เหรียญ หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง(ออกวัดเพรียง) เพชรบุรี ปี 98 พร้อมใบเซอเคาะเดียวครับ - webpra

ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

เหรียญ หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง(ออกวัดเพรียง) เพชรบุรี ปี 98 พร้อมใบเซอเคาะเดียวครับ

เหรียญ หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง(ออกวัดเพรียง) เพชรบุรี ปี 98 พร้อมใบเซอเคาะเดียวครับ เหรียญ หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง(ออกวัดเพรียง) เพชรบุรี ปี 98 พร้อมใบเซอเคาะเดียวครับ เหรียญ หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง(ออกวัดเพรียง) เพชรบุรี ปี 98 พร้อมใบเซอเคาะเดียวครับ เหรียญ หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง(ออกวัดเพรียง) เพชรบุรี ปี 98 พร้อมใบเซอเคาะเดียวครับ เหรียญ หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง(ออกวัดเพรียง) เพชรบุรี ปี 98 พร้อมใบเซอเคาะเดียวครับ

บัตรรับประกันพระแท้
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญ หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง(ออกวัดเพรียง) เพชรบุรี ปี 98 พร้อมใบเซอเคาะเดียวครับ
รายละเอียดเหรียญ หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง(ออกวัดเพรียง) เพชรบุรี ปี 2498 เนื้อทองแดงผิวไฟ สภาพหูหัก(เนื่องด้วยการปั้มเขยื้ยน) บล็อกเยื้อนแท้ดูง่าย มาพร้อมใบเซอการันตรีพระแท้ของ * ดีดีพระ * แบบมาตรฐานสากลนิยม เหรียญรุ่นนี้มร้างขึ้นหลายเนื้อด้วยกันคือ 1.เนื้อทองคำ 2.เนื้อเงิน 3.เนื้อทองแดงรมดำ 4.เนื้อทองแดงผิวไฟ จำนวนการสร้างไม่มากนัก ส่วน เหรียญรุ่นนี้เป็นเ้หรียญรุ่นสามของท่าน เรื่องประสบการณ์นั้นไม่ต้องพูดถึงครับ บอกได้คำเดียวว่าแมลงวันไม่ได้กินเลือด เหนียวสุดยอดไม่แพ้รุ่นแรกและรุ่นสองของท่านครับ..............ประวัติ หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี ท่านมีนามเดิมตามหลักฐานใบสุทธิระบุว่า " สุข ดีเลิศ " เป็นชื่อและสกุลเดิมของท่าน หลวงพ่อมีผิวสีดำแดง สัณฐานสันทัด ตำหนิใต้คาง บิดาชื่อ นายจู มารดาชื่อ นางทิม เกิดเมื่อปีฉลู วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๒๑ ณ ต.บางเก่า อ.หนองจอก จ.เพชรบุรี เมื่ออายุ ๙ ปี ครอบครัวของท่านได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านโพธิ์ อ.บ้านลาด บิดามารดาจึงนำท่านไปฝากกับเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ เพื่อเล่าเรียนหนังสือไทยและขอม โดยเป็นศิษย์ของเจ้าอาวาส หลวงพ่อเล่าเรียนจนอ่านออกเขียนได้ และยังเรียนหนังสือขอมและบาลีอีกด้วย นอกจากนี้ หลวงพ่อทองสุขยังมีนิสัยรักการต่อสู้ รักในวิชาหมัดมวย กระบี่กระบอง จนต่อมาภายหลังมีลูกศิษย์ลูกหาในวิชาเหล่านี้หลายคน ต่อมา เมื่ออายุ ๑๕ ปี ครอบครัวของท่านย้ายไปอยู่ที่บ้านเพลง จ.ราชบุรี เป็นช่วงที่หลวงพ่อเป็นวัยรุ่น หนุ่มคะนอง จึงชอบเที่ยวเตร่คบเพื่อน ไม่ค่อยอยู่ติดบ้าน ชอบไปแสดงลิเก ละคร โขนหนัง จนถึงขั้นเป็นครูสอนผู้อื่นได้ ครั้นเมื่อเบื่อการแสดง ลิเก ละคร ฯลฯ แล้ว ท่านก็เที่ยวเตร่ไปโดยไม่มีจุดหมาย จนไปคบพวกนักเลงอันธพาล จึงกลายเป็นนักเลงอันธพาลไปด้วย และในที่สุดก็เป็นอาชญากรสำคัญในย่านเพชรบุรี ราชบุรี และสมุทรสงคราม ต้องคอยหลบหนีอาญาบ้านเมือง ซุกซ่อนอยู่ในป่าด้วยความลำบากยากแค้นยิ่ง ขณะมีอายุได้ ๓๒ ปี ครั้งหนึ่งหลบหนีเข้าไปในป่า จนไม่ได้กินอาหารเลย ๓ วัน ตอนนี้จึงสำนึกตัวว่าตนดำเนินชีวิตมาผิดทางเสียแล้ว ถ้าไม่กลับตัวย่อมจะได้รับความทุกข์ทรมานทั้งกายและใจ จึงตัดสินใจเล็ดลอดเข้าอุปสมบท ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๕๒ ณ วัดปราโมทย์ ต.โรงหวี อ.บางคนฑี จ.