พระสมเด็จเนื้อผงสีเปลือกมังคุด พิมพ์กรรมการ 2 หน้า พิธีพระพุทธบาทประชารักษ์ หลวงปู่โต๊ะ, หลวงพ่อกวย - webpra

ประมูล หมวด:หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง - หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม

พระสมเด็จเนื้อผงสีเปลือกมังคุด พิมพ์กรรมการ 2 หน้า พิธีพระพุทธบาทประชารักษ์ หลวงปู่โต๊ะ, หลวงพ่อกวย

พระสมเด็จเนื้อผงสีเปลือกมังคุด พิมพ์กรรมการ 2 หน้า พิธีพระพุทธบาทประชารักษ์ หลวงปู่โต๊ะ, หลวงพ่อกวย พระสมเด็จเนื้อผงสีเปลือกมังคุด พิมพ์กรรมการ 2 หน้า พิธีพระพุทธบาทประชารักษ์ หลวงปู่โต๊ะ, หลวงพ่อกวย พระสมเด็จเนื้อผงสีเปลือกมังคุด พิมพ์กรรมการ 2 หน้า พิธีพระพุทธบาทประชารักษ์ หลวงปู่โต๊ะ, หลวงพ่อกวย พระสมเด็จเนื้อผงสีเปลือกมังคุด พิมพ์กรรมการ 2 หน้า พิธีพระพุทธบาทประชารักษ์ หลวงปู่โต๊ะ, หลวงพ่อกวย พระสมเด็จเนื้อผงสีเปลือกมังคุด พิมพ์กรรมการ 2 หน้า พิธีพระพุทธบาทประชารักษ์ หลวงปู่โต๊ะ, หลวงพ่อกวย
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระสมเด็จเนื้อผงสีเปลือกมังคุด พิมพ์กรรมการ 2 หน้า พิธีพระพุทธบาทประชารักษ์ หลวงปู่โต๊ะ, หลวงพ่อกวย
รายละเอียดพระสมเด็จเนื้อผงสีเปลือกมังคุด พิมพ์กรรมการ 2 หน้า (หายากสุดๆ) พิธีพระพุทธบาทประชารักษ์ วัดพระพุทธบาท จ.สระบุรี หลวงปู่โต๊ะ, หลวงพ่อกวย, หลวงพ่อหน่ายฯลฯ ปลุกเสก

“สมเด็จพระพุทธบาทประชารักษ์”

หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โกร่งธนู
หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง
ฯลฯ
ปลุกเสก

“สมเด็จพระพุทธบาทประชารักษ์” พระสมเด็จรุ่นนี้พระธรรมรัตนากร(หลวงพ่อใหญ่)เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาท เจ้าคณะจังหวัดสระบุรีในขณะนั้นได้เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างเนื่องจากท่านเห็นว่าวัดพระพุทธบาทยังไม่เคยมีการจัดสร้าง พระพิมพ์สมเด็จมาก่อนเลยและท่านได้เห็นดอกไม้ที่ประชาชนนำมาใส่บาตรพระช่วงเทศกาลเข้าพรรษาเป็นจำนวนมาก ท่านจึงได้ให้รวบรวมไว้นำมาเป็นมวลสารในการจัดสร้างและอีกวัตถุประสงค์หนึ่งเพื่อแจกแก่ผู้ที่เข้ามาแสดงมุตาจิตที่ท่าน ได้เลื่อนสมณศักดิ์ และส่วนหนึ่งนำมาจำหน่ายแก่ประชาชนที่มานมัสการรอยพระพุทธบาทในราคาองค์ละสิบบาทเพื่อเป็นที่ระลึก

การจัดสร้างมีการดำเนินการโดยทางวัดเองเริ่มประมาณในปีพ.ศ.2512 โดยมี “พระมหาโกเมศ” จากวัดราชนัดดาซึ่งมีความสนิทกับท่านพระธรรมรัตนากรเป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง(ปัจจุบันทราบว่าท่านได้ลาสิกขาแล้ว )และการดำเนินการไม่ได้มีการจัดทำเอกสารในการจัดสร้างแต่อย่างใดแต่ได้มีการถ่ายรูปไว้จำนวนหนึ่งขณะนี้สอบถาม แล้วตั้งแต่เจ้าอาวาสคือท่านพระธรรมรัตนากรมรณภาพแล้วก็ไม่ได้มีผู้ใดสนใจ รูปที่ถ่ายไว้ได้สูญหายไปไม่ทราบว่าไปตกอยู่ที่ใครบ้างถ้าตามพบจะนำมาเสนอต่อไป การกดพิมพ์พระได้ดำเนินการกดพิมพ์กันในบริเวณวัดพระพุทธบาท บริเวณใต้ถุนศาลาทำบุญ ปัจจุบันศาลาหลังนี้เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันได้ทำการรื้อไปแล้วซึ่งน่าเสียดายยิ่งนัก โดยพิมพ์พระเป็นพิมพ์ที่ท่านพระมหาโกเมศจัดหามาเท่าที่ทราบมีประมาณสิบกว่าพิมพ์ โดยเรียกชื่อพิมพ์คล้ายกันกับสมเด็จบางขุนพรหมแต่ได้แกะพิมพ์ให้แตกต่างกันออกไป และการพิมพ์องค์พระทำเป็นแบบสองหน้าก็มี ที่เรียกชื่อเท่าที่พบ

