้อความที่เกี่ยวกับอานิสงส์ในพระคัมภีร์ ต่างๆมากมาย เช่น อานิสงส์การทานทุง อานิสงส์ประทีป เป็นต้น

สำหรับอานิสงส์การสร้างพระพุทธรูปไม้ มิได้แยกแยะตามชนิดของไม้อย่างละเอียดมีเพียงแต่กล่าวว่า

“สร้างด้วยไม้จะได้เสวยอานิสงส์ ๒๐ กัปป์ สร้างด้วยไม้จันทน์และไม้มหาโพธิ์ จะได้เสวยผละอานิสงส์ ๗๐ กัปป์ และอาจจะได้เสวยผละอานิสงส์ อันหาที่สุดมิได้”

พระบูชาแกะจากไม้นั้นแต่เดิมมักพบประดิษฐานอยู่ตามฐานชุกชีในพระวิหารในวัดต่าง ๆ ถือเป็นของสูงที่ผู้คนให้ความเคารพนบไหว้ หากแต่ในปัจจุบัน จัดอยู่ในประเภทงานไม้แกะสลัก ที่สามารถเลียนแบบวัตถุโบราณเพื่อนำออกนอกประเทศได้ จึงมีการลักลอบนำพระบูชาไม้แกะถูกลักลอบนำออกนอกประเทศเด้วยการสำแดงข้อมูลอันเป็นเท็จ เป็นจำนวนมาก ทำให้พระบูชาไม้แกะนี้ค่อย ๆ สูญหายไปตามกาลเวลาและพบเห็นได้ค่อนข้างยากกว่าสมัยก่อนมาก

พระองค์นี้ขนาดกะทัดรัด องค์น้อยกำลังงาม แกะสลักจาก “ไม้โพธิ์นิพพาน” เก่าจัดจนเนื้อไม้แตกลั่นตามกาลเวลาอย่างที่เห็น พุทธลักษณะตลอดจนพุทธศิลป์เป็นงานฝีมือช่างศิลป์สมัย “อยุธยา” ชัดเจน มีทั้งลงรักน้ำเกลี้ยง ปิดทอง ล่องชาดมาแต่เดิม ให้ศึกษาถึงความเก่าของอายุรักทอง สนใจใคร่ศึกษาลองติดต่อถามไถ่กันเข้ามได้จ้า JORAWISยินดีให้คำตอบกันทุกสายเลยจ้า

หากรายการนี้ยังไม่ถูกใจลองดูที่นี่

http://www.web-pra.com/Shop/jorawis

อาจมีบางองค์ที่ท่านกำลังมองหาอยู่ก็ได้จ้า
ราคาเปิดประมูล900 บาท
ราคาปัจจุบัน900 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 27 มี.ค. 2561 - 20:21.27
วันปิดประมูล จ. - 16 เม.ย. 2561 - 20:21.27 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 900 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top