100 บาท เคาะเดียว ผ้ายันต์ธรรมจักร (ชิ้นส่วนของแขนเสื้อ) สํานักไสยเวทย์เทพย์อุดร เขียนด้วยมือ - webpra

ประมูล หมวด:เครื่องรางของขลัง

100 บาท เคาะเดียว ผ้ายันต์ธรรมจักร (ชิ้นส่วนของแขนเสื้อ) สํานักไสยเวทย์เทพย์อุดร เขียนด้วยมือ

100  บาท  เคาะเดียว ผ้ายันต์ธรรมจักร (ชิ้นส่วนของแขนเสื้อ)  สํานักไสยเวทย์เทพย์อุดร เขียนด้วยมือ 100  บาท  เคาะเดียว ผ้ายันต์ธรรมจักร (ชิ้นส่วนของแขนเสื้อ)  สํานักไสยเวทย์เทพย์อุดร เขียนด้วยมือ 100  บาท  เคาะเดียว ผ้ายันต์ธรรมจักร (ชิ้นส่วนของแขนเสื้อ)  สํานักไสยเวทย์เทพย์อุดร เขียนด้วยมือ
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง 100 บาท เคาะเดียว ผ้ายันต์ธรรมจักร (ชิ้นส่วนของแขนเสื้อ) สํานักไสยเวทย์เทพย์อุดร เขียนด้วยมือ
รายละเอียด100 บาท เคาะเดียว ผ้ายันต์ธรรมจักร (ชิ้นส่วนของแขนเสื้อ) สํานักไสยเวทย์เทพย์อุดร เขียนด้วยมือผืนเดียวในโลก เขียนขึ้นจากผ้าบังสุกุล ตามตำรับวิธีทำผ้ายันต์ แบบโบราณ
อักขระขอมที่เขียน อ่านได้ว่า อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมาวัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พลัง เป็นคาถาที่พระมักจะให้ ตอนที่เราใส่บาตร ตอนเช้า

แปลว่าได้ว่า พรทั้งสี่ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พะละ ย่อมเจริญแก่ผู้มีปกติกราบไหว้ และเคารพต่อผู้ใหญ่เป็นนิจ

รู้มั๊ยว่า ...ทำไมถึงได้ มีคนบูชาผ้ายันต์เขียนมือ ทั้งๆที่ไม่รู้ที่มา ด้วยซ้ำไป
คำตอบคือ ....คนที่เขียนผ้ายันต์ ได้นั้น เขาต้องเรียนวิชา คาถาอาคม
ตลอดจน การเรียน ภาษาขอม อักขระ เลขยันต์ต่างๆ และเขายึดถือ การสร้างผ้ายันต์ตามตำหรับเดิม มิได้มุ่งหวังที่จะผลิตจำนวนมากๆ ด้วยการทำบล็อกสกรีน
และผ้ายันต์เขียนมือนั้น ผมขอบอกไว้ตรงนี้เลยว่า มันมีผืนเดียวในโลก ไม่มีอีกแล้วที่จะเหมือนกัน ต่อให้มีเงินอีกสิบล้าน จะหาให้เหมือนกันเป๊ะ อย่างผ้ายันต์ บล็อกสกรีน คงเป็นไปไม่ได้ ให้คนที่เคยเขียน มาเขียนใหม่ ก็ไม่สามารถเขียนได้เหมือนเดิม
ผ้ายันต์ คือวัตถุมงคล ประเภทหนึ่ง ในกลุ่มของเครื่องรางของขลังของไทย ผ้ายันต์มีขนาดเล็กๆเท่ากับผ้าเช็ดหน้าหรืออาจจะใหญ่กว่าเล็กน้อย ทำด้วยผ้าฝ้าย ผ้าลินิน มีสีเท่าที่เคยเห็นคือ สีขาว สีแดง และสีเหลือง
ผ้า ยันต์เป็นวัตถุมงคลที่มาแต่สมัยโบราณ มักสร้างขึ้นโดยพระเกจิอาจารย์ผู้มีอาคมเข้มขลัง คุณสมบัติของผ้ายันต์มีหลายประการ เช่น ด้านคงกะพัน เมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ การจัดทำผ้ายันต์ไม่ต้องมีพิธีการใหญ่โตอะไร พระเกจิอาจารย์ผู้จัดทำมักจะเป็นผู้ทำการปลุกเสกด้วยตัวเอง
บนผ้า ยันต์จะมีลวดลายและเขียนเป็นอักษรคาถาตามแบบของพระเกจิอาจารย์แต่ละท่าน ไม่ซ้ำแบบกัน ต่อมาผ้ายันต์มีการพัฒนามาเป็นการพิมพ์ลวดลายแทนการเขียนด้วยมือ เพราะต้องการจำนวนมาก จากผ้ายันต์พัฒนามาเป็นเสื้อกั๊ก เสื้อยันต์
ความเชื่อทาง ไสยศาสตร์ของผู้คนแห่งอาณาจักรสุวรรณภูมิ ถูกถ่ายทอดจากบรรพบุรุษของเราเนิ่นนานนับพันปี ผืนผ้าเขียนอักขระโบราณ และภาพสัญลักษณ์ต่างๆ กำกับลงคาถาอาคม ความเชื่อความศรัทธาอันเต็มเปี่ยมในผ้าผืนเล็กๆ เหล่านี้ คือสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนไว้ในด้านอิทธิฤทธิ์นานาประการ
ประเภท ของยันต์ที่พบจัดแบ่งได้เป็น 9 ประเภท คือ