สมุทรสงคราม โดยมี หลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อตุย วัดปราโมทย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ หลวงพ่อคง วัดแก้ว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้นามฉายาว่า "อินทรโชโต" เมื่ออุปสมบทแล้ว จำพรรษาที่วัดปราโมทย์ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย และวิปัสสนาธุระ กับหลวงพ่อตุย ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ด้วยความมุมานะ และขยันหมั่นเพียร จึงได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจนหมดสิ้น ทุกกระบวนวิชา เป็นที่รักใคร่ของครูบาอาจารย์ยิ่งนัก หลวงพ่อตุยถ่ายทอดวิชาอาคมอย่างไม่มีการปิดบังอำพราง จนท่านไม่มีวิชาอะไรจะสอนอีก จึงแนะนำให้ไปหา หลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน หลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง เป็นพระเกจิอาจารย์ ผู้ปราดเปรื่องในด้านไสยเวทย์ ท่านเป็นอาจารย์รูปหนึ่งในหลายๆ รูปของ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม จ.สมุทรสงคราม ดังนั้นเรื่องคาถาอาคมจึงเชื่อขนมกินได้ว่า ไม่มีคำว่า "ผิดหวัง" อย่างแน่นอน หลวงพ่อทองสุข มีชื่อเสียงในด้านการสักยันต์และลงกระหม่อม ชาวบ้านละแวกใกล้เคียงและบรรดาศิษยานุศิษย์จากต่างถิ่นนิยมชมชอบเรื่องการสักยันต์ และลงกระหม่อมมาก ปากต่อปากถึงคุณวิเศษ จึงทำให้มีคนเดินทางมายังวัดโตนดหลวงกันมากมาย กุฏิหลวงพ่อทองสุขจะแน่นขนัดไปด้วยลูกศิษย์ ชนิดที่เรียกว่าหัวกระไดไม่แห้งทีเดียว แม้แต่คนใหญ่คนโต ระดับประเทศ ยังเคารพเลื่อมใส ถวายตัวเป็นศิษย์ และรักการสักยันต์ ตลอดจนลงกระหม่อมให้ เช่น พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นต้น ใน พ.ศ.๒๔๕๘ หลวงพ่อทองสุข ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวง ปกครองบรรดาพระเณรภายในวัด และด้วยคุณงามความดี ประกอบกับผลงานด้านการพัฒนา คณะสงฆ์จึงแต่งตั้งเป็นพระครูกรรมการศึกษา ต่อมาก็ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ จนกระทั่งได้รับสมณศักดิ์ป็น "พระครูพินิจสุดคุณ" เหรียญหลวงพ่อทองสุข รุ่นแรก สร้าง พ.ศ.๒๔๙๒ เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในงานยกช่อฟ้าอุโบสถ สร้างด้วยเนื้อทองแดงแบบมีกะไหล่ทอง และทองแดงผิวไฟ จำนวนประมาณ ๓,๐๐๐ เหรียญ ปัจจุบันเป็นเหรียญที่หายากมาก ของเก๊มีจำนวนมาก การเช่าหาต้องพิจารณาให้ดี สนนราคาสวยๆ หลักแสนต้นๆ เลยทีเดียว เหรียญหลวงพ่อทองสุข รุ่นสอง สร้าง พ.ศ.๒๔๙๘ เพื่อแจกในงานฉลองกุฏิ มีด้วยกัน ๓ เนื้อ คือ เนื้อทองคำ เงิน และทองแดง มีทั้งพิมพ์สระอิติดขอบ และไม่ติดขอบ ทั้งสองพิมพ์ความนิยมเหมือนกัน เนื้อทองคำสวยๆ สนนราคาเกือบล้านทีเดียว ส่วนเนื้อเงิน ๒-๓ แสน และทองแดง ๑-๒ แสนบาท ปัจจุบันของเก๊ค่อนข้างเหมือนมาก หากสนใจเช่าหา ต้องพิจารณาให้ดี หลวงพ่อทองสุขได้ชื่อว่ามีพลังเมตตามหานิยม และคงกระพันเป็นเลิศ ปัจจุบัน วัดโตนดหลวง มี พระครูพิพัฒน์นพกิจ (หลวงพ่อย้อน ธมมวิโส) เป็นเจ้าอาวาส สาธุชนที่สนใจจะไปเที่ยววัดนี้ นั่งรถไปตามถนนเลียบชายทะเล จากหาดเจ้าสำราญไป ยังชะอำ ประมาณ ๑๕-๑๖ กิโลเมตร เมื่อถึงค่ายศรียานนท์ อยู่ด้านทิศตะวันออก ส่วนด้านทิศตะวันตก จะเห็นอุโบสถสูงตระหง่านอยู่ในเรือสำเภา อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับพระอุโบสถของวัดยานนาวาซึ่งมีเรือสำเภาและองค์เจดีย์ตั้งอยู่ตรงกลางเรือเช่นกัน แต่ก็ไม่ใหญ่โตเหมือนอุโบสถที่อยู่ในเรือของวัดโตนดหลวง...........รับประกันแท้ตลอดชีพ เก้คืนเต็มตลอด 24 ชั่วโมงครับ
ราคาเปิดประมูล5,900 บาท
ราคาปัจจุบัน6,500 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลจ. - 26 ธ.ค. 2554 - 13:47.21
วันปิดประมูล พฤ. - 29 ธ.ค. 2554 - 11:24.49 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 6,500 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน)
ราคาประมูลด่วน6,500 บาท
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
6,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พฤ. - 29 ธ.ค. 2554 - 11:20.58
6,500 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน) พฤ. - 29 ธ.ค. 2554 - 11:24.49
กำลังโหลด...
Top