
ประมูล หมวด:พระกริ่ง พระชัยวัฒน์
พระกริ่งนิรันตราย วัดนิเวศธรรมประวัติ อยุธยา





ชื่อพระเครื่อง | พระกริ่งนิรันตราย วัดนิเวศธรรมประวัติ อยุธยา |
---|---|
รายละเอียด | (( ปิด 250 บาท พร่อมส่ง EMS ถึงบ้านครับ )) พระนิรันตราย เป็นพระพุทธรูปสององค์ซ้อนกัน พระพุทธรูปองค์เล็กซึ่งอยู่ภายใน เป็นพระพุทธรูปทองคำโบราณ นั่งขัดสมาธิเพชร หน้าตักกว้าง 3 นิ้ว สูง 4 นิ้ว ส่วนพระพุทธรูปองค์ใหญ่ซึ่งอยู่ภายนอกสวมครอบพระพุทธรูปองค์เล็กไว้ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นภายหลัง หน้าตักกว้าง 5.5 นิ้ว นั่งขัดสมาธิเพชรเช่นเดียวกัน กล่าวถึงพระนิรันตราย (องค์ใน) เป็นพระพุทธรูปที่กำนันอินและนายยังบุตรชาย ขุดพบเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2399 ที่ชายป่าแขวงเมืองปราจีนบุรี ห่างจากดงศรีมหาโพธิ์ประมาณสามเส้น ในขณะที่กำลังขุดมันนกกันอยู่ โดยก่อนหน้านั้น ฝันว่าจับช้างเผือกได้ บริเวณดงศรีมหาโพธิ์เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณที่เจริญรุ่งเรืองมาแต่สมัยทวารวดี นักโบราณคดีเคยขุดพบเทวสถานและเชิงเทินเมืองโบราณ รูปศิลาที่สลักเป็นพระปางนาคปรก และรูปสัมฤทธิ์ที่หล่อเป็นรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม โบราณวัตถุที่ขุดค้นพบนี้ เป็นฝีมือช่างสมัยเดียวกันกับทวารวดีหรืออู่ทอง จารึกหลักนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๖ ตอนที่ ๑ ในพ.ศ. ๒๕๑๗ โดยเรียกว่า "หลักที่ ๑๗๙ จารึกที่ผนังพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ" วัดนิเวศธรรมประวัติ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับพระราชวังบางปะอิน ร. ๕ โปรดให้สร้างพระอุโบสถตามแบบโบสถ์คริสต์ ในศิลปะโกธิค (Gothic) ยุคกลางของยุโรป ประตู, หน้าต่างประดับด้วยกระจกสี เหนือประตูพระอุโบสถมีพระบรมรูป ร. ๕ ทรงเครื่องต้นทำจากกระจกสีเช่นเดียวกัน วัดแห่งนี้สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ ร. ๕ โปรดให้เป็นวัดฝ่ายธรรมยุติกนิกาย การอัญเชิญพระนิรันตรายประดิษฐานไว้บนหิ้งหน้าเรือนแก้ว ภายในพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ ใน พ.ศ. ๒๔๒๑ (สมัยรัชกาลที่ ๕) โดยมีการกล่าวประวัติของพระนิรันตรายอย่างละเอียด กล่าวคือ ใน พ.ศ. ๒๓๙๙ กำนันอินและนายยังพบพระพุทธรูปองค์นี้ที่ชายป่าแขวงเมืองปราจีนบุรี จึงนำเข้าถวายรัชกาลที่ ๔ พระองค์ทรงอัญเชิญไปเก็บไว้ที่หอเสถียรธรรมปริตกับพระกริ่งทองคำซึ่งองค์ เล็กกว่า แต่เมื่อมีผู้ร้ายลักลอบเข้าไป กลับไม่ถูกขโมยทั้งที่เป็นทองคำและองค์ใหญ่กว่าพระกริ่ง จึงเป็นที่น่าอัศจรรย์อันเป็นมูลเหตุของการพระราชทานนาม "นิรันตราย" (ปราศจากอันตราย) นอกจากนี้ยังมีการหล่อพระพุทธรูปทองคำสวมพระนิรันตรายองค์ดังกล่าวอีกชั้น หนึ่ง และหล่อพระพุทธรูปเงินไว้คู่กัน ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๑๑ รัชกาลที่ ๔ โปรดให้หล่อพระพุทธรูปพิมพ์เดียวกับพระนิรันตรายด้วยทองเหลืองแล้วกะไหล่ ด้วยทองคำ ๑๘ องค์ เท่ากับจำนวนปีที่ทรงครองราชสมบัติแล้วดำริว่าจะทรงหล่อปีละ ๑ องค์โดยถวายพระนามพระพุทธรูปว่าพระนิรันตรายทั้งสิ้น แต่ยังดำเนินการไม่เสร็จ พระองค์ก็สวรรคต รัชกาลที่ ๕ จึงโปรดให้ช่างดำเนินการกะไหล่ทองพระพุทธรูปทั้งหมดจนเสร็จแล้วพระราชทานแด่ วัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายตามพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ ๔ ขอบพระคุณข้อมูลจาก http://www.amuletcenter.com/product.detail_957654_th_5689020 |
ราคาเปิดประมูล | 200 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 200 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 50 บาท |
วันเปิดประมูล | ศ. - 02 พ.ย. 2561 - 15:47.57 |
วันปิดประมูล |
พฤ. - 22 พ.ย. 2561 - 15:47.57 ![]() |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 200 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
---|---|
เพิ่มครั้งละ | 50 บาท |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
ยังไม่มีผู้ประมูล |
กำลังโหลด...