1.ยันต์เมตตามหานิยม , 2. ยันต์มหาอำนาจ , 3. ยันต์ค้าขาย , 4. ยันต์มหาเสน่ห์ , 5. ยันต์โชคชะตา , 6.ยันต์อยู่ยงคงกระพัน , 7.ยันต์ป้องกันภัย , 8. ยันต์สารพัดนึก , 9.ยันต์ฝ่าต๊ะ
ที่สำคัญผู้รับไปบูชา ก็ต้องน้อมด้วยความศรัทธาจัดไว้ในที่อันเหมาะสม ท่องคาถาเคร่งครัด ต้องอยู่ในกฎ เช่น ห้ามผิดศีล 5 ห้ามลอดใต้ถุนบ้านหรือราวตากผ้า หรือห้ามบริโภคเนื้อสัตว์
จงรู้ไว้เถิดว่า ผ้ายันต์เขียนมือตามตำหรับโบราณเป็น ของที่มีผืนเดียวในโลก ไม่ได้พิมพ์กันเป็นพันผืนอย่าง ในปัจจุบัน"
การสร้างผ้ายันต์ ตามตำหรับโบราณนั้น จะเขียนขึ้นจากดินสอ ปากกา พู่กัน
และ ผ้าที่ใช้ มักเป็นผ้าบังสุกุล บังสุกุล แปลว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น, เปื้อนฝุ่น เป็นคำใช้เรียกผ้าที่ภิกษุชักจากศพ หรือผ้าที่ทอดไว้หน้าศพ หรือผ้าที่ทอดไว้บนด้ายสายสิญจน์ หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อมาจากศพด้วยการพิจารณากรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล โดยเรียกกริยาที่พระชักผ้าหรือพิจารณาผ้าเช่นนั้นว่า ชักผ้าบังสุกุล หรือพิจารณาผ้าบังสุกุล
คำว่า "บังสุกุล" นั้น มาจากคำภาษาบาลีว่า ปํสุ (อ่านว่า ปัง-สุ) แปลว่า ฝุ่น และคำว่า กูล (อ่านว่า กู-ละ) แปลว่า เปื้อน, คลุก สมาสคำทั้งสองเข้าด้วยบทวิเคราะห์เป็น ปํสุกูล (อ่านว่า ปัง-สุ-กู-ละ) แปลว่า ผ้าที่เปื้อนฝุ่น เมื่อมาเป็นคำไทย เปลี่ยน "ปอ ปลา" เป็น "บอ ใบไม้" รัสสะ "สระ อู" ให้สั้นลง เป็น "อุ" และปรับเสียงเป็นรูปแบบภาษาไทยที่มีตัวสะกด เป็น บังสุกุล อ่านว่า บัง-สุ-กุน ดังนั้นคำว่า "บังสุกุล" จึงต้องเขียนว่า บังสุกุล เท่านั้น ไม่สามารถเขียนเป็นอย่างอื่นได้ หากเขียนเป็น บังสกุล ถือเป็นคำที่เขียนผิด อันเกิดจากการเทียบเคียงผิดกับคำว่า สกุล ที่หมายถึง ตระกูลวงศ์
ในสมัยพุทธกาลภิกษุต้องแสวงหาผ้าที่เขาทิ้งแล้วจากกองขยะหรือจากป่าช้ามาทำจีวรใช้ ผ้าเหล่านั้นส่วนใหญ่จะเปื้อนฝุ่นหรือสกปรก จึงเรียกว่าบังสุกุล
และ ภิกษุในสมัยโบราณ จึง เอาผ้าจีวรที่ไม่ใช้แล้ว มาทำเป็นผ้ายันต์ การเขียนอักขระเลขยันต์ต่างๆ ก็มัก ภาวนา บริกรรม คาถาไปด้วยในระหว่าง ลงอักขระเลขยันต์ บนผืนผ้า เมื่อลงเสร็จ ก็จะมีการปลุกผ้ายันต์อีกครั้งหนึ่ง ...........
( ข้อมูลจากตำรา ของปรมาจารย์ ด้านไสยเวทย์ อาจารย์เทพย์ สิงหรักษ์ , อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร และ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี )
ราคาเปิดประมูล80 บาท
ราคาปัจจุบัน80 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 19 มี.ค. 2562 - 05:47.16
วันปิดประมูล จ. - 08 เม.ย. 2562 - 05:47.16 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 80 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ20 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top