๑) พิมพ์ทรงเจดีย์
๒) พิมพ์ฐานขาสิงห์
๓) พิมพ์เกศบัวตูม
๔) พิมพ์ปกโพธิ์
๕) พิมพ์อกครุฑ
๖) พิมพ์ฐานแซม
๗) พิมพ์วัดเกศ

พิมพ์นอกจากนี้จะเป็นพิมพ์พิเศษที่ทำขึ้นมาเพื่อแจกแก่ผู้ที่มาช่วยงานเช่นทำเป็นพิมพ์สองหน้า
ส่วนพิมพ์ทั่วไปลักษณะองค์พระด้านหน้าจะเป็นรูปแบบของแต่ละพิมพ์ทรงด้านหลังจะกดพิมพ์
ด้านหลังองค์พระด้วยตราจุลมงกุฎ ซึ่งจุลมงกุฎนี้สมเด็จพระพุฒาจารย์นวมได้ทำการจัดสร้างไว้
เพื่อแจกแก่ผู้ที่ร่วมทำบูญเมื่อคราวบูรณะรอยพระพุทธบาทจะมีสองแบบคือแบบพิมพ์เล็กและพิมพ์
ใหญ่จะนำมากดด้านหลังองค์พระทั้งสองแบบ ส่วนเนื้อพระจะแบ่งออกเป็นสามสีคือ
๑)เนื้อสีน้ำตาลหรือเนื้อเกสร สร้างจำนวนไม่มาก ไม่ได้นำออกจำหน่าย
๒) เนื้อสีเปลือกมังคุด สร้างจำนวนน้อยสุด ไม่ได้นำออกจำหน่าย
๓) เนื้อสีขาวสร้างจำนวนมากและนำมาจำหน่ายองค์ละสิบบาท
พระทั้งหมดจัดสร้างจำนวนเท่าใดไม่ทราบ
เมื่อทำการกดพิมพ์พระเป็นจำนวนพอแก่ความต้องการแล้วได้จัดพิธีพุทธาภิเศกที่ศาลาหอเย็นใกล้รอยพระพุทธบาทในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ทราบว่าได้ทำพิธีใหญ่มากเกจิอาจารย์ที่มาร่วมในพิธีเท่าที่ทราบมีดังนี้
หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โกร่งธนู
หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง
และยังมีเกจิอาจารย์อื่นๆอีกสอบถามไม่มีผู้ให้คำตอบได้

และในปีพ.ศ. ๒๕๒๒ได้เข้าพิธีอีกครั้งหนึ่งสอบถามจากผู้ได้ไปนิมนต์ซึ่งได้เดินทางร่วมไปกับพระที่วัดที่จำได้มี
หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง
หลวงพ่อเชื้อวัดใหม่บำเพ็ญบุญ
พระราชอุทัยกวี (หลวงพ่อพุธ)เจ้าคณะจังหวัดอุทัย (องค์นี้งูเห่าแผ่แม่เบี้ยท่านชี้มือสยบเลยจากคำบอกเล่าของผู้ที่ไปนิมนต์ท่าน)
หลวงปู่นาค วัดหนองโปร่ง
หลวงพ่อสุวรรณ วัดเขาบ่มกล้วย
หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โกร่งธนู

และยังมีพระอีกส่วนหนึ่งที่พระมหาโกเมศได้นำมาร่วมในพิธีด้วยท่านจะสร้างในคราวเดียวกันหรือนำมาจากวัดราชนัชดาก็ไม่ทราบ สอบถามได้ใจความไม่ตรงกันบ้างว่ากดพิมพ์พร้อมกันเป็นพระพิมพ์คลายกันแต่มีเศษพลอยสีต่างๆผสมอยู่ในเนื้อพระส่วนเนื้อพระจะเป็นสีขาว และได้นำมาแจกในงานฉลองยศของท่านพระธรรมรัตนากรเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทเท่านั้นและหลวงพ่อกวยได้นำพระบางส่วนกลับไปด้วย
ราคาเปิดประมูล500 บาท
ราคาปัจจุบัน600 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลอา. - 16 ก.ย. 2561 - 20:52.57
วันปิดประมูล พฤ. - 04 ต.ค. 2561 - 17:53.52 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 600 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
600 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พ. - 03 ต.ค. 2561 - 17:53.52
กำลังโหลด...
